บทที่ สาม
สิทธิของผู้สมัคร
ในการยอมรับการอุทิศตนเสียสละรับใช้
จากการมาคบหาสมาคมกับ มะฮาทมา หรือยอดดวงวิญญาณที่ปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ เขาอาจชื่นชอบชรีคริชณะขึ้นมาบ้างแต่ในขณะเดียวกันยังยึดติดอยู่มากกับกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ และรื่นเริงอยู่กับประสาทสัมผัสวัตถุ ไม่พร้อมที่จะเสียสละหลายสิ่งหลายอย่าง บุคคลเช่นนี้ หากชื่นชอบ คริชณะอย่างแน่วแน่จะมาเป็นผู้สมัครที่มีสิทธิในการปฎิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้
การชื่นชอบคริชณะจิตสำานึกด้วยการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์เป็นเครื่องหมายแห่งความโชคดีอันใหญ่หลวง องค์เชธันญะทรงยืนยันว่าคนโชคดีเท่านั้นจึงได้รับเมล็ดพันธ์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ด้วยพระเมตตาของทั้งพระอาจารย์ทิพย์และคริชณะ สัมพันธ์กับตรงนี้ คริชณะตรัสใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคสิบเอ็ด บทที่ยี่สิบ โศลก 8 ว่า “อุดดะวะที่รัก ด้วยความโชคดีพิเศษมากเท่านั้นที่บางคนมาชื่นชอบข้า แม้เขายังไม่สลัดความยึดติดกับกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุโดยสมบูรณ์ หรือยังไม่ยึดมั่นต่อการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยบริบูรณ์ การรับใช้เช่นนี้จะมีผลโดยรวดเร็ว”
สาวกอาจแบ่งออกเป็นสามระดับ ระดับหนึ่งหรือระดับสูงสุดอธิบายได้ดังนี้คือ ท่านมีความชำานาญมากในการศึกษาพระคัมภีร์ที่สัมพันธ์กับการอุทิศตนเสีย สสละรับใช้ และชำานาญในการถกเถียงเกี่ยวกับคัมภีร์เหล่านี้ สามารถเสนอข้อสรุปอย่างสวยงามมากด้วยการพินิจพิเคราะห์อย่างสมบูรณ์ และสามารถพิจารณาวิถีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเด็ดขาด ท่านเข้าใจอย่างสมบูรณ์ว่าจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิตคือบรรลุถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อคริชณะด้วยใจรัก และรู้ดีว่าคริชณะทรงเป็นเป้าหมายเดียวแห่งการบูชาและรัก สาวกชั้นหนึ่งจะถือศีลอย่างเคร่งครัดภายใต้การฝึกฝนของพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ และเชื่อฟังท่านด้วยความจริงใจตามหลักพระคัมภีร์ที่เปิดเผย ฉะนั้น ได้รับการฝึกฝนให้สอนอย่างเต็มที่และกลายมาเเป็นพระอาจารย์ทิพย์ เช่นนี้พิจารณาว่าเป็นสาวกชั้นหนึ่ง สาวกชั้นหนึ่งจะไม่มีวันเบี่ยงเบนจากหลักธรรมผู้เชื่อถือได้ที่สูงกว่า และมีความศรัทธาอย่างมั่นคงในพระคัมภีร์จากการเข้าใจด้วยเหตุผลและข้อถกเถียงทั้งหมด เมื่อพูดถึงข้อถกเถียงและเหตุผลหมายถึงข้อถกเถียงและเหตุผลบนพื้นฐานของคัมภีร์ที่เปิดเผย สาวกชั้นหนึ่งไม่สนใจวิธีการคาดคะเนที่แห้งแล้งซึ่งทำาให้เสียเวลา อีกนัยหนึ่ง ผู้ที่มุ่งมั่นอย่างมีวุฒิภาวะในเรื่องของการอุทิศตนเสียสละรับใช้นับว่าเป็นสาวกชั้นหนึ่ง
สาวกชั้นสองนิยามตามลักษณะอาการดังนี้คือ ท่านไม่ชำานาญมากนักในการถกเถียงตามหลักพระคัมถีร์ที่เปิดเผย แต่มีศรัทธาอย่างมั่นคงในเป้าหมาย คำาอธิบายคือ สาวกชั้นสองมีความศรัทธาอย่างมั่นคงในกรรมวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่คริชณะ แต่บางครั้งอาจไม่สามารถถกเถียงและตัดสินใจตามหลักพระคัมภีร์กับฝ่ายตรงกันข้าม ในขณะเดียวกันท่านก็ยังคงความแน่วแน่มั่นคงอยู่ภายในว่าคริชณะทรงเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งการบูชา
