น้ําทิพย์
แห่งการอุทิศตนเสียสละ

บทที่ สิบห้า

การอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยธรรมชาติ

ตัวอย่างของการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยธรรมชาติเห็นได้ง่ายในผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับ คริชณะโดยตรงที่วรินดาวะนะ กิจกรรมที่สัมพันธ์กันโดยธรรมชาติของชาววรินดาวะนะกับคริชณะเรียกว่า รากาทมิทคา ดวงชีวิตเหล่านี้ไม่จำาเป็นต้องเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ พวกเขาสมบูรณ์เรียบร้อยแล้วในหลักธรรมและกฎระเบียบทั้งหลายทั้งปวง และบรรลุถึงการรับใช้ด้วยความรักโดยธรรมชาติต่อองค์ภควาน ตัวอย่างเช่น เด็กเลี้ยงวัวที่เล่นกับคริชณะไม่จำาเป็นต้องเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับความสมถะ ความเพียร หรือฝึกปฏิบัติโยคะ เพื่อที่จะได้มาเล่นกับคริชณะ พวกเขาได้สอบผ่านหลักธรรมทั้งหมดนี้ในชาติปางก่อนแล้ว ผลลัพธ์คือบัดนี้ ได้พัฒนามาสู่สถานภาพที่ได้มาอยู่ใกล้ชิดกับคริชณะโดยตรงในฐานะเพื่อนรัก ท่าทีโดยธรรมชาติเช่นนี้เรียกว่า รากาทมิทคา-บัคธิ

ชรี รูพะ โกสวามี ได้ให้คำานิยาม รากาทมิคา-บัคธิ ว่าเป็นการชื่นชอบบางสิ่งโดยธรรมชาติขณะที่ซึมซาบความคิดอยู่ในสิ่งนั้นโดยสมบูรณ์ด้วยความปรารถนาแห่งความรักอย่างแรงกล้า การอุทิศตนเสียสละรับใช้ปฏิบัติด้วยความรู้สึกแห่งความรักโดยธรรมชาติเช่นนี้เรียกว่า รากาทมิทคา-บัคธิ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ภายใต้หัวข้อ รากาทมิทคาสามารถแบ่งออกได้อีกสองประเภทเรียกว่า “ชื่นชอบทางประสาทสัมผัส” และ “ความสัมพันธ์”

สัมพันธ์กับตรงนี้ มีข้อความที่ นาระดะ มุนิ กล่าวกับ ยุดิชทิระ ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคเจ็ด บทที่หนึ่ง โศลก 3 ว่า “กษัตริย์ที่รัก มีสาวกมากมายที่ครั้งแรกมาชื่นชอบองค์ภควานโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองประสาทสัมผัส อิจฉาพระองค์ กลัวพระองค์ หรือปรารถนาอยู่ใกล้ชิดกับพระองค์ด้วยความรัก ในที่สุดความชื่นชอบเหล่านี้เป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุทั้งปวง ผู้บูชาค่อยๆ พัฒนาความรักทิพย์ และบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิตที่สาวกผู้บริสุทธิ์ปรารถนา”

พวก โกปี อาจพิจารณาได้ว่าเป็นตัวอย่างของความรักโดยธรรมชาติในความชื่นชอบเพื่อสนองประสาทสัมผัส พวกโกปีเป็นหญิงสาวและคริชณะเป็นชายหนุ่ม โดยผิวเผินดูเหมือนว่าพวก โกปี ชื่นชอบคริชณะบนฐานแห่่งเพศสัมพันธ์ ลักษณะเดียวกันกษัตริย์คัมสะคิดถึงคริชณะเพราะความกลัว คัมสะกลัวคริชณะอยู่ตลอดเวลาเพราะได้ถูกทำานายไว้ว่าคริชณะบุตรของน้องสาวจะเป็นผู้มาสังหารตน ชิชุพาละ อิจฉาคริชณะ และชาวราชวงศ์ยะดุตลอดเวลา เนื่องจากเป็นราชวงศ์ของ คริชณะ คิดว่าคริชณะเป็นหนึ่งในสมาชิกของราชวงศ์ สาวกทั้งหลายเหล่านี้ชื่นชอบคริชณะตามธรรมชาติในระดับที่แตกต่างกัน และบรรลุถึงจุดมุ่งหมายแห่งชีวิตตามที่ปรารถนาเหมือนกัน

