น้ําทิพย์
แห่งการอุทิศตนเสียสละ

บทที่ สิบสี่

คุณสมบัติแห่งการอุทิศตนเสียสละ

นักวิชาการบางท่านแนะนำาว่าความรู้และการเสียสละเป็นปัจจัยสำาคัญในการพัฒนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แต่ไม่เป็นความจริง การพัฒนาความรู้หรือการเสียสละซึ่งเป็นสิ่งเอื้ออำานวยให้มาถึงฐานแห่งคริชณะจิตสำานึก อาจยอมรับได้ในตอนเริ่มต้นแต่ในที่สุดอาจต้องปฏิเสธด้วยเช่นกัน เพราะการอุทิศตนเสียสละรับใช้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกหรือปรารถนาเพื่อรับใช้เช่นนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่น ไม่จำาเป็นต้องมีสิ่งใด นอกจากความจริงใจ

เป็นความคิดเห็นของสาวกผู้มีความชำานาญว่า การคาดคะเนและความเพียรที่ผิดธรรมชาติในการฝึกปฏิบัติโยคะอาจเอื้อำานวยให้หลุดพ้นจากมลทินทางวัตถุ แต่ก็ทำาให้หัวใจแข็งกระด้างขึ้น ไม่ช่วยให้ก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้เลย ดังนั้น วิธีการเหล่านี้ไม่เอื้ออำานวยให้เข้าถึงการรับใช้ทิพย์ด้วยใจรักต่อองค์ภควาน อันที่จริง การอุทิศตนเสียสละรับใช้ในคริชณะจิตสำานึกในตัวเองเป็นวิถีทางเดียวที่จะก้าวหน้าในชีวิตแห่งการอุทิศตนเสียสละ การอุทิศตนเสียสละรับใช้มีความสมบูรณ์ เป็นทั้งเหตุและผล บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นทั้งเหตุและผลของทุกสิ่งที่มีอยู่ การเข้าพบพระองค์ผู้ทรงสมบูรณ์ จึงต้องนำาวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ซึ่่งมีความสมบูรณ์เช่นเดียวกันมาปฏิบัติ

องค์ภควานทรงยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า “บุคคลสามารถเข้าใจข้าผ่านทางการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น” ในตอนเริ่มต้นที่สอน ภควัต-คีตา คริชณะตรัสกับอารจุนะว่า “เพราะว่าเธอเป็นสาวกของข้า ข้าจะสอนความลับเหล่านี้แด่เธอ” ความรู้พระเวทหมายถึงในที่สุดให้เข้าใจองค์ภควานสูงสุด และวิธีแห่งการเข้าถึงอาณาจักรของพระองค์คือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เช่นนี้เป็นที่ยอมรับโดยพระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ทั้งหมด การคาดคะเนทางจิตละเลยวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และเพียงแต่พยายามเอาชนะผู้อื่นด้วยการค้นคว้าทางปรัชญาเท่านั้น พวกเขาจึงไม่ได้พัฒนาความปลื้มปีติสุขแห่งการอุทิศตนเสียสละ

ในภาคสิบเอ็ด บทที่ยี่สิบ โศลก 31 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม คริชณะตรัสว่า “อุดดะวะที่รัก สำาหรับบุคคลผู้ปฏิบัติรับใช้ข้าอย่างจริงจัง การพัฒนาวิธีคาดคะเนทางปรัชญาและการเสียสละที่ผิดธรรมชาติไม่เป็นสิ่งเอื้ออำานวยนัก เมื่อบุคคลมาเป็นสาวกของข้า เขาจะได้รับผลลัพธ์จากการเสียสละ ความรื่นเริงทางวัตถุ และได้รับความรู้พอเพียงที่จะเข้าใจสัจธรรมที่สมบูรณ์” นี่คือข้อพิสูจน์ความก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สาวกไม่อยู่ในที่มืด เพราะองค์ภควานทรงแสดงความชื่นชอบเป็นพิเศษและให้แสงสว่างจากภายใน

