องค์ภควาน คริชณะ
บทที่ 88
พลังอันล้าเลิศของคริชณะ
นานมาแล้วมีการชุมนุมของบรรดานักปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยม ณ ริมฝั่งแม่น้าสะรัสวะที เพื่อประกอบพิธีบูชาอันยิ่งใหญ่ชื่อ สะทระยะกยะ ณ ที่ชุมนุมนี้ โดยทั่วไปปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมจะมาปรึกษาประเด็นเกี่ยวกับปรัชญาพระเวท การชุมนุมกันครั้งนี้มีคำถามโดยเฉพาะคือ พระปฏิมาผู้ปกครองโลกวัตถุ พระพรหม พระวิชณุ และพระศิวะ ทั้งสามองค์ทรงกำกับภารกิจทั้งหมดของจักรวาล องค์ใดสูงสุด? หลังจากสนทนาเกี่ยวกับคำถามนี้มากพอสมควร ปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมชื่อบริกุ บุตรของพระพรหม ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนในการทดสอบพระปฏิมาผู้ควบคุมทั้งสามองค์ และมารายงานให้ที่ประชุมทราบว่าใครยิ่งใหญ่ที่สุด
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทน ปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมบริกุมุนิก่อนอื่นไปยังที่พักของพระบิดาที่พรหมโลก พระปฏิมาสามองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมคุณสมบัติทั้งสามแห่งธรรมชาติวัตถุคือ ความดี ตัณหา และอวิชชา บรรดานักปราชญ์ตัดสินใจวางแผนให้บริกุไปทดสอบว่า พระปฏิมาผู้ปกครององค์ใดมีคุณลักษณะแห่งความดีโดยสมบูรณ์ บริกุมุนิเข้าพบพระพรหมผู้เป็นพระบิดา ปรารถนาทดสอบว่ามีคุณลักษณะแห่งความดีหรือไม่ บริกุมุนิตั้งใจไม่ถวายความเคารพต่อพระบิดาโดยไม่ก้มลงกราบหรือถวายบทมนต์ เป็นหน้าที่ของบุตรหรือสาวกที่ต้องถวายความเคารพและกล่าวบทมนต์ที่เหมาะสมเมื่อเข้าพบพระบิดาหรือพระอาจารย์ทิพย์ แต่ตั้งใจไม่ถวายความเคารพเพื่อดูว่าพระบิดาจะมีปฏิกริยาอย่างไรกับการละเลยเช่นนี้ พระพรหมทรงโกรธมากกับบุตรผู้อวดดี อาการโกรธจัดพิสูจน์ให้เห็นชัดคือพร้อมสาปบริกุมุนิ เนื่องจากบริกุเป็นบุตรพระพรหมทรงตั้งสติระงับความโกรธไว้ได้ เช่นนี้ แสดงว่าถึงแม้คุณลักษณะแห่งตัณหาโดดเด่นแต่พระพรหมมีอำนาจควบคุม ความโกรธและอำนาจในการควบคุมเหมือนไฟและน้า น้าผลิตมาจากไฟขณะเดียวกันน้าใช้ดับไฟได้ แม้พระพรหมทรงโกรธมากเนื่องมาจากคุณสมบัติแห่งตัณหา แต่ควบคุมได้เพราะบริกุมุนิเป็นบุตร
หลังจากทดสอบพระพรหมแล้ว บริกุมุนิตรงไปยังดาวเคราะห์ไคลาสะ (ไกรลาศ) ที่พระศิวะประทับอยู่ บริกุมุนิเป็นน้องของพระศิวะ ทันทีที่บริกุมาถึง พระศิวะดีใจมากทรงลุกขึ้นยืนทำท่าจะโอบกอดบริกุ พอพระศิวะเข้ามาใกล้ บริกุมุนิปฏิเสธที่จะโอบกอดด้วย กล่าวว่า “พี่ชายที่รัก ท่านไม่บริสุทธิ์อยู่เสมอเพราะชอบละเลงร่างกายด้วยขี้เถ้าจึงไม่สะอาดเท่าที่ควร กรุณาอย่ามาแตะต้องตัวข้า” เมื่อบริกุมุนิปฏิเสธที่จะโอบกอดพี่ชายโดยอ้างว่าร่างกายไม่สะอาด พระศิวะรู้สึกโกรธมาก ความผิดสามารถทำได้สามทางคือ ร่างกาย จิตใจ หรือคำพูด ผิดครั้งแรกของบริกุมุนิที่ทำต่อพระพรหมเป็นความผิดที่ทำด้วยจิตใจ ผิดครั้งสองที่ทำต่อพระศิวะด้วยการดูถูกกล่าวหาว่ามีนิสัยไม่สะอาด เป็นความผิดด้วยคำพูด เนื่องจากคุณลักษณะแห่งอวิชชาโดดเด่นในพระศิวะ พอได้ยินคำสบประมาทจากบริกุ ดวงตาของพระศิวะแดงก่าขึ้นมาทันทีด้วยความโกรธ จากโทสะที่ควบคุมไม่ได้จึงคว้าสามง่ามขึ้นมาและเตรียมสังหารบริกุมุนิ ขณะนั้น พารวะที มเหสีของพระศิวะทรงอยู่ด้วย นางมีบุคลิกที่สามคุณลักษณะผสมกันจึงมีนามว่าทริกุณะมะยี กรณีนี้นางช่วยแก้สถานการณ์โดยกระตุ้นคุณสมบัติแห่งความดีของพระศิวะ พารวะทีทรงก้มลงกราบที่พระบาทของสวามี และใช้คำพูดที่ไพเราะอ้อนวอนให้พระศิวะเลิกสังหารบริกุมุนิ
หลังจากปลอดภัยจากความโกรธของพระศิวะ บริกุมุนิเดินทางไปยังดาวเคราะห์ชเวทะดวีพะที่พระวิชณุทรงบรรทมอยู่บนเตียงดอกไม้ พร้อมทั้งเทพธิดาแห่งโชคลาภผู้เป็นมเหสีกำลังนวดพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ ณ ที่นั้นบริกุมุนิตั้งใจทำบาปอันใหญ่หลวงที่สุด โดยทำผิดต่อพระวิชณุทางร่างกาย ผิดครั้งแรก บริกุมุนิทำด้วยจิตใจ ครั้งที่สองด้วยคำพูด และครั้งที่สามด้วยร่างกาย ความผิดที่กล่าวมานี้ค่อยๆรุนแรงขึ้นตามลำดับ ผิดที่ทำภายในจิตใจเป็นเชิงบวก เมื่อเปรียบเทียบความผิดเดียวกันหากทำด้วยคำพูดจะหนักขึ้น และหากทำด้วยร่างกายเป็นความผิดหนักที่สุด บริกุมุนิทำผิดหนักที่สุดด้วยการใช้เท้าไปเตะที่หน้าอกขององค์ภควานต่อหน้าเทพธิดาแห่งโชคลาภ แน่นอนว่าพระวิชณุมีพระเมตตาสูงสุด ทรงไม่โกรธกับการกระทำนี้เพราะบริกุมุนิเป็นพราหมณ์ผู้ยอดเยี่ยม พราหมณ์ควรได้รับอภัยโทษแม้บางครั้งทำผิดและพระวิชณุทรงทำเป็นตัวอย่าง กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ลัคชมี เทพธิดาแห่งโชคลาภ ทรงไม่ชื่นชอบพราหมณ์มากนักจึงไม่ประทานพรให้พราหมณ์ โดยทั่วไปพราหมณ์จะยากจน แน่นอนว่าบริกุมุนิใช้เท้าไปเตะที่หน้าอกของพระวิชณุเป็นความผิดมหันต์ แต่พระวิชณุทรงยิ่งใหญ่จนไม่ใส่ใจ ผู้สมมุติว่าเป็นพราหมณ์ในกลียุค บางครั้งภูมิใจมากที่พราหมณ์ผู้ยอดเยี่ยมเช่นบริกุมุนิสามารถใช้เท้าไปเตะที่หน้าอกของพระวิชณุ อันที่จริง เมื่อบริกุมุนิใช้เท้าเตะหน้าอกพระวิชณุ เป็นความผิดมหันต์ แม้พระวิชณุผู้มีจิตใจกว้างขวางทรงไม่รู้สึกจริงจังอะไร