นวกะหรือสาวกชั้นสาม คือผู้ที่ความศรัทธาไม่มั่นคงเท่าไรนัก ขณะเดียวกันก็ไม่รู้ว่าพระคัมภีร์ที่เปิดเผยสอนอะไร สาวกชั้นสามอาจเปลี่ยนความศรัทธาได้จากผู้ที่เถียงได้เก่งกว่าหรือจากการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้าม ไม่เหมือนกับสาวกชั้นสองผู้ที่ทั้งไม่สามารถกเถียงและอ้างหลักฐานจากพระคัมภีร์ แต่ยังมีความศรัทธาอย่างมั่นคงในจุดมุ่งหมาย สาวกชั้นสามไม่มีความศรัทธาอย่างมั่นคงในจุดมุ่งหมาย จึงเรียกว่าสาวกนวกะ
สาวกชั้นสามยังถูกแบ่งระดับอีก ใน ภควัต-คีตา กล่าวว่ามีคนอยู่สี่ประเภทคือ พวกที่มีความทุกข์ พวกที่ต้องการเงิน พวกที่ชอบถาม และพวกที่มีปัญญา ได้เริ่มปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้และมาหาองค์ภควานเพื่อให้ช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ที่ตนเองยังไม่ได้สมปรารถนา พวกเขาจะไปยังสถานที่บูชาและภาวนาให้พระผู้เป็นเจ้าช่วยขจัดความทุกข์ทางวัตถุ หรือพัฒนาเศรษฐกิจ หรือได้คำาตอบจนเป็นที่พึงพอใจ และคนฉลาดผู้รู้แจ้งความยิ่งใหญ่ขององค์ภควานก็นับว่าเป็นหนึ่งในนวกะ ผู้เริ่มต้นเหล่านี้สามารถพัฒนามาถึงระดับสาวกชั้นสองและชั้นหนึ่งได้หากได้มาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์
มีตัวอย่างของสาวกนวกะคือ มะฮาราจะ ดรูวะ พระองค์ทรงปรารถนาอาณาจักรของพระบิดาจึงไปปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควาน ในตอนท้าย เมื่อบริสุทธิ์ขึ้นโดยสมบูรณ์ ได้ปฎิเสธพรทางวัตถุใดๆ จากพระองค์ กะเจนดระ ก็เช่นเดียวกัน ขณะอยู่ในความทุกข์ได้ภาวนาให้คริชณะปกป้อง หลังจากนี้ก็กลายมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ สะนะคะ, สะนาทะนะ, สะนันดะ, และ สะนัทคุมาระ ก็เช่นเดียวกัน อยู่ในจำาพวกคนฉลาด เป็นนักบุญ พวกท่านได้มาชื่นชอบการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เหตุการณ์คล้ายกันนี้ได้เกิดขึ้น ณ ที่ชุมนุมที่ป่า ไนมิชารัณยะ ซึ่งมีนักปราชญ์โชนะคะเป็นผู้นำา พวกท่านมีคำาถามมากมาย ได้ถาม สูทะ โกสวามี เกี่ยวกับคริชณะเสมอ ดังนั้น ได้มาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์และตนเองก็กลายมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ นี่คือวิธีการพัฒนา ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใดหากโชคดีพอได้มาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ ก็จะสามารถพัฒนามาถึงระดับสาวกชั้นสองและชั้นหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
สาวกทั้งสี่ประเภทเหล่านี้ได้อธิบายไว้ใน บทที่เจ็ดของ ภควัต-คีตา และทั้งหมดได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีบุญ หากไม่มีบุญ ไม่มีผู้ใดสามารถปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ได้อธิบายใน ภควัต-คีตา ว่า ผู้ที่ทำาบุญมาอย่างต่อเนื่องและผลบาปในชีวิตได้ยุติลงโดยสมบูรณ์เท่านั้นจึงสามารถปฎิบัติคริชณะจิสำานึก บุคคลอื่นๆ ทำาไม่ได้ สาวกนวกะแบ่งออกเป็นสี่ประเภท พวกมีความทุกข์ พวกต้องการเงิน พวกชอบถาม และพวกคนฉลาด แล้วแต่ระดับบุญที่สะสมกันมา หากไม่มีบุญและมีความทุกข์เขาจะกลายมาเป็นผู้ไม่เชื่อในองค์ภควาน เป็นคอมมิวนิสต์ หรืออะไรในทำานองนั้น เพราะไม่เชื่อมั่นในองค์ภควาน จึงคิดว่าตนเองสามารถปรับสภาพความทุกข์ได้โดยไม่ต้องเชื่อองค์ภควานเลย