ในภาคสิบเอ็ด บทที่ยี่สิบ โศลก 32 และ 33 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม องค์ภควานตรัสสอนอุดดะวะต่อ ว่า “เพื่อนรัก ผลกำาไรที่ได้จากกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ ความสมถะ การพัฒนาความรู้ทางปรัชญา การเสียสละ การฝึกปฏิบัติโยคะเพื่ออิทธิฤทธิ์ การให้ทาน และกิจกรรมมงคลคล้ายๆ กันนี้ทั้งหมด สาวกของข้าบรรลุถึงโดยปริยาย ผู้ที่ยึดมั่นต่อข้าโดยการรับใช้ด้วยใจรัก สาวกเหล่านี้มีทุกสิ่งตามที่ใจปรารถนา แต่พวกเขาไม่ต้องการอะไรนอกจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อข้า แต่หากสาวกอาจปรารถนาผลกำาไรทางวัตถุ เช่นเจริญขึ้นไปบนสวรรค์ หรือปราถนาผลกำาไรทิพย์ เช่นไปยังไวคุณธะ ด้วยพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ของข้า ความปรารถนาของพวกเขาจะได้รับการสนองตอบโดยง่ายดาย”

อันที่จริง บุคคลผู้พัฒนาคริชณะจิตสำานึกและยังยึดติดกับความสุขทางวัตถุอยู่บ้าง ในไม่ช้าจะเป็นอิสระจากแนวโน้มเช่นนี้ จากการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างสม่ำาเสมอภายใต้คำาสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์

จากนั้น ชรีละ รูพะ โกสวามี แนะนำาว่าเราไม่ควรยึดติดอยู่กับความสุชทางประสาทสัมผัสวัตถุ แต่ควรยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความสุขซึ่งสัมพันธ์กับคริชณะ ตัวอย่างเช่น การรับประทานเป็นสิ่งจำาเป็น เราต้องการอาหารจานอร่อยเพื่อสนองประสาทสัมผัสที่รับรส ในกรณีนี้ เพื่อความพึงพอพระทัยของคริชณะแทนที่จะทำาเพื่อความพึงพอใจของลิ้น เราอาจเตรียมปรุงอาหารรสอร่อยแล้วถวายให้คริชณะ เช่นนี้ เป็นการเสียสละ ให้มีการปรุงอาหารอย่างเอร็ดอร่อยแต่ต้องถวายให้คริชณะก่อน แล้วเราค่อยรับมารับประทาน คำาปฏิญาณซึ่งปฏิเสธทุกสิ่งที่ไม่ถวายให้คริชณะเป็นการเสียสละโดยแท้จริง และจากการเสียสละเช่นนี้ เราสามารถทำาให้อุปสงค์ของประสาทสัมผัสพึงพอใจ

ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์พยายามหลีกเลี่ยงทุกสิ่งที่เป็นวัตถุ อาจต้องปฏิบัติสมถะอย่างมากมาย แต่พลาดโอกาสที่จะได้รับใช้องค์ภควาน ดังนั้น การเสียสละเช่นนี้ไม่เพียงพอเพื่อความสมบูรณ์ มีตัวอย่างมากมายที่ผู้เสียสละแบบผิดธรรมชาติเช่นนี้ ไม่ได้สัมผัสกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์จะตกลงต่ำาอีกครั้งและไปหลงอยู่กับมลทินทางวัตถุ แม้ในปัจจุบัน มีคนที่สมมุติว่าเป็นผู้เสียสละมากมายเป็น สันนยาสีหรือผู้สละโลกอย่างเป็นทางการ ภายนอกอ้างว่าความมีอยู่ทิพย์เป็นจริง และความมีอยู่ทางวัตถุไม่เป็นจริง เช่นนี้พวกเขาวางท่าว่าเป็นผู้สละโลกอย่างผิดธรรมชาติ อย่างไรก็ดี เนื่องจากไม่สามารถมาถึงจุดแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ จึงไม่บรรลุถึงเป้าหมายและกลับมาทำากิจกรรมทางวัตถุอีกครั้ง เช่นงานสังคมสงเคราะห์ และวุ่นวายอยู่กับการเมือง มีตัวอย่างมากมายของผู้สมมุติว่าเป็น สันนยาสี ที่ยกเลิกโลกวัตถุว่าไม่จริง แล้วก็กลับมาโลกวัตถุนี้อีกครั้ง เพราะพวกเขามิได้แสวงหาความสงบแท้จริงที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควาน

เราไม่ควรยกเลิกสิ่งใดที่สามารถนำามารับใช้องค์ภควานได้ นี่คือความลับของการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สิ่งใดที่สามารถนำามาใช้และก้าวหน้าในคริชณะจิตสำานึกและการอุทิศตนเสียสละรับใช้ควรยอมรับ ตัวอย่างเช่น เราใช้อุปกรณ์ทันสมัยมากมายเพื่อพัฒนาขบวนการคริชณะจิตสำานึกในปัจจุบัน อุปกรณ์เช่นเครื่องพิมพ์ดีด เครื่องอัดเสียง เทปบันทึก โทรศัพท์ และเครื่องบิน บางครั้งผู้คนถามเราว่า “ทำาไมใช้ผลผลิตทางวัตถุในเมื่อคุณประณามความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ” แต่อันที่จริงเราไม่ได้ประณาม เราเพียงแต่บอกผู้คนให้ทำาในสิ่งที่กำาลังทำาอยู่ในคริชณะจิตสำานึก นี่คือหลักธรรมเดียวกันกับ ภควัต-คีตา ซึ่งคริชณะทรงแนะนำาอารจุนะให้ใช้ความสามารถในการสู้รบด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ลักษณะเดียวกัน เราใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการรับใช้คริชณะด้วยความรู้สึกเช่นนี้ต่อคริชณะหรือคริชณะจิตสำานึก เราสามารถยอมรับทุกสิ่งทุกอย่าง หากเครื่องพิมพ์ดีดสามารถนำามาใช้เพื่อพัฒนาขบวนการคริชณะจิตสำานึก เราต้องยอมรับ เช่นเดียวกัน เครื่องบันทึกเสียงหรืออุปกรณ์ทุกอย่างต้องนำามาใช้ วิสัยทัศน์ของเราคือ คริชณะทรงเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง คริชณะทรงเป็นเหตุและผล ไม่มีอะไรเป็นของเรา ดังนั้น สิ่งของของ คริชณะต้องนำามาเพื่อรับใช้คริชณะ นี่คือวิสัยทัศน์ของเรา

อย่างไรก็ดี เช่นนี้ มิได้หมายความว่าเราควรยกเลิกหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หรือละเลยที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบดังที่ได้อธิบายไว้ ในระดับนวกะแห่งการอุทิศตนเสียสละเราต้องปฏิบัติตามหลักธรรมทั้งหมดตามที่พระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ได้กำาหนดไว้ การยอมรับและการปฏิเสธสิ่งต่างๆ ควรให้สอดคล้องกับหลักแห่่งการอุทิศตนเสียสละเสมอ ไม่ใช่ว่าเราผลิตแนวคิดบางอย่างตามอำาเภอใจว่าอะไรควรยอมรับ และอะไรควรปฏิเสธ พระอาจารย์ทิพย์ในฐานะที่เป็นปรากฎการให้เห็นของคริชณะ มีความจำาเป็นเพื่อชี้แนะสาวกแทนองค์ภควานบุคิกภาพสูงสุดแห่่งพระเจ้า

