บทที่ สิบเจ็ด
ความรักอันปลื้มปีติสุข
ด้วยวิธีปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ เขาได้พัฒนามาถึงระดับทิพย์ซึ่งอยู่เหนือระดับแห่งธรรมชาติวัตถุอย่างแท้จริง มาถึงจุดนี้ หัวใจของเขาส่องรัศมีเหมือนกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์อยู่เหนือระบบดาวเคราะห์มากมาย และเป็นไปไม่ได้ที่เมฆจะมาบดบังดวงอาทิตย์ ลักษณะเดียวกัน เมื่อสาวกบริสุทธิ์เหมือนดวงอาทิตย์ จากหัวใจอันบริสุทธิ์ เขาจะมีความปลื้มปีติสุขแห่งความรักแผ่กระจายออกมาซึ่งสว่างไสวกว่าแสงอาทิตย์ ช่วงนี้ สาวกอยู่ในระดับ อุททะมะ-อดิคารี เป็นการอุทิศตนเสียสละที่สมบูรณ์ สาวกเช่นนี้ ไม่มีความหวั่นไหวหรือหงุดหงิดกับความชื่นชอบทางวัตถุ และสนใจแต่การรับใช้ ราดา และ คริชณะ เท่านั้น
เพื่อความชัดเจน ในบทก่อนหน้านี้ได้อธิบายถึงลักษณะอาการของการอุทิศตนเสียสละรับใช้ พร้อมทั้งคำาสอนว่าเราจะปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยประสาทสัมผัสปัจจุบันของเราได้อย่างไร และะค่อยๆ เจริญขึ้นมาถึงระดับแห่งความปลื้มปีติสุขในความรักตามธรรมชาติ ได้สนทนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้สองประเภท คือ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ และปฏิบัติด้วยความรักตามธรรมชาติ ในระดับที่ปฏิบัติตามหลัธรรมยังแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ทำาไปตามคำาสั่ง และมีประสิทธิภาพ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่มีประสิทธิภาพนี้เรียกว่า บาวะ หรือความปลื้มปีติสุข สัมพันธ์กับตรงนี้มีข้อความใน ทันทระ ว่า ความปลื้มปีติสุขเป็นลักษณะอาการแรกแห่งความรักอันบริสุทธิ์ที่มีต่อองค์ภควาน ในระดับนี้จะพบว่าเขาร้องไห้หรือตัวสั่น อาการเหล่านี้ไม่ใช่ปรากฎตลอดเวลาแต่เป็นครั้งคราวเท่านั้น ขณะที่กษัตริย์อัมบะรีชะทรงถูกดุรวาสาทำาให้ตกอยู่ในความลำาบาก พระองค์ทรงระลึกถึงพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย น้ำาตาไหลพรากมาจากดวงตา ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นกิจกรรมของความปลื้มปีติสุขซึ่งอยู่ภายในใจ และเมื่อมีความปลื้มปีติสุขอย่างต่อเนื่องเรียกว่าสะมาดิ ระดับแห่งความชื่นชมอย่างพึงพอใจนี้กลายมาเป็นสาเหตุแห่งการแลกเปลี่ยนความรักกับคริชณะในอนาคต
การพัฒนาให้มาถึงระดับแห่งความปลื้มปีติสุขเป็นไปได้สองวิธี วิธีแรก มาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ตลอดเวลา อีกวิธีหนึ่ง คือด้วยพระเมตตาพิเศษจากคริชณะหรือจากสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ การพัฒนาให้มาถึงระดับแห่งความปลื้มปีติสุขของชีวิตโดยทั่วไปมาจากการคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ ขณะที่การพัฒนาให้มาถึงระดับนี้ด้วยพระเมตตาพิเศษจากคริชณะหรือจากสาวกของพระองค์เป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก คำาอธิบายคือ เราควรปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเคร่งครัดด้วยการมาคบหาสมาคมกับเหล่าสาวก จะได้มั่นใจว่าจะเจริญขึ้นมาถึงสถานภาพแห่งความปลื้มปีติสุข แน่นอนว่า ในกรณีพิเศษจะมีความชื่นชอบเป็นพิเศษจากคริชณะ ถึงแม้ควรคาดหวังเช่นนี้อยู่เสมอ เราไม่ควรได้แต่นั่งเกียจคร้านรอคอยพระเมตตาพิเศษจากคริชณะ เราต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำา บางครั้ง บางคนไม่เคยไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้ให้ประกาศณียบัตรเกียรตินิยมว่าเป็นนักวิชาการชั้นเยี่ยม เช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรหลีกเลี่ยงการไปโรงเรียนและคาดหวังว่าจะได้รับปริญญาบัตรเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยโดยปริยาย ลักษณะเดียวกัน เราควรขยันขันแข็งในการปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และในขณะเดียวกันก็คาดหวังความชื่นชอบจากคริชณะและสาวกของพระองค์
