น้ําทิพย์
แห่งการอุทิศตนเสียสละ

บทที่ สี่

การอุทิศตนเสียสละรับใช้ข้ามพ้น

ความหลุดพ้นทั้งปวง

สาวกมีความยึดมั่นกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานมากเพียงใดสามารถเข้าใจได้จากข้อความของ มะฮาราจะ พริทุ (อาดิ-ราจะ) ซึ่งอธิบายไว้ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคสี่ บทที่ยี่สิบ โศลก 24 พระองค์ทรงภาวนาว่า “องค์ภควาน ที่รัก หากหลังจากได้รับความหลุดพ้นแล้ว ข้าไม่มีโอกาสได้ฟังพระบารมีของพระองค์ พระบารมีที่สาวกผู้บริสุทธิ์ภาวนาจากก้นบึ้งของหัวใจเพื่อสรรเสริญพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ หากข้าไม่มีโอกาสได้รับรสน้าผึ้งแห่งความปลื้มปีติสุขทิพย์นี้ เช่นนี้ ข้าจะไม่มีวันขอความหลุดพ้นหรืออิสรภาพทิพย์นี้ แต่จะเพียงภาวนาต่อพระองค์เสมอว่าได้โปรดให้ลิ้นและหูแก่ข้าเป็นล้านๆ อัน เพื่อข้าพเจ้าจะได้สามารถภาวนาและสรรเสริญพระบารมีทิพย์ของพระองค์ตลอดเวลา

ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ปรารถนาจะกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ของพระองค์ แต่หากไม่รักษาความเป็นปัจเจกบุคคลของตนเอาไว้ก็จะไม่มีโอกาศได้สดับฟังและภาวนาพระบารมีของพระองค์ เพราะพวกเขาไม่มีแนวคิดถึงรูปลักษณ์ทิพย์ จึงไม่มีโอกาสได้ภาวนาและสดับฟังกิจกรรมทิพย์ของพระองค์ อีกนัยหนึ่ง นอกจากบุคคลอยู่เหนือความหลุดพ้นแล้ว มิฉะนั้น จะไม่ได้รับรสพระบารมีทิพย์และจะไม่เข้าใจพระบารมีทิพย์ของพระองค์

ข้อความคล้ายกันนี้พบใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคห้า บทที่สิบสี่ โศลก 44 ชุคะเดวะ โกสวามี กล่าวกับ พะรีคชิท มะฮาราจะ ว่า “ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ กษัตริย์ บะระทะ ทรงยึดมั่นต่อการรับใช้พระบาทรูปดอกบัวของคริชณะเป็นอย่างมากจนสามารถสละโลกได้ทั้งใบ และสละความรักที่มีต่อ ลูก หลาน สังคม เพื่อน ความมั่งคั่งในวัง และมเหสีที่งดงามได้โดยง่ายดาย พระองค์โชคดีมากที่เทพธิดาแห่งโชคลาภทรงอนุญาตให้ขอทุกสิ่งทางวัตถุ แต่ทรงไม่ยอมรับความั่งคั่งใดๆ ทางวัตถุ” ชุคะเดวะ โกสวามี สรรเสริญพฤติกรรมของ กษัตริย์ บาระทะ เป็นอย่างมาก โดยกล่าวว่า “หัวใจของผู้ใดที่ชื่นชอบคุณสมบัติทิพย์ขององค์ภควาน มะดุสูดะนะ จะไม่สนใจแม้แต่ความหลุดพ้นที่นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่มากมายปรารถนา จึงไม่ต้องพูดถึงความมั่งคั่งทางวัตถุ”

ใน บากะวะธัม ภาคหก บทที่สิบเอ็ด โศลก 25 มีข้อความคล้ายกันนี้ที่ วริทราสุระ กล่าวกับองค์ภควานดังนี้ “องค์ภควานที่รัก หากลาจากการรับใช้ทิพย์ต่อพระองค์ ข้าอาจได้รับการส่งเสริมให้ไปยังดาวเคราะห์ ดรุวะโลคะ (ดาวเหนือ) หรือข้าอาจได้เป็นเจ้าของระบบดาวเคราะห์ทั้งหมดในจักรวาล แต่ข้าไม่ปรารถนาสิ่งเหล่านี้ ไม่ปรารถนาอิทธิฤทธิ์จากการฝึกโยคะ และไม่ปรารถนาอิสระภาพทิพย์ โอ้ องค์ภควาน สิ่งเดียวที่ปรารถนาคือได้อยู่ใกล้ชิดและได้รับใช้ทิพย์ต่อพระองค์นิรันดร”