แทนที่จะโกรธหรือสาปส่ง พระวิชณุทรงลุกขึ้นจากเตียงพร้อมมเหสีเทพธิดาแห่งโชคลาภทันที ถวายความเคารพแด่พราหมณ์ และตรัสต่อบริกุมุนิว่า “พราหมณ์ที่รัก ข้าโชคดีที่สุดที่ท่านมาที่นี่โปรดนั่งลงบนเบาะนี้สักครู่ พราหมณ์ที่รัก รู้สึกเสียใจมากที่เมื่อท่านเข้ามาครั้งแรกข้ามิได้ต้อนรับท่านอย่างเหมาะสม ข้าผิดมหันต์ขอให้โปรดยกโทษด้วย ท่านบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่มากจนน้าล้างเท้าของท่านสามารถทำให้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บริสุทธิ์ขึ้น ฉะนั้น ข้าขอร้องให้ท่านทำให้โลกไวคุณธะะสถานที่ข้าพักอาศัยอยู่กับเพื่อนๆบริสุทธิ์ขึ้น พระบิดาที่รัก โอ้ นักปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยม ข้ารู้ว่าพระบาทของท่านนุ่มนวลดุจดอกกุหลาบ และหน้าอกข้าแข็งกระด้างดุจสายฟ้า ข้าเกรงว่าท่านรู้สึกเจ็บปวดที่ใช้เท้ามาเตะหน้าอกข้า กรุณาให้ข้าสัมผัสเท้าของท่านเพื่อปลดเปลื้องความเจ็บปวดที่ท่านได้รับ” แล้วเริ่มนวดเท้าของบริกุมุนิ
องค์ภควานตรัสกับบริกุมุนิต่อ “เทพเจ้าที่รัก บัดนี้หน้าอกข้าบริสุทธิ์ขึ้นจากการที่เท้าของท่านมาสัมผัส และข้าแน่ใจว่าลัคชมีเทพธิดาแห่งโชคลาภดีใจมากที่ได้ประทับอยู่ที่นี่นิรันดร” อีกพระนามหนึ่งของลัคชมีคือชันชะลา พระนางไม่เคยอยู่ที่ใดเป็นเวลานาน ดังนั้น เราเห็นว่าครอบครัวคนร่ารวยบางครั้งกลายมาเป็นคนจนหลังจากหลายชั่วอายุคน และบางครั้งเห็นว่าครอบครัวคนจนกลายมาเป็นคนรวยมาก ลัคชมีเทพธิดาแห่งโชคลาภคือชันชะลาในโลกวัตถุนี้ ขณะที่ในโลกไวคุณธะ พระนางประทับอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานนิรันดร เนื่องจากลัคชมีทรงมีชื่อเสียงในฐานะชันชะลา พระนารายณ์ทรงแสดงว่าพระนางอาจไม่อยู่ที่หน้าอกของพระองค์นิรันดร แต่เนื่องจากบริกุมุนิเอาเท้ามาสัมผัส บัดนี้หน้าอกบริสุทธิ์ขึ้นทำให้เทพธิดาแห่งโชคลาภไม่ยอมจากไป แต่บริกุมุนิเข้าใจสถานภาพของตนเองและองค์ภควาน รู้สึกตกตะลึงกับพฤติกรรมของพระองค์ สำนึกถึงบุญคุณทำให้เสียงติดขัด ตอบไม่ได้ น้าตาไหลพรากออกมาจากดวงตาทั้งที่พูดอะไรไม่ออก ได้แต่ยืนนิ่งเงียบ
หลังจากทดสอบพระพรหม พระศิวะ และพระวิชณุ บริกุมุนิกลับมายังที่ประชุมของบรรดาปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยม ณ ริมฝั่งแม่น้าสะรัสวะที อธิบายถึงประสบการณ์ หลังจากสดับฟังด้วยความตั้งใจ บรรดานักปราชญ์สรุปว่าพระปฏิมาผู้ปกครองทั้งหมด แน่นอนว่าพระวิชณุทรงยิ่งใหญ่ที่สุด ใน ชรีมัด-ภควธัม อธิบายว่านักปราชญ์เหล่านี้เป็นบระฮมะ-วาดินาม, บระฮมะ-วาดินาม หมายถึงพวกที่พูดเกี่ยวกับสัจธรรมสูงสุด แต่ยังมาไม่ถึงจุดสรุป โดยทั่วไปบระฮมะ-วาดี พาดพิงถึงพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์หรือพวกที่เป็นนักศึกษาคัมภีร์พระเวท ฉะนั้น เข้าใจได้ว่าปราชญ์ทั้งหมดที่มาชุมนุมกันเป็นนักศึกษาผู้จริงจังในวรรณกรรมพระเวท แต่ยังมาไม่ถึงจุดสรุปที่แน่นอนว่า ใครคือองค์ภควานผู้สมบูรณ์ หลังจากได้ยินประสบการณ์ของบริกุมุนิในการพบปะกับพระปฏิมาผู้ปกครองทั้งสามองค์คือ พระศิวะ พระพรหม และพระวิชณุ บรรดานักปราชญ์สรุปว่าพระวิชณุทรงเป็นสัจธรรมสูงสุดบุคลิกภาพแห่งพระเจ้า กล่าวไว้ใน ชรีมัด-ภควธัม ว่า หลังจากได้ยินรายละเอียดจากบริกุมุนิ บรรดานักปราชญ์ตกตะลึง เพราะพระพรหมและพระศิวะโกรธเกรี้ยวขึ้นมาทันที แม้พระวิชณุถูกบริกุมุนิเตะที่หน้าอกยังไม่หวั่นไหวแม้แต่น้อย ให้ตัวอย่างไว้ว่าตะเกียงดวงเล็กๆอาจหวั่นไหวแม้จากลมอ่อนๆ แต่ดวงอาทิตย์ ดวงประทีปที่ยิ่งใหญ่ที่สุด หรือแหล่งกำเนิดแห่งแสงสว่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดไม่มีวันถูกขับให้เคลื่อนแม้จากลมพายุที่ร้ายแรงที่สุด ความยิ่งใหญ่ของบุคคลประเมินได้จากความสามารถในการอดทนต่อสถานการณ์ที่ยั่วยุ เหล่านักปราชญ์ที่ชุมนุมกันอยู่ริมฝั่งแม่น้าสะรัสวะทีสรุปว่า หากผู้ใดปรารถนาความสงบและเสรีภาพอย่างแท้จริงจากความกลัวทั้งหมด ควรมาพึ่งพระบาทรูปดอกบัวของพระวิชณุ หากพระพรหมและพระศิวะทรงสูญเสียท่าทีแห่งความสงบจากการยั่วยุเพียงเล็กน้อย แล้วจะรักษาความสงบร่มเย็นของสาวกได้อย่างไร? เกี่ยวกับพระวิชณุ กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า ผู้ใดยอมรับพระวิชณุหรือคริชณะว่าเป็นสหายสูงสุดจะบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิตที่สงบ
บรรดานักปราชญ์สรุปว่า จากการปฏิบัติตามหลักธรรมของ ไวชณะวะ- ดารมะ จะมีความสมบูรณ์โดยแท้จริง แต่หากปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาทั้งหมดของนิกายใดโดยเฉพาะ แล้วไม่เจริญก้าวหน้าในความเข้าใจองค์ภควาน พระวิชณุ ความเหนื่อยยากลำบากแห่งความรักนี้ไม่ได้รับผล การปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาหมายไว้ให้มาถึงระดับแห่งความรู้ที่สมบูรณ์ เมื่อมาถึงระดับแห่งความรู้ที่สมบูรณ์จะไม่สนใจกับภารกิจทางวัตถุ ความรู้ที่สมบูรณ์หมายถึงรู้ตนเองและรู้องค์ภควาน องค์ภควานและปัจเจกบุคคลแม้เป็นหนึ่งเดียวกันในคุณสมบัติแต่ต่างกันในปริมาณ ความรู้ที่เข้าใจจากการวิเคราะห์ศึกษาเช่นนี้สมบูรณ์ แต่หากเข้าใจว่า “ข้าไม่ใช่วัตถุ ข้าคือจิตวิญญาณ” เช่นนี้มิใช่ความรู้ที่สมบูรณ์ หลักธรรมศาสนาที่แท้จริงคือการอุทิศตนเสียสละรับใช้หรือบัคธิ ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา คริชณะตรัสว่า “จงยกเลิกหลักธรรมศาสนาอื่นๆทั้งหมดแล้วเพียงแต่มาศิโรราบต่อข้า” ฉะนั้น คำว่า ดารมะ ใช้กับไวชณะวะ-ดารมะ หรือบะกะวัด-ดารมะ เท่านั้น เมื่อได้ปฏิบัติตามคุณสมบัติที่ดีทั้งหมด ความเจริญก้าวหน้าในชีวิตบรรลุถึงโดยปริยาย ความรู้ที่สมบูรณ์สูงสุดคือรู้องค์ภควาน เราไม่สามารถเข้าใจพระองค์ด้วยวิธีการทางศาสนาอื่นใดนอกจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ดังนั้น