ความชื่นชอบที่พวก โกปี มีต่อคริชณะ และความรักที่ชาวราชวงศ์ยะดุมีต่อ คริชณะยอมรับว่าทั้งคู่เป็นไปตามธรรมชาติ หรือ รากาทมิทคา แรงดึงดูดที่ทำาให้คัมสะคิดถึงคริชณะมาจากความกลัว และชิชุพาละมาจากความอิจฉา ไม่ถือว่าเป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เพราะแรงดึงดูดไม่เป็นไปในเชิงบวก การอุทิศนเสียสละรับใช้ควรปฏิบัติด้วยกรอบของจิตใจในเชิงบวกเท่านั้น ฉะนั้น ตาม ชรีละ รูพะ โกสวามี แรงดึงดูดเช่นนี้ไม่พิจารณาว่าเป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้ อีกครั้งหนึ่งที่ท่านวิเคราะห์ว่าความรักของชาวราชวงศ์ยะดุ หากอยู่ในระดับของสหายถือว่าเป็นความรักโดยธรรมชาติ แต่หากอยู่ในระดับหลักธรรมที่ประมาณไว้ ก็ไม่ใช่ ความชื่นชอบที่มาถึงระดับแห่งความรักโดยธรรมชาติเท่านั้น จึงจะถือว่าอยู่ในประเภทการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์

อาจเป็นการยากลำาบากที่จะเข้าใจว่าทั้งพวก โกปี และคัมสะ บรรลุถึงเป้าหมายเหมือนกัน ดังนั้น ประเด็นนี้ควรทำาความเข้าใจอย่างชัดเจน เพราะท่าทีของชิชุพาละและคัมสะแตกต่างจากของพวกโกปี ถึงแม้ว่าในกรณีทั้งหมดเหล่านี้มีเป้าหมายอยู่ที่องค์ภควาน และสาวกทั้งหมดจะพัฒนาไปยังโลกทิพย์ แต่มีข้อแตกต่างระหว่างดวงวิญญาณสองประเภทนี้ ในภาคหนึ่งของ ชรีมัด-บากะวะธัม กล่าวว่า สัจธรรมที่สมบูรณ์ทรงเป็นหนึ่ง ทรงปรากฎเป็น บระฮมัน อันไร้รูปลักษณ์, พะระมาทมา (อภิวิญญาณ), และ บะกะวาน (องค์ภควานบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า) นี่คือข้อแตกต่างทิพย์ ถึงแม้ บระฮมัน, พะระมาทมา, และบะกะวาน เป็นสัจธรรมสมบูรณ์อันเดียวกันและเหมือนกัน สาวกเช่นคัมสะหรือชิชุพาละบรรลุถึงรัศมี บระฮมัน เท่านั้น ไม่สามารถรู้แจ้ง พะระมาทมา หรือ บะกะวาน นั่นคือข้อแตกต่าง

อุปมาได้ให้ไว้เหมือนกับดวงอาทิตย์และแสงอาทิตย์ การอยู่ในแสงอาทิตย์ไม่ได้หมายความว่าไปถึงดวงอาทิตย์ อุณหภูมิที่ดวงอาทิตย์แตกต่างจากอุณหภูมิที่แสงอาทิตย์ คนที่นั่งเครื่องบินหรือจรวดอยู่ในแสงอาทิตย์ไม่จำาเป็นว่าจะต้องไปถึงดวงอาทิตย์ ถึงแม้ว่าแสงอาทิตย์และดวงอาทิตย์อันที่จริงเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกัน ถึงกระนั้น ก็มีข้อแตกต่าง เพราะแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน และดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำาเนิดของพลังงาน ลักษณะเดียวกัน สัจธรรมที่สมบูรณ์และรัศมีจากพระวรกายของพระองค์เป็นหนึ่งเดียวและแตกต่างควบคู่กันไป คัมสะและชิชุพาละบรรลุถึงสัจธรรมที่สมบูรณ์แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในพระตำาหนัก โกโลคะ วรินดาวะนะ พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์และศัตรูมีแรงจูงใจจึงได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอาณาจักรของพระองค์ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในโลกไวคุณธะ หรือ โกโลคะ วรินดาวะนะ การเข้าไปในอาณาจักรและการเข้าไปในพระราชวังของกษัตริย์นั้นไม่เหมือนกัน