ข้อความนี้ได้ยืนยันโดยพระศิวะ ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคหก บทที่สิบเจ็ด โศลก 28 พระศิวะตรัสกับสะทีว่า “สะทีที่รัก บุคคลผู้อุทิศตนเสียสละต่อ นารายะณะ (คริชณะ) จะไม่กลัวสิ่งใด ไม่ว่าจะได้พัฒนาไปยังระบบดาวเคราะห์เบื้องสูง หรือได้รับความหลุดพ้นจากมลทินทางวัตถุ หรือถูกส่งให้ลงไปอยู่ในสภาวะชีวิตนรก อันที่จริงไม่ว่าสภาวะชีวิตเป็นเช่นไร พวกเขาไม่เคยกลัว เพียงเพราะได้มาพึ่งพระบาทรูป ดอกบัวของ นารายะณะ สําหรับพวกท่านไม่ว่าสถานภาพใดในโลกวัตถุก็่ดีพอ ๆ กัน”

มีข้อความคล้ายกันนี้โดยพระอินทร์เจ้าแห่งสวรรค์ ใน ชรีมัด-บากะวะธัมภาคหก บทที่สิบแปด โศลก 74 พระอินทร์ตรัสกับพระมารดา ดิทิ ว่า “พระมารดาที่รัก บุคคลผู้ยกเลิกความปรารถนาทั้งปวงแล้วเพียงแต่มาปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานเป็นผู้รู้ประโยชน์ของตนเองอย่างแท้จริง อันที่จริงพวกนี้ทําเพื่อประโยชน์ของตนเองและพิจารณาว่าเป็นผู้มีความชํานาญอันดับหนึ่งในเรื่องของความก้าวหน้าเพื่อระดับความสมบูรณ์แห่งชีวิต”

ในภาคเจ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่หก โศลก 25 มะฮาราจะ พระฮลาดะ ตรัสว่า “เพื่อนรักที่เกิดในครอบครัวผู้ไม่เชื่อในองค์ภควาน หากพวกเธอสามารถทําให้คริชณะบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าพอพระทัย ก็ไม่มีอะไรในโลกที่จะหาได้ยากกว่านี้ อีกนัยหนึ่ง หากคริชณะทรงพอพระทัย สิ่งปรารถนาที่มีอยู่ภายในขั้วหัวใจของพวกเธอจะได้รับการสนองตอบอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้น มีประโยชน์อันใดในการพัฒนาตนเองเพื่อผลทางวัตถุ ซึ่งก็จะได้รับจากสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุโดยปริยายในทุกเหตุการณ์ และมีประโยชน์อันใดในอิสระภาพทิพย์หรือความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ หากพวกเธอปฎิบัติในการสรรเสริญพระบารมีขององค์ภควานเสมอ และได้รับรสน้ําทิพย์จากพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์เสมอ ก็ไม่มีความจําเป็นสําหรับสิ่งเหล่านี้” จากข้อความนี้ของ พระฮลาดะ มะฮาราจะ เข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าผู้ที่มีความสุขอยู่กับการภาวนาและสดับฟังพระบารมีขององค์ภควาน ได้ข้ามพ้นพรทางวัตถุทั้งหมด รวมทั้งผลจากการทําบุญ ทําพิธีบูชา แม้แต่ความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ

เช่นเดียวกัน ในภาคเจ็ด บทที่แปด โศลก 42 ขณะที่เหล่าเทวดาถวายบทมนต์ให้องค์นริสิมฮะ พระอินทร์เจ้าแห่งสวรรค์ตรัสว่า “โอ้บุคคลสูงสุด พวกมารพูดถึงส่วนแบ่งในการร่วมปฎิบัติพิธีบูชา แต่เพียงที่พระองค์ทรงปรากฏในรูปนริสิมฮะเดวะ พระองค์ทรงช่วยเราจากความกลัวอย่างสุดประมาณ อันที่จริงส่วนแบ่งของพวกเราในการทําพิธีบูชาก็เนื่องมาจากพระองค์เท่านั้น เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสําราญสูงสุดในพิธีบูชาทั้งหมด พระองค์ทรงเป็นดวงวิญญาณสูงสุดของมวลชีวิต ดังนั้น ทรงเป็นเจ้าของแท้จริงของทุกสิ่งทุกอย่าง ภายในใจเราเต็มไปด้วยความกลัวมาร ฮิรัณยะคะชิพุ นี้เป็นเวลายาวนาน แต่พระองค์ทรงมีพระเมตตาได้สังหารมารทําให้ความกลัวออกไปจากใจเราทั้งหมด และเปิดโอกาสให้เรารับเสด็จพระองค์มาอยู่ภายในหัวใจเราอีกครั้ง สําหรับผู้ที่ปฎิบัติการรับใช้ทิพย์ด้วยใจรักต่อพระองค์ ทรัพย์สมบัติความมั่งคั่งที่มารเอาไปจากเรานั้นไม่มีค่าอันใดเลย สาวกไม่สนใจแม้แต่ความหลุดพ้น จึงไม่ต้องพูดถึงความมั่งคั่งทางวัตถุ อันที่จริงเราไม่ใช่ผู้มีความสุขเกษมสําราญกับผลแห่งการบูชา หน้าที่ของเราคือปฎิบัติรับใช้พระองค์อยู่ตลอดเวลา เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสําราญกับทุกสิ่งทุกอย่าง”