ผลแห่งความรู้ที่สมบูรณ์บรรลุถึงได้ทันทีด้วยการปฏิบัติ ภักดี-โยคะ หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หลังจากได้รับความรู้แล้วจะไม่สนใจกับโลกวัตถุ เช่นนี้มิใช่เนื่องมาจากการคาดคะเนทางปรัชญาลมๆแล้งๆ เหล่าสาวกไม่สนใจโลกวัตถุมิใช่เพราะเข้าใจแต่ทางทฤษฏีเท่านั้น แต่ด้วยประสบการณ์การปฏิบัติ เมื่อสาวกรู้แจ้งถึงผลที่ได้รับจากการมาใกล้ชิดกับองค์ภควาน โดยธรรมชาติเขารังเกียจในการคบหาสมาคมกับสิ่งที่สมมุติว่าเป็นสังคม มิตรภาพ และความรัก การไม่ยึดติดเช่นนี้มิใช่แห้งแล้ง แต่เนื่องจากได้บรรลุถึงระดับชีวิตที่สูงกว่า ได้ลิ้มรสชาติทิพย์ที่เหนือวัตถุ กล่าวต่อใน ชรีมัด-ภควธัม ว่า หลังจากบรรลุถึงความรู้เช่นนี้และไม่ยึดติดกับการสนองประสาทสัมผัสวัตถุ เจริญในความมั่งคั่งแปดประการที่สำเร็จด้วยการฝึกปฏิบัติโยคะอิทธิฤทธิ์ เช่น อณิมา ลักฮิมา และพราพทิ สิดดิ ฯลฯ บรรลุถึงได้โดยไม่ต้องพยายามแยกไปต่างหาก ตัวอย่างที่สมบูรณ์คือ มะฮาราจะ อัมบะรีชะ ผู้มิใช่โยคีที่มีฤทธิ์แต่เป็นสาวกผู้ยอดยี่ยม ถึงกระนั้น เมื่อโยคีผู้ยิ่งใหญ่ดุรวาสาขัดแย้งกับ มะฮาราจะ อัมบะรีชะ และพ่ายแพ้เนื่องจากท่าทีแห่งการอุทิศตนเสียสละของอัมบะรีชะ อีกนัยหนึ่ง สาวกไม่จำเป็นต้องฝึกปฏิบัติระบบโยคะอิทธิฤทธิ์เพื่อให้มีพลัง ด้วยพระกรุณาขององค์ภควานจะมีพลังอยู่เบื้องหลังสนับสนุนเขา เหมือนกับเด็กน้อยที่ศิโรราบต่อพระบิดาผู้มีพลัง พลังทั้งหมดของบิดาจะอยู่เบื้องหลังสนับสนุนเด็กน้อย
เมื่อบุคคลมีชื่อเสียงในฐานะสาวกขององค์ภควาน ชื่อเสียงนี้ไม่มีวันดับสูญ องค์เชธันญะขณะที่สนทนากับ รามานันดะ รายะ ทรงถามว่า “อะไรคือชื่อเสียงที่ยอดเยี่ยมที่สุด?” รามานันดะ รายะ ตอบว่า ผู้คนรู้จักในฐานะสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควาน คริชณะ เป็นชื่อเสียงที่สมบูรณ์ ฉะนั้น ข้อสรุปคือ วิชณุ-ดารมะ หรือศาสนาแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควาน หมายไว้สำหรับบุคคลผู้ใคร่ครวญพิจารณา ด้วยการใช้วิจารณญาณที่เหมาะสมทำให้มาถึงระดับแห่งการระลึกถึงองค์ภควาน เมื่อระลึกถึงองค์ภควานทำให้เป็นอิสระจากมลทินแห่งการคบหาสมาคมที่ผิดในโลกวัตถุ เช่นนี้จึงมีความสงบ โลกอยู่ในสภาวะที่ไม่สงบเพราะขาดสาวกผู้มีความสงบเหล่านี้ในสังคมมนุษย์ นอกจากมาเป็นสาวก มิฉะนั้น จะไม่มีความเสมอภาคต่อมวลชีวิต สาวกเสมอภาคกับ สัตว์ มนุษย์ และมวลชีวิต เพราะเห็นทุกชีวิตว่าเป็นละอองอณูขององค์ภควาน ใน ศรี อุปนิษัท กล่าวไว้ชัดเจนว่า ผู้มาถึงระดับที่เห็นว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเสมอภาคกัน จะไม่เกลียดผู้ใดหรือชื่นชอบผู้ใด สาวกไม่กระหายเป็นเจ้าของสิ่งใดเกินความจำเป็น ดังนั้น จึงเป็นอคินชะนะ ในทุกๆสภาวะของชีวิตสาวกมีความพึงพอใจ กล่าวว่าสาวกมีจิตใจสม่าเสมอไม่ว่าจะอยู่ในนรกหรือบนสวรรค์ ไม่สนใจกับสิ่งอื่นใดทั้งหมดนอกจากปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ คริชณะ ระดับชีวิตเช่นนี้เป็นระดับที่สมบูรณ์สูงสุดที่เขาสามารถพัฒนาไปยังโลกทิพย์กลับคืนสู่เหย้าสู่องค์ภควาน บรรดาสาวกขององค์ภควานเป็นที่ชื่นชอบโดยเฉพาะจากคุณสมบัติทางวัตถุที่สูงสุดคือความดี และพราหมณ์ผู้มีคุณวุฒิเป็นสัญลักษณ์ผู้แทนแห่งความดี ฉะนั้น สาวกจึงชื่นชอบกับระดับชีวิตพราหมณ์ ไม่สนใจกับระดับตัณหาหรืออวิชชา แม้คุณลักษณะเหล่านี้ออกมาจากพระวิชณุ ใน ชรีมัด-ภควธัม อธิบายว่า สาวกเป็น นิพุณะ-บุดดะยะฮ หมายความว่า เป็นชนชั้นที่มีปัญญาสูงสุด ไม่ถูกอิทธิพลแห่งการยึดติดหรือความเกลียดชังมาครอบงำ สาวกมีชีวิตอยู่อย่างสงบและไม่หวั่นไหวไปกับอิทธิพลแห่งตัณหาและอวิชชา
อาจมีคำถาม ณ ที่นี้ว่า ทำไมสาวกควรยึดมั่นคุณสมบัติแห่งความดีในโลกวัตถุ หากเป็นทิพย์อยู่เหนือคุณสมบัติทางวัตถุทั้งหมด คำตอบคือมีผู้คนต่างๆ มากมายอยู่ในระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ พวกอยู่ในระดับอวิชชาเรียกว่าราคชะสะ พวกที่อยู่ในระดับตัณหาเรียกว่าอสุระ และพวกที่อยู่ในระดับความดีเรียกว่าสุระ หรือเทพ ภายใต้การกำกับขององค์ภควาน มนุษย์สามระดับนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติวัตถุ แต่พวกที่อยู่ในระดับแห่งความดีมีโอกาสมากกว่าในการพัฒนาไปยังโลกทิพย์กลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน
เช่นนี้ ปราชญ์ทั้งหมดที่มาชุมนุมกันที่ริมฝั่งแม่น้าสะรัสวะทีเพื่อพยายามสรุปว่าใครคือพระปฏิมาผู้ปกครองสูงสุด ปราศจากความสงสัยทั้งหมดเกี่ยวกับการบูชาพระวิชณุ หลังจากนั้นทั้งหมดปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้และบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ปรารถนาและกลับคืนสู่องค์ภควาน
พวกที่มีความกระตือรือร้นจะหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ ทำได้ดีกว่าหากยอมรับข้อสรุปที่ ชรี ชุคะเดวะ โกสวามี ให้ไว้ในตอนต้นของ ชรีมัด-ภควธัม กล่าวไว้ ณ ที่นั้นว่า การสดับฟัง ชรีมัด-ภควธัม จะช่วยนำมาให้ถึงความหลุดพ้น เพราะ ชุคะเดวะ โกสวามี เป็นผู้ร่าย ความจริงเช่นนี้ยืนยันไว้อีกครั้งโดย สูทะ โก สวามี หากผู้ใดเดินทางอย่างไร้จุดหมายภายในโลกวัตถุนี้ สนใจสดับฟังคำพูดเหมือน น้าทิพย์ที่ ชุคะเดวะ โกสวามี ร่าย แน่นอนว่าจะมาถึงจุดสรุปที่ถูกต้อง เพียงปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควาน จะหยุดความเหนื่อยยากในการเปลี่ยนจากร่างวัตถุหนึ่งไปยังอีกร่างหนึ่งชั่วกัลปวสาน อีกนัยหนึ่ง การสดับฟังที่ถูกต้องทำให้ตั้งมั่นในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยใจรักต่อพระวิชณุ แน่นอนว่าจะได้รับการปลดเปลื้องจากการเดินทางแห่งชีวิตวัตถุนี้ วิธีการปฏิบัติง่ายมาก เพียงแต่ต้องสดับฟังคำพูดอันหวานชื่นที่ ชุคะเดวะ โกสวามี ร่ายในรูปของ ชรีมัด-ภควธัม