พระอาจารย์ทิพย์ต้องไม่ลืมตัวไปกับการสะสมทรัพย์สมบัติและแสวงหาลูกศิษย์มากๆ พระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้จะไม่มีวันเป็นเช่นนี้ แต่บางครั้งมีพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือไม่ได้อย่างถูกต้อง มาเป็นพระอาจารย์ทิพย์ด้วยตนเอง อาจลืมตัวไปกับการสะสมทรัพย์สมบัติหรือแสวงหาสาวกมากๆ ผู้นี้ไม่อยู่ในระดับสูงแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หากบุคคลลืมตัวไปกับการบรรลุเป้าหมายเช่นนี้ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ของเขาอ่อนแอ ดังนั้น เราควรปฏิบัติตามหลักธรรมของ พะรัมพะรา อย่างเคร่งครัด

บุคคลในคริชณะจิตสำานึกบริสุทธิ์โดยธรรมชาติ ไม่จำาเป็นต้องพัฒนาเพื่อให้ความคิดและกิจกรรมบริสุทธิ์ขึ้นด้วยวิธีอื่น เนื่องจากพัฒนาสูงในคริชณะจิตสำานึก ท่านมีคุณสมบัติดีๆ ทั้งหมด พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ของวิธีปฏิบัติโยคะอิทธิฤทธิ์ กฎเกณฑ์เหล่านี้สาวกปฏิบัติโดยปริยาย ตัวอย่างเช่น คุณสมบัติการไม่เบียดเบียน ซึ่งพิจารณาว่าเป็นคุณสมบัติที่ดี สาวกเป็นผู้ไม่เบียดเบียนโดยธรรชาติ ดังนั้น จึงไม่ต้องฝึกปฏิบัติการไม่เบียดเบียนต่างหาก บางคนปรารถนาทำาให้ตนเองบริสุทธิ์ขึ้นด้วยการไปเข้ากับขบวนการมังสวิรัติ แต่สาวกเป็นนักมังสวิรัติโดยปริยาย โดยไม่ต้องไปฝึกปฏิบัตต่างหากหรือไปเข้ากับสมาคมมังสวิรัติ เขาเป็นนักมังสวิรัติโดยปริยาย

มีตัวอย่างอีกมากมายที่แสดงให้เห็นว่า สาวกไม่จำาเป็นต้องฝึกปฏิบัติอย่างอื่นนอกจากคริชณะจิตสำานึก คุณสมบัติดีๆ ทั้งหลายของเทวดาจะพัฒนาอยู่ในตัวสาวกโดยปริยาย พวกที่ตั้งใจฝึกปฏิบัติเป็นนักมังสวิรัติหรือเป็นผู้ไม่เบียดเบียนอาจมีคุณสสมบัติที่ดีตามการประเมิณทางวัตถุ แต่คุณสมบัติเหล่่านี้ไม่เพียงพอที่จะทำาให้เขาเป็นสาวก ทั้งนักมังสวิรัติและผู้ไม่เบียดเบียนไม่จำาเป็นต้องเป็นสาวก แต่สาวกจะเป็นทั้งนักมังสวิรัติและผู้ไม่เบียดเบียนโดยปริยาย ดังนั้น เราต้องสรุปได้ว่าทั้งมังสวิรัติและการไม่เบียดเบียนไม่ใช่สาเหตุแห่งการอุทิศตนเสียสละ

สัมพันธ์กับตรงนี้ มีเรื่องราวใน สคันดะ พุราณะ เกี่ยวกับนักล่าสัตว์ที่กลายมาเป็นสาวกภายใต้การสั่งสอนของ นาระดะ มุนิ เมื่อคนล่าสัตว์มาเป็นสาวกที่สมบูรณ์แล้ว เขาไม่ปรารถนาจะฆ่ามดแม้แต่ตัวเดียว พารวะทะ มุนิ ผู้เป็นเพื่อนของนาระดะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าอัศจรรย์ของคนล่าสัตว์เนื่องจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ กล่าวว่า “คนล่าสัตว์ที่รัก การที่เธอไม่เต็มใจที่จะฆ่าแม้แต่มดหนึ่งตัวไม่น่าประหลาดใจเท่าไรนัก เพราะคนที่พัฒนาท่าทีในการอุทิศตนเสัยสละรับใช้ จะมีคุณสมบัติดีๆ ทั้งหลายปรากฎอยู่ในตัวเขาโดยปริยาย สาวกไม่เคยเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ของผู้อื่น”