อย่างไรก็ดี องค์คริชณะทรงอธิบายใน ภควัต-คีตา ว่า จากสาวกนวกะสี่ประเภทนี้ คนฉลาดเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ เพราะหากคนฉลาดมายึดมั่นต่อคริชณะจะไม่แสวงหาผลประโยชน์ทางวัตถุ คนฉลาดเมื่อมายึดมั่นต่อคริชณะจะไม่ต้องการ สิ่งตอบแทนจากพระองค์ ไม่ว่าในเรื่องปลดเปลื้องความทุกข์หรือได้รับเงินทอง เช่นนี้หมายความว่าตั้งแต่ตอนเริ่มต้นหลักพื้นฐานในการยึดมั่นต่อคริชณะเป็นความรักไม่มากก็น้อย ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยสติปัญญาและการศึกษาพระคัมภีร์ (ชาสทระ) ทำาให้เข้าใจด้วยว่า คริชณะคือองค์ภควาานบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า
ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า หลังจากหลายต่อหลายชาติเมื่อบุคคลมีปัญญาอย่างแท้จริงจะศิโรราบต่อวาสุเดวะ รู้ดีว่าคริชณะหรือวาสุเดวะทรงเป็นแหล่งกำาเนิดของแหล่งกำาเนิดทั้งปวง จึงมายึดมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวของคริชณะและค่อยๆ พัฒนาความรักต่อพระองค์ ถึงแม้คนฉลาดเป็นที่รักยิ่งของคริชณะ นอกนั้นก็ถือว่าเป็นผู้มีจิตใจกว้างขวางมาก เพราะถึงแม้มีความทุกข์หรือต้องการเงินก็มาหาคริชณะเพื่อความพึงพอใจ จึงถือว่าเป็น มะฮาทมา ผู้มีจิตใจกว้างขวางมีเสรี
ปราศจากการพัฒนามาถึงสถานภาพของ กยานี หรือคนฉลาด ก็จะไม่สามารถมายึดมั่นอยู่กับหลักการบูชาองค์ภควาน พวกด้อยปัญญาหรือพวกที่ปัญญาถูกมนต์สะกดของ มายา ลักเอาไปจะยึดติดอยู่กับเทวดาต่างๆ ภายใต้อิทธิพลของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ คนฉลาดคือผู้ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าตนเองคือดวงวิญญาณไม่ใช่ร่างกาย เพราะรู้แจ้งว่าตนเองคือดวงวิญญาณและคริชณะคือดวงวิญญาณสูงสุด จึงรู้ว่าความสัมพันธ์อันใกล้ชิดควรให้กับคริชณะ ไม่ใช่ให้กับร่างกายนี้ คนมีทุกข์กับคนต้องการเงินอยู่ในแนวคิดชีวิตทางวัตถุ เพราะความทุกข์และต้องการเงินทั้งคู่สัมพันธ์กับร่างกาย คนชอบถามอาจสูงกว่าคนมีความทุกข์และคนต้องการเงินนิดหน่อยแต่ก็ยังอยู่ในระดับวัตถุ แต่คนฉลาดผู้แสวงหาคริชณะรู้ดีว่าตนเองคือ บระฮมัน หรือดวงวิญญาณ และคริชณะคือ พะระบระฮมัน ดวงวิญญาณสูงสุด เขารู้ว่าดวงวิญญาณเป็นรองและมีขีดจำากัด ควรสมยอมกับดวงวิญญาณสูงสุดคริชณะผู้ไร้ขีดจำากัด นี่คือความสัมพันธ์ระหว่างคนฉลาดกับคริชณะ
สรุปได้ว่าบุคคลผู้เป็นอิสระจากแนวคิดชีวิตทางวัตถุเป็นผู้สมัครที่มีสิทธิสำาหรับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ด้วยว่า หลังจากการรู้แจ้ง บระฮมัน แล้ว เมื่อเป็นอิสระจากความวิตกกังวลทางวัตถุและสามารถเห็นมวลชีวิตในระดับเสมอภาค เขามีสิทธิเข้าไปในการอุทิศตนเสียสละรับใช้