อีกข้อสรุปคือ เราไม่ควรพิจารณาว่าเทวดาแม้แต่พระศิวะและพระพรหม อยู่ในระดับเดียวกับพระวิชณุ หากทำเช่นนี้ ตาม พัดมะ พุราณะ เรากลายมาเป็นผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานทันที วรรณกรรมพระเวทชื่อ ฮะริวัมชะ กล่าวไว้เช่นกันว่า องค์ภควาน พระวิชณุเท่านั้นที่ควรได้รับการบูชา ฮะเร คริชณะ มหามนต์ หรือวิชณุ มันทระ อื่นๆในลักษณะนี้ควรสวดภาวนาเสมอ ภาคสองของ ชรีมัด-ภควธัม พระพรหมตรัสว่า “องค์ภควานทรงให้ทั้งพระศิวะและตัวข้าปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ภายใต้การกำกับของพระองค์” ใน เชธันญะ-ชะริทามริทะ กล่าวไว้เช่นกันว่า เจ้านายเพียงองค์เดียวคือ คริชณะ บุคคลอื่นในทุกเผ่าพันธุ์ชีวิตเป็นผู้รับใช้ของคริชณะเท่านั้น
ใน ภควัต-คีตา องค์ภควานทรงยืนยันว่าไม่มีความจริงใดที่เหนือไปกว่า คริชณะ เพื่อเรียกร้องความสนใจตามความจริงว่า ในบรรดารูปลักษณ์ วิชณุ-ทัททวะ ทั้งหมด คริชณะทรงเป็นองค์ภควานร้อยเปอร์เซ็นต์ ชุคะเดวะ โกสวามี ได้เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงที่ องค์ภควาน คริชณะ ทรงปรากฏ ดังนี้
กาลครั้งหนึ่ง ภรรยาของพราหมณ์ให้กำเนิดบุตร ด้วยอับโชค หลังจากเกิดมาพอแตะถูกพื้นทารกตายทันที บิดาผู้เป็นพราหมณ์นำศพของทารกน้อยไปที่ราชวังกษัตริย์แห่งดวาระคาโดยตรง พราหมณ์โกรธเกรี้ยวมากเพราะลูกตายโดยยังไม่สมควรแก่เวลาซึ่งทั้งพ่อแม่ยังเป็นหนุ่มสาวอยู่ ทำให้จิตใจของพราหมณ์วุ่นวายมาก ในอดีตมีกษัตริย์ผู้รับผิดชอบมาจนถึง ดวาพะระ-ยุกะ ที่คริชณะทรงปรากฏ กษัตริย์ทรงรับผิดชอบกับการตายของเด็กน้อยก่อนถึงเวลาอันควรขณะที่ผู้ปกครองยังมีชีวิตอยู่ ทำนองเดียวกันความรับผิดชอบเช่นนี้มีอยู่ในสมัยองค์ภควานพระราม ดังอธิบายไว้ในภาคหนึ่งของชรีมัด-ภควธัม ว่ากษัตริย์รับผิดชอบต่อความสะดวกสบายของประชากร จนกระทั่ง ทรงดูแลว่าอากาศไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป แม้กษัตริย์ไม่มีส่วนผิด พราหมณ์ผู้สูญเสียบุตรไปที่ประตูวังทันที และเริ่มกล่าวหากษัตริย์ดังต่อไปนี้
“กษัตริย์องค์ปัจจุบันอุกระเสนะทรงอิจฉาพราหมณ์!” คำพูดที่ใช้ในประเด็นนี้คือบราฮมะ-ดวิชะฮ ผู้อิจฉาพระเวทหรืออิจฉาพราหมณ์ผู้ทรงคุณวุฒิหรือวรรณะพราหมณ์เรียกว่าบระฮมะ-ดวิท ดังนั้น กษัตริย์ถูกกล่าวหาว่าเป็นบระฮมะ-ดวิท และถูกกล่าวหาว่าเป็นชะทะ-ดี ไร้ปัญญา ผู้นำฝ่ายบริหารของรัฐต้องมีปัญญามากพอเพื่อดูแลความสะดวกสบายของประชากร ตามความเห็นของพราหมณ์ กษัตริย์ไม่มีปัญญาเลยแม้ครองบัลลังก์อยู่ ฉะนั้น จึงเรียกพระองค์ว่าลุบดะ หมายความว่า “โลภมาก” อีกนัยหนึ่ง กษัตริย์หรือผู้นำฝ่ายบริหารของรัฐไม่ควรอยู่ในตำแหน่งอันสูงส่งแห่งประธานาธิบดีหรือกษัตริย์หากโลภมากหรือเห็นแก่ตัว เป็นธรรมชาติที่ผู้นำฝ่ายบริหารกลายเป็นคนเห็นแก่ตัวเมื่อมายึดติดกับความสุขทางวัตถุ ดังนั้น อีกคำหนึ่งที่ใช้ ณ ที่นี้คือ วิชะยาทมะนะฮ
พราหมณ์ยังกล่าวหากษัตริย์ว่าเป็น คชัททระ-บันดุ พาดพิงถึงบุคคลที่เกิดในครอบครัวคชัทริยะ หรือราชวงศ์กษัตริย์ แต่ไร้คุณสมบัติของผู้เป็นกษัตริย์ กษัตริย์ควรปกป้องวัฒนธรรมพราหมณ์และตื่นตัวต่อสวัสดิการของประชากร ไม่ควรโลภมากเพราะยึดติดกับความสุขทางวัตถุ หากบุคคลไร้คุณสมบัติและแสดงตนว่าเป็นคชัทริยะ แห่งราชวงศ์ จะไม่เรียกว่าคชัทริยะ แต่เรียกว่า คชัทระ-บันดุ ด้วยเช่นกัน หากบุคคลเกิดจากบิดาพราหมณ์แต่ไร้คุณสมบัติพราหมณ์ เรียก บระฮมะ-บันดุ หรือ ดวิจะ-บันดุ หมายความว่าบราฮมะณะ หรือ คชัทริยะ มิใช่ยอมรับมาจากชาติกำเนิด แต่ต้องมีคุณสมบัติในตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับโดยเฉพาะ จึงยอมรับว่าเป็นบราฮมะณะ หรือ คชัทริยะ
ดังนั้น บราฮมะณะ หรือพราหมณ์กล่าวโทษกษัตริย์ว่า ทารกแรกเกิดของตนตายไปเนื่องจากกษัตริย์ไร้คุณสมบัติ พราหมณ์ถือว่าผิดธรรมชาติมากและคิดว่ากษัตริย์ต้องรับผิดชอบ พบในประวัติศาสตร์พระเวทด้วยว่าหากกษัตริย์ทรงไม่รับผิดชอบ บางครั้งคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาซึ่งเป็นพราหมณ์ที่ราชวงศ์ทรงดูแล จะขับไล่กษัตริย์ให้ออกจากบัลลังก์ เมื่อพิจารณาถึงประเด็นทั้งหมดนี้ ปรากฏว่ากษัตริย์ในอารยธรรมพระเวทเป็นตำแหน่งที่ต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก
พราหมณ์กล่าวว่า “ไม่ควรมีผู้ใดแสดงความเคารพหรือบูชากษัตริย์ผู้มีภารกิจเดียวคืออิจฉาริษยา กษัตริย์เช่นนี้ใช้เวลาไปกับการล่าและฆ่าสัตว์ในป่าหรือสังหารประชาชน อาชญากรเช่นนี้ควบคุมตนเองไม่ได้และมีบุคลิกไม่ดี หากกษัตริย์เช่นนี้ได้รับการบูชาหรือได้รับเกียรติจากประชาชน ประชาชนจะไม่มีความสุขและยากจนเสมอ เต็มไปด้วยความวิตกกังวล และทุกข์ระทมขมขื่น ไม่มีความสุขตลอดเวลา” ถึงแม้การเมืองสมัยปัจจุบันตำแหน่งกษัตริย์ถูกยกเลิกไป ประธานาธิบดีไม่รับผิดชอบกับความสะดวกสบายของประชาชน ในกลียุคนี้ ผู้นำฝ่ายบริหารของรัฐได้รับคะแนนเสียงและได้รับเลือกตั้งให้มาอยู่ในตำแหน่งสูงส่ง แต่สถานภาพของประชาชนเต็มไปด้วยความทุกข์ วิตกกังวล ไร้ความสุข และไม่มีความพึงพอใจอย่างต่อเนื่อง