คําอธิบายข้อความของพระอินทร์คือ เริ่มจากพระพรหมลงจนไปถึงมดตัวเล็กๆ สิ่งมีชีวิตทั้งหมดไม่ได้หมายไว้เพื่อมีความสุขกับความมั่งคั่งทางวัตถุ พวกเขาหมายไว้เพื่อถวายทุกสิ่งทุกอย่างให้เจ้าของสูงสุด องค์ภควาน จากการกระทําเช่นนี้พวกเขาจะรื่นเริงกับผลประโยชน์โดยปริยาย ยกตัวอย่างอีกครั้งเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกายนําอาหารมารวมกันและปรุง ในที่สุดก็ส่งอาหารไปให้ท้อง หลังจากไปถึงท้องแล้วส่วนต่างๆ ทั้งหมดของร่างกายจะรื่นเริงกับผลประโยชน์ของอาหารเท่าๆ กัน ลักษณะเดียวกัน หน้าที่ของทุกคนทําเพื่อให้องค์ภควานทรงพอพระทัย จากนั้นทุกคนก็จะพึงพอใจโดยปริยาย

โศลกคล้ายกันนี้ี่พบในภาคแปด บทที่สาม ของ ชรีมัด-บากะวะธัม โศลก 20 กะเจนดระ กล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก ข้าไม่มีประสบการณ์ความปลื้มปีติสุขทิพย์ที่ได้รับจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ดังนั้น ข้าขอให้พระองค์ทรงกรุณา แต่ข้ารู้ว่าคนที่เป็นสาวกผู้บริสุทธิ์จากการรับใช้พระบาทรูปดอกบัวของยอดดวงวิญญาณ เป็นอิสระจากความปรารถนาทางวัตถุทั้งปวง จะกลืนเข้าไปอยู่ในมหาสมุทรแห่งความปลื้มปีติสุขเสมอ จึงมีความพึงพอใจด้วยเพียงแต่ได้สรรเสริญบุคลิกอันเป็นสิริมงคลของพระองค์ สําหรับพวกท่านไม่มีสิ่งใดน่าปรารถนาหรือภาวนาให้ได้รับอีกต่อไป”

ในภาคเก้าของ บากะวะธัม บทที่สี่ โศลก 67 พระเจ้าแห่งไวคุณธะทรงตอบ ดุรวาสา มุนิ ดังนี้ “สาวกผู้บริสุทธิ์พึงพอใจเสมอในการปฎิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ข้า ฉะนั้น จึงไม่ปรารถนาแม้ความหลุดพ้นห้าประการ คือ 1. มาเป็นหนึ่งเดียวกับข้า 2. ได้ที่อยู่บนโลกของข้า 3. มีความมั่งคั่งเหมือนข้า 4. มีรูปร่างคล้ายข้า และ 5. ได้มาอยู่ใกล้ชิดกับข้า เมื่อไม่สนใจแม้แต่ความหลุดพ้นเหล่านี้ ท่านคงรู้ว่าพวกเขาสนใจกับความมั่งคั่งทางวัตถุและความหลุดพ้นทางวัตถุน้อยเพียงใด”

