น้ําทิพย์
แห่งการอุทิศตนเสียสละ

บทที่ สิบแปด

บุคลิกของผู้ที่อยู่ในความรักอันปลื้มปีติสุข

รูพะ โกสวามี อธิบายต่อไปถึงลักษณะของบุคคลผู้ที่พัฒนาความรักอันปลื้มปีติสุขต่อคริชณะอย่างแท้จริง โดยมีบุคลิกลักษณะดังต่อไปนี้

1. ท่านมีความกระตือรือร้นในการใช้เวลาไปกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานเสมอ ไม่เกียจคร้าน ต้องการรับใช้ตลอดเวลาวันละยี่สิบสี่ชั่วโมง โดยไม่เบี่ยงเบน

2. ท่านสงบเสงี่ยมและพากเพียรอุตสาหะเสมอ

3. ท่านไม่ยึดติดกับสิ่งยั่วยวนทางวัตถุทั้งปวงเสมอ

4. ท่านไม่ปรารถนาความเคารพทางวัตถุเป็นผลตอบแทนจากกิจกรรมที่ทำาไป

5. มั่นใจเสมอว่าคริณะจะทรงมีพระเมตตาต่อท่าน

6. ท่านมีความกระตือรือร้นมากเสมอ ในการรับใช้องค์ภควานด้วยควมซื่อสัตย์

7. ท่านยึดมั่นมากในการร้องเพลงภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์

8. ท่านกระตือรือร้นเสมอในการอธิบายคุณสมบัติทิพย์ขององค์ภควาน

9. ท่านยินดีมากที่จะอยู่ในสถานที่ที่องค์ภควานทรงแสดงลีลาเช่น มะทำุรา วรินดาวะนะ หรือดวาระคา

การใช้เวลา

สาวกผู้ไร้มลทินที่พัฒนาความรักอันปลื้มปีติสุขต่อคริชณะจะใช้คำาพูดเปล่งบทมนต์ถวายองค์ภควานเสมอ ภายในใจคิดถึงคริชณะตลอดเวลา ใช้ร่างกายก้มลงกราบพระปฏิมาหรือปฏิบัติรับใช้อย่างอื่น ระหว่างทำากิจกรรมอันปลื้มปีติเหล่านี้ บางครั้งท่านน้ำาตาไหล เช่นนี้ ทั้งชีวิตปฏิบัติรับใช้องค์ภควานโดยไม่มีแม้นาทีเดียวเสียเวลาไปกับอย่างอื่น

สงบเสงี่ยม

เมื่อบุคคลไม่หวั่นไหวแม้จะมีเหตุรบกวนมากมาย เรียกว่าเป็นคนสงบเสงี่ยมพากเพียรอุตสาหะ ตัวอย่างของความพากเพียรอุตสาหะและสงบเสงี่ยมนี้พบได้ในพฤติกรรมของกษัตริย์พะรีคชิท ดังที่อธิบายไว้ในภาคหนึ่ง บทที่สิบเก้า โศลก 15 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม พะรีคชิทตรัสต่อหน้านักปราชญ์ทั้งหลายขณะกำาลังจะสิ้นพระชนม์ว่า “พราหมณ์ที่รัก พวกท่านควรยอมรับข้าพเจ้าว่าเป็นผู้รับใช้ที่ศิโรราบ ข้ามาที่ริมฝั่งแม่นำา้คงคาเพื่ออุทิศหัวใจและดวงวิญญาณแด่พระบาทรูปดอกบัวของคริชณะ ได้โปรดให้พรพระแม่คงคาอาจยินดีกับข้าด้วย ขอให้คำาสาปบุตรของพราหมณ์มีผลต่อข้า ข้าจะไม่ว่าอะไร เพียงขอร้องว่าช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตข้า ให้พวกท่านร้องเพลงภาวนาพระนามของพระวิชณุ เพื่อข้าอาจรู้แจ้งถึงคุณสมบัติทิพย์ของพระองค์”