บุตรคนที่สองของพราหมณ์เกิดมาและตายลักษณะเดียวกัน คนที่สามถึงคนที่เก้าเกิดมาและตายแบบเดียวกันหมด แต่ละครั้งเขามาที่ประตูราชวังและกล่าวโทษกษัตริย์ ขณะพราหมณ์มากล่าวโทษกษัตริย์แห่งดวาระคาในครั้งที่เก้า อารจุนะทรงอยู่ ณ ที่นั้นพร้อมคริชณะ เมื่อได้ยินพราหมณ์กล่าวหากษัตริย์ว่าไม่สามารถปกป้องเขาได้อย่างเหมาะสม อารจุนะทรงอยากรู้จึงเข้าไปหาพราหมณ์กล่าวว่า “พราหมณ์ที่รัก ทำไมท่านกล่าวว่าไม่มีกษัตริย์ที่เหมาะสมปกป้องประชากรในประเทศของท่าน? ไม่มีแม้แต่บางคนแกล้งทำเป็น คชัทริยะ สามารถถือธนูและลูกศรอย่างน้อยก็แสดงท่าปกป้อง? ท่านคิดว่าบุคคลในราชวงศ์ของประเทศนี้เพียงแต่ทำพิธีบูชากับพราหมณ์ แต่ไร้พลังความกล้าหาญใช่ไหม?” เช่นนี้ อารจุนะแสดงให้เห็นว่ากษัตริย์ไม่ควรนิ่งดูดาย และทำพิธีกรรมพระเวทเท่านั้น แต่ต้องมีความกล้าหาญปกป้องประชากร พราหมณ์ปฏิบัติกิจกรรมทิพย์ไม่คาดหวังว่าต้องใช้กำลังทางร่างกายทำสิ่งใด ฉะนั้น จำเป็นต้องได้รับการปกป้องจากกษัตริย์เพื่อไม่ให้ถูกรบกวนในการปฏิบัติหน้าที่ตามอาชีพที่สูงกว่า
อารจุนะตรัสต่อ “หากพราหมณ์รู้สึกว่าต้องแยกทางจากภรรยาและบุตรโดยที่ไม่ปรารถนา และกษัตริย์ คชัทริยะ ไม่ดูแล คชัทริยะ เช่นนี้คิดว่าไม่ดีไปกว่านักแสดงบนเวที การแสดงละครบนเวทีนักแสดงอาจเล่นบทกษัตริย์ แต่ไม่มีผู้ใดคาดหวังประโยชน์จากดารากษัตริย์ผู้นี้ เช่นเดียวกัน หากกษัตริย์หรือผู้นำฝ่ายบริหารของรัฐไม่สามารถปกป้องผู้นำโครงสร้างทางสังคม พิจารณาว่าเป็นเพียงคนหลอกลวงเท่านั้น นักบริหารเหล่านี้ใช้ชีวิตไปวันๆเพื่อเอาตัวรอดขณะที่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีอันทรงเกียรติ เจ้านายที่รัก ข้าสัญญาว่าจะปกป้องลูกๆของท่าน หากทำไม่ได้ ข้าขอลุยไฟเพื่อให้มลทินแห่งความบาปของข้าถูกลบล้างไป”
เมื่อได้ยินอารจุนะตรัสเช่นนี้ พราหมณ์ตอบว่า “อารจุนะที่รัก องค์บะละรามะ ทรงอยู่ที่นี่แต่ไม่สามารถปกป้องบุตรข้า องค์คริชณะ ทรงอยู่เช่นเดียวกันแต่ไม่สามารถปกป้องบุตรข้า มีวีรบุรุษอีกมากมาย เช่น พรัดยุมนะ และ อนิรุดดะ ผู้มีธนูและศรแต่ไม่สามารถปกป้องบุตรข้า” พราหมณ์เปรยโดยตรงว่า อารจุนะไม่สามารถทำในสิ่งที่องค์ภควานทรงทำไม่ได้ รู้สึกว่าอารจุนะให้สัญญากับสิ่งที่อยู่เหนือขีดความสามารถของตนเอง พราหมณ์กล่าวว่า “ข้าคิดว่าคำสัญญาของท่านเหมือนเด็กไร้ประสบการณ์ ข้าไม่มีความศรัทธาในคำสัญญาของท่านเลย”
อารจุนะทรงเข้าใจว่าพราหมณ์หมดศรัทธากับกษัตริย์คชัทริยะ เพื่อให้กำลังใจ อารจุนะตรัสเหมือนวิจารณ์แม้แต่คริชณะผู้เป็นเพื่อน ขณะที่คริชณะและบุคคลอื่นๆฟังอยู่ ตรัสกระทบคริชณะโดยเฉพาะ โดยกล่าวว่า “พราหมณ์ที่รัก ข้าไม่ใช่สังคารชะณะหรือคริชณะ และไม่ใช่บุตรของคริชณะ เช่น พรัดยุมนะหรืออนิรุดดะ ข้าชื่ออารจุนะผู้มีธนูกาณดีวะ ท่านดูหมิ่นข้าไม่ได้เพราะขณะที่ล่าสัตว์อยู่ในป่าพระศิวะทรงต่อสู้กับข้าในรูปของนายพราน พึงพอใจในพลังของข้าทรงให้อาวุธ พาชุพะ ทาสทระ แก่ข้า จงอย่าสงสัยความกล้าหาญของข้า ข้าจะนำบุตรของท่านกลับมาให้จงได้ แม้จะต้องต่อสู้กับพญายมราช” เมื่อพราหมณ์ได้รับความมั่นใจจากอารจุนะด้วยคำพูดที่สูงส่ง รู้สึกเชื่อมั่นแล้วกลับบ้านไป
เมื่อภรรยาของพราหมณ์คลอดบุตรอีกคน พราหมณ์เริ่มภาวนาว่า “อารจุนะที่รัก ได้โปรดมาทันทีเพื่อช่วยบุตรข้า” ได้ยินเช่นนี้ อารจุนะเตรียมตัวทันทีโดยแตะน้าบริสุทธิ์ และสวดบทมนต์ศักดิ์สิทธิ์เพื่อปกป้องธนูและศรจากภยันตราย นำเอาลูกศรที่พระศิวะให้มาโดยเฉพาะ ขณะเดินทางไปก็ระลึกถึงและชื่นชมความยิ่งใหญ่ของพระศิวะ มาถึงหน้าบ้านพราหมณ์พร้อมธนูกาณดีวะและอาวุธอื่นๆครบมือ
ดูเหมือนว่าอารจุนะมิได้ออกไปจากดวาระคาเพราะได้สัญญากับพราหมณ์ ถูกเรียกตอนกลางคืนขณะภรรยาของพราหมณ์กำลังจะคลอดบุตร ระหว่างเดินทางไปบ้านพราหมณ์เพื่อปกป้องดูแลในกรณีที่ภรรยาของเขาคลอดบุตร อารจุนะระลึกถึงพระศิวะมิได้ระลึกถึงเพื่อนคริชณะ โดยคิดว่าคริชณะทรงไม่สามารถปกป้องพราหมณ์ได้จึงไปพึ่งพระศิวะจะดีกว่า นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ทำไมบุคคลไปพึ่งเทวดา ภควัต-คีตา อธิบายว่า คาไมส ไทส ไทร ฮริทะ-กยานาฮ บุคคลผู้สูญเสียปัญญาไปเนื่องจากความโลภและราคะ จะลืมองค์ภควานและไปพึ่งเทวดา แน่นอนว่าอารจุนะมิใช่สิ่งมีชีวิตธรรมดา เพราะมีความสัมพันธ์ฉันเพื่อนกับคริชณะ และคิดว่าคริชณะไม่สามารถปกป้องพราหมณ์ได้ จึงระลึกถึงพระศิวะดีกว่า ต่อมาพิสูจน์ว่าการที่อารจุนะไปพึ่งพระศิวะแทนที่จะพึ่งคริชณะ ไม่ประสบผลสำเร็จ ถึงอย่างไร อารจุนะทรงทำดีที่สุดด้วยการสวดภาวนาบทมนต์ต่างๆ และใช้ธนูเพื่อปกป้องบ้าน พราหมณ์ทุกทิศทางขณะที่กำลังคลอดบุตร
ภรรยาพราหมณ์ให้กำเนิดบุตรชาย และเหมือนกับทุกครั้งพอเด็กเริ่มส่งเสียงร้อง ภายในไม่กี่นาทีทั้งเด็กและลูกศรของอารจุนะหายวับไปในท้องฟ้า ปรากฏว่าบ้านพราหมณ์อยู่ใกล้กับที่ประทับของคริชณะ คริชณะทรงรื่นรมย์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งดูเหมือนว่าไม่ยอมจำนนกับความน่าเชื่อถือได้ของคริชณะ พระองค์ทรงเป็นผู้เล่นตลกด้วยการเอาทารกของพราหมณ์และศรไป รวมทั้งศรที่พระศิวะให้ซึ่งอารจุนะรู้สึกภาคภูมิใจมาก ทัด บะวะทิ อัลพะเมดะสาม คนด้อยปัญญาจะไปพึ่งเทวดาเนื่องจากสับสน แล้วพอใจกับประโยชน์ชั่วคราวที่ได้รับ