มีบทมนต์คล้ายกันนี้โดย นากะ-พัทนี (เหล่าภรรยาของงูคาลิยะ) ในภาคสิบของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่สิบหก โศลก 37 นากะ-พัทนี กล่าวว่า “องค์ภควาน ที่รัก ละอองธุลีพระบาทของพระองค์อัศจรรย์มาก ผู้ใดโชคดีพอที่บรรลุถึงละอองธุลีนี้จะไม่สนใจใยดีกับโลกสวรรค์ มาเป็นเจ้าระบบดาวเคราะห์ทั้งหมด ความสมบูรณ์ในอิทธิฤทธิ์โยคะ หรือแม้แต่ความหลุดพ้นจากความเป็นอยู่ทางวัตถุ อีกนัยหนึ่ง ผู้ใดที่รักละอองธุลีพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์จะไม่สนใจระดับความสมบูรณ์อื่นใดทั้งหมด”

มีข้อความคล้ายกันนี้ในภาคสิบ บทที่แปดสิบเจ็ด โศลก 21 บุคลิกภาพแห่งพระเวท ชรุทิ กล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก เป็นการยากมากที่จะเข้าใจความรู้ทิพย์ พระองค์ทรงปรากฏ ณ ที่นี้ ก็เพื่ออธิบายให้รู้ถึงความยากลําบากที่สุดเกี่ยวกับความรู้เรื่องจิตวิญญาณ ดังนั้น สาวกผู้สละความสะดวกสบายทางบ้านเพื่อมาคบหา อาชารยะ หรือครูผู้หลุดพ้น บัดนี้ พวกท่านได้กลืนเข้าไปในการอุทิศตนเสียสละรับใช้พระองค์อย่างเต็มเปี่ยม ดังนั้น จึงไม่สนใจกับสิ่งที่เรียกว่าความหลุดพ้น”

ในการอธิบายโศลกนี้ ควรสังเกตุว่าความรู้ทิพย์หมายถึงการรู้ตนเองและรู้อภิวิญญาณหรือดวงวิญญาณสูงสุด ปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณคุณภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งคู่จึงเรียกว่า บระฮมัน หรือวิญญาณ แต่ความรู้ของ บระฮมันเข้าใจได้ยากมาก มีนักปราชญ์มากมายพยายามศึกษาให้เข้าใจดวงวิญญาณ แต่ไม่สามารถก้าวหน้าให้เห็นเป็นรูปธรรม ใน ภควัต-คีตา ได้ยืนยันไว้ว่าจากหลายๆ ล้านคน อาจมีเพียงหนึ่งคนพยายามเข้าใจว่าอะไรคือความรู้ทิพย์ จากหลายคนที่พยายามเข้าใจเช่นนี้ อาจมีหนึ่งคนหรือไม่กี่คนที่เข้าใจว่าใครคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า โศลกนี้จึงกล่าวว่าความรู้ทิพย์เป็นเรื่องที่เข้าใจยากมาก ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น องค์ภควานเสด็จลงมาในรูปลักษณ์เดิมแท้ ชรี คริชณะ ทรงสอนโดยตรงให้เพื่อนผู้ใกล้ชิดอารจุนะ เพื่อคนโดยทั่วไปจะฉวยประโยชน์จากความรู้ทิพย์นี้ โศลกนี้ยังอธิบายด้วยว่าความหลุดพ้นหมายถึงยกเลิกชีวิตที่มีความสะดวกสบายทางวัตถุโดยสิ้นเชิง พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์พึงพอใจที่ได้หลุดพ้นจากสถานการณ์ทางวัตถุ แต่เหล่าสาวกสามารถยกเลิกชีวิตวัตถุได้โดยปริยาย และยังรื่นเริงกับความปลื้มปีติสุขทิพย์ในการสดับฟังและภาวนากิจกรรมอันอัศจรรย์ขององค์คริชณะ

ในภาคสิบเอ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่ยี่สิบ โศลก 34 คริชณะตรัสกับอุดดะวะ ว่า “อุดดะวะที่รัก สาวกผู้มาพึ่งการรับใช้ข้าโดยสมบูรณ์มีความมุ่งมั่นมากจนไม่มีความปรารถนาอื่นใด แม้จะมีคนมาเสนอความมั่งคั่งทิพย์สี่ประการ พวกเขาจะปฎิเสธ จึงไม่ต้องพูดถึงเรื่องความต้องการสิ่งใดในโลกวัตถุ” เช่นเดียวกัน คริชณะตรัสอีกที่หนึ่งใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคสิบเอ็ด บทที่สิบสี่ โศลก 14 ดังนี้ “อุดดะวะที่รัก บุคคลที่จิตสํานึกซึมซาบอยู่ในความคิดและกิจกรรมของข้า จะไม่ต้องการแม้แต่ตําแหน่งของพระพรหม พระอินทร์ หรือเป็นเจ้าโลกใดๆ หรือมีอิทธิฤทธิ์แปดประการ หรือแม้แต่ความหลุดพ้น” ในภาคสิบสองของ บทที่สิบ โศลก 6 พระศิวะตรัสกับเดวีว่า “เดวีที่รัก มารคัณเดยะ นักปราชญ์ บราฮมะณะ ผู้ยิ่งใหญ่บรรลุถึงความศรัทธาและการอุทิศนเสียสละอย่างแน่วแน่ต่อองค์ภควาน ท่านจึงไม่ปรารถนาพรใดๆ รวมถึงความหลุดพ้นจากโลกวัตถุ”