ชรี รูพะ โกสวามี ยืนยัน ณ ที่นี้ว่า การทำาให้จิตสำานึกบริสุทธิ์ การทำาให้กิจกรรมของร่างกายบริสุทธิ์ ความสมถะ ความสงบของจิตใจ ฯลฯ ทั้งหมดปรากฎอยู่ในบุคคลผู้ปฎิบัติการอุทิศตนเสีบสละรับใช้โดยปริยาย

ชรี รูพะ โกสวามี ยืนยัน ณ ที่นี้ว่า มีการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่เก้ารูปแบบคือ การฟัง สวดภาวนา จำา รับใช้ บูชาพระปฏิมาในวัด ถวายบทมนต์ ปฏิบัติตามคำาสั่ง รับใช้คริชณะในฐานะเพื่อน และเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระองค์ แต่ละรายการทั้งหมดนี้มีพลังมาก หากผู้ใดปฏิบัติตามแม้แต่รายการเดียวเขาจะบรรลุถึงความสมบูรณ์สมปรารถนาอย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่นหากมีคนหนึ่งยึดมั่นในการฟังเกี่ยวกับองค์ภควาน และอีกคนหนึ่งยึดมั่นในการสวดภาวนาพระบารมีแห่งพระนาม ทั้งคู่จะบรรลุถึงเป้าหมายตามที่ปรารถนาในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ได้อธิบายไว้ใน เชธันญะ-ชริทามริทะ ว่าบุคคลอาจปฏิบัติ หนึ่ง สอง สาม หรือปฏิบัติทุกวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และในที่สุดเขาจะบรรุถึงจุดมุ่งหมายสมปรารถนาดังที่สถาปนาไว้ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้

มีตัวอย่างชัดเจนว่าสาวกปฏิบัติหนึ่งในวิธีรับใช้เหล่านี้และบรรลุถึงความสมบูรณ์ได้อย่างไร กษัตริย์พะรีคชิททรงบรรลุถึงเป้าหมายที่ปรารถนาด้วยเพียงแต่ทรงสดับฟัง ชรีมัด-บากะวะธัม ชุคะเดวะ โกสวามี บรรลุถึงเป้าหมายทึี่ปรารถนาในชีวิตด้วยเพียงแต่พรรณา ชรีมัด-บากะวะธัม พระฮลาดะ มะฮาราจะ ทรงประสบความสำาเร็จในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยการระลึกถึงองค์ภควานเสมอ เทพธิดาแห่งโชคลาภ ลัคชมี ทรงประสบความสำาเร็จด้วยการนวดพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควาน กษัตริย์พริทุำทรงประสบความสำาเร็จด้วยการบูชาอยู่ในวัด อัครูระประสบความสำาเร็จด้วยการถวายบทมนต์ หนุมานประสบความสำาเร็จด้วยการถวายการรับใช้ส่วนตัวแด่พระรามชันดระ อารจุนะทรงประสบความสำาเร็จด้วยการเป็นเพื่อนของคริชณะ และ บะลิ มะฮาราจะ ทรงประสบความสำาเร็จด้วยเพียแต่ถวายทุกสิ่งที่ครอบครองแด่คริชณะ