ณ ที่นี้ ชรีละ รูพะ โกสวามี พยายามอธิบายถึงการบรรลุที่ไม่เหมือนกันระหว่างพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์และพวกที่เชื่อในรูปลักษณ์ โดยทั่วไป พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์และพวกเป็นศัตรูขององค์ภควาน เมื่อและหากว่ามาถึงจุดสมบูรณ์ทิพย์ จะได้เข้าไปใน บระฮมัน อันไร้รูปลักษณ์เท่านั้น นักปราชญ์ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ ด้านหนึ่งก็เหมือนเป็นศัตรูของพระองค์ เพราะศัตรูตัวยงขององค์ภควานและพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ทั้งคู่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในรัศมีอันไร้รูปลักษณ์ของบระฮมะจโยทิเท่านั้น ดังนั้น เข้าใจได้ว่าทั้งคู่อยู่ในประเภทที่คล้ายกัน อันที่จริง พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์เป็นศัตรูขององค์ภควาน เพราะพวกเขาทนไม่ได้กับความมั่งคั่งอันหาที่เปรียบเทียบไม่ได้ของพระองค์ และพยายามวางตนเองให้อยู่ในระดับเดียวกันกับพระองค์ เช่นนี้เนื่องมาจากท่าทีที่มีความอิจฉาริษยา ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำ ทรงประกาศว่าพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์เป็นผู้ทำาอาบัติต่อองค์ภควาน อย่างไรก็ดี พระองค์ทรงมีพระเมตตามาก แม้เป็นศัตรูก็ยังได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอาณาจักรทิพย์ อยู่ใน บระฮมะจโยทิ อันไร้รูปลักษณ์ซึ่งเป็นรัศมีอันแยกไม่ออกของสัจธรรม

บางครั้งผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์อาจพัฒนาตนเองมาถึงแนวคิดอันมีรูปลักษณ์ขององค์ภควาน ภควัต-คีตา ยืนยันไว้ดังนี้ “หลังจากหลายต่อหลายชาติ ผู้ที่มีความรู้อย่างแท้จริง ศิโรราบต่อข้า” จากการศิโรราบเช่นนี้ ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์สามารถพัฒนาไปยัง ไวคุณธะ โลคะ (โลกทิพย์) ในฐานะที่เป็นดวงวิญญาณผู้ศิโรราบเขาได้รับรูปลักษณ์ที่คล้ายกับองค์ภควาน

ใน บระฮมาณดะ พุราณะ กล่าวว่า “พวกที่หลุดพ้นจากมลทินทางวัตถุ และพวกที่เป็นมารที่ถูกองค์ภควานสังหารมาซึมซาบในแนวคิดชีวิตแห่ง บระฮมัน และพำานักอยู่ในท้องฟ้าทิพย์แห่ง บระฮมะจโยทิ” ท้องฟ้าทิพย์อยู่สูงกว่าท้องฟ้าวัตถุมากมายนัก ภควัต-คีตา ได้ยืนยันเช่นกันว่าเหนือไปกว่าท้องฟ้าวัตถุนี้ยังมีอีกท้องฟ้าหนึ่งที่เป็นอมตะ ศัตรูและพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์อาจได้รับอนุญาตให้เข้าไปในรัศมี บระฮมัน แต่สาวกของคริชณะจะได้รับการส่งเสริมให้ไปถึงโลกทิพย์ เพราะสาวกผู้บริสุทธิ์ได้พัฒนาความรักโดยธรรมชาติต่อองค์ภควานจึงได้รับอนุญาตให้เข้าไปในโลกทิพย์รื่นเริงกับความปลื้มปีติสุขทิพย์ในการได้มาอยู่ใกล้ชิดกับองค์ภควาน

