น้ําทิพย์
แห่งการอุทิศตนเสียสละ

บทที่ สิบสาม

การอุทิศตนเสียสละรับใช้ห้าประเภท

ที่มีศักยภาพ

รูพะ โกสวามี ได้กล่าวถึงห้าประเภทแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เช่น พำานักอยู่ที่มะทุำรา บูชาพระปฏิมาขององค์ภควาน อ่าน ชรีมัด-บากะวะธัม รับใช้สาวก และสวดภาวนาบทมนต์ ฮะเร คริชณะ การยึดมั่นแม้เพียงเล็กน้อยในการปฏิบัติหนึ่งในห้าประเภทนี้ มีศักยภาพมากจนสามารถกระตุ้นความปลื้มปีติสุขในการอุทิศตนเสียสละแม้เป็นนวกะ

เกี่ยวกับการบูชารูปลักษณ์ขององค์ภควาน หรือพระปฏิมา รูพะ โกสวามี ได้เขียนโศลกดังต่อไปนี้ “เพื่อนรัก หากท่านยังมีความปรารถนาจะหาความสุขกับเพื่อนๆ ภายในโลกวัตถุนี้ จงอย่าไปมองดูรูปลักษณ์ของคริชณะผู้ยืนอยู่ที่ริมฝั่งนำา้เคชี-กาทะ (สระอาบนำา้ที่วรินดาวะนะ) มีพระนามว่าโกวินดะ มีดวงตาที่มีเสน่ห์มาก พระองค์ทรงเป่าขลุ่ย บนเศียรประดับด้วยหางนกยูง และทั่วพระวรกายมีรัศมีของดวงจันทร์บนท้องฟ้า”

คำาอธิบายของโศลกนี้คือ หากผู้ใดมายึดมั่นต่อ ชรี-มูรทิ หรือพระปฏิมาของ คริชณะด้วยการบูชาอยู่ที่บ้าน เขาจะลืมความสัมพันธกับสิ่งที่สมมุติว่าเป็นเพื่อน ความรัก และสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์ทุกท่านที่ควรสถาปนาพระปฏิมาขององค์ภควานไว้ที่บ้าน และเริ่มทำาพิธีบูชาพร้อมกับสมาชิกในครอบครัว เพราะจะช่วยปกป้องทุกคนจากกิจกรรมที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ไปเที่ยวไนท์คลับ ดูภาพยนต์ งานเต้นรำา สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ฯลฯ หากมาเน้นการบูชาพระปฏิมาที่บ้านจะทำาให้ลืมสิ่งไร้สาระเหล่านี้ทั้งหมด

รูพะ โกสวามี ยังเขียนต่อไปว่า “เพื่อนโง่ๆ ที่รัก ข้าคิดว่าท่านเคยได้ยินเกี่ยวกับหนังสือมงคล ชรีมัด-บากะวะธัม แล้ว ซึ่งติเตียนการแสวงหาผลประโยชน์จากกิจกรรมทางวัตถุ การพัฒนาเศรษฐกิจ และความหลุดพ้น บัดนี้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่าโศลกใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคสิบ ที่อธิบายถึงลีลาขององค์ภควานจะเข้าไปที่หูและไปในหัวใจของท่าน”

ในตอนเริ่มต้นของ ชรีมัด-บากะวะธัม กล่าวไว้ว่า นอกจากบุคคลสามารถโยนทิ้งผลประโยชน์จากพิธีกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจ และความหลุดพ้นหรือมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควาน เสมือนเป็นขยะ มิฉะนั้น จะไม่สามารถเข้าใจ ชรีมัด-บากะวะธัม, ชรีมัด-บากะวะธัม จะกล่าวถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยเฉพาะ คนที่ศึกษา ชรีมัด-บากะวะธัม ด้วยจิตวิญญาณแห่งการเสียสละเท่านั้นจึงสามารถเข้าใจลีลาขององค์ภควานดังที่อธิบายไว้ในภาคสิบ อีกนัยหนึ่ง เราไม่ควารพยายามเข้าใจเรื่องราวในภาคสิบ เช่นราสะ-ลีลา (ลีลาศแห่งความรัก) นอกจากมีความชื่นชอบ ชรีมัด-บากะวะธัม โดยธรรมชาติ เราต้องสถิตย์อยู่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ ก่อนที่จะได้รับรสของ ชรีมัด-บากะวะธัม ตามความเป็นจริง

