บทที่ สอง
ระดับแรกแห่งการอุทิศตนเสียสละ
สามประเภทแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่ รูพะ โกสวามี อธิบายใน บัคธิ-ระสามริทะ-สินดุ คือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในภาคปฏิบัติ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ในความปลื้มปีติสุข และการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในความรักองค์ภควานที่บริสุทธิ์ จากแต่ละประเภทนี้ยังมีหัวข้อย่อยอีกมากมาย โดยทั่วไป เข้าใจว่าประเภทการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในภาคปฏิบัติมีสองคุณสมบัติ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ในความปลื้มปีติสุขมีสี่คุณสมบัติ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ความรักองค์ภควานที่บริสุทธิ์มีหกคุณสมบัติ ชรีละ รูพะ โกสวามี จะอธิบายคุณสมบัติเหล่านี้ในลำาดับต่อไป
สัมพันธ์กับตรงนี้ ชรีละ รูพะ โกสวามี แนะนำาว่าบุคคลผู้มีสิทธิ์ในคริชณะจิตสำานึกหรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สามารถแบ่งประเภทโดยรสชาติเฉพาะของบุคคล ท่านกล่าวว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นกรรมวิธีที่ทำาต่อเนื่องจากชาติก่อน ไม่มีผู้ใดสามารถปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ได้นอกจากจะมีความสัมพันธ์ในอดีต ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าชาตินี้ข้าพเจ้าปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้บ้าง ถึงแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ ไม่ว่าทำาได้เท่าไรจะไม่สูญเปล่า ชาติหน้าจะสานต่อจากจุดที่จบลงในชาตินี้แล้วไปเริ่มต่อใหม่ เช่นนี้จึงเป็นการทำาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา หากวาสนาดีที่บุคคลสนใจในคำาสอนของสาวกผู้บริสุทธิ์จะเป็นที่ยอมรับและก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีรสชาติตามธรรมชาติเพื่อเข้าใจหนังสือ ภควัต-คีตา และ ชรีมัด-บากะวะธัม การอุทิศตนเสียสละรับใช้จะง่ายกว่าพวกที่ชอบวิธีการคาดคะเนและการถกเถียง
เพื่อสนับสนุนในจุดนี้มีคำายืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิในยุคก่อนๆ มากมาย ตามความเห็นโดยทั่วไปจากพวกท่าน บุคคลอาจถูกควบคุมด้วยความเชื่อมั่นบางสิ่งที่มาจากการถกเถียงและการสรุปของตนเอง จากนั้นก็มีอีกคนหนึ่งซึ่งอาจเป็นนักตรรกวิทยาที่เก่งกว่าสามารถลบล้างข้อสรุปนี้ และสถาปนาอีกทฤษฎีหนึ่งขึ้นมา เช่นนี้ วิธีการถกเถียงจะไม่ปลอดภัยหรือมีจุดสรุป ชรีมัด-บากะวะธัม จึงแนะนำาให้ปฏิบัติตามรอยเท้าของผู้ที่เชื่อถือได้