ตัวอย่างความประพฤติของ มะฮาราจะ พะรีคชิท นี้ พระองค์ยังทรงมีความอดทนแม้วินาทีสุดท้ายของชีวิต สภาวะจิตที่ไม่หวั่นไหวเช่นนี้เป็นตัวอย่างแห่งความสงบเสงี่ยม นี่คือหนึ่งในบุคลิกลักษณะของสาวกที่พัฒนาความรักอันปลื้มปีติสุขต่อคริชณะ

การไม่ยึดติด

ประสาทสัมผัสจะแสวงหาความรื่นเริงทางประสาทสัมผัสเสมอ แต่เมื่อสาวกพัฒนาความรักทิพย์ต่อคริชณะแล้ว ประสาทสัมผัสจะไม่ชื่นชอบกับความปรารถนาทางวัตถุอีกต่อไป ระดับจิตเช่นนี้เรียกว่าการไม่ยึดติด มีตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับการไม่ยึดติดสัมพันธ์กับบุคลิกของกษัตริย์ บาระทะ ในภาคห้า บทที่สิบสี่ โศลก 43 ของชรีมัด-บากะวะธัม ดังนี้ “จักรพรรดิ์บาระทะทรงชื่นชมในเสน่ห์ความงามแห่งพระบาทรูปดอกบัวของคริชณะ แม้ในชีวิตวัยรุ่น พระองค์ทรงยกเลิกการยึดติดกับครอบครัว บุตรธิดา เพื่อนๆ อาณาจักร ฯลฯ ประหนึ่งว่าเป็นสิ่งปฏิกูลที่น่ารังเกียจ”

จักรพรรดื์บาระทะทรงแสดงตัวอย่างการไม่ยึดติด พระองค์ทรงมีทุกอย่างเพื่อความรื่นเริงในโลกวัตถุ แต่ทรงละทิ้งไปหมด เช่นนี้หมายความว่า การไม่ยึดติดไม่ได้หมายความว่าลอยตัวอยู่อย่างผิดธรรมชาติ และอยู่ห่างจากสิ่งยั่วยวนที่ทำาให้ยึดติด แม้อยู่ท่ามกลางสิ่งยั่วยวนเหล่านี้ หากบุคคลไม่หลงใหลไปกับการยึดติดทางวัตถุเรียกว่าเขาไม่ยึดติด แน่นอนว่าในตอนเริ่มต้น สาวกนวกะต้องพยายามรักษาตนเองให้ห่างจากสิ่งยั่วยวนที่จะทำาให้ยึดติด แต่สถานภาพอันแท้จริงของสาวกผู้มีวุฒิภาวะคือ แม้อยู่ท่ามกลางสิ่งยั่วยวนทั้งหลายแต่ท่านไม่ยึดติดเลย นี่คือความหมายอันแท้จริงแห่งการไม่ยึดติด

ไม่ผยอง

เมื่อสาวกแม้มีคุณสมบัติแห่งความรู้แจ้งที่บริสุทธิ์แต่ก็ไม่ยโสในสถานภาพของตนเรียกว่าท่านไม่ผยอง ใน พัดมะ พุราณะ ได้กล่าวว่ากษัตริย์บะกีราทะทรงเป็นจักรพรรดิ์อยู่เหนือกษัตริย์ทั้งหลาย ถึงกระนั้นพระองค์ทรงพัฒนาความรักอันปลื้มปีติสุขต่อคริชณะจนกระทั่งกลายมาเป็นภิกขุ ได้ออกขอทานแม้ตามบ้านของศัตรูทางการเมืองและบุคคลผู้ไม่ควรแตะต้อง พระองค์ทรงถ่อมตนมากจนสามารถก้มลงกราบต่อหน้าพวกเขาเหล่านี้ได้