มีตัวอย่างของสาวกที่ปฏิบัติทุกรายการทั้งหมดพร้อมกัน ในภาคเก้า บทที่สี่ โศลก 18, 19, 20 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม มีข้อความเกี่ยวกับ มะฮาราจะ อัมบะรีชะ ผู้ทรงปฏิบัติตามทุกวิธีแห่งการอุทิฯตนเสียสละ ในโศลกเหล่านี้ ชุคะเดวะ โกสวามี กล่าวว่า “กษัตริย์ อัมบะรีชะ ก่อนอื่นทรงตั้งสมาธิจิตอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวของคริชณะ ตรัสอธิบายลีลาและกิจกรรมขององค์ภควาน ทรงใช้พระหัตถ์ล้างวัดขององค์ภควาน ทรงใช้พระกรรณสดับฟังพระบารมีขององค์ภควาน ทรงใช้พระเนตรดูพระปฏิมาอันสง่างามในวัด ทรงใช้พระวรกายอยู่ใกล้ชิดกับสาวกผู้บริสุทธิ์ (เมื่ออยู่ใกล้ชิดกับใครต้องนั่งด้วยกัน รับประทานอาหารด้วยกัน ฯลฯ เช่นนี้การสัมผัสร่างกายกันหลีกเลี่ยงไม่ได้ อัมบะรีชะ มะฮาราจะ ทรงมาอยู่ใกล้ชิดกับสาวกผู้บริสุทธิ์เท่านั้น ทรงไม่ยอมให้ผู้ใดมาสัมผัสพระวรกายของพระองค์) ทรงใช้พระนาสิกดมดอกไม้และ ทุละสีที่ถวายให้คริชณะ และทรงใช้พระชิวหารับรส คริชณะ พระสาดะ (อาหารปรุงโดยเฉพาะเพื่อถวายให้องค์ภควานแล้วสาวกนำาส่วนที่เหลือมารับประทาน) มะฮาราจะ อัมบะรีชะ ทรงถวาย พระสาดะ อย่างดีมากแด่คริชณะเพราะทรงเป็นกษัตริย์จึงไม่ขาดแคลนเรื่องเงินทอง พระองค์ทรงเคยถวายเครื่องเสวยอย่างยอดเยี่ยมอลังการและทรงเสวยส่วนที่เหลือเป็น คริชณะ-พระสาดะ ในฐานะที่เป็นพระราชาจึงทรงไม่มีการขาดแคลน ทรงมีวัดที่สวยงามมากซึ่งมีพระปฏิมาขององค์ภค วานประดับด้วยเครื่องประดับราคาแพง และถวายภัตตาหารชั้นหนึ่ง มีทุกสิ่งเพียบพร้อมสมบูรณ์ และการปฏิบัติของพระองค์ทรงบริบูรณ์ไปด้วยคริชณะจิตสำานึกเสมอ” แนวคิดคือ เราควรปฏิบัติตามรอยพระบาทของสาวกผู้ยิ่งใหญ่เสมอ หากราไม่สามารถปฏิบัติตามรายการอุทิศตนเสียสละรับใช้ได้ทั้งหมด อย่างน้อยเราต้องพยายามปฏิบัติหนึ่งอย่างดังที่อาชารยะ ในอดีตปฏิบัติเป็นตัวอย่าง หากเราปฏิบัติตามทั้งหมดในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ดังที่ มะฮาราจะ อัมบะรีชะ ทรงทำา เช่นนี้ ความสมบูรณ์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นที่รับประกันจากทุกรายการ จากการปฏิบัติรายการแรกอย่างสมบูรณ์ทำาให้เราไม่ยึดติดกับมลทินทางวัตถุโดยปริยาย และความหลุดพ้นกลายมาเป็นผู้รับใช้ของสาวก แนวคิดนี้ยืนยันโดย บิลวะมังกะละ ทาคุระ ว่า หากผู้ใดพัฒนาการอุทิศตนเสียสละแด่องค์ภควานอย่างบริสุทธิ์ ใจ ความหลุดพ้นจะติดตามสาวกในฐานะเป็นผู้รับใช้

ชรีละ รูพะ โกสวามี กล่าวว่าหลักธรรมโดยประมาณแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ บางครั้งผู้น่าเชื่อถือได้อธิบายว่าเป็นวิถีแห่งการรับใช้องค์ภควานในความมั่งคั่ง