นี่คือประเภทของการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่ ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้ให้ไว้ใน บัคธิ-ระสามริทะ-สินดุ ได้กล่าวไว้แล้วว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้แบ่งออกเป็นสามประเภท คือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในภาคปฏิบัติ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ในความปลื้มปีติสุข และการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในความรักองค์ภควานที่บริสุทธิ์ บัดนี้ ชรีละ รูพะ โกสวามี เสนอการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในภาคปฏิบัติ
ปฏิบัติหมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสของเราทำางานบางอย่าง ฉะนั้น การอุทิศตนเสียสละรับใช้ในภาคปฏิบัติหมายความว่าใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ของเรารับใช้คริชณะ ประสาทสัมผัสบางอย่างหมายไว้เพื่อรับความรู้ ประสาทสัมผัสบางอย่างหมายไว้เพื่อปฏิบัติตามข้อสรุปของความคิด ความรู้สึก และความเต็มใจของเรา การปฏิบัติจึงหมายถึงใช้ทั้งจิตใจและประสาทสัมผัสลงมือปฏิบัติอุทิศตนรับใช้ การปฏิบัติเช่นนี้ไม่ใช่เพื่อพัฒนาบางสิ่งที่ผิดธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น เด็กเรียนหรือฝึกเดิน การเดินเช่นนี้ไม่ผิดธรรมชาติ ความสามารถในการเดินมีอยู่แล้วในตัวเด็ก จากการฝึกปฏิบัติเพียงเล็กน้อยก็จะเดินได้ดี ลักษณะเดียวกัน การอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควาน เป็นสัญชาตญาณธรรมชาติของทุกชีวิต แม้คนที่ยังไม่เจริญเช่นคนพื้นเมืองดั้งเดิมก็ยังแสดงความเคารพต่อสิ่งอัศจรรย์บางอย่างที่กฎแห่งธรรมชาติแสดง และยังชื่นชมเบื้องหลังปรากฎการณ์อันอัศจรรย์นี้ว่ามีบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้น จิตสำานึกนี้ แม้นอนแน่นิ่งลึกๆ อยู่ภายในของพวกที่มีมลทินทางวัตถุ จะพบได้ในทุกชีวิต และเมื่อบริสุทธิ์ขึ้นเรียกว่าคริชณะจิตสำานึก
มีวิธีที่กำาหนดไว้โดยเฉพาะในการใช้ประสาทสัมผัสและจิตใจของเราที่จะทำาให้จิตสำานึกดั้งเดิมในความรักคริชณะฟื้นฟูขึ้นมา เหมือนกับเด็กที่ได้ฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็จะเริ่มเดินได้ ผู้ที่ไม่มีขีดความสามารถพื้นฐานในการเดินจะเดินไม่ได้จากการฝึกปฏิบัติ เช่นเดียวกัน คริชณะจิตสำานึกไม่สามารถกระตุ้นขึ้นมาได้จากการฝึกปฏิบัติ อันที่จริงไม่มีการฝึกปฏิบัติเช่นนี้ เมื่อเราปรารถนาจะพัฒนาขีดความสามารถภายในลึกๆ เพื่ออุทิศตนเสียสละรับใช้ มีวิธีการโดยเฉพาะซึ่งจากการยอมรับและนำามาปฏิบัติ จะทำาให้ขีดความสามารถดั้งเดิมภายในฟื้นฟูขึ้นมา การฝึกปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า สาดะนะ-บัคธิ