มีตัวอย่างคล้ายกันนี้อีกมากมายในประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดีย แม้เร็วๆ นี้ประมาณสองร้อยปีก่อนหรือน้อยกว่านั้น มีราชาเจ้าของที่ดินที่กัลกัตตาชื่อ ลาล บาบู กลายมาเป็นไวชณะวะและไปอยู่ที่วรินดาวะนะ ท่านได้ออกไปขอทานตามบ้าน แม้แต่บ้านของศัตรูทางการเมือง การไปขอทานต้องพร้อมที่จะถูกสบประมาทจากบ้านที่เราไปขอ มันเป็นธรรมชาติ แต่เราต้องอดทนต่อการถูกสบประมาทเช่นนี้เพื่อคริชณะ สาวกของคริชณะสามารถรับสถานภาพใดๆ ก็ได้ ในการปฏิบัติรับใช้คริชณะ

ด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่

ความมั่นใจอย่างแน่วแน่ว่าจะได้รับความชื่นชอบจากองค์ภควานเรียกในภาษาสันสกฤตว่า อาชา-บันดะ, อาชา-บันดะ หมายถึงคิดอยู่เสมอว่า “เนื่องจากพยายามอย่างดีที่สุดในการปฏิบัติตามหลักธรรมที่ประมาณไว้แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่าจะได้กลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน”

สัมพันธ์กับตรงนี้ มีบทมนต์โดย รูพะ โกสวามี ที่พอเป็นตัวอย่างแห่งความหวังนี้ ท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่มีความรักต่อคริชณะ ไม่มีวิธีที่จะพัฒนาความรักต่อคริชณะ เช่นการฟังและการภาวนา ไม่มีวิธีปฏิบัติบัคธิ-โยกะ ซึ่งทำาให้สามารถระลึกถึงคริชณะได้ตลอดเวลาและมีพระบาทของพระองค์ตั้งมั่นอยู่ในหัวใจ สำาหรับความรู้ทางปรัชญาหรืองานบุญก็ไม่เห็นโอกาสที่จะทำากิจกรรมเหล่านี้ได้ ยิ่งไปกว่านี้คือข้าไม่ได้เกิดในตระกูลที่ดี ดังนั้น ต้องเพียงแต่ภาวนาต่อพระองค์ โกปีจะนะ-วัลละบะ (คริชณะ ผู้ค้ำาจุนและเป็นคู่รักของพวกโกปี ) ข้าเพียงแต่ปรารถนาและหวังว่า อย่างไรก็ตาม ข้าจะสามารถเข้าถึงพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ และความหวังนี้สร้างความเจ็บปวด เพราะคิดว่าตัวข้าไร้ขีดความสามารถที่จะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายทิพย์แห่งชีวิต” คำาอธิบายคือ ภายใต้หัวข้อ อาชา-บันดะ เราควรหวังต่อไปแม้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ว่า ถึงอย่างไรก็จะสามารถเข้าถึงพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานให้ได้

ความกระตือรือร้นที่จะบรรลุถึงผลสำาเร็จที่ประสงค์

เมื่อบุคคลมีความกระตือรือร้นพอที่จะบรรลุความสำาเร็จในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ความกระตือรือร้นนั้นเรียกว่า สะมุคัณทา หมายถึง “ความกระตือรือร้นที่สมบูรณ์” อันที่จริงความกระตือรือร้นนี้เป็นราคาที่จะบรรลุถึงความสำาเร็จในคริชณะจิตสำานึก ทุกสิ่งมีคุณค่าบางอย่างและเราต้องจ่ายตามคุณค่านั้นๆ ก่อนที่จะเป็นเจ้าของมัน ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่าในการซื้อสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดคริชณะจิตสำานึก เราต้องพัฒนาความกระตือรือร้นอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุความสำาเร็จ ความกระตือรือร้นอย่างยิ่งนี้ บิลวะมังกะละ ทาคุระ ได้อธิบายไว้อย่างงดงามในหนังสือ คริชณะ-คารณามริทะ ว่า “ข้าพเจ้ารอคอยอย่างกระตือรือร้นที่จะเห็นเด็กชายแห่งวรินดาวะนะ ผู้ที่ความสง่างามของเรือนร่างทำาให้ทั่วทั้งจักรวาลหลงใหล ดวงตารายล้อมไปด้วยคิ้วอันดกดำาแผ่ขยายเหมือนกลีบดอกบัว และมีความกระตือรือร้นที่จะมองไปที่เหล่าสาวกเสมอจึงเคลื่อนไปมาเล็กน้อย ดวงตาชุ่มฉ่ำาตลอดเวลา ริมฝีปากมีสีคล้ายทองแดง และจากริมฝีปากนี้ทำาให้เกิดคลื่นเสียงที่ทำาให้ผู้คนบ้าคลั่งยิ่งกว่าช้างตกมัน ข้าพเจ้าปรารถนาอย่างมากที่จะพบเด็กคนนี้ที่วรินดาวะนะ