ต่อหน้า องค์ภควาน คริชณะ และบุคคลอื่นๆ พราหมณ์เริ่มต่อว่าอารจุนะ “ทุกคนเห็นความโง่เขลาของข้าไหม! ข้าศรัทธาคำพูดของอารจุนะผู้ไร้สมรรถภาพ และดีแต่พูด ข้าโง่เพียงใดที่ไปเชื่ออารจุนะ เขาสัญญาว่าจะปกป้องบุตรข้า ขณะที่แม้แต่พรัดยุมนะ อนิรุดดะ องค์บะละรามะ และองค์คริชณะไม่กล้าทำ หากบุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ไม่สามารถปกป้องบุตรข้า แล้วใครจะทำได้? ฉะนั้น ข้าขอประณามอารจุนะกับคำสัญญาที่ใช้ไม่ได้ ขอประณามธนูกาณดีวะอันเลื่องชื่อ รวมทั้งความอวดดื้อถือดีที่ประกาศว่าตนเองยิ่งใหญ่กว่าบะละรามะ คริชณะ พรัดยุมนะ และอนิรุดดะ ไม่มีผู้ใดช่วยบุตรข้าได้ เพราะถูกย้ายไปโลกอื่นแล้ว ด้วยความโง่เท่านั้นที่อารจุนะคิดว่าสามารถนำบุตรของข้ากลับคืนมาจากโลกอื่นได้”
เมื่อถูกพราหมณ์ประณาม อารจุนะทรงใช้พลังอิทธิฤทธิ์โยคะซึ่งทำให้สามารถเดินทางไปยังโลกอื่นเพื่อค้นหาทารกของพราหมณ์ ดูเหมือนว่าอารจุนะสำเร็จวิชาพลังอิทธิฤทธิ์โยคะ ซึ่งโยคีสามารถเดินทางไปยังดาวเคราะห์ดวงไหนก็ได้ตามความปรารถนา ก่อนอื่น อารจุนะไปที่ยมโลก (ยะมะโลคะ) สถานที่ที่ยมราชเทพเจ้าแห่งความตายประทับอยู่ อารจุนะค้นหาทารกของพราหมณ์แต่ไม่พบ จากนั้นไปยังโลกที่พระอินทร์เจ้าแห่งสวรรค์ประทับอยู่ เมื่อไม่พบทารกน้อยที่นั่น ไปโลกของเทพเจ้าแห่งไฟ ไปยังโลกของเทพไนรริทิ จากนั้นไปโลกพระจันทร์ แล้วไปวายุโลคะ และวะรุณะโลคะ เมื่อหาทารกน้อยไม่พบบนดาวเคราะห์เหล่านี้ อารจุนะได้ลงไปยังโลกระสาทะละซึ่งเป็นระบบดาวเคราะห์ที่ต่าสุด หลังจากเดินทางไปโลกต่างๆ ทั้งหมดนี้แล้วในที่สุดไปที่พรหมโลก (บระฮมะโลคะ) สถานที่ซึ่งแม้แต่โยคีผู้มีฤทธิ์ไม่สามารถไปถึง ด้วยพระกรุณาของคริชณะทำให้อารจุนะมีฤทธิ์ไปถึงพรหมโลก ซึ่งอยู่สูงกว่าโลกสวรรค์ หลังจากค้นหาในโลกต่างๆทั้งหมดที่เป็นไปได้ แต่ไม่พบทารกน้อย อารจุนะตั้งใจกระโดดเข้ากองไฟดังที่สัญญากับพราหมณ์ว่า หากไม่สามารถนำทารกน้อยกลับคืนมาจะลุยไฟตาย อย่างไรก็ดี คริชณะทรงมีพระเมตตาต่ออารจุนะมากเพราะเป็นเพื่อนสนิท คริชณะทรงโน้มน้าวอารจุนะไม่ให้กระโดดเข้ากองไฟเพราะจะทำให้ขายหน้า ทรงแสดงให้เห็นว่าเนื่องจากเป็นเพื่อนกัน หากอารจุนะลุยไฟด้วยความสิ้นหวัง พระองค์จะถูกกล่าวโทษทางอ้อม ทรงห้ามไว้และให้ความมั่นใจว่าจะหาทารกน้อยให้พบ คริชณะตรัสต่ออารจุนะว่า “จงอย่าฆ่าตัวตายแบบโง่ๆ”
หลังจากตรัสกับอารจุนะเช่นนี้แล้ว องค์ภควาน คริชณะ ทรงเรียกราชรถทิพย์ของพระองค์ ทั้งคู่ขึ้นไปบนราชรถและมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ คริชณะทรงพลังอำนาจทั้งหมดสามารถพาเด็กน้อยกลับมาโดยไม่ต้องพยายาม เราควรระลึกว่า พระองค์ทรงแสดงบทมนุษย์ เหมือนที่มนุษย์ต้องมีความเพียรพยายามเพื่อให้บรรลุถึงความสำเร็จบางอย่าง ดังนั้น คริชณะทรงเหมือนมนุษย์ธรรมดาหรือเหมือนกับสหายอารจุนะ ออกจากดวาระคาไปเพื่อนำเอาทารกน้อยของพราหมณ์กลับคืนมา จากการปรากฏในสังคมมนุษย์และแสดงลีลาเป็นมนุษย์ คริชณะทรงแสดงให้เห็นว่าไม่มีบุคคลใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์ “องค์ภควานทรงยิ่งใหญ่” คือคำนิยามขององค์ภควาน ฉะนั้น อย่างน้อยภายในโลกวัตถุนี้ ขณะที่ทรงปรากฏคริชณะทรงพิสูจน์ว่าไม่มีบุคคลใดภายในจักรวาลจะยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์
ประทับอยู่บนราชรถพร้อมกับอารจุนะ คริชณะทรงมุ่งไปทางทิศเหนือข้ามระบบดาวเคราะห์มากมาย อธิบายไว้ใน ชรีมัด-ภควธัม ว่าเป็นสัพทะ-ดวีพะ, ดวีพะ หมายถึงเกาะ ดาวเคราะห์ทั้งหมดนี้บางครั้งวรรณกรรมพระเวทอธิบายว่าเป็น ดวีพะ ดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่เรียกว่าจัมบูดวีพะ อวกาศภายนอกถือว่าเป็นมหาสมุทรลมอันยิ่งใหญ่ และภายในมหาสมุทรลมอันยิ่งใหญ่มีเกาะอยู่มากมาย นั่นคือดาวเคราะห์ต่างๆ แต่ละดาวเคราะห์มีมหาสมุทรด้วยเช่นกัน บางดาวเคราะห์มีมหาสมุทรเป็นน้าเกลือ บางดาวเคราะห์เป็นมหาสมุทรน้านม บางดาวเคราะห์เป็นมหาสมุทรน้าสุรา และบางดาวเคราะห์เป็นมหาสมุทรกี (เนยใส) หรือน้ามัน ยังมีภูเขาที่แตกต่างกัน แต่ละดาวเคราะห์มีบรรยากาศที่ไม่เหมือนกัน
คริชณะทรงผ่านดาวเคราะห์ทั้งหมดนี้และมาถึงส่วนที่ปกคลุมจักรวาล ส่วนที่ปกคลุมจักรวาลนี้ ชรีมัด-ภควธัม อธิบายว่าเป็นความมืดที่ยิ่งใหญ่ โลกวัตถุโดยรวมอธิบายว่ามืดมิด ในท้องฟ้าที่เปิดมีแสงอาทิตย์ ดังนั้น จึงมีแสงสว่าง แต่ส่วนที่ถูกปกคลุม เพราะไม่มีแสงอาทิตย์จึงมืดมิดโดยธรรมชาติ เมื่อคริชณะทรงมาถึงชั้นที่ปกคลุมจักรวาลนี้ ม้าทั้งสี่ตัวที่ใช้ลากราชรถชื่อ ไชบยะ สุกรีวะ เมกะพุชพะ และบะลาฮะคะ ทั้งหมดลังเลที่จะเข้าไปในความมืด ความลังเลนี้เป็นหนึ่งในลีลาของ คริชณะ เนื่องจากม้าของคริชณะไม่ธรรมดา ม้าธรรมดาไปทั่วจักรวาลและเข้าไปในชั้นที่ปกคลุมด้านนอกไม่ได้ คริชณะทรงเป็นทิพย์ ราชรถ ม้า และทุกสิ่งที่สัมพันธ์กับพระองค์ก็เป็นทิพย์อยู่เหนือคุณสมบัติของโลกวัตถุเช่นเดียวกัน ควรระลึกไว้เสมอว่า คริชณะทรงเล่นบทมนุษย์ปุถุชนธรรมดา ม้าของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน ด้วยพระประสงค์ของคริชณะ ม้าจึงแสดงบทเป็นม้าธรรมดาที่ลังเลใจจะเข้าไปในความมืด
