บทที่ สิบเอ็ด
ลักษณะของการรับใช้ทิพย์
การรับใช้ทิพย์
ในความเห็นของ คารมี(คนทำางานเพื่อผลทางวัตถุ) การถวายผลของ คารมะ เรียกว่าการรับใช้ แต่ตามไวชณะวะ อาชารยะ เช่น รูพะ โกสวามี การรับใช้หมายความว่าปฎิบัติรับใช้บางอย่างแด่องค์ภควานอยู่ตลอดเวลา
ใน สคันดะ พุราณะ กล่าวว่าพวกที่ยึดติดอยู่กับพิธีกรรมดังเช่น สี่ระดับของชีวิตสังคมและสี่ระดับของชีวิตทิพย์ พิจารณาว่าเป็นสาวก แต่สาวกผู้ปฎิบัติจริงในการถวายการรับใช้โดยตรงต่อองค์ภควานเป็น บากะวะธะ หรือสาวกผู้บริสุทธิ์ พวกที่ทำากิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุหรือทำาหน้าที่ที่กำาหนดไว้ตามสี่ระดับของชีวิตสังคมและชีวิตทิพย์อันที่จริงไม่ใช่สาวกผู้บริสุทธิ์ แต่เนื่องจากถวายผลของงานให้กับองค์ภควานจึงยอมรับว่าเป็นสาวก เมื่อไม่มีความปรารถนาเช่นนี้ แต่ปฎิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยใจรักพระองค์ บุคคลเช่นนี้ต้องยอมรับว่าเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ พันธวิญญาณทั้งหมดที่มาสัมผัสกับโลกวัตถุต้องการเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุไม่มากก็น้อย ระบบ วารณาชระมะ และหน้าที่ที่กำาหนดไว้ภายใต้ระบบนี้ ออกแบบไว้เพื่อให้พันธวิญญาณอาจหาความสุขทางโลกวัตถุตามที่ตนปรารถนาจะสนองประสาทสัมผัส ในขณะเดียวกันก็ค่อยๆ พัฒนามาเข้าใจวิถีทิพย์ ภายใต้หน้าที่ที่กำาหนดไว้ของ วารณะ และ อาชระมะ มีกิจกรรมมากมายที่เป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในคริชณะจิตสำานึก สาวกที่เป็นคฤหัสถ์ยอมรับการปฏิบัติพิธีกรรมทางพระเวทรวมทั้งหน้าที่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่กำาหนดไว้ เพราะทั้งคู่หมายไว้เพื่อให้คริชณะทรงพอพระทัย เมื่อสาวกคฤหัสถ์ปฏิบัติตามพิธีกรรมทางพระเวทและทำาไปเพื่อให้คริชณะทรงพอพระทัย ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่ากิจกรรมใดที่มุ่งเพื่อให้องค์ภควานทรงพอพระทัยพิจารณาว่าเป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้
ชรีละ รูพะ โกสวามี อธิบายถึงผู้ที่เหมาะสมมาปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ โดยกล่าวว่าสาวกนวกะพัฒนาความรักเล็กน้อยต่อองค์ภควานจะไม่สนใจกับกิจกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัส เมื่อเทียบสัดส่วนกับการอุทิศตนเสียสละ แต่หากยังยึดติดอยู่บ้างกับกิจกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัส ผลของกิจกรรมเหล่านี้ควรถวายให้คริชณะ เช่นนี้ก็เรียกว่าปฏิบัติในการรับใช้องค์ภควาน คือพระองค์ทรงเป็นเจ้านายและคนทำางานเป็นผู้รับใช้
ใน นาระดียะ พุราณะ มีข้อความว่าการรับใช้นี้เป็นทิพย์ได้อย่างไร โดยกล่าวว่าหากบุคคลปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยร่างกาย จิตใจ และคำาพูดตลอดเวลา หรือแม้แต่หากไม่ปฏิบัติจริงแต่เพียงปรารถนาจะทำาเช่นนั้น พิจารณาว่าเขาหลุดพ้นแล้ว
การอุทิศตนเสียสละรับใช้ในฐานะเพื่อน
