น้ําทิพย์
แห่งการอุทิศตนเสียสละ

บทที่ หก

ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ได้อย่างไร

ชรีละ รูพะ โกสวามี กล่าวว่าพี่ชายของท่าน (สะนาทะนะ โกสวามี) ได้เรียบเรียง ฮะริ-บัคธิ-วิลาสะ เพื่อเป็นคู่มือสำาหรับไวณะวะซึ่งกล่าวถึงกฎระเบียบมากมายที่ไวชณะวะควรปฏิบัติตาม บ้างมีความสำาคัญและโดดเด่นมาก ตอนนี้ ชรีละ รูพะ โกสวามี จะกล่าวช้อที่สำาคัญๆ เพื่อประโยชน์ของเรา คำาอธิบายของข้อความนี้คือ ชรีละ รูพะ โกสวามี เสนอที่จะกล่าวถึงเฉพาะหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานเท่านั้น ไม่มีรายละเอียด ตัวอย่างเช่น หลักพื้นฐานที่ว่าบุคคลต้องยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ และการปฏิบัติตามคำาสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์อย่างไรนั้นถือว่าเป็นรายละเอียด ตัวอย่างเช่น หากปฏิบัติตามคำาสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์ของตน และคำาสั่งสอนนี้แตกต่างจากคำาสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์อีกรูปหนึ่ง เช่นนี้เรียกว่าข้อมูลรายละเอียด แต่หลักพื้นฐานในการยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ดีเสมอ ถึงแม้รายละเอียดจะต่างกัน ชรีละ รูพะ โกสวามี ไม่ปรารถนาจะพูดถึงรายละเอียด ณ ที่นี้ แต่ต้องการให้เรารู้ถึงหลักสำาคัญเท่านั้น

ท่านได้กล่าวถึงหลักพื้นฐานดังต่อไปนี้ 1. ยอมรับพระบาทรูปดอกบัวของพระอาจารย์ทิพย์เป็นที่พึ่ง 2. รับการอุสมบทจากพระอาจารย์ทิพย์และเรียนรู้การปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้จากท่าน 3. เชื่อฟังคำาสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์ด้วยความศรัทธาและอุทิศตน 4. ปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระอาจารย์(อาชารยะ) ผู้ยิ่งใหญ่ ภายใต้การแนะนำาของพระอาจารย์ทิพย์ 5. ถามพระอาจารย์ทิพย์ว่าจะก้าวหน้าในคริชณะจิตสำานึกได้อย่างไร 6. เตรียมพร้อมที่จะยกเลิกทุกสิ่งที่เป็นวัตถุเพื่อให้องค์ภควานคริชณะทรงพอพระทัย (เช่นนี้หมายความว่า เมื่อเราปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อคริชณะ เราต้อง เตรียมพร้อมที่จะยกเลิกบางสิ่งที่เราอาจไม่อยากยกเลิก และเราต้องยอมรับบางสิ่งที่เราอาจไม่อยากยอมรับ) 7. พักอาศัยอยู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญเช่น ดวาระคา หรือ วรินดาวะนะ 8. ยอมรับสิ่งของที่จำาเป็นเท่านั้น หรือไปยุ่งเกี่ยวกับโลกวัตถุเท่าที่จำาเป็นเท่านั้น 9. ถือปฏิบัติตามวันอดอาหาร เอคาดะชี 10. บูชาต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์เช่นต้นไทร

นี่คือสิบรายการพื้นฐานจำาเป็นสำาหรับคนเริ่มต้นปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ ในตอนเริ่มต้นหากสาวกนวกะสามารถปฏิบัติตามสิบรายการที่กล่าวเบื้องต้นนี้ แน่นอนว่าเขาจะก้าวหน้าได้รวดเร็วเป็นอย่างดีในคริชณะจิตสำานึก

คำาสั่งสอนอีกชุดหนึ่งมีดังนี้คือ 1. เขาควรยกเลิกการคบหาสมาคมกับผู้ไม่ใช่สาวกอย่างเคร่งครัด 2. ไม่ควรสอนบุคคลผู้ไม่ปรารถนาจะรับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ 3. ไม่ควรกระตือรือร้นมากในการสร้างวัดราคาแพงๆ 4. ไม่ควรพยายามอ่านหนังสือหลายเล่มมากเกินไป และไม่ควรพัฒนาแนวคิดว่าจะหาเลี้ยงชีพด้วยการสอนหรือสวดภาวนา ชรีมัด-บากะวะธัม หรือ ภควัต-คีตา แบบเป็นมืออาชีพ 5. ไม่ควรละเลยในการติดต่อภารกิจทั่วไป 6. ไม่ควรอยู่ภายใต้มนต์สะกดแห่งความเศร้าโศกเมื่อสูญเสียและร่าเริงเมื่อได้กำาไร 7. ไม่ควรแสดงความไม่เคารพต่อเทวดา 8. ไม่ควรสร้างความเดือดร้อนให้สิ่งมีชีวิตอื่นโดยไม่จำาเป็น 9. ควรระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงอาบัติในการสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน หรือในการบูชาพระปฏิมาในวัด 10. ไม่ควรอดทนกับผู้สบประมาทองค์ภควาน คริชณะ และสาวกของพระองค์

ปราศจากการปฏิบัติตามสิบรายการข้างบนนี้ เราจะไม่สามารถพัฒนาอย่างเหมาะสมให้มาถึงระดับ สาดะนะ-บัคธิหรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ภาคปฏิบัติ เมื่อรวมกันเข้า ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้กล่าวถึงยี่สิบรายการ และทั้งหมดมีความสำาคัญมาก จากยี่สิบรายการนี้ สามรายการแรกคือ ยอมรับเอาพระอาจารย์ทิพย์มาเป็นที่พึ่ง อุปสมบทจากท่าน และรับใช้ท่านด้วยความเคารพนับถือ ถือว่าสำาคัญที่สุด

รายการสำาคัญต่อไปคือ 1. เขาควรประดับร่างกายด้วย ทิละคะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ ไวชณะวะ (แนวคิดคือ ทันทีที่ใครเห็นเครื่องหมายเหล่านี้บนร่างของไวชณะวะจะทำาให้คิดถึงคริชณะขึ้นมาทันที องค์เชธันญะตรัสว่า ไวชณะวะคือผู้ที่เมื่อแลเห็นแล้วจะทำาให้ระลึกถึงคริชณะ ดังนั้น จึงสำาคัญมากที่ไวชณะวะทำาเครื่องหมายบนร่างกายด้วย ทิละคะเพื่อเตือนให้คนอื่นระลึกถึงคริชณะ) 2. ในการทำาเครื่องหมายด้วย ทิละคะ บางครั้งอาจเขียน ฮะเร คริชณะ บนร่างกายด้วยก็ได้ 3. ควรรับเอาดอกไม้และพวงมาลัยที่ถวายให้พระปฎิมาและพระอาจารย์ทิพย์ แล้วนำามาประดับร่างกาย 4. ควรหัดเรียนเต้นรำาต่อหน้าพระปฏิมา 5. ควรหัดเรียนการก้มลงกราบทันทีที่เห็นพระปฏิมาหรือพระอาจารย์ทิพย์ 6. ทันทีที่ไปเยี่ยมวัดขององค์คริชณะ เราต้องยืนขึ้นทันที 7. เมื่อเห็นพระปฏิมาบนเกี้ยวที่ถนน สาวกควรเดินตามขบวนไปทันที (สัมพันธ์กับตรงนี้ ที่ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะที่วัดพระวิชณุ