คริชณะทรงพระนามว่าโยเกชวะระ กล่าวในตอนท้ายของ ภควัต-คีตา ว่า โยเกชวะระ ฮะริ พลังอิทธิฤทธิ์ทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของคริชณะ จากประสบการณ์เราเห็นมนุษย์มากมายที่มีพลังอิทธิฤทธิ์โยคะ บ้างสามารถแสดงสิ่งที่น่าอัศจรรย์มาก แต่เข้าใจว่าคริชณะทรงเป็นปรมาจารย์ของพลังอิทธิฤทธิ์ทั้งหมด เมื่อเห็นม้าลังเลจะเข้าไปในความมืด คริชณะทรงปล่อยจักรสุดารชะนะทันที ซึ่งส่องแสงสว่างไสวในท้องฟ้ามากยิ่งกว่าแสงอาทิตย์เป็นพันๆเท่า ความมืดที่ครอบคลุมจักรวาลเป็นการสร้างของคริชณะ และ สุดารชะนะ ชัคระ เป็นอาวุธคู่มือของคริชณะ ดังนั้น ความมืดสว่างขึ้นเมื่อจักรสุดารชะนะนำทาง ชรีมัด-ภควธัม กล่าวว่า จักรสุดารชะนะทำลายความมืดเหมือนกับศรจากธนูชางกะที่พระรามทรงแผลงออกไป เพื่อทำลายกองทัพของราวะณะ สุ หมายถึง “ดีมาก” และดารชะนะ หมายถึง “เห็น” ด้วยความกรุณาแห่งจักรของคริชณะ สุดารชะนะ จึงสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ดีโดยไม่มีสิ่งใดอยู่ในความมืด เช่นนี้ องค์ภควาน คริชณะ และอารจุนะได้ข้ามพ้นขอบเขตอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งความมืดที่ปกคลุมจักรวาลวัตถุ
จากนั้น อารจุนะทรงเห็นรัศมีของแสงเจิดจรัสมีชื่อว่าบระฮมะจโยทิ, บระฮมะจโยทิ อยู่นอกเหนือไปจากส่วนที่ครอบคลุมจักรวาลวัตถุ เนื่องจากสายตาวัตถุของเราไม่สามารถเห็น บางครั้งบระฮมะจโยทิ นี้เรียกว่าอัพยัคทะ รัศมีทิพย์นี้เป็นเป้าหมายสูงสุดของนักวิชาการพระเวทผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ บระฮมะจโยทิ อธิบายว่าเป็น อนันทะพารัม ไร้ขอบเขตและหยั่งไม่ถึง เมื่อคริชณะและอารจุนะมาถึงเขตของบระฮมะจโยทิ อารจุนะทรงทนต่อแสงรัศมีที่เจิดจรัสไม่ไหว ต้องปิดตา คริชณะและอารจุนะมาถึงอาณาเขตบระฮมะจโยทิ อธิบายในวรรณกรรมพระเวท ฮะริวัมชะ คริชณะตรัสว่า “อารจุนะที่รัก รัศมีที่เจิดจรัส แสงทิพย์ที่เธอเห็นอยู่นี้เป็นรัศมีมาจากตัวข้า โอ้ ผู้นำแห่งผู้สืบราชวงศ์บะระทะ บระฮมะจโยทิ นี้คือตัวข้า” เสมือนดวงอาทิตย์และแสงอาทิตย์แยกกันไม่ได้ฉันใด คริชณะและบระฮมะจโยทิ ซึ่งเป็นรัศมีจากพระวรกายของพระองค์แยกกันไม่ได้ฉันนั้น คริชณะทรงอ้างว่าบระฮมะจโยทิ คือตัวพระองค์เอง กล่าวไว้อย่างชัดเจนใน ฮะริวัมชะ เมื่อคริชณะตรัสว่า “อฮัม สะฮ” บระฮมะจโยทิ เป็นการรวมกันของละอองอณูเล็กๆ ที่เป็นละอองทิพย์หรือสิ่งมีชีวิตเรียกว่า ชิทคะนะ คำพระเวท โส ฮัม หรือ “ข้าคือบระฮมะจโยทิ” ใช้กับสิ่งมีชีวิตก็ได้ ที่อ้างว่าตนเองเป็นของ บระฮมะจโยทิ ด้วย ใน ฮะริวัมชะ คริชณะทรงอธิบายต่อว่า “บระฮมะจโยทิ นี้เป็นภาคแบ่งแยกแห่งพลังงานทิพย์ของข้า”
คริชณะตรัสต่ออารจุนะว่า “บระฮมะจโยทิ อยู่เหนืออาณาเขตแห่งพลังงานเบื้องต่าของข้า ซึ่งมีชื่อว่ามายา-ชัคทิ” เมื่อเราอยู่ในโลกวัตถุ เป็นไปไม่ได้ที่จะมีประสบการณ์กับรัศมีบระฮมันนี้ ฉะนั้น ในโลกวัตถุรัศมีนี้ไม่ปรากฏ แต่ปรากฏอยู่ในโลกทิพย์ นั่นคือคำอธิบายของคำว่า วยัคทะ-อัพยัคทะ ในภควัต-คีตา กล่าวว่า อัพยัคโท ่วยัคทาท สะนาทะนะฮ พลังงานทั้งสองนี้ปรากฏอยู่นิรันดร
หลังจากนี้ องค์ภควาน คริชณะ และอารจุนะทรงเข้าไปในน้าทิพย์อันกว้างใหญ่ไพศาลเรียกว่า มหาสมุทรคาระณารณะวะ หรือ วิระจา หมายความว่า มหาสมุทรนี้เป็นแหล่งกำเนิดแห่งการสร้างโลกวัตถุ ในวรรณกรรมพระเวท มริทยุนจะยะ ทันทระ อธิบายถึงมหาสมุทรคาระณะหรือวิระจาอย่างชัดเจน กล่าวว่าระบบดาวเคราะห์สูงสุดภายในโลกวัตถุนี้คือสัทยะโลคะหรือบระฮมะโลคะ (พรหมโลก) เหนือไปกว่านั้นมี รุดระโลคะ และ มะฮา-วิชณุโลคะ เกี่ยวกับ มะฮา-วิชณุโลคะ กล่าวใน บระฮมะ-สัมฮิทา ว่า ยะฮ คาระณารณะวะ-จะเล บะจะทิ สมะ โยกะ “องค์ภควาน มะฮา-วิชณุ ทรงบรรทมอยู่ในมหาสมุทรคาระณะ เมื่อทรงหายใจออก จักรวาลจำนวนนับไม่ถ้วนปรากฏออกมา และเมื่อทรงหายใจเข้า จักรวาลจำนวนนับไม่ถ้วนเข้าไปภายในพระองค์” เช่นนี้ การสร้างทางวัตถุปรากฏออกมาและถูกดูดเข้าไปอีกครั้ง เมื่อองค์ภควานคริชณะและอารจุนะเข้าไปในน้า ปรากฏว่ามีพายุแรงจากการต้มของรัศมีทิพย์ น้าในมหาสมุทรคาระณะเกิดปั่นป่วนมาก ด้วยพระกรุณาธิคุณของคริชณะทำให้อารจุนะมีประสบการณ์เห็นมหาสมุทรคาระณะสวยงามมาก
คริชณะทรงร่วมไปด้วย อารจุนะได้เห็นราชวังมโหฬารภายในน้า มีเสาเป็นพันๆต้นและแนวที่ทำด้วยอัญมณีอันล้าค่า รัศมีเจิดจรัสของแนวเหล่านี้สวยงามมากจนทำให้อารจุนะหลงใหล ภายในราชวังอารจุนะและคริชณะทรงเห็นรูปลักษณ์มหึมาของอนันทะเดวะ ผู้มีอีกพระนามว่าเชชะ องค์ภควาน อนันทะเดวะหรือเชชะนากะในรูปของพญานาคมหึมาที่มีพันๆเศียร แต่ละเศียรประดับไปด้วยอัญมณีล้าค่าที่ส่องรัศมี ด้วยแสงเจิดจรัสงดงาม แต่ละเศียรของอนันทะเดวะมีสองตาดูน่ากลัวมาก ลำตัวมีสีขาวเหมือนยอดเขาไกรลาศที่ปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา คอและลิ้นมีสีน้าเงิน อารจุนะเห็นรูปลักษณ์ของเชชะนากะและเห็นว่าบนพระวรกายสีขาวที่นุ่มนวลของเชชะนากะ มหา-วิชณุทรงบรรทมอยู่อย่างสบาย ดูเหมือนแพร่กระจายไปทั่วและมีพลังอำนาจมาก อารจุนะทรงเข้าใจว่าองค์ภควานในรูปลักษณ์นี้มีพระนามว่าพุรุโชททะมะ พุรุโชททะมะหมายความว่าดีที่สุดหรือองค์ภควาน จากรูปลักษณ์นี้ทำให้พระวิชณุอีกรูปหนึ่ง การโบดะคะชายี วิชณุ ทรงปรากฏออกมาภายในจักรวาลวัตถุ พุรุโชททะมะ (พุรุชะ-อุททะมะ) ทรงอยู่เหนือโลกวัตถุ ทะมะ หมายถึงความมืด และอุท หมายถึง “อยู่เหนือหรือเป็นทิพย์” ฉะนั้น อุททะมะ หมายถึงอยู่เหนือขอบเขตแห่งความมืดของโลกวัตถุ อารจุนะทรงเห็นว่าสีของพระวรกายแห่งพุรุโชททะมะ มหา-วิชณุ เข้มเหมือนเมฆใหม่ในฤดูฝน ทรงอาภรณ์สีเหลืองอร่ามสวยงามมาก พระพักตร์ยิ้มแย้มอย่างสง่างามตลอดเวลา พระเนตรคล้ายกลีบดอกบัวมีเสน่ห์มาก มงกุฏประดับด้วยอัญมณีล้าค่า ต่างหูที่สวยงามเพิ่มพูนความงามของผมหยักศกบนศีรษะ มหา-วิชณุทรงมีแปดกรยาวมาถึงหัวเข่า พระศอประดับด้วยอัญมณี คะอุสทุบะ พระอุระมีเครื่องหมายชรีวัทสะ หมายถึงที่พำนักของเทพธิดาแห่งโชคลาภ คล้องพวงมาลัยดอกบัวที่ยาวลงไปถึงหัวเข่า เรียกว่าพวงมาลัย ไวจะยันที