สองโศลกข้างต้นของ รูพะ โกสวามี มีอุปมาดูเหมือนกับประณามการคบหาสมาคมทางวัตถุกับสังคม มิตรภาพ และความรักโดยอ้อม โดยทั่วไปผู้คนชื่นชอบกับสังคม มิตรภาพ และความรัก และพยายามบริหารจัดการด้วยความพยายามอย่างแรงกล้าเพื่อพัฒนามลทินทางวัตถุเหล่านี้ แต่การได้เห็น ชรี-มูรทิของราดาและคริชณะ ทำาให้ลืมความพยายามเพื่อคบหาสมาคมทางวัตถุเหล่านี้ รูพะ โกสวามี เรียบเรียงโศลกในวิธีที่ดูเหมือนกับสรรเสริญการคบหาสมาคมทางวัตถุแห่งมิตรภาพและความรัก และประณามผู้ที่ไปชื่นชม ชรีมูทิ หรือโกวินดะ อุปมานี้ทำาให้ดูเหมือนว่าสิ่งที่ควรสรรเสริญกลับถูกประณาม และสิ่งที่ควรถูกประณามกลับได้รับการสรรเสริญ ความหมายที่แท้จริงของโศลกนี้คือ หากต้องการจะลืมสิ่งที่ไร้สาระทางวัตถุ เช่น มิตรภาพ ความรัก และสังคม เราต้องมองดูรูปลักษณ์ของโกวินดะ

ชรีละ รูพะ โกสวามีได้อธิบายคล้ายๆ กันนี้ถึงธรรมชาติทิพย์ในการได้รับรสเรื่องราวที่เกี่ยวกับคริณะ ครั้งหนึ่งสาวกกล่าวว่า “มันน่าประหลาดใจอะไรเช่นนี้ ที่ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เห็นองค์ภควานผู้ถูกชะล้างด้วยนำา้ตาจากดวงตาของข้า ตัวข้าสั่น และพระองค์ทรงทำาให้ข้าล้มเหลวในการทำาหน้าที่ทางวัตถุ ตั้งแต่ได้เห็นองค์ภควานข้าพเจ้าไม่สามารถอยู่เฉยๆ ที่บ้าน ได้แต่ปรารถนาจะออกไปหาพระองค์เสมอ” คำาอธิบายของข้อความนี้คือ ทันทีที่บุคคลโชคดีพอมาสัมผัสกับสาวกผู้บริสุทธิ์ เขาต้องมีความกระตือรือร้นโดยทันทีในการที่จะฟังเกี่ยวกับคริชณะ และเรียนรู้เกี่ยวกับคริชณะ อีกนัยหนึ่ง คือมีคริชณะจิตสำานึกโดยสมบูรณ์

ลักษณะเดียวกัน มีข้อความเกี่ยวกับการฟังและการสวดภาวนามหามนต์ (มะฮา-มันทระ) “ได้กล่าวไว้ว่า เหล่านักบุญสามารถฟังคลื่นเสียงพิณ วีนา ที่ดีดจากมือของ นาระดะพร้อมกับร้องเพลงสรรเสริญองค์คริชณะอยู่ตลอดเวลา บัดนี้ คลื่นเสียงเดียวกันนี้ได้เข้ามาในหูของข้า และข้ารู้สึกว่าองค์ภควานทรงปรากฏอยู่เสมอ แล้วข้าพเจ้าค่อยๆ เลิกยึดติดอยู่กับความสุขทางวัตถุทั้งปวง”

อีกครั้งหนึ่งที่ ชรี รูพะ โกสวามี อธิบายถึง มะทุำรา-มัณดะละ ว่า “ข้าพเจ้าจำาได้ว่าองค์ภควานทรงยืนอยู่ที่ริมฝั่งแม่นำา้ยะมุนา มีความสง่างามมากท่ามกลางต้น คะดัมบะ มีนกมากมายส่งเสียงกันอย่างร่าเริง สิ่งประทับใจเหล่านี้ทำาให้ข้ารู้แจ้งทิพย์ถึงความงดงามและความปลื้มปีติสุขทิพย์” ความรู้สึกเช่นนี้เกี่ยวกับ มะทุำรา-มัณดะละ และวรินดาวะนะ ดังที่ รูพะ โกสวามี อธิบาย แม้ผู่ไม่ใช่สาวกก็สามารถรู้สึกได้จริง จังหวัดมะทุำรามีเนื้อที่ 168 ตารางไมล์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่นำา้ทั้งสองข้างของยะมุนาซึ่งมีความสวยสดงดงามมาก ผู้ใดไปที่นั่นจะไม่ปรารถนากลับมายังโลกวัตถุนี้อีก ข้อความของ รูพะ โกสวามี นี้ อันที่จริงเป็นการอธิบายด้วยความรู้แจ้งแห่งมะทุำราและวรินดาวะนะ คุณสมบัติเหล่านี้ทั้งหมดพิสูจน์ให้เห็นว่ามะทุำราและวรินดาวะนะสถิตอยู่ในระดับทิพย์ มิฉะนั้น จะกระตุ้นความรู้สึกทิพย์ของพวกเรากับสถานที่เหล่านี้ไม่ได้ ความรู้สึกทิพย์เช่นนี้ถูกระตุ้นขึ้นมาทันทีโดยไม่พลาดหลังจากที่ได้มาถึงมะทุำราหรือวรินดาวะนะ