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่ามีความสุขอยู่สามระดับคือ วัตถุ ทิพย์ และการอุทิศตนเสียสละ การอุทิศตนเสียสละรับใช้และความสุขอันเนื่องมาจากการปฎิบัติเช่นนี้เป็นไปใม่ได้ ตราบใดที่ยังมีความเสน่หาทางวัตถุ หากผู้ใดมีความปรารถนาจะหาความสุขทางวัตถุหรือกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควาน ทั้งสองสิ่งนี้ถือว่าเป็นแนวคิดทางวัตถุ เพราะผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ไม่สามารถชื่นชอบความสุขทิพย์ในการมาคบหาสมาคมและแลกเปลี่ยนความรักกับองค์ภควาน เป้าหมายของพวกเขาคือมาเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ แนวคิดนี้เป็นเพียงการต่อยอดของแนวคิดทางวัตถุ ในโลกวัตถุทุกคนพยายามมาเป็นผู้นำาสุดยอดในกลุ่มของตนหรือเพื่อนบ้าน ไม่ว่าในระดับหมู่บ้าน สังคม หรือระดับชาติ ในแนวคิดชีวิตทางวัตถุ ทุกคนแข่งขันเพื่อให้ยิ่งใหญ่กว่าคนอื่นๆ ทั้งหมด ความยิ่งใหญ่นี้สามารถขยายออกไปจนถึงผู้ที่ไร้ขีดจำากัด อันที่จริงเขาต้องการกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดองค์ภควาน นี่ก็เป็นแนวคิดทางวัตถุเช่นกัน แม้จะพัฒนาขึ้นมาเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี แนวคิดชีวิตทิพย์ที่สมบูรณ์คือความรู้อันบริบูรณ์แห่งสถานภาพเดิมแท้ของตนเอง ซึ่งมีความรู้พอที่จะประสานตนเองในการรับใช้ทิพย์ต่อองค์ ภควานด้วยใจรัก เราต้องรู้ว่าตนเองมีขีดจำากัดและพระองค์ทรงไร้ขีดจำากัด จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์แม้เรามีความปรารถนา มันเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน ฉะนั้น ผู้ใดที่ปรารถนาหรือใฝ่ฝันจะสนองประสาทสัมผัสของตนว่าจะมาเป็นบุคคลสำาคัญมากยิ่งขึ้นไม่ว่าในวิถีวัตถุหรือวิถีทิพย์ จะไม่ได้รับรสอันหวานฉ่ำาอย่างแท้จริงแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้เปรียบเทียบการมีความปรารถนาเป็นเจ้าของ บุคทิ (วัตถุ) และ มุคทิ (ความหลุดพ้น) ว่าอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งมนต์ดำาของแม่มด ทั้งสองกรณีนี้เขาจะมีปัญหา บุคทิ หมายถึงความสุขทางวัตถุ และ มุคทิ หมายถึงเป็นอิสระจากความวิตกกังวลทางวัตถุและมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควาน ความปราาถนาเหล่านี้เปรียบเทียบเหมือนกับถูกผีและแม่มดเข้าสิง เพราะถ้าหากยังปรารถนาความสุขทางวัตถุหรือมาเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ จะไม่มีผู้ใดได้รับรสชาติทิพย์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างแท้จริง
สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่เคยสนใจกับความหลุดพ้น องค์เชธันญะทรงภาวนาแด่คริชณะว่า “บุตรนันดะที่รัก ข้าไม่ปรารถนาความสุขทางวัตถุในรูปของสานุศิษย์มากมาย ความมั่งคั่งในทรัพย์สมบัติ ภรรยาที่สวยงาม หรือว่าจะหยุดความเป็นอยู่ทางวัตถุ ข้าอาจเกิดแล้วเกิดอีกหลายต่อหลายชาติ แต่สิ่งที่ภาวนาคือ ขอให้การอุทิศตนเสียสละที่ข้ามีต่อพระองค์่ยังคงความแน่วแน่มั่นคงนิรันดร”
ความสนใจของสาวกผู้บริสุทธิ์คือชื่นชอบมากในการสรรเสริญลีลา พระนาม คุณสมบัติ รูปลักษณ์ ฯลฯ เช่นนี้สาวกไม่สนใจ มุคทิ ชรี บิลวามังกะละ ทาคุระ กล่าวว่า “หากข้าปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ องค์ภควานที่รัก ข้าจะสำาเหนียกเห็นพระองค์ทุกหนทุกแห่ง สำาหรับความหลุดพ้น ข้าคิดว่าความหลุดพ้นจะยืนอยู่ที่ประตูด้วยมือพนมเพื่อรอรับใช้ข้า” ดังนั้น สำาหรับสาวกผู้บริสุทธิ์ ความหลุดพ้นและความเป็นอิสระทิพย์ไม่ใช่สิ่งสำาคัญมาก