การยึดมั่นต่อการร้องเพลงภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน

มีข้อความใน คริชณะ-คารณามริทะ เล่มเดียวกันเกี่ยวกับการร้องเพลงภาวนาของราดาราณี หนึ่งในผู้ใกล้ชิดราดาราณีกล่าวว่า “โอ้ องค์โกวินดะ เด็กหญิงผู้เป็นธิดาของกษัตริย์ วริชะบานุ กำาลังร้องไห้อยู่ พระนางกระตือรือร้นมากในการร้องเพลงภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ คริชณะ ! คริชณะ !”

ความกระตือรือร้นในการอธิบายคุณสมบัติทิพย์ขององค์ภควาน

การยึดมั่นในการสรรเสริญองค์ภควานได้กล่าวไว้ใน คริชณะ-คารณามริทะ ดังนี้ “ข้าจะทำาอย่างไรกับคริชณะผู้มีความสุขสำาราญเหนือแนวคิดแห่งความสำาราญทั้งหลาย และซุกซนยิ่งกว่าเด็กที่ซุกซนทั้งปวง แนวคิดกิจกรรมอันงดงามของคริชณะมีเสน่ห์ดึงดูดหัวใจของข้า และข้าไม่รู้ว่าจะทำาอย่างไรดี !”

ชื่นชอบที่จะอยู่ในสถานที่ที่คริชณะแสดงลีลา

ในหนังสือ พัดยาวะลี โดย รูพะ โกสวามี มีข้อความเกี่ยวกับวรินดาวะนะดังนี้ “ณ สถานที่นี้ บุตรของ นันดะ มะฮาราจะ เคยอยู่กับบิดาผู้เป็นราชาแห่งคนเลี้ยงวัวทั้งหมด ณ สถานที่นี้ องค์คริชณะได้ทำาลายเกวียนที่มีมารชังคะทาสุระหลบซ่อนอยู่ ณ สถานที่นี้ ดาโมดะระ ผู้สามารถตัดปมแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุของเรา ได้ถูกคุณแม่ยะโชดามัด”

สาวกผู้บริสุทธิ์ของคริชณะพำานักอยู่ที่จังหวัด มะทำุรา หรือ วรินดาวะนะ และไปเยี่ยมเยียนสถานที่ทั้งหมดที่คริชณะทรงแสดงลีลา ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ คริชณะได้แสดงลีลาในวัยเด็กร่วมกับเด็กเลี้ยงวัวและคุณแม่ยะโชดา ระบบการเดินทักษิณาวรรตรอบสถานที่เหล่านี้ยังปฏิบัติกันอยู่ในหมู่สาวกขององค์คริชณะ พวกที่มามะทำุราและวรินดาวะนะจะรู้สึกมีความสุขทิพย์เสมอ อันที่จริง หากบุคคลไปวรินดาวะนะเขาจะรู้สึกได้ในทันทีว่า มีความห่างเหินจากคริชณะผู้แสดงลีลาอันยอดเยี่ยมขณะที่ปรากฎอยู่ ณ ที่นี่

ความชื่นชอบในการระลึกถึงกิจกรรมของคริชณะเรียกว่าการยึดมั่นต่อคริชณะ อย่างไรก็ดี มีนักปราชญ์ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์และโยคีผู้มีฤทธิ์ชอบแสดงออกถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แต่ในที่สุดต้องการกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ขององค์ภควาน บางครั้งพวกเขาพยายามเลียนแบบความรู้สึกของสาวกผู้บริสุทธิ์ในการไปเยี่ยมเยียนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คริชณะทรงแสดงกิจกรรม แต่มีแนวคิดเพียงแค่ความหลุดพ้นเท่านั้น ดังนั้น กิจกรรมของพวกเขาเหล่านี้ไม่พิจารณาว่าเป็นความยึดมั่น

รูพะ โกสวามี กล่าวว่า ความยึดมั่นต่อคริชณะที่แสดงออกโดยเหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์ คนทำางานเพื่อผลทางวัตถุ(คารมี) หรือนักคาดคะเนทางจิตไม่สามารถทำาให้สมบูรณ์ได้ในหัวใจ เพราะการยึดมั่นอันบริสุทธิ์ในคริชณะจิตสำานึกเช่นนี้หาได้ยากมาก และเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุถึงแม้สำาหรับบุคคลผู้หลุดพ้นแล้วมากมาย ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตาว่า ความหลุดพ้นจากมลทินทางวัตถุเป็นระดับที่การอุทิศตนเสียสละรับใช้สามารถบรรลุถึงได้ สำาหรับบุคคลผู้เพียงแต่ต้องการความหลุดพ้นและกลืนเข้าไปในบระฮมะจโยทิ อันไร้รูปลักษณ์ การยึดมั่นต่อคริชณะบรรลุถึงไม่ได้ การยึดมั่นเช่นนี้คริชณะทรงเก็บรักษาไว้เป็นความลับมากและจะให้แก่สาวกผู้บริสุทธิ์เท่านั้น แม้สาวกทั่วไปก็จะไม่มีความยึดมั่นอันบริสุทธิ์ต่อคริชณะเช่นนี้ ฉะนั้น จึงเป็นไปได้อย่างไร สำาหรับบุคคลที่หัวใจยังมีมลทินจากผลกรรมแห่งกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ และผู้ที่ยังพัวพันอยู่กับการคาดคะเนมากทางจิต ?

มีผู้ที่สมมุติว่าเป็นสาวกมากมายคิดถึง อัชทะ-คาลิคะ-ลีลา ของคริชณะอย่างผิดธรรมชาติ บางครั้งบางคนอาจเลียนแบบสิ่งเหล่านี้อย่างผิดธรรมชาติ ทำาเป็นว่าคริชณะในรูปเด็กมาพูดคุยกับเขา หรือไม่ก็ทำาเป็นว่าราดาราณีและคริชณะทั้งคู่มาคุยกับเขา ลักษณะเช่นนี้บางครั้งพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์จะแสดงออก และอาจดึงดูดใจบางคนผู้พาซื่อที่ไม่มีความรู้ในศาสตร์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ อย่างไรก็ดี ทันทีที่สาวกผู้มีประสบการณ์เห็นลักษณะการเลียนแบบเช่นนี้สามารถประเมิณคนสารเลวนี้ได้ในทันที บางครั้งพบว่าคนลวงโลกเช่นนี้มีอาการเลียนแบบการยึดมั่นต่อคริชณะ ตรงนี้ไม่ยอมรับว่าเป็นการยึดมั่นที่แท้จริง อย่าางไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่าการยึดมั่นเช่นนี้ให้ความหวังแก่คนลวงโลกว่าในอนาคตเขาอาจพัฒนามาถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ได้อย่างแท้จริง

การเลียนแบบการยึดมั่นนี้แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ การยึดมั่นเงา และการยึดมั่นทิพย์(พะรา) หากบุคคลผู้ไม่เคยปฏิบัติตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หรือไม่ได้รับการแนะนำาจากพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ แล้วมาแสดงท่าเลียนแบบการยึดมั่นเช่นนี้เรียกว่าการยึดมั่นเงา บางครั้งพบว่าบุคคลยึดติดจริงอยู่กับความสุขทางวัตถุหรือความหลุดพ้น และโชคดีได้มาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ขณะปฏิบัติภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน ด้วยพระกรุณาที่ดีขององค์ภควานเขาอาจมาร่วมภาวนาด้วย ช่วงนี้ ด้วยเพียงแต่ได้มาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์เหล่านี้ รัศมีที่คล้ายดวงจันทร์จากหัวใจของสาวกสะท้อนไปที่เขา และจากอิทธิพลของสาวกผู้บริสุทธิ์เหล่านี้ เขาอาจชอบการยึดมั่นจากคำาถาม แต่มันริบหรี่มาก หากมีปรากฎการยึดมั่นเงาเช่นนี้ แล้วเขารู้สึกว่าความเจ็บปวดทางวัตถุหายไปหมด เช่นนี้เรียกว่าการยึดมั่น พะรา

การยึดมั่นเงาและการยึดมั่นพะรา เช่นนี้ สามารถพัฒนาได้หากเขาได้คบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ หรือไปเยี่ยมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นวรินดาวะนะ หรือมะทำุรา หากคนทั่วไปพัฒนาความยึดมั่นต่อคริชณะเช่นนี้ และโชคดีได้ปฏิบัติกิจกรรมการอุทิศตนเสียสละพร้อมคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ เขาสามารถเจริญมาถึงระดับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์เช่นกัน ข้อสรุปคือ การยึดมั่นทิพย์มีพลังมาก หากพบการยึดมั่นเช่นนี้ในคนทั่วไป และจากการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์สามารถนำาพาเขาให้มาถึงระดับที่สมบูรณ์ได้ แต่การยึดมั่นต่อคริชณะเช่นนี้ไม่สามารถกระตุ้นให้ออกมาได้ สำาหรับบุคคลผู้ไม่ได้รับพรเพียงพอ ด้วยการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์

เหมือนกับความยึดมั่นสามารถกระตุ้นขึ้นมาได้ด้วยการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ ความยึดมั่นก็สามารถทำาให้หดหายลงได้ด้วยการทำาอาบัติต่อพระบาทรูปดอกบัวของสาวกผู้บริสุทธิ์ เพื่อให้กระจ่างขึ้น จากการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์สามารถกระตุ้นความยึดมั่นต่อคริชณะให้ออกมาได้ แต่หากทำาอาบัติที่พระบาทรูปดอกบัวของสาวกผู้บริสุทธิ์ การยึดมั่นเงา หรือการยึดมั่นพะรา ของเราสามารถทำาให้หดหายลงไปได้ การหดหายลงไปนี้เหมือนกับเดือนแรม เริ่มจากพระจันทร์เต็มดวงแล้วค่อยๆ จางหายไปจนในที่สุดมืดสนิท ฉะนั้น เราต้องระวังอย่างยิ่งขณะอยู่ใกล้ชิดกับสาวกผู้บริสุทธิ์ ว่าจะไม่ทำาอาบัติต่อพระบาทรูปดอกบัวของพวกท่าน

ความยึดมั่นทิพย์ ไม่ว่าจะเป็นเงาหรือพะรา สามารถทำาให้หดหายลงไปได้ด้วยการทำาอาบัติระดับต่างๆ ต่อพระบาทรูปดอกบัวของสาวกผู้บริสุทธิ์ หากอาบัติรุนแรงมากความยึดมั่นของเขาเกือบจะหมดเกลี้ยง หากอาบัติไม่รุนแรงนักความยึดมั่นของเขาอาจกลายมาเป็นชั้นสองหรือชั้นสาม

หากบางคนมายึดมั่นกับหลักความหลุดพ้น หรือกลืนเข้าไปในความเป็นยู่ของ บระฮมะจโยทิ ความปลื้มปีติสุขของเขาจะค่อยๆ หดหายไปจากความยึดมั่นเงาหรือพะรา หรือเปลี่ยนมาเป็นหลักของ อฮังกระโฮพาสะนา, อฮังกระโฮพาสะนา นี้อธิบายถึงสิ่งมีชีวิต เมื่อเขาเริ่มรู้แจ้งด้วยการสำาคัญตนเองกับองค์ภควาน ระดับแห่งการรู้แจ้งนี้เรียกทางเทคนิคว่าลัทธิเป็นหนึ่งเดียวกัน คนในลัทธินี้คิดว่าตนเองและองค์ภควานเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้น เนื่องจากไม่แยกแยะระหว่างตนเองกับองค์ภควาน จึงมีความเห็นว่าจากการบูชาตนเองเท่ากับบูชาส่วนรวมอย่างสูงสุด

บางครั้งพบว่าสาวกนวกะมาร่วมร้องเพลงและเต้นรำาอย่างกระตือรือร้นมาก แต่ภายในมีความรู้สึกว่าตนเองมาเป็นหนึ่งเดียวกับส่วนรวมสูงสุด แนวคิดของลัทธิเป็นหนึ่งเดียวกันนี้แตกต่างจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ทิพย์ที่บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ดี หากพบว่าบุคคลพัฒนามาตรฐานสูงในการอุทิศตนเสียสละโดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ เข้าใจได้ว่าระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ของเขาได้บรรลุถึงในอดีตชาติ ด้วยเหตุผลบางประการจึงหยุดชะงักลงชั่วคราว เป็นไปได้อย่างสูงว่าไปทำาอาบัติต่อพระบาทรูปดอกบัวของสาวก บัดนี้เป็นโอกาสดีครั้งที่สองที่ได้เริ่มพัฒนาอีกครั้ง ข้อสรุปคือ การค่อยๆ เจริญขึ้นอย่างมั่นคงในการอุทิศตนเสียสละรับใช้บรรลุได้ด้วยการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์เท่านั้น

หากบุคคลค่อยๆ พัฒนาระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ทีละน้อย ควรเข้าใจว่าเนื่องมาจากพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้จากคริชณะ หากบุคคลไม่ยึดติดเลยกับความสุขทางวัตถุ และพัฒนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ โดยอุบัติเหตุ บางครั้งพบว่าไม่อยู่ในระดับมาตรฐานแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เราไม่ควรอิจฉาท่าน ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า สาวกผู้มีความศรัทธาอย่างแน่วแน่มั่นคงในการอุทิศตนเสียสละต่อองค์ภควาน แม้บางครั้งพบว่าโดยอุบัติเหตุ ได้เบี่ยงเบนจากบุคลิกแห่งการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์ ยังนับว่าท่านบริสุทธิ์ ความศรัทธาอย่างแน่วแน่มั่นคงในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ในองค์คริชณะ และในพระอาจารย์ทิพย์ ทำาให้เขาพัฒนาอย่างสูงในกิจกรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้

ใน นริสิมฮะ พุราณะ กล่าวว่า “หากบุคคลใช้จิตใจ ร่างกาย และกิจกรรมทั้งหมดในการรับใช้องค์ภควาน แต่ภายนอกพบว่าท่านปฏิบัติในกิจกรรมที่น่ารังเกียจ แน่นอนว่าจะถูกขจัดออกไปอย่างรวดเร็วด้วยพลังแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่แข็งขัน” ตัวอย่างเหมือนกับพระจันทร์เต็มดวงที่มีจุดเล็กๆ เหมือนฝีดาษ ซึ่งไม่สามารถมาข่มรัศมีของดวงจันทร์วันเพ็ญที่สาดส่องแสง ลักษณะเดียวกัน ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยท่ามกลางการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างมากมายไม่นับว่าเป็นความผิด การยึดมั่นต่อคริชณะเป็นความปลื้มปีติสุขทิพย์ ท่ามกลางความปลื้มปีติสุขทิพย์อย่างใหญ่หลวงที่ไร้ขอบเขต ข้อบกพร่องทางวัตถุเพียงเล็กน้อยจะไม่มีผลกระทบอันใดเลย