ทุกชีวิตภายใต้มนต์สะกดของพลังงานวัตถุอยู่ในสภาวะผิดปรกติแห่งความบ้าคลั่ง ใน ชรีมัด-บากะวะธัม กล่าวว่า “โดยทั่วไป พันธวิญญาณบ้าคลั่ง เพราะปฏิบัติอยู่ในกิจกรรมที่ทำาให้ถูกพันธนาการและมีความทุกข์ตลอดเวลา” ดวงวิญญาณในสภาวะเดิมแท้จะร่าเริง มีควาามปลื้มปีติสุข เป็นอมตะ และเปี่ยมไปด้วยความรู้ จากการมาพัวพันกับกิจกรรมทางวัตถุเท่านั้นที่ทำาให้มีความทุกข์ ไม่ถาวร และอยู่ในอวิชชา เช่นนี้ เนื่องมาจาก วิคารมะ, วิคารมะ หมายถึง “กิจกรรมที่ไม่ควรทำา” ฉะนั้น เราต้องปฏิบัติ สาดะนะ-บัคธิ ซึ่งหมายถึงการถวาย มังกะละ-อาระทิ(บูชาพระปฏิมา) ในตอนเช้า ไม่ทำากิจกรรมวัตถุบางอย่าง ถวายความเคารพต่อพระอาจารย์ทิพย์ และปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อีกมากมายซึ่งจะค่อยๆ กล่าวถึงในลำาดับต่อไป การปฏิบัติสิ่งเหล่านี้จะช่วยเรารักษาความบ้าคลั่งได้ เหมือนกับคนเป็นโรคจิตเมื่อทำาตามจิตแพทย์โรคก็หายได้ ดังนั้น สาดะนะ-บัคธิ นี้ รักษาพันธวิญญาณจากความบ้าคลั่งภายใต้มนต์สะกดของ มายา หรือความหลงแห่งวัตถุ
นาระดะ มุนิ กล่าวถึง สาดะนะ-บัคธิ นี้ ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคสิบ บทที่หนึ่ง โศลก 32 โดยกล่าวกับ กษัตริย์ยุดิชทิระ ว่า “กษัตริย์ที่รัก บุคคลต้องตั้งมั่นจิตใจอยู่ที่คริชณะในทุกวิถีทาง” เช่นนี้เรียกว่าคริชณะจิตสำานึก เป็นหน้าที่ของ อาชารยะ หรือพระอาจารย์ทิพย์ที่ต้องหาทุกวิถีทางเพื่อให้สาวกตั้งมั่นจิตใจอยู่ที่คริชณะ นี่คือจุดเริ่มต้นของ สาดะนะ-บัคธิ
ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุ ทรงให้แนวปฏิบัติที่เชื่อถือได้เพื่อจุดมุ่งหมายนี้ โดยมีศูนย์กลางอยู่รอบๆ การร้องเพลงภาวนามหามนต์ ฮะเร คริชณะ การร้องเพลงภาวนาเช่นนี้มีพลังมากเพราะทำาให้ยึดมั่นอยู่กับคริชณะทันที นี่คือจุดเริ่มต้นของ สา ดะนะ-บัคธิอย่างไรก็ดี เราต้องตั้งจิตมั่นอยู่ที่คริชณะ นักบุญผู้ยอดเยี่ยม อัมบะรีชะ มะฮาราจะ แม้ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความรับผิดชอบ ยังตั้งมั่นจิตอยู่ที่คริชณะ ลักษณะเดียวกัน ผู้ใดที่พยายามตั้งจิตมั่นเช่นนี้จะก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมากเพื่อมาสู่ความสำาเร็จในการฟื้นฟูคริชณะจิตสำานึกเดิมแท้ของตน