องค์ภควานทรงรายล้อมไปด้วยพระสหายสนิท นันดะ และ สุนันดะ พร้อมบุคลิกภาพแห่งกงจักรสุดารชะนะยืนอยู่เคียงข้าง ดังคัมภีร์พระเวทกล่าวว่า พระองค์ทรงมีพลังงานมากมาย บุคลิกภาพเหล่านี้ยืนอยู่ ณ ที่นี้ ที่สำคัญสุดมีดังนี้ พุชทิ พลังบำรุงเลี้ยง ชรี พลังสง่างาม คีรทิ พลังเกียรติยศ และอจา พลังการสร้างวัตถุ พลังงานทั้งหมดนี้ให้แก่ผู้บริหารโลกวัตถุ เช่น พระพรหม พระศิวะ และพระวิชณุ รวมทั้งพระอินทร์ (เจ้าแห่งสวรรค์) พระจันทร์ พระวะรุณะ และพระอาทิตย์ อีกนัยหนึ่ง เทวดาทั้งหมดที่ได้รับพลังอำนาจโดยเฉพาะจากองค์ภควาน ปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่พระองค์ รูปลักษณ์มหา-วิชณุ เป็นภาคแบ่งแยกแห่งพระวรกายของ คริชณะ ยืนยันไว้ในบระฮมะ-สัมฮิทา ว่า มหา-วิชณุทรงเป็นส่วนหนึ่งของภาคแบ่งแยกอันสมบูรณ์ของคริชณะ ภาคแบ่งแยกทั้งหมดนี้ไม่แตกต่างจากองค์ภควาน เนื่องจากคริชณะทรงปรากฏภายในโลกวัตถุนี้เพื่อแสดงลีลาในบทมนุษย์ พระองค์และอารจุนะทรงก้มลงกราบ มหา-วิชณุ ถวายความเคารพทันที กล่าวไว้ใน ชรีมัด-ภควธัม ว่า คริชณะทรงถวายความเคารพแด่ มหา-วิชณุ หมายความว่า ทรงถวายความเคารพแด่ตัวพระองค์เอง เพราะ มหา-วิชณุทรงไม่แตกต่างไปจาก คริชณะ อย่างไรก็ดี การถวายความเคารพของคริชณะต่อ มหา-วิชณุ มิใช่เป็นการบูชา อฮังกระฮะ-อุพาชะนา ซึ่งบางครั้งแนะนำไว้สำหรับบุคคลผู้พยายามพัฒนาตนเองให้ไปถึงโลกทิพย์ด้วยการทำพิธีบูชาแห่งความรู้ เช่นนี้ กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา ด้วยว่า กยานะ-ยะกเยนะ ชาพิ อันเท ยะจันโท มาม อุพาสะเท
ถึงแม้ไม่มีความจำเป็นที่คริชณะต้องถวายความเคารพ เพราะพระองค์ทรงเป็นปรมาจารย์ แต่ทรงสอนอารจุนะว่าควรถวายความเคารพแด่ มหา-วิชณุ อย่างไร อารจุนะรู้สึกกลัวมากที่ได้เห็นทุกสิ่งยิ่งใหญ่อลังการ แตกต่างไปจากประสบการณ์ในโลกวัตถุ เมื่อเห็นคริชณะถวายความเคารพแด่ มหา-วิชณุ อารจุนปฏิบัติตามทันที มายืนอยู่ต่อหน้าองค์ภควานด้วยมือพนม หลังจากนี้ร่างอันมหึมาของ มหา-วิชณุ ทรงยินดี ยิ้มด้วยความชื่นชม และตรัสดังนี้
“คริชณะและอารจุนะที่รัก ข้ามีความยินดีมากที่ได้พบท่านทั้งสอง ดังนั้น ข้าจึงจัดการเอาทารกน้อยของพราหมณ์ทั้งหมดมาที่นี่ คาดว่าจะพบท่านทั้งสองที่ราชวังนี้ ท่านปรากฏในโลกวัตถุในฐานะเป็นอวตารของข้า เพื่อตัดทอนกำลังของคนมารที่ทำให้โลกเป็นภาระ บัดนี้ หลังจากสังหารมารผู้ไม่พึงปรารถนาทั้งหมด ท่านกรุณากลับมาหาข้าอีกครั้ง ท่านทั้งสองเป็นอวตารของนักปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยม นะระ-นารายะณะ แม้สมบูรณ์อยู่ในตัวในการปกป้องสาวกและทำลายมาร โดยเฉพาะเพื่อสถาปนาหลักธรรมแห่งศาสนาในโลก เพื่อโลกจะได้มีความสงบร่มเย็นต่อไป ท่านได้สอนหลักธรรมพื้นฐานแห่งศาสนาที่แท้จริง เพื่อผู้คนในโลกอาจปฏิบัติตาม จะได้มีสันติภาพและเจริญรุ่งเรือง”
ทั้งคริชณะและอารจุนะถวายความเคารพแด่ มหา-วิชณุ นำเอาลูกๆของพราหมณ์กลับมา ทั้งคู่เดินทางกลับดวาระคาโดยเส้นทางเดียวกันกับที่ได้ออกไปโลกทิพย์ ลูกๆของพราหมณ์ทั้งหมดเจริญเติบโตขึ้น พอกลับมาถึงดวาระคา คริชณะและอารจุนะทรงส่งเด็กๆทั้งหมดคืนให้พราหมณ์
อารจุนะรู้สึกอัศจรรย์ใจมากหลังจากไปเยืยนโลกทิพย์ ด้วยพระกรุณาธิคุณของคริชณะที่ให้อารจุนะสามารถเข้าใจว่า ความมั่งคั่งใดๆที่มีอยู่ภายในโลกวัตถุนี้มาจากคริชณะ ผู้มีความมั่งคั่งใดๆภายในโลกวัตถุนี้เนื่องมาจากพระเมตตาธิคุณของ คริชณะ ดังนั้น ควรอยู่ในคริชณะจิตสำนึกเสมอด้วยสำนึกถึงพระคุณของคริชณะโดยสมบูรณ์ เพราะไม่ว่าสิ่งใดที่เรามี มาจากพระเมตตาธิคุณของคริชณะทั้งนั้น
ประสบการณ์อันน่าอัศจรรย์ของอารจุนะ เนื่องมาจากพระเมตตาธิคุณของคริชณะ เป็นหนึ่งในหลายๆพันลีลาที่คริชณะทรงแสดงขณะประทับอยู่ในโลกวัตถุ ทั้งหมดมีเอกลักษณ์และไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบได้ในประวัติศาสตร์โลก ลีลาทั้งหมดนี้พิสูจน์อย่างสมบูรณ์ว่า คริชณะคือองค์ภควาน แต่ขณะประทับอยู่ภายในโลกวัตถุทรงเล่นบทมนุษย์ธรรมดาที่มีภารกิจทางโลกมากมาย ทรงเล่นบทคฤหัสถ์ที่ดีเลิศ แม้มีมเหสี 16,000 องค์ มี 16,000 วัง และมีบุตรธิดา 160,000 องค์ ยังทรงทำพิธีบูชามากมายเพื่อสอนราชวงศ์ว่า ควรใช้ชีวิตในโลกวัตถุนี้อย่างไร เพื่อประโยชน์สุขแห่งมวลมนุษยชาติ ในฐานะเป็นบุคลิกภาพสูงสุดที่ดีเลิศ ทรงสนองตอบความปรารถนาของทุกคน จากพราหมณ์ผู้สูงสุดในสังคมมนุษย์ ลงไปถึงสิ่งมีชีวิตธรรมดา รวมทั้งมนุษย์ต่าสุด เหมือนกับพระอินทร์ทรงดูแลจัดส่งฝนไปทั่วโลกเพื่อให้ทุกๆชีวิตพึงพอใจ คริชณะทรงทำให้ทุกชีวิตพอใจด้วยการแผ่พระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ลงมา พระภารกิจคือปกป้องสาวกและสังหารเหล่ากษัตริย์มาร ฉะนั้น พระองค์ทรงสังหารมารเป็นร้อยๆพันๆตน บ้างสังหารเอง บ้างอารจุนะผู้แทนของคริชณะทรงเป็นผู้สังหาร เช่นนี้ ทรงสถาปนากษัตริย์ผู้ทรงธรรมมากมาย เช่น ยุดิชทิระ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ในโลก ดังนั้น ด้วยการบริหารจัดการตามวิถีทิพย์ พระองค์ทรงสร้างรัฐบาลแห่งกษัตริย์ยุดิชทิระ ส่งผลให้เกิดความสงบร่มเย็นไปทั่ว
ดังนั้น ขอจบคำอธิบายโดยบัคธิเวดันธะ หนังสือ “องค์ภควาน คริชณะ”
บทที่แปดสิบแปด “พลังอันล้าเลิศของคริชณะ”
บทที่แปดสิบแปด “พลังอันล้าเลิศของคริชณะ”