การอุิศตนเสียสละรับใช้ในฐานะเพื่อนแบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือปฏิบัติเป็นผู้รับใช้ที่ใกล้ชิดขององค์ภควาน อีกประเภทคือปฏิบัติเป็นผู้ปรารถนาดีขององค์ภควาน สาวกผู้มั่นใจในการอุุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานจะปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเป็นระบบ ด้วยความศรัทธาว่าจะบรรลุถึงระดับแห่งชีวิตทิพย์ ประเภทสองของการอุทิศตนเสียสละในฐานะเพื่อนคือมาเป็นผู้ปรารถนาดีขององค์ภควาน ใน ภควัต-คีตากล่าวว่าพระองค์ทรงยอมรับว่าครูผู้สอนเป็นผู้รับใช้ที่รักยิ่ง ผู้ใดที่สอนสาส์นลับแห่ง ภควัต-คีตา ให้แก่คนโดยทั่วไปเป็นที่รักยิ่งของคริชณะจนไม่มีผู้ใดเทียบใด้ในสังคมมนุษ์
ใน มหาภารตะ โดรพะดีตรัสว่า “โกวินดะที่รัก พระองค์ทรงสัญญาว่าสาวกของพระองค์จะไม่มีวันถูกทำาลาย ข้าเชื่อเช่นนี้ ดังนั้น ในความยากลำาบากทั้งปวง ข้าพเจ้าเพียงแต่ระลึกถึงสัญญาของพระองค์และดำาเนินชีวิตต่อไป” คำาอธิบายคือ โดรพะดีและสามีพานดะวะทั้งห้าถูกญาติพี่น้องดุรโยดะนะ และคนอื่นๆ ทำาให้ต้องตกระกำาลำาบาก ลำาบากมากจนกระทั่งบีชมะเดวะ ผู้เป็นทั้งบระฮมะชารีตลอดชาติและยอดนักรบ บางครั้งคิดถึงพวกเขาแล้วนำาตาไหล ประหลาดใจอยู่เสมอว่าถึงแม้พวกพานดะวะเป็นคนดีมีคุณธรรมและโดรพะดีอันที่จริงคือเทพธิดาแห่งโชคลาภ ถึงแม้ว่าคริชณะทรงเป็นเพื่อน พวกเขายังต้องลำาบากมากถึงเพียงนี้ แม้ความยากลำาบากจะแสนสาหัสไม่ธรรมดา แต่โดรพะดี ไม่เคยหมดกำาลังใจ รู้ดีว่าคริชณะทรงเป็นเพื่อน และในที่สุดพวกนางจะปลอดภัย
มีข้อความคล้ายกันนี้ในภาคสิบเอ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่สอง โศลก 53 ว่า ฮะวิ โอรสของกษัตริย์ริชะบะ ตรัสกับมะฮาราจะ นิมิ ว่า ”กษัตริย์ที่รัก คนที่ไม่เบี่ยงเบนแม้วินาทีเดียวในการรับใช้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควาน (การรับใช้ที่เทวดาผู้ยิ่งใหญ่เช่นพระอินทร์ยังแสวงหา) ด้วยความมั่นใจว่าไม่มีสิ่งใดที่น่าบูชาหรือปรารถามากไปกว่านี้ เช่นนี้เรียกว่าสาวกชั้นหนึ่ง”
ชรี รูพะ โกสวามี กล่าวว่า สาวกนวกะผู้ที่เพียงแต่พัฒนาความรักต่อองค์ภค วานเพียงเล็กน้อยแน่นอนว่าเป็นผู้สมัครที่มีโอกาสก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สถานภาพที่แน่นอนเช่นนี้กลายมาเป็นส่วนลับในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ของเขา
บางครั้งจะพบว่าสาวกผู้บริสุทธิ์นอนอยู่ในวัดขององค์ภควานเพื่อรับใช้ในฐานะเพื่อนที่ใกล้ชิด ความประพฤติฉันเพื่อนของสาวกเช่นนี้อาจยอมรับว่าเป็นธรรมชาติ หรือ รากานุกา ถึงแม้ตามกฎระเบียบ ไม่มีผู้ใดสามารถนอนในวัดของพระองค์ได้ ความรักองค์ภควานโดยธรรมชาติเช่นนี้อาจจัดให้อยู่ในกลุ่มของการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในฐานะเพื่อน
ศิโรราบทุกอย่างต่อองค์ภควาน