สาดะนะ-บัคธิ หรือการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเรียกว่ารับใช้ตามหลักธรรม เขาต้องปฏิบัติตามหลักธรรมตามที่พระอาจารย์ทิพย์สั่งหรือตามพระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้โดยไม่มีคำาถามหรืการปฏิเสธ เช่นนี้เรียกว่า ไวดิ หรือตามกฎเกณฑ์ ทำาโดยไม่มีการโต้เถียง อีกส่วนหนึ่งของ สาดะนะ-บัคธิ เรียกว่า รากานุกา, รากานุกา หมายถึงจุดที่หลังจากปฏิบัติตามหลักธรรมแล้วทำาให้ยึดมั่นกับคริชณะมากขึ้น และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยใจรักตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติอาจได้รับคำาสั่งให้ตื่นแต่เช้าและถวาย อาระทิซึ่งเป็นการบูชาพระปฏิมารูปแบบหนึ่ง ในตอนเริ่มต้น ตื่นแต่เช้าถวาย อาระทิ ตามคำาสั่งของพระอาจารย์ทิพย์ แต่ต่อมาได้พัฒนาความยึดมั่นที่แท้จริง เมื่อยึดมั่นเขาจะพยายามประดับประดาพระปฏิมาและจัดชุดอาภรณ์สวยๆ คิดและวางแผนจะปรนนิบัติรับใช้ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป แม้อยู่ในประเภทภาคปฏิบัติ แต่การถวายด้วยใจรักเช่นนี้เป็นไปเองโดยธรรมชาติ ฉะนั้น ภาคปฏิบัติของการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สาดะนะ-บัคธิ แบ่งเป็นสองส่วนคือ ตามกฎเกณฑ์ และเป็นไปเองโดยธรรมชาติ
รูพะ โกสวามี นิยามส่วนแรกของภาคปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละ หรือ ไวดิ-บัคธิ ว่า “เมื่อไม่มีความยึดมั่นหรือไม่มีความรักตามธรรมชาติในการรับใช้องค์ ภควาน และปฏิบัติการรับใช้พระองค์เพียงเพราะเชื่อฟังตามคำาสั่งของพระอาจารย์ทิพย์ หรือทำาตามพระคัมภีร์ การรับใช้ที่เป็นพันธกรณีเช่นนี้เรียกว่า ไวดิ-บัคธิ
หลักของ ไวดิ-บัคธิ นี้ได้อธิบายไว้ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคสอง บทที่หนึ่ง โศลก 5 ซึ่ง ชุคะเดวะ โกสวามี สอน มะฮาราจะ พะรีคชิท ผู้กำาลังจะตายว่าควรทำาอย่างไร มะฮาระจะ พะรีคชิท พบ ชุคะเดวะ โกสวามี เพียงหนึ่งอาทิตย์ก่อนตาย กษัตริย์ทรงสับสนว่าควรทำาอย่างไรก่อนสิ้นพระชนม์ มีนักปราชญ์มากมายมาถึง ณ ที่นั้น แต่ไม่มีผู้ใดสามารถให้คำาแนะนำาที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ดี ชุคเดวะ โกสวามี ให้คำาแนะนำาดังนี้ “กษัตริย์ที่รัก หากพระองค์ทรงปรารถนาความไม่กลัวในการพบกับความตายในอาทิตย์หน้า (อันที่จริง ทุกคนจะกลัวเมื่อมาถึงความตาย) เช่นนี้ พระองค์ทรงต้องเริ่มวิธีการฟัง ร้องเพลงภาวนา และระลึกถึงองค์ภควาน” หากผู้ใดสามารถร้องเพลงภาวนา พร้อมฟัง ฮะเร คริชณะ และระลึกถึงองค์คริชณะเสมอ แน่นอนว่าผู้นี้จะกลายมาเป็นผู้ไม่กลัวความตายซึ่งอาจมาถึงเมื่อไรก็ได้