เช่นเดียวกัน มีข้อความใน พัดมะ พุราณะ กล่าวถึงพิธีกรรมในเดือน คาร์ททิคะ (ตุลาคม-พฤศจิกายน) ช่วงเดือนนี้ที่วรินดาวะนะมีหลักปฏิบัติคือ ถวายบทมนต์ให้องค์คริชณะในรูปลักษณ์ดาโมดะระ รูปลักษณ์ดาโมดะระหมายถึงคริชณะตอนเป็นเด็กได้ถูกมารดายะโชดามัดด้วยเชือก ดามะ หมายถึง “เชือก” และ อุดะระ หมายถึง “ท้อง” คุณแม่ยะโชดาถูกรบกวนจากความซุกซนของคริชณะเป็นอย่างมากจึงใช้เชือกมัดรอบท้องคริชณะ ดังนั้น คริชณะจึงได้ชื่อว่า ดาโมดะระ ในเดือนคาร์ททิคะ มีบทมนต์ถวายให้ดารโมดะระดังนี้ “องค์ภควานที่รัก พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ให้พรทั้งปวงแด่มวลชีวิต” มีเทวดามากมาย เช่นพระพรหมและพระศิวะ บางครั้งให้พรแด่สาวกของตน ตัวอย่างเช่น ราวะณะ (ทศกัณฑ์) ได้รับพรมากมายจากพระศิวะ และ หิรัณยะคะชิพุ ได้รับพรจากพระพรหม แต่ทว่าทั้งพระศิวะและพระพรหมต้องขึ้นอยู่กับพรของคริชณะ ฉะนั้น คริชณะได้ชื่อว่าเป็นพระเจ้าของผู้ให้พรทั้งปวง เช่นนี้ คริชณะทรงสามารถให้พรทุกอย่างที่สาวกปรารถนา ถึงกระนั้น สาวกภาวนาต่อไปว่า “ข้าไม่ขอความหลุดพ้นจากพระองค์ หรือสิ่งเอื้ออํานวยทางวัตถุใดๆ จนถึงจุดแห่งความหลุดพ้น สิ่งที่ข้าปรารถนาให้พระองค์ช่วยเหลือคือ ขอให้ข้าระลึกถึงรูปลักษณ์ ดาโมดะระ ของพระองค์ที่ข้ากําลังเห็นอยู่นี้ พระองค์ทรงมีความสง่างามและมีเสน่ห์จนจิตใจข้าไม่ปรารถสิ่งใดนอกจากรูปลักษณ์ที่วิเศษนี้” ในบทมนต์เดียวกันนี้มีอีกข้อความหนึ่งกล่าวว่า “ดาโมดะระ ที่รัก ครั้งหนึ่งขณะที่ทรงเล่นเป็นเด็กซนอยู่ที่บ้านของ นันดะ มาฮาราจะ พระองค์ทรงทําหม้อโยเกิร์ตแตก คุณแม่ยะโชดาจึงลงโทษในความผิดด้วยการใช้เชือกผูกให้อยู่กับโม่ไม้ใ่นบ้าน ตอนนั้นพระองค์ทรงจัดส่งบุตรสองคนของ คุเวระ ชื่อ นะละคูวะระ และมะณิกรีวะ ผู้อยู่ในร่างต้นไม้คู่ อารจุนะ ที่สนามหญ้าบ้านของ นันดะ มะฮราจะ ข้าเพียงขอร้องว่า จากลีลาอันมีเมตตา ขอให้พระองค์จัดส่งข้าด้วยเช่นเดียวกัน”