เกี่ยวกับการศิโรราบโดยสมบูรณ์ มีข้อความอันสวยงามมากในภาคสิบเอ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่ยี่สิบเก้า โศลก 34 องค์ภควานตรัสว่า “คนที่ศิโรราบต่อข้าโดยสมบูรณ์และยกเลิกกิจกรรมอื่นๆ ทั้งหมด ข้าจะปกป้องเขาโดยตรงทั้งในชาตินี้และชาติหน้า อีกนัยหนึ่ง ข้าปรารถนาส่งเสริมให้เขาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในชีวิตทิพย์ บุคคลเช่นนี้เข้าใจว่าบรรลุถึง สารชทิ(มีความมั่งคั่งเทียบเท่าองค์ภควาน) เรียบร้อยแล้ว” ยังยืนยันใน ภควัต-คีตา ว่า ทันทีที่บุคคลศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวของคริชณะ คริชณะทรงดูแลและรับประกันว่าจะปกป้องเขาจากผลบาปทั้งปวง พระองค์ยังทรงแนะนำาจากภายในเพื่อสาวกจะได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในความสมบูรณ์ทิพย์
ตนเอง-ศิโรราบ นี้เรียกว่า อาทมา-นิเวดะนะ ผู้ที่น่าเชื่อถือได้มากมายให้คำานิยาม ตนเอง ต่างกัน บางครั้ง ตนเอง หมายถึงดวงวิญญาณ บางครั้ง ตนเอง หมายถึงจิตใจ หรือร่างกาย ดังนั้น ตนเอง-ศิโรราบ อย่างสมบูรณ์แบบไม่ได้หมายถึงการศิโรราบตนเองหรือในฐานะที่เป็นดวงวิญญาณเท่านั้น แต่ยังศิโรราบจิตใจและร่างกายในการรับใช้องค์ภควานอีกด้วย สัมพันธ์กับตรงนี้ ชรีละ บัคธิวิโนดะ ทาคุระ ได้ร้องเพลงอันไพเราะขณะที่ถวายตนเองในฐานะดวงวิญญาณผู้ศิโรราบอย่างสมบูรณ์ โดยกล่าวว่า “จิตใจของข้า กิจธุระภายในบ้านข้า ร่างกายของข้า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ข้าถือครอง โอ้ องค์ภควานที่รัก ข้าพเจ้าขอถวายให้พระองค์เพื่อเป็นการรับใช้ บัดนี้ ทรงสามารถทำาตามที่พระองค์ทรงปราถนา พระองค์ทรงเป็นเจ้าของสูงสุดของทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั้น หากปรารถนาพระองค์ทรงสามารถสังหารข้า หรือปกป้องข้า สิทธิอำานาจทั้งหมดเป็นของพระองค์ ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะเรียกร้องว่าเป็นของข้า”
ในบทมนต์ที่ถวายให้องค์ภควาน ชรี ยามุนาชารยะ ได้แสดงแนวคิดคล้ายกันนี้ดังต่อไปนี้ “องค์ภควานที่รัก ข้าพเจ้าอาจอาศัยอยู่ในร่างมนุษย์หรือในร่างเทวดา แต่ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใหนของชีวิต ข้าไม่สนใจ เพราะมันเป็นผลพลอยได้จากสามระดับแห่งธรรชาติวัตถุ และข้าพเจ้าผู้เป็นเจ้าของอยู่ในร่างเหล่านี้ขอศิโรราบตนเองแด่พระองค์”
ใน ฮะริ-บัคธิ-วิเวคะ มีข้อความเกี่ยวกับการถวายร่างกายในการศิโรราบตนเองได้อย่างไร โดยสาวกกล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก เหมือนกับสัตว์ที่ถูกขายไปแล้วไม่จำาเป็นต้องมานั่งคิดเกี่ยวกับการบำารุงรักษาและการหาเลี้ยงชีพ” อีกนัยหนึ่ง เราไม่ควรเป็นห่วงเกี่ยวกับการบำารุงรักษาและการเลี้ยงดูทั้งตนเองและครอบครัว หากศิโรราบอย่างแท้จริงทั้งร่างกายและดวงวิญญาณ เราควรระลึกเสมอว่าสิ่งเดียวที่เป็นห่วงคือการรับใช้องค์ภควาน
ชรีละ รูพะ โกสวามี กล่าวว่าการอุทิศตนเสียสละแบบ เพื่อน และการอุทิศตนเสียสละแบบ ตนเอง-ศิโรราบ เป็นสองวิธีที่ยาก ดังนั้น ความสัมพันธ์กับองค์ภควานเช่นนี้หาได้ยากมาก สาวกผู้เจริญก้าวหน้าแล้วเท่านั้นจึงสามารถปฏิบัติสองวิธีนี้ได้อย่างง่ายดาย คำาอธิบายคือ หาได้ยากมากที่จะเห็นการศิโรราบที่ผสมกับการอุทิศตนที่ปลื้มปีติสุขอย่างจริงใจ เราต้องถวายตนเองไปกับความปรารถนาขององค์ภควานโดยสมบูรณ์
ถวายสิ่งที่ชื่นชอบ