สัมพันธ์กับตรงนี้ ในภาคสามของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่ยี่สิบห้า โศลก 36 คะพิละเดวะ ได้แนะนำาพระมารดา เดวะฮูทิ ดังนี้ “พระมารดาที่รัก สาวกผู้บริสุทธิ์จะหลงเสน่ห์ในการเห็นรูปลักษณ์ต่างๆ ของข้า ดวงหน้าที่สง่างามของข้า และโครงสร้างแห่งร่างกายของข้า การหัวเราะ ลีลา และการชำาเลืองมองของข้าดูสง่างามมากจนจิตใจของพวกเขาซึมซาบอยู่ในความคิดถึงข้า และชีวิตอุทิศแด่ข้าโดยสมบูรณ์ แม้ไม่ปรารถนาความหลุดพ้นหรือความสุขทางวัตถุใดๆ ถึงกระนั้น ข้าก็ให้สถานภาพอันใกล้ชิดที่พระตำาหนักสูงสุดของข้า”
หลักฐานจาก ชรีมัด-บากะวะธัม นี้ รับประกันสาวกผู้บริสุทธิ์ว่าจะได้รับการพัฒนาให้ไปอยู่ใกล้ชิดกับองค์ภควาน ชรีละ รูพะ โกสวามี กล่าวสัมพันธ์กับตรงนี้ว่า ผู้ที่ชื่นชอบกับความงามแห่งพระบาทรูปดอกบัวของคริชณะหรือการรับใช้พระองค์อย่างแท้จริง จากการชื่นชอบเช่นนี้ทำาให้หัวใจของเขาเปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุขทิพย์อยู่ตลอดเวลา โดยธรรมชาติจะไม่ปรารถนาความหลุดพ้นซึ่งเป็นสิ่งมีคุณค่ามากสำาหรับผู้ที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์
มีข้อความคล้ายกันนี้ในหนังสือเล่มเดียวกัน ภาคสาม บทที่สี่ โศลก 15 อุดดะวะ กล่าวกับคริชณะว่า “องค์ภควานที่รัก บุคคลผู้ปฎิบัติการรับใช้ทิพย์ต่อพระองค์ด้วยใจรัก จะไม่มีสิ่งใดมีคุณค่าที่จะได้รับจากการศาสนา การพัฒนาเศรษฐกิจ การ สนองปราสาทสัมผัส หรือความหลุดพ้น ถึงแม้ความสุขจากแหล่งเหล่านี้สามารถหามาได้โดยง่ายดาย ถึงกระนั้น องค์ภควานที่รัก ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาได้รับสิ่งเหล่านี้ ภาวนาว่าขอให้ข้ามีความศรัทธาและอุทิศตนเสียสละอย่างแน่วแน่มั่นคงต่อพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์”
มีข้อความคล้ายๆ กันนี้ในภาคสาม บทที่ยี่สิบห้า โศลก34 คะพิละเดวะ ทรงสอนพระมารดาว่า “พระมารดาที่รัก สาวกผู้ที่หัวใจเปี่ยมไปด้วยการรับใช้พระบาท รูปดอกบัวของข้า และพร้อมทำาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ข้าพอใจ โดยเฉพาะสาวกโชคดีที่มาชุมนุมกันเพื่อเข้าใจคุณสมบัติ ลีลา และรูปลักษณ์ของข้า เช่นนี้พวกเขาได้ร่วมกันสรรเสริญข้าและได้รับความสุขทิพย์จากกิจกรรมเหล่านี้ และไม่เคยปรารถนาที่จะมาเป็นหนึ่งเดียวกับข้า จึงไม่พูดถึงเรื่องมาเป็นหนึ่งเดียวกับข้า หากได้รับการเสนอให้มีสถานภาพเหมือนข้าที่พระตำาหนักของข้า หรือมีความมั่งคั่งเหมือนดังข้า หรือมาอยู่ใกล้ชิดกับข้าด้วยร่างกายที่เหมือนข้า พวกเขาจะปฎิเสธ เพราะมีความพึงพอใจที่ได้อุทิศตนเสียสละรับใช้ข้า”
ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคสี่ บทที่เก้า โศลก 10 กษัตริย์ดรุวะ ตรัสว่า “องค์ภควานที่รัก ความสุขทิพย์ที่ได้รับจากการทำาสมาธิที่พระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ ซึ่งสาวกผู้บริสุทธิ์รื่นเริง พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ไม่สามารถเข้าถึงความสุขทิพย์เช่นนี้ด้วยการรู้แจ้งแห่งตน ดังนั้น พวกทำางานเพื่อผลประโยชณ์ทางวัตถุซึ่งความปรารถนาสูงสุดคือไปอยู่บนสวรรค์ จะเข้าใจพระองค์ได้อย่างไร แล้วจะบอกว่าพวกเขารื่นเริงกับความสุขที่เหมือนกับความสุขของเหล่าสาวกได้อย่างไร”