ในภาคสิบ บทที่แปดสิบเจ็ด โศลก 23 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม บุคลิกภาพแห่งพระเวทตรัสกับพระองค์ว่า “องค์ภควานที่รัก โยคีทำาสมาธิอยู่ที่รูปลักษณ์ของพระองค์อยู่ภายใน จึงบรรลุถึงความสมบูรณ์ทิพย์ที่ได้กลืนเข้าไปใน บระฮมะจโยทิอันไร้รูปลักษณ์ บุคคลที่ปฏิบัติต่อพระองค์ในฐานะศัตรูบรรลุถึงความสมบูรณ์เช่นเดียวกันนี้โดยไม่ต้องทำาสมาธิ พวกโกปีที่ถูกพระองค์โอบกอดด้วยวงแขนที่คล้ายงูรัดและมีท่าทีแห่งราคะเช่นนี้ ก็บรรลุถึงความสมบูรณ์เหมือนกัน แต่สำาหรับพวกเราผู้เป็นเทวดาปฏิบัติตามหน้าที่ต่างๆ แห่งความรู้พระเวท พวกเราเจริญตามรอยเท้าของพวกโกปีเสมอ ดังนั้น เราหวังว่าจะบรรลุถึงความสมบูรณ์เหมือนกัน” จากวลี “ความสมบูรณ์เหมือนกัน” เราต้องระลึกถึงตัวอย่างของดวงอาทิตย์และแสงอาทิตย์ พวกที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์สามารถกลืนเข้าไปในแสงรัศมีคล้ายรัศมีของดวงอาทิตย์ชื่อ บระฮมะจโยทิ ขณะที่พวกที่อยู่ในความรักกับองค์ภควานจะเข้าไปในพระตำาหนักสูงสุดขององค์ภควาน โกโลคะ วรินดาวะนะ

“ท่าทีที่มีราคะ” ของพวกโกปีไม่ได้หมายถึงความปรารถนาเพศสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ชรีละ รูพะ โกสวามี อธิบาย “ความปรารถนาราคะ” หมายถึงท่าทีโดยเฉพาะของสาวกในการอยู่ใกล้ชิดกับคริชณะ สาวกทุกรูปในระดับที่สมบูรณ์ของตนมีความชื่นชอบต่อองค์ภควานโดยธรรมชาติ ความชื่นชอบเช่นนี้บางครั้งเรียกว่า “ปรารถนาราคะ” ของสาวก ราคะนี้คือความปรารถนาอย่างเปี่ยมล้นของสาวกที่จะรับใช้องค์ภควานในขีดความสามารถโดยเฉพาะของตน ความปรารถนาเช่นนี้ดูเหมือนกับปรารถนาจะรื่นเริงกับพระองค์ แต่อันที่จริง พยายามรับใช้พระองค์ในขีดความสามารถนั้นๆ ตัวอย่างเช่น สาวกปรารถนาอยู่ใกล้ชิดกับองค์ควานในฐานะเพื่อนเลี้ยงวัว เขาต้องการรับใช้พระองค์ด้วยการช่วยเหลือควบคุมวัวในทุ่ง เช่นนี้อาจดู เหมือนว่าปรารถนารื่นเริงอยู่ใกล้ชิดกับพระองค์ แต่อันที่จริงเป็นความรักโดยธรรมชาติ รับใช้พระองค์ด้วยการบริหารจัดการวัวทิพย์

ชื่นชอบทางประสาทสัมผัส

ความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการรับใช้องค์ภควานเช่่นนี้ปรากฎที่แผ่นดินทิพย์แห่งวระจะ และปรากฎเฉพาะในหมู่พวกโกปี ความรักของโกปี ที่มีต่อคริชณะสูงส่งจนบางครั้งความเข้าใจของเราอธิบายว่าเป็น “ความปรารถนาราคะ”