ข้อความเกี่ยวกับการอุทิศตนเสียสละเหล่านี้ บางครั้งดูเหมือนจะประเมิณผลเกินความเป็นจริง แต่อันที่จริงมิได้ประเมิณเกินความจริง ดังที่พระคัมภีร์ที่เปิดเผยได้ให้หลักฐานไว้ว่า จากการที่สาวกบางท่านมาคบหาสมาคมเช่นนี้แล้วได้รับผลทันที แม้จะเป็นไปไม่ได้สำาหรับทุกคน ตัวอย่างเช่น สี่กุมาร (คุมาระ) เพียงแต่ได้ดมกลิ่นธูปในวัดก็กลายมาเป็นสาวกทันที บิลวะมังกะละ ทาคุระ เพียงได้ยินเกี่ยวกับคริชณะก็ยกเลิกเพื่อนหญิงสาวสวยทันที และเริ่มเดินทางไปมะทุำราและวรินดาวะนะ ซึ่งท่านได้กลายมาเป็นไวชณะวะที่สมบูรณ์ ดังนั้น ข้อความเหล่านี้ไม่เกินความเป็นจริงและไม่ใช่เป็นนิทาน แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง เป็นจริงเฉพาะสาวกบางรูปเท่านั้นไม่จำาเป็นที่จะใช้ได้กับทุกคน ข้อความเหล่านี้ถึงแม้พิจารณาว่าเกินจริง ควรต้องรับไว้ตามนี้เพื่อหันเหความสนใจของเราจากความงามทางวัตถุที่มีระยะเวลาสั้นๆ แล้วมาสนใจที่ความงามแห่งคริชณะจิตสำานึกที่เป็นนิรันดร สำาหรับคนที่มาสัมผัสกับคริชณะจิตสำานึกแล้ว ผลลัพธ์ที่กล่าวมาไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผิดธรรรมดา

นักวิชาการบางท่านเถียงว่า จากการปฏิบัติตามหลักธรรมของ วารณะ และ อาช ระมะ เราจะสามารถค่อยๆ พัฒนามาถึงระดับความสมบูรณ์เช่นเดียวกับผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะไปถึง แต่การถกเถียงเช่นนี้ผู้ที่น่าเชื่อถือได้ไม่ยอมรับ องค์เชธันญะทรงประนามแนวคิดนี้เช่นกัน ขณะที่ตรัสเกี่ยวกับการค่อยๆ พัฒนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้ พระองค์ทรงปฏิเสธถึงความสำาคัญของ วารณาชระมะ-ดารมะ ที่ รามานันดะ รายะ กล่าวถึง เชธันญะตรัสว่าความก้าวหน้าของ วารณะ และ อาชระมะ นี้เป็นเพียงภายนอก ยังมีหลักธรรมที่สูงกว่า ใน ภควัต-คีตา องค์ภควานตรัสไว้เช่นกันว่า เราต้องยกเลิกหลักธรรมอื่นๆ ทั้งหมดเพื่อการพัฒนา และเพีียงแต่ปฏิบัติตามวิธีแห่งคริชณะจิตสำานึก เช่นนี้จะช่วยให้บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต

ในภาคสิบเอ็ด บทที่ยี่สิบ โศลก 9 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม องค์ภควานตรัสว่า “บุคคลควรปฏิบัติตามหน้าที่ดังที่กำาหนดไว้ใน วารณะ และ อาชระมะ ตราบเท่าที่ยังไม่พัฒนาความยึดมั่นในการฟังลีลาและกิจกรรมของข้า” อีกนัยหนึ่ง รูปแบบที่กำาหนดไว้ใน วารณะ และ อาชระมะ เป็นพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สนองประสาทสัมผัส และเพื่อความหลุดพ้น ทั้งหมดนี้แนะนำาไว้สำาหรับคนที่ยังไม่พัฒนาคริชณะจิตสำานึก อันที่จริง กิจกรรมทั้งหมดนี้ได้แนะนำาไว้ในพระคัมภีร์ที่เปิดเผยเพื่อนำาคนให้มาถึงระดับแห่งคริชณะจิตสำานึก แต่สำาหรับคนที่พัฒนาความยึดมั่นโดยธรรมชาติต่อคริชณะแล้ว ไม่จำาเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ดังที่กำาหนดไว้ในพระคัมภีร์