เรื่องราวเบื้องหลังของโศลกนี้คือ บุตรสองคนของคุเวระ (เหรัญญิกของเทวดา) รู้สึกผยองจากความมั่งคั่งของบิดา ครั้งหนึ่งทั้งคู่รื่นเริงอยู่กับนางฟ้าแก้ผ้า อยู่ในทะเลสาปบนสวรรค์ ขณะนั้น นาระดะ มุนิ ยอดนักบุญผ่านมาบนถนนรู้สึกเสียใจที่ได้เห็นความประพฤติของบุตรคุเวระ เมื่อเห็นนาระดะ สาวๆ ชาวสวรรค์รีบใส่เสื้อผ้าทันที แต่บุตรสองคนยังเมาอยู่อย่างไร้สํานึก นาระดะโกรธจึงสาปทั้งสองว่า “เจ้าไร้สํานึก จงไปเป็นต้นไม้จะดีกว่าเป็นบุตรของคุเวระ” ได้ยินเช่นนี้ ทั้งคู่รู้สํานึกขึ้นมาจึงขอโทษกับนาระดะในความผิด นาระดะ กล่าวว่า “ใช่ เธอทั้งสองจะไปเป็นต้นไม้ อารจุนะ ที่สนามหญ้าบัานนันดะ มะฮาราจะ แต่คริชณะจะปรากฎเป็นลูกเลี้ยงของนันดะ และจัดส่งเธอ” อีกนัยหนึ่ง คําสาปของนาระดะกลายเป็นพรของบุตรคุเวระ เพราะได้ทํานายไว้โดยอ้อมว่าทั้งคู่จะได้รับความชื่นชอบจากคริชณะ หลังจากนั้น บุตรสองคนของคุเวระ ได้มายืนเป็นต้นไม้ อารจุนะ ที่สนามหญ้าบ้านนันดะ เพื่อสนองตอบความปรารถนาของนาระดะ ดาโมดะระได้ลากโม่มาติดอยู่ที่ต้นไม้สองต้น แล้วโค่นมันล้มลงมาอย่างรุนแรง นะละคูวะระ และมิณิกรีวะ ได้ปรากฎออกมาจากต้นไม้สองต้น ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นสาวกผูยิ่งใหญ่ขององค์ภควาน

มีข้อความใน ฮะยะชีรชะ-พันชะราทระ กล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก โอ้ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ข้าไม่ปรารถนาพรใดๆ จากชีวิตศาสนา ไม่ปรารถนาพัฒนาเศรษฐกิจ ไม่ปรารถนารื่นเริงกับการสนองประสาทสัมผัส หรือความหลุดพ้น ข้าเพียงแต่ขอภาวนาให้เป็นผู้รับใช้นิรันดรแทบพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ ได้โปรดกรุณาให้พรนี้แด่ข้าด้วย”

ใน ฮะยะชีรชะ-พันชะราทระ เล่มเดียวกัน หลังจากนริสิมเดวะทรงปรารถนาให้พร พระฮลาดะ มะฮาราจะ พระฮลาดะปฎิเสธพรทางวัตถุและเพียงแต่ขอให้พระองค์ทรงช่วยให้ได้เป็นสาวกนิรันดร สัมพันธ์กับตรงนี้ พระฮลาดะกล่าวถึงตัวอย่างของหนุมาน ผู้รับใช้นิรันดรของพระราม ได้ทําตัวเป็นตัวอย่างโดยไม่เคยขอพรวัตถุใดๆ ท่านปฎิบัติรับใช้องค์ภควานตลอดเวลา นี่คือลักษณะอันยอดเยี่ยมของหนุมาน ซึ่งยังได้รับการบูชาจากสาวกทั้งหลาย พระฮลาดะ มะฮาราจะ ได้ถวายความเคารพต่อหนุมานเช่นกัน มีโศลกโด่งดังที่หนุมานกล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก หากพระองค์ทรงปรารถนาก็อาจให้ความหลุดพ้นจากความเป็นอยู่ทางวัตถุแด่ข้า หรือให้โอกาศข้าได้กลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ของพระองค์ แต่ตัวข้าไม่ปรารถนาสิ่งเหล่านี้ ข้าไม่ปรารถนาสิ่งใดที่จะทําให้ความสัมพันธ์กับพระองค์ในฐานะผู้รับใช้และเจ้านายจบสิ้นลง แม้หลังจากความหลุดพ้น”