คะวิราจะ คริชณะดาสะ ผู้ประพันธ์ ชรี เชธันญะ-ชะริทามริทะ ได้อธิบายข้อแตกต่างระหว่างความปรารถนาราคะและท่าทีในการรับใช้ดังนี้ “ความปรารถนาราคะ หมายความว่าปรารถนาจะสนองประสาทสัมผัสของตนเอง และความปรารถนาทิพย์ หมายความว่าปรารถนาจะรับใช้ประสาทสัมผัสขององค์ภควาน” ในโลกวัตถุจะไม่มีคนรักปรารถนาทำาให้ประสาทสัมผัสของคู่รักได้รับความยินดี อันที่จริงในโลกวัตถุส่วนใหญ่ ทุกคนต้องการสนองประสาทสัมผัสของตนเอง อย่างไรก็ดี พวกโกปีมิได้ปรารถนาสิ่งใดเลยนอกจากสนองประสาทสัมผัสขององค์ภควาน และไม่มีตัวอย่างเช่นนี้ในโลกวัตถุ ดังนั้น ความรักอันปลื้มปีติสุขที่โกปี มีต่อคริชณะบางครั้งนักวิชาการอธิบายว่าเหมือนกับ “ความปรารถนาราคะ” ของโลกวัตถุ แต่อันที่จริงไม่ควรสรุปตามตัวอักษรมันเป็นเพียงความพยายามที่จะให้เข้าใจสถานภาพทิพย์

สาวกผู้ยิ่งใหญ่จนถึงมาตรฐานของอุดดะวะ ทั้งหมดเป็นเพื่อนรักยิ่งของพระองค์ พวกท่านปรารถนาจะเดินตามรอยเท้าของพวกโกปี ดังนั้น แน่นอนว่าความรักที่พวกโกปี มีต่อคริชณะไม่ใช่ความปรารถนาราคะทางวัตถุ มิฉะนั้น ทำาไมอุดดะวะมีแรงดลใจที่จะเจริญตามรอยเท้าพวกนาง? อีกตัวอย่างหนึ่งคือ องค์เชธันญะเอง หลังจากรับชีวิตสละโลกสันนยาสะ แล้ว พระองค์ทรงเคร่งครัดมาก ในการหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้ชิดกับสตรี แต่ทรงสอนว่าไม่มีวิธีอื่นใดในการบูชาคริชณะจะดีไปกว่าที่พวกโกปีสำาเนียก ดังนั้น วิธีการบูชาองค์ภควานของพวกโกปี ที่ดูประหนึ่งว่าถูกกระตุ้นด้วยความปรารถนาราคะ ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำ ได้สรรเสริญไว้อย่างสูงมาก ความจริงนี้หมายความว่า ถึงแม้ความชื่นชอบของพวกโกปี ที่มีต่อคริชณะดูเหมือนเป็นราคะ แต่มิได้เจือด้วยวัตถุแม้แต่น้อย นอกจากเราสถิตอยู่ในสถานภาพทิพย์อย่างสมบูรณ์ มิฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างพวกโกปี และคริชณะเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากมาก แต่เนื่องจากดูเหมือนกับเป็นความสัมพันธ์โดยทั่วไปของชายหนุ่มและหญิงสาว บางครั้งจึงตีความผิดๆ ว่าเหมือนกับเรื่องเพศสัมพันธ์โดยทั่วไปในโลกวัตถุ ด้วยความอับโชค คนที่ไม่สามารถเข้าใจธรรมชาติทิพย์แห่งความรักระหว่างพวกโกปี กับคริชณะทึกทักเอาว่า ความรักของคริชณะกับพวกโกปี เป็นความสัมพันธ์แบบทางโลกวัตถุ บางครั้งเราจะเห็นภาพวาดแบบสมัยใหม่ที่ไม่น่าดู

อีกด้านหนึ่ง ความปรารถนาราคะของคุบจา นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิอธิบายว่าเป็นสิ่ง “ใกล้เคียงความปรารถนาราคะ” คุบจาเป็นหญิงหลังค่อมผู้ปรารถนา คริชณะด้วยความรักอันปลื้มปีติสุขเป็นอย่างยิ่ง แต่ความปรารถนาของนางที่มีต่อ คริชณะเกือบเป็นวัตถุ ดังนั้น ความรักของนางเปรียบเทียบไม่ได้กับความรักของพวกโกปี ความสัมพันธ์ในความรักของนางกับคริชณะเรียกว่า คามะ-พรายา หรือเกือบเหมือนกับความรักที่พวกโกปี มีต่อคริชณะ