ตัวอย่างการเจริญให้มาถึงระดับของความรักแห่งความปลื้มปีติสุขด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ได้ให้ตัวอย่างไว้ในเรื่องราวชีวิตของนาระดะซึ่งได้อธิบายให้วิยาสะเดวะ ใน ชรีมัด-บากะวะธัม นาระดะ อธิบายถึงอดีตชาติและท่านได้พัฒนามาถึงระดับความรักแห่งความปลื้มปีติสุขได้อย่างไร ท่านปฏิัติรับใช้สาวกผู้ยิ่งใหญ่และได้ยินการสนทนาและการร้องเพลง เนื่องจากมีโอกาสฟังลีลาและบทเพลงของคริชณะจากปากของสาวกผู้บริสุทธิ์ รู้สึกมีความชื่นชอบมากอยู่ภายในหัวใจ เพราะท่านกระตือรือร้นในการฟังเรื่องราวเหล่านี้ จึงค่อยๆ พัฒนาความรักในความปลื้มปีติต่อคริชณะอยู่ภายใน ความรักอันปลื้มปีติสุขนี้ปรากฎออกมาก่อนความรักอันบริสุทธิ์ที่มีต่อคริชณะ เพราะในโศลกต่อมานาระดะได้ยืนยันว่า จากวิธีการค่อยเป็นค่อยไปในการฟังจากนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ท่านได้พัฒนาความรักแห่งองค์ภควาน สัมพันธ์กับตรงนี้ นาระดะ กล่าวต่อไปในภาคหนึ่ง บทที่ห้า โศลก 28 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม ว่า “ทีแรกข้าพเจ้าได้ใช้เวลาไปในการคบสาสมาคมกับนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ในช่วงฤดูฝน ทุกเช้าเย็นได้ยินพวกท่านร้องเพลงและภาวนาบทมนต์ ฮะเร คริชณะ เช่นนี้ หัวใจของข้าค่อยๆ บริสุทธิ์ขึ้น เมื่อตั้งสมาธิฟังอย่างดี อิทธิพลของระดับอวิชชาและตัณหาทางวัตถุหายไปทันที และข้ามาตั้งมั่นอยู่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานอย่างแน่วแน่”
มีตัวอย่างภาคปฏิบัติว่าเราสามารถพัฒนามาถึงระดับความรักแห่งความปลื้มปีติสุขด้วยการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ได้อย่างไร ฉะนั้น สิ่งสำาคัญคือเราต้องมาคบหาสมาคมกับสาวกบริสุทธิ์ผู้ร้องเพลงภาวนาบทมนต์ ฮะเร คริชณะ ทุกเช้าเย็น เช่นนี้ เราได้รับโอกาสทำาให้หัวใจบริสุทธิ์ขึ้น และพัฒนาความรักอันบริสุทธิ์ที่ปลื้มปีติต่อคริชณะ
ข้อความนี้ได้ยืนยันไว้ในภาคสาม บทที่ยี่สิบห้า โศลก 25 ของ ชรีมัด-บากะวะธัมซึ่งองค์คะพิละ ตรัสว่า “พระมารดาที่รัก เมื่อบุคคลมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์จริง เขาจะมีประสบการณ์กับพลังงานอันประเสริฐแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ของข้า” อีกนัยหนึ่ง เมื่อสาวกผู้บริสุทธิ์พูด คำาพูดของท่านจะมีผลกระทบต่อหัวใจของผู้ฟัง อะไรคือความลับในการฟังและการภาวนา? นักพูดมืออาชีพไม่สามารถประทับความปลื้มปีติสุขทิพย์ให้กับผู้ฟัง อย่างไรก็ดี เมื่อดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งปฏิบัติรับใช้องค์ภควานด้วยการพูด ท่านสามารถส่งชีวิตทิพย์เข้าไปภายในของผู้ฟัง ดังนั้น เราควรแสวงหาการคบหาสมาคมกับสาวกบริสุทธิ์ผู้ไร้มลทิน จากการคบหาสมาคมและรับใช้เช่นนี้ แน่นอนว่าสาวกนวกะจะพัฒนาความยึดมั่น ความรัก และอุทิศตนเสียสละต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า