มีข้อความคล้ายกันนี้ใน นาระดะ-พันชะราทระ กล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก ข้าไม่ปรารถนาระดับความสมบูรณ์ใดๆ จากการปฎิบัติพิธีกรรมทางศาสนา จากการพัฒนาเศรษฐกิจ จากการสนองปราสาทสัมผัส หรือจากความหลุดพ้น ข้าเพียงแต่ภาวนาขอให้พระองค์โปรดรักษาข้าให้อยู่ใต้เบื้องพระบาทของพระองค์ ข้าไม่ปรารถนาความหลุดพ้นใดๆ ทั้งสิ้น เช่น สาโลคยะ (อยู่บนโลกของพระองค์) หรือ สารูพยะ (มีรูปลักษณ์เหมือนพระองค์) ข้าเพียงแต่ภาวนาขอให้พระองค์โปรดให้ข้าได้รับใช้พระองค์ด้วยใจรักเสมอ”

เช่นเดียวกัน ในภาคหก บทที่สิบสี่ โศลก 5 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม มะฮาราจะ พะรีคชิท ทรงถาม ชุคะเดวะ สวามี ว่า “พราหมณ์ที่รัก ข้าเข้าใจว่ามาร วริทราสุระ เป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ และซึมซาบอยู่ในระดับตันหาและอวิชชาโดยสมบูรณ์ แล้วท่านได้พัฒนามาถึงระดับสมบูรณ์ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้พระนารายณ์ (นารายะณะ) ได้อย่างไร ข้าได้ยินมาว่า แม้บุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่ปฎิบัติสมถะและความเพียรอย่างจริงจังและหลุดพ้นด้วยความรู้อย่างเต็มเปี่ยม ยังต้องดิ้นรนพยายามเพื่อมาเป็นสาวกของพระองค์ เข้าใจว่าบุคคลเช่นนี้หาได้ยากมากหรือเกือบจะหาไม่ได้เลย ข้าจึงรู้สึกตะลึงที่วริทราสุระได้มาเป็นสาวกเช่นนี้”

โศลกข้างบนนี้สิ่งสําคัญที่สุดคือ มันอาจมีผู้หลุดพ้นมากมายที่กลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ของ บระฮมัน ที่ไร้รูปลักษณ์ แต่สาวกขององค์ภควาน นารายะณะ หาได้ยากลําบากมาก แม้จากผู้หลุดพ้นแล้วหลายล้านคน มีเพียงคนเดียวที่โชคดีพอมาเป็นสาวก

ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคหนึ่ง บทที่แปด โศลก 20 ราชินี คุนที ทรงภาวนาแด่องค์คริชณะขณะที่กําลังจากไปว่า “คริชณะที่รัก พระองค์ทรงยิ่งใหญ่มากจนกระทั่งแม้นักวิชาการชั้นยอด และ พะระมะฮัมสะ (ดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นโดยสมบูรณ์) ไม่สามารถสําเหนียกถึงพระองค์ ดังนั้น หากนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นทิพย์อยู่เหนือผลกรรมจากความเป็นอยู่ทางวัตถุไม่สามารถรู้ถึงพระองค์ แล้วพวกเราที่อยู่ในกลุ่มของสตรีผู้ด้อยปัญญา จะรู้ถึงพระบารมีของพระองค์ได้อย่างไร ? เราจะเข้าใจพระองค์ได้อย่างไร ?“ ในโศลกนี้ สิ่งที่ควรสังเกตุโดยเฉพาะคือ บุคคลยิ่งใหญ่ผู้หลุดพ้นแล้วก็ไม่สามารถเข้าใจองค์ภควาน แต่สาวกผู้ถ่อมตนเช่น ราชินี คุนที เท่านั้นที่สามารถเข้าใจได้ ถึงแม้ทรงเป็นสตรี พิจารณาว่าด้อยปัญญากว่าบุรุษ แต่พระนางทรงรู้แจ้งพระบารมีของคริชณะ นี่คือคําอธิบายของโศลกนี้

อีกข้อความหนึ่งที่สําคัญมากใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคหนึ่ง บทที่สิบเจ็ด โศลก 10 เรียกว่า “โศลก อาทมารามะ” ในโศลก อาทมารามะ นี้กล่าวว่า แม้แต่ผู้ที่หลุดพ้นจากมลทินทางวัตถุโดยสมบูรณ์แล้วยังชื่นชอบกับคุณสมบัติทิพย์ของคริช ณะ คําอธิบายของโศลกนี้คือ ดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นแล้วจะไม่มีความปรารถนาหาความสุขทางวัตถุใดๆ เลยแม้แต่น้อย เขาเป็นอิสระโดยสมบูรณ์จากความปรารถนาทางวัตถุทั้งปวง ถึงกระนั้น ยังหักห้ามใจไม่ได้ในความปรารถนาที่จะชื่นชมสดับฟังและเข้าใจลีลาขององค์ภควาน ดังนั้น เราสรุปได้ว่า พระบารมีและลีลาขององค์ภควานไม่ใช่เป็นวัตถุ มิฉะนั้น อาทมารามะ ผู้หลุดพ้นแล้วจะชื่นชอบลีลาเหล่านี้ได้อย่างไร ? นี่คือสาระสําคัญของโศลกนี้