ในภาคสิบเอ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่สิบเอ็ด โศลก 41 องค์คริชณะตรัสกับอุดดะวะว่า “เพื่อนรัก หากใครถวายสิ่งที่ดีที่สุดที่เขามีอยู่ หรือสิ่งที่เขาชื่นชอบมาก เขาจะได้ประโยชน์นิรันดร”
พยายามทั้งหมดเพื่อคริชณะ
ใน นาระดะ-พันชะราทระ มีข้อความว่าจะปฏิบัติตนในทุกช่วงของชีวิตเพื่อความพึงพอพระทัยของคริชณะได้อย่างไร กล่าวว่าบุคคลผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้จริงต้องปฏิบัติกิจกรรมทั้งหมด ทั้งที่กำาหนดไว้ในพระคัมภีร์ที่เปิดเผยและที่ยอมรับว่าเป็นการหาเลี้ยงชีพ อีกนัยหนึ่ง สาวกไม่ใช่ปฏิบัติเฉพาะหน้าที่ที่กำาหนดไว้ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ดังที่ได้กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ที่เปิดเผยเท่านั้น แต่ควรปฏิบัติหน้าที่ของชีวิตภาคปฏิบัติใน คริชณะจิตสำานึกด้วย ตัวอย่างเช่น สาวกผู้มีธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่โต อาจถวายผลแห่งการเป็นเจ้าของวัตถุเหล่านี้เพื่อเป็นการรับใช้องค์ภควาน
เป็นดวงวิญญาณที่ศิโรราบ
ใน ฮะริ-บัคธิ-วิลาสะ มีข้อความดังต่อไปนี้เกี่ยวกับ ตนเอง-ศิโรราบ ว่า “องค์ภควานที่รัก บุคคลที่ศิโรราบตนเองต่อพระองค์ ผู้มีความมั่นใจอย่างแน่วแน่ว่าตัวเขาเป็นของพระองค์ และปฏิบัติดังนี้จริงด้วยร่างกาย จิตใจ และคำาพูด จะสามารถได้รับรสแห่งความปลื้มปีติสุขทิพย์อย่างแท้จริง”
ใน นริสิมฮะ พุราณะ องค์นริสิมฮะตรัสว่า “ผู้ใดที่สวดมนต์ภาวนาแด่ข้า มีข้าเป็นที่พึ่ง อยู่ภายใต้การพิทักษ์ของข้า ข้าจะปกป้องเขาเสมอจากความหายนะทั้งปวง”
รับใช้ต้นไม้เช่น ทุละสี
ใน สคันดะ พุราณะ มีข้อความสรรเสริญต้น ทุละสีดังนี้ “ข้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่ต้น ทุละสี ผู้ซึ่งสามารถขจัดความบาปอย่างมากมายได้ในทันที เพียงแต่ได้เห็นหรือสัมผัสกับต้นไม้นี้สามารถปลดเปลื้องเราจากความทุกข์และโรคร้ายทั้งปวง เพียงแต่แสดงความเคารพและรดน้ำาที่ต้น ทุละสีเราจะเป็นอิสระจากความกลัวที่จะถูกส่งไปยังศาลของยมราช (เจ้าแห่งความตายผู้ลงโทษคนบาป) หากผู้ใดปลูกต้น ทุละสีแน่นอนว่าเขาจะอุทิศตนเสียสละแด่คริชณะ และเมื่อนำาใบ ทุละสี ไปถวายที่พระบาทรูปดอกบัวของ คริชณะด้วยการอุทิศตนเสียสละ จะมีการพัฒนาความรักแด่องค์ภควานโดยสมบูรณ์”
ที่ประเทศอินเดีย ชาวฮินดูทั้งหมดแม้ไม่อยู่ในกลุ่มไวชณะวะก็จะดูแลต้น ทุละสี เป็นพิเศษ แม้ในเมืองใหญ่ๆ ที่การดูแลต้น ทุละสีเป็นเรื่องยากลำาบากมาก เราจะเห็นผู้คนดูแลรักษาต้น ทุละสีนี้เป็นอย่างดี พวกเขารดนำาและแสดงความเคารพ เพราะการบูชาต้น ทุละสี มีความสำาคัญมากในการอุทิศตนเสียสละรับใช้
ใน สคันดะ พุราณะ มีอีกข้อความเกี่ยวกับ ทุละสี ดังนี้ “ทุละสีเป็นต้นไม้ที่มีความเป็นสิริมงคลด้วยประการทั้งปวง เพียงแต่ได้เห็น เพียงแต่ได้สัมผัส เพียงแต่ระลึกถึง เพียงแต่สวดมนต์ภาวนา เพียงแต่ก้มลงกราบต่อหน้า เพียงแต่ได้ฟังเกี่ยวกับพระนาง หรือเพียงแต่ได้ปลูกต้น ทุละสีจะเป็นสิริมงคลเสมอ ผู้ใดที่มาสัมผัสกับต้น ทุละสี ในวิธีที่กล่าวไว้เบื้องต้นจะได้อยู่ในโลก ไวคุณธะ นิรันดร