ใน พัดมะ พุราณะ มีเรื่องราวของสาวกนวกะ ในการทำาให้เจริญมาถึงระดับแห่งความปลื้มปีติสุข นางได้เต้นรำาทั้งคืนเพื่อกระตุ้นให้องค์ภควานทรงมีพระกรุณาต่อนาง
อย่างไรก็ดี บางครั้งพบว่าโดยที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละเลย บุคคลพัฒนาการอุทิศตนเสียสละต่อองค์คริชณะได้ในทันที การพัฒนาท่าทีแห่งการอุทิศตนเสียสละในบุคคลโดยทันทีเช่นนี้ ต้องเข้าใจว่าเป็นพระเมตตาพิเศษของคริชณะหรือสาวกของพระองค์ การพัฒนาที่ดูเหมือนว่าเป็นอุบัติเหตุแห่งความรู้สึกปลื้มปีติสุขผ่านทางพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ของคริชณะ แบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ ด้วยเพียงแต่พูด ด้วยเพียงแต่มอง และด้วยเพียงแต่ปรารถนาดี
ใน นาระดียะ พุราณะ มีข้อความเกี่ยวกับการพัฒนาความปลื้มปีติสุขรักด้วยเพียงแต่พูด คริชณะตรัสกับนาระดะว่า “โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่พราหมณ์ ข้าปรารถนาให้เธอพัฒนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้อันบริสุทธิ์ต่อข้า ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุขทิพย์และเป็นสิริมงคลทั้งปวง”
ใน สคันดะ พุราณะ มีข้อความเกี่ยวกับการพัฒนาความรักอันปลื้มปีติต่อคริชณะด้วยเพียงแต่มอง โดยกล่าวว่า “เมื่อชาวจังหวัดจางกะละเห็นองค์ภควานคริชณะ พวกเขามีความรู้สึกอย่างรุนแรงว่าไม่สามารถคลาดสายตาไปจากพระองค์”
สำาหรับความปรารถนาดีจากหัวใจ มีข้อความใน ชุคะ-สัมฮิทา โดยนาระดะบอกกับ ชรีละ วิยาสะเดวะ ว่า “ท่านมีบุตรผู้เป็นยอดสาวกขององค์ภควาน และข้าสังเกตุเห็นว่าโดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เขาจะเปี่ยมไปด้วยลักษณะอาการที่มีอยู่ในบุคคลผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้มาหลายต่อหลายชาติแล้ว”
สำาหรับความรักแห่งความปลื้มปีติสุขที่มีต่อคริชณะ มีข้อความในภาคเจ็ด บทที่สี่ โศลก 36 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม ซึ่งนาระดะตรัสกับกษัตริย์ยุดิชทิระว่า “กษัตริย์ที่รัก ยากมากที่จะอธิบายบุคลิกของพระฮลาดะ ท่านพัฒนาความรักต่อคริชณะโดยธรรมชาติ สิ่งที่ข้าสามารถอธิบายเกี่ยวกับบุคลิกของท่านเป็นเพียงการเรียบเรียงคำาพูด เป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายบุคลิกอันแท้จริงของท่าน” เช่นนี้หมายความว่า นาระดะยอมรับว่าการพัฒนาความรักอันปลื้มปีติสุขโดยธรรมชาติของพระฮลาดะเป็นพระกรุณาธิคุณของคริชณะ
ความชื่นชอบโดยธรรมชาติในส่วนของพระฮลาดะที่มีต่อคริชณะเป็นพระเมตตาของนาระดะ ขณะที่ พระฮลาดะ มะฮาราจะ อยู่ในครรภ์ของมารดา นาระดะได้สอนศาสตร์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อนางด้วยความสงสาร ขณะเดียวกันนาระดะก็ปรารถนาให้เด็กน้อยในครรภ์ฉวยประโยชณ์จากคำาสอนนี้ เพราะนาระดะเป็นสาวกที่เชื่อถือได้ อยู่ใกล้ชิดกับองค์ภควานมาก และปรารถนาความเป็นสิริมงคลต่อพระฮลาดะ มะฮาราจะ ท่านพัฒนาคุณสมบัติของสาวกชั้นเยี่ยม เช่นนี้ เรียกว่าความชื่นชอบโดยธรรมชาติ เป็นพระกรุณาธิคุณพิเศษจากองค์ภควาน หรือจากสาวกผู้ยอดเยี่ยมเช่น นาระดะ
ใน สคันดะ พุราณะ มีข้อความที่ พารวะทะ มุนิ บอกกับ นาระดะว่า “นาระดะที่รัก ในบรรดานักบุญทั้งหมด ท่านยิ่งใหญ่และน่าสรรเสริญมาก เพราะเพียงแต่ท่านมีความปรารถนาดี นักล่าสัตว์ที่เกิดมาต่ำาได้กลายมาเป็นสาวกผู้เจริญและยอดเยี่ยมของคริชณะ”
ความรักแห่งความปลื้มปีติสุขต่อคริชณะแบ่งออกเป็นห้าประเภท ดังที่ ชรี รูพะ โกสวามี จะอธิบายต่อไป