จากข้อความข้างบนนี้ พบว่าสาวกมิได้แสวงหาระดับใดๆ แห่งความหลุดพ้น มีความหลุดพ้นอยู่ห้าระดับดังที่ได้อธิบายไว้แล้วคือ 1.มาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควาน 2. พํานักอยู่โลกเดียวกับองค์ภควาน 3. มีรูปลักษณ์เหมือนองค์ภควาน 4. มีความมั่งคั่งเหมือนองค์ภควาน 5. อยู่ใกล้ชิดกับองค์ภควานตลอดเวลา จากห้าระดับแห่งความหลุดพ้นนี้ สายุจยะ หรือการกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่กับพระองค์จะเป็นสิ่งท้ายสุดที่สาวกยอมรับ อีกสี่ระดับถึงแม้สาวกไม่ปรารถนาแต่ไม่ขัดกับหลักแห่งการอุทิศตนเสียสละ ผู้หลุดพ้นแล้วบางท่านที่บรรลุถึงสี่ระดับแห่งความหลุพ้นนี้อาจพัฒนาความรักต่อคริชณะและเจริญก้าวหน้าไปถึง โกโลคะ วรินดาวะนะ ในท้องฟ้าทิพย์ อีกนัยหนึ่ง พวกที่พัฒนาไปถึงโลกไวคุณธะ และบรรลุถึงความหลุดพ้นสี่ระดับแล้ว บางครั้งอาจพัฒนาความรักคริชณะและเจริญก้าวหน้าไปถึงคริชณะโลคะได้

ดังนั้น พวกที่หลุดพ้นในสี่ระดับอาจต้องผ่านระดับต่างๆ แห่งความเป็นอยู่ ในตอนแรกอาจต้องการความมั่งคั่งของคริชณะ แต่เมื่อมีวุฒิภาวะ ความรักเดิมแท้ภายในที่มีต่อคริชณะที่ปรากฎที่วรินดาวะนะโดดเด่นขึ้นในหัวใจ เช่นนี้ สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่เคยยอมรับความหลุดพ้น สายุจยะ หรือมาเป็นหนึ่่งเดียวกับพระองค์ ถึงแม้ยอมรับอีกสี่ระดับแห่งความหลุดพ้นที่เอื้ออํานวยประโยชน์

จากสาวกหลายประเภทขององค์ภควาน ผู้ที่ชื่นชอบรูปลักษณ์เดิมแท้ของพระองค์ คริชณะที่วรินดาวะนะพิจารณาว่าสุดยอด เป็นสาวกชั้นหนึ่ง สาวกเช่นนี้จะไม่ชื่นชอบความมั่งคั่งของ ไวคุณธะ หรือของ ดวาระคา เมืองหลวงที่คริชณะทรงปกครอง ข้อสรุปของ ชรี รูพะ โกสวามี คือ สาวกผู้ชื่นชอบลีลาขององค์ภควานที่ โกคุละ หรือ วรินดาวะนะ เป็นสาวกระดับสูงสุด

สาวกผู้ยึดมั่นกับรูปลักษณ์โดยเฉพาะขององค์ภควานจะไม่ปรารถนาหันเหการอุทิศตนเสียสละของตนไปยังรูปลักษณ์อื่น ตัวอย่างเช่น หนุมานสาวกของพระรามรู้ดีว่าพระรามและพระนารายณ์ไม่แตกต่างกัน ถึงกระนั้นท่านก็ยังปรารถนาถวายการรับใช้ให้พระรามเท่านั้น เป็นเพราะสาวกมีความชื่นชอบโดยเฉพาะองค์ องค์ภควานมีรูปลักษณ์มากมาย แต่คริชณะทรงเป็นรูปลักษณ์เดิมแท้ ถึงแม้สาวกทั้งหมดของรูปลักษณ์ต่างๆ แห่งองค์ภควานจะอยู่ในประเภทเดียวกัน ถึงกระนั้นได้กล่าวไว้ว่า พวกที่เป็นสาวกขององค์คริชณะอยู่ในลําดับสูงสุดยอดในบรรดาสาวกทั้งหลาย