ในข้อความของ ชุคะเดวะ โกสวามี กล่าวว่า องค์ภควานคือคริชณะ ดังนั้น ชุคะเดวะ แนะนำาว่าเราควรฟังเกี่ยวกับคริชณะเสมอ ไม่แนะนำาให้ฟังและภาวนาเกี่ยวกับเทวดา มายาวาดี ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์กล่าวว่าเราอาจภาวนาพระนามใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นคริชณะหรือเหล่าเทวดาแล้วผลที่ได้รับจะเหมือนกัน แต่นี่ไม่ใช่ความจริง ตามความเห็นของ ชรีมัด-บากะวะธัม ที่เชื่อถือได้บอกว่าเราต้องฟังและภาวนาเกี่ยวกับพระวิชณุ (คริชณะ) เท่านั้น
ฉะนั้น ชุคะเดวะ โกสวามี ได้แนะนำาให้ พะรีคชิท มะฮาราจะ ว่าเพื่อให้ไม่กลัวความตาย เราต้องฟัง ภาวนา และระลึกถึงองค์ภควานคริชณะด้วยประการทั้งปวง ท่านยังกล่าวว่าองค์ภควานทรงเป็น สารวาทมา. สารวาทมา หมายถึง “อภิวิญญาณของทุกชีวิต” ยังกล่าวถึงคริชณะว่าทรงเป็น อีชวะระ ผู้ควบคุมสูงสุดที่สถิตอยู่ภายในหัวใจของทุกชีวิต อย่างไรก็ดี หากเรามายึดมั่นต่อคริชณะ พระองค์จะทรงทำาให้เราปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวง ใน ภควัต-คีตา กล่าวว่าหากใครมาเป็นสาวกของพระองค์จะไม่มีวันถูกทำาลาย แต่บุคคลอื่นจะถูกทำาลายเสมอ “ถูกทำาลาย” หมายความว่าหลังจากได้ร่างมนุษย์แล้วบุคคลไม่ออกไปจากพันธนาการแห่งการเกิดและการตาย เช่นนี้จึงพลาดโอกาสทอง บุคคลเช่นนี้ไม่รู้ว่ากฎแห่งธรรมชาติจะโยนเขาไปที่ใหน
สมมุติว่า ผู้ได้รับร่างมนุษย์แล้วไม่พัฒนาคริชณะจิตสำานึก เขาจะถูกส่งไปในวัฐจักรแห่งการเกิดและตายซึ่่งมี 8,400,000 เผ่าพันธุ์ และยังคงสูญเสียบุคลิกภาพทิพย์ของตนเอง โดยไม่รู้ว่าตนเองจะไปเป็นต้นไม้ สัตว์ นก หรืออะไรในทำานองนั้น เพราะมีเผ่าพันธ์ุชีวิตมากมาย คำาแนะนำาที่ รูพะ โกสวามี ให้ฟื้นฟูคริชณะจิตสำานึกเดิมแท้ของเราคือ อย่างไรก็ดี พยายามให้จิตใจมาอยู่ที่คริชณะอย่างจริงจังแล้วจะได้ไม่กลัวตาย หลังจากตายไปจะไม่รู้จุดหมายปลายทางเพราะเราอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎแห่งธรรมชาติโดยสมบูรณ์ ฉะนั้น หากเรามาพึ่งคริชณะอย่างจริงจัง จะไม่มีความกลัวที่จะถูกโยนมาอยู่ในวัฐจักรที่มีเผ่าพันธ์ชีวิตมากมาย สาวกผู้จริงใจจะถูกย้ายโอนไปที่พระตำาหนักของคริชณะอย่างแน่นอน ดังที่ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา
ใน พัดมา พุราณะ ได้แนะนำากรรมวิธีเดียวกันนี้ โดยกล่าวว่าเราควรระลึกถึงพระวิชณุเสมอ เช่นนี้เรียกว่า ดยานะ การทำาสมาธิหรือระลึกถึงคริชณะเสมอ กล่าวไว้ว่าเราต้องตั้งสมาธิจิตมั่นอยู่ที่พระวิชณุ พัดมะ พุราณะ แนะนำาว่าเราตั้งจิตมั่นอยู่ที่รูปลักษณ์พระวิชณุเสมอด้วยการทำาสมาธิ และไม่ลืมพระองค์แม้เสี้ยววินาทีเดียว ระดับจิตสำานึกเช่นนี้เรียกว่า สมาธิ หรือ สะมาดิ
เราควรพยายามประสานกิจกรรมของชีวิตในลักษณะที่เราจะระลึกถึงวิชณุหรือคริชณะได้ตลอดเวลา นี่คือคริชณะจิตสำานึก ไม่ว่าจะตั้งสมาธิจิตอยู่ที่รูปลักษณ์พระวิชณุสี่กรหรือรูปลักษณ์คริชณะสองกรถือว่าเหมือนกัน พัดมะ พุราณะ แนะนำาว่า อย่างไรก็ดี ให้ระลึกถึงพระวิชณุเสมอโดยไม่ลืมพระองค์ไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆ อันที่จริงนี่คือหลักพื้นฐานที่สุดในหลักธรรมทั้งหมด เมื่อมีคำาสั่งให้ทำาบางอย่างจากผู้มีอำานาจก็จะมีข้อห้ามตามมาด้วย เมื่อมีคำาสั่งว่าเราควรระลึกคริชณะเสมอ ข้อห้ามคือเราไม่ควรลืมพระองค์ ภายใต้คำาสั่งและข้อห้ามง่ายๆ นี้ จะพบหลักธรรมทั้งหมดสมบูรณ์อยู่ในตัว
หลักธรรมนี้ใ้ช้ได้กับ วารณะ และ อาชระมะ หรือ วรรณะและอาชีพของชีวิตทั้งหมด มีอยู่สี่ วารณะ คือ บราฮมะณะ (นักบวชและปัญญาชน) คชัทริยะ (นักรบและผู้บริหารรัฐ) ไวชยะ (นักธุรกิจและชาวนา) และชูดระ (กรรมกรและผู้รับใช้) มีอยู่สี่ อาชระมะ มาตรฐานเช่นกันคือ บระฮมะชารยะ (ชีวิตนักศึกษา) กริฮัสทะ(คฤหัสถ์) วานะพรัสทะ (เกษียณ) และสันนยาสะ (สละโลก) หลักธรรมมิใช่เพื่อให้ บระฮมะชารี (นักศึกษาผู้ถือพรมจรรย์) ปฏิบัติตามเท่านั้น แต่สำาหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้เริ่มต้น บระฮมะชารี หรือผู้เจริญก้าวหน้าแล้ว สันนยาสี หลักธรรมในการระลึกถึงองค์ภควานเสมอและไม่ลืมพระองค์แม้เสี้ยววินาทีหมายไว้เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามโดยไม่ยกเว้น
หากปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ ก็เท่ากับปฏิบัติตามหลักธรรมกฏระเบียบอื่นๆ ทั้งหมดโดยปริยาย กฏเกณฑ์อื่นๆ ทั้งหมดควรมาเป็นตัวช่วยหรือผู้รับใช้หลักธรรมพื้นฐานนี้ คำาสั่งของกฏเกณฑ์และผลของมันได้กล่าวไว้ในภาคสิบเอ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่หนึ่ง โศลก 2 และ 3 คะมะสะ มุนิ หนึ่งในนักปราชญ์เก้าท่านที่มาสอนกษัตริย์ นิมิ ได้กล่าวกับกษัตริย์ว่า “สี่ระดับของสังคมเช่น บราฮมาณะ คชัทริยะ ไวชยะ และ ชูดระ ได้ออกมาจากส่วนต่างๆ ของรูปลักษณ์จักรวาลแห่งองค์ภควานดังนี้ บราฮมะณะ ออกมาจากพระเศียร คชัทริยะ ออกมาจากพระกร ไวชยะ ออกมาจาก บั้นพระองค์ และชูดระ ออกมาจากพระเพลา เช่นเดียวกัน สันนยาสี ออกมาจากพระเศียร วานะพรัสทะ จากพระกร กริฮัสทะ จากบั้นพระองค์ และบระฮมะชารี จากพระเพลา”
ระดับต่างๆ ของสังคมและระดับความก้าวหน้าในวิถีทิพย์สำาเหนียกได้จากคุณสมบัติ ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า สี่ระดับของสังคมและสี่ระดับในวิถีทิพย์องค์ภควานทรงเป็นผู้สร้าง ตามคุณสมบัติของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ดังเช่นส่วนต่างๆ ของร่างกายมีกิจกรรมที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ระดับในสังคมและระดับในวิถีทิพย์ก็มีกิจกรรมที่แตกต่างกันตามคุณสมบัติและสถานภาพ อย่างไรก็ดี เป้าหมายของกิจกรรมเหล่านี้คือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเสมอ ดังที่ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า “พระองค์ทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำาราญสูงสุด” ดังนั้น ไม่ว่าเราจะเป็น บราฮมะณะ หรือ ชูดระ เราต้องทำาให้องค์ภควานทรงพอพระทัยด้วยกิจกรรมของเรา ได้ยืนยันไว้ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ด้วยโศลกที่ว่า “ทุกคนต้องปฎิบัติตามหน้าที่โดยเฉพาะของตน แต่ความสมบูรณ์ของงานนี้ควรทดสอบดูว่าองค์ภควานทรงพอพระทัยกับกิจกรรมของเราเพียงใด” คำาสั่งตรงนี้คือ ให้เราปฎิบัติตามสถานภาพของเรา และจากกิจกรรมเช่นนี้เราต้องทำาให้องค์ภควานทรงพอพระทัย หรือไม่ก็จะตกลงจากสถานภาพของเรา
ตัวอย่างเช่น บราฮมะณะ ที่เกิดจากพระเศียรของพระองค์ มีภารกิจในการสอนเสียงทิพย์จากพระเวท หรือ สับดะ-บระฮมะ เพราะ บราฮมะณะ เป็นหัว เขาจึงต้องสอนเสียงทิพย์และต้องรับประทานแทนองค์ภควาน ตามคำาสั่งสอนของพระเวทว่า เมื่อ บราฮมะณะ รับประทานเข้าใจว่าองค์ภควานทรงเสวยผ่านเขา ไม่ใช่ว่า บราฮมะณะ เอาแต่รับประทานแทนพระองค์และไม่สอนสาส์นแห่ง ภควัต-คีตา ให้แด่โลก อันที่จริงผู้สอนสาส์นแห่ง ภควัต-คีตา เป็นที่รักยิ่งของคริชณะ ดังที่ ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า ครูคนนี้อันที่จริงเป็น บราฮมะณะ ดังนั้น จากการถวายอาหารให้แก่เขาเท่ากับเราถวายให้องค์ภควานโดยตรง
เช่นเดียวกัน คชัทริยะ ต้องปกป้องผู้คนจากการรุกไล่ของ มายา นี่คือหนา้ที่ ตัวอย่างเช่น ทันทีที่ มะฮาราจะ พะรีคชิท ทรงเห็นคนดำาพยายามจะฆ่าโค พระองค์ทรงชักดาบขึ้นมาทันทีพร้อมที่จะสังหารคนดำา ผู้มีชื่อว่า คะลิ นี่คือหน้าที่ของ คชัทริยะ ความรุนแรงมีความจำาเป็นเพื่อให้การคุ้มครอง ใน ภควัต-คีตา คริชณะทรงออกคำาสั่งโดยตรงให้อารจุนะใช้ความรุนแรงในสมรภูมิคุรุคเชทระ เพียงเพื่อปกป้องผู้คนโดยทั่วไป
ไวชยะ หมายไว้เพื่อผลิตผลิตผลทางการเกษตร ค้าขายและจัดส่งสิ่งเหล่านี้ ระดับกรรมาชีพหรือ ชูดระ คือพวกที่ไม่มีปัญญาในระดับของ บราฮมะณะ, คชัทริยะ,หรือ ไวชยะ ดังนั้น จึงหมายไว้เพื่อให้ช่วยระดับชั้นที่สูงกว่าด้วยแรงงานทางร่างกาย เช่นนี้จะมีการร่วมมือกันอย่างเต็มที่และเจริญก้าวหน้าบนวิถีทิพย์ในทุกระดับชั้นของสังคม หากไม่มีความร่วมมือกันเช่นนี้สมาชิกในสังคมจะตกต่ำา นี่คือสถานการณ์ปัจจุบันใน คะลิ-ยุกะ ยุคแห่งการทะเลาะวิวาท ไม่มีใครทำาหน้ที่ของตนเอง ทุกคนหยิ่งผยองโดยสถาปนาตัวเองว่าเป็น บราฮมะณะ (ปัญญาชน) หรือ คชัทริยะ (ทหารหรือรัฐบุรุษ) แต่อันที่จริงคนพวกนี้ไร้สถานภาพ ไม่ได้สัมผัสกับองค์ภควานบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ไม่มีคริชณะจิตสำานึก ฉะนั้น ขบวนการคริชณะจิตสำานึกตั้งใจจัดสังคมมนุษย์ทั้งหมดให้อยู่ในสถานภาพที่เหมาะสม เพื่อทุกคนจะได้มีความสุขและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาคริชณะจิตสำานึก
องค์ชรีคริชณะทรงสอนอุดดะวะว่า จากการปฎิบัติตามคำาสั่งสอนของระดับชั้นทั้งในวิถีสังคมและวิถีทิพย์ เราสามารถทำาให้องค์ภควานทรงพอพระทัย จากผลที่ทรงพอพระทัยเช่นนี้สังคมมวลรวมจะได้รับสิ่งของจำาเป็นทั้งหมดสำาหรับชีวิตโดยไม่ยากลำาบาก เป็นเช่นนี้เพราะองค์ภควานทรงเป็นผู้ค้ำาจุนมวลชีวิต หากสังคมมวลรวมปฎิบัติตามหน้าที่ของตนและอยู่ในคริชณะจิตสำานึก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสมาชิกทั้งหมดจะมีชีวิตอยู่อย่างสงบและมีความสุข ปราศจากความต้องการสิ่งจำาเป็นสำาหรับชีวิต ทั่วทั้งโลกจะเปลี่ยนเป็นโลกทิพย์ ไวคุณธะ แม้ยังไม่ย้ายโอนไปยังอาณาจักรขององค์ภควาน จากการปฎิบัติตามคำาสอนของ ชรีมัด-บากะวะธัม และทำาตามหน้าที่ในคริชณะจิตสำานึก สังคมมนุษย์มวลรวมจะมีความสุขในทุกๆ ด้าน
มีข้อความคล้ายกันนี้ที่คริชณะตรัสแด่อุดดะวะ ในภาคสิบเอ็ดของ บทที่ยี่สิบเจ็ด โศลก 49 พระองค์ตรัสว่า “อุดดะวะที่รัก ทุกคนทำากิจกรรม ไม่ว่าตามที่คำาภีร์ที่เปิดเผยแนะนำาหรือทำากิจกรรมทางโลกโดยทั่วไป หากผลของกิจกรรมเหล่านี้นำามาบูชาข้าในคริชณะจิตสำานึก พวกเขาจะมีความสุขมากโดยปริยายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า โดยไม่ต้องสงสัย” เราสรุปได้จากข้อความของคริชณะนี้ว่า กิจกรรมในคริชณะจิตสำานึกจะให้ความสมบูรณ์ทั้งหมดแด่ทุกคนในความปรารถนาทั้งปวง
เช่นนี้ ขบวนการคริชณะจิตสำานึกดีมาก โดยไม่จำาเป็นต้องระบุตนเองว่าเป็น บราฮมาณะ คชัทริยะ ไวชยะ ชูดระ บระฮมะชารี กริฮัสทะ วานะพรัสทะ หรือ สันนยาสี ให้ทุกคนปฎิบัติตามอาชีพที่ตนทำาอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่บูชาองค์คริชณะด้วยผลจากกิจกรรมในคริชณะจิตสำานึก เช่นนี้จะปรับสถานการณ์ทั้งหมด แล้วทุกคนจะมีความสงบสุขในโลกนี้ ใน นาระดะ-พันชะราทระ ได้อธิบายหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ดังนี้ “กิจกรรมใดที่คัมภีร์ที่เปิดเผยอณุญาตและมีเป้าหมายเพื่อให้องค์ภควานทรงพอพระทัย ครูผู้สอนซึ่งเป็นนักบุญจะยอมรับว่าเป็นหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หากผู้ใดปฎิบัติรับใช้เช่นนี้แด่องค์ภควานอย่างสม่ำาเสมอภายใต้การแนะนำาของพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ เขาจะค่อยๆ พัฒนามาถึงระดับแห่งการรับใช้องค์ภควานด้วยความรักที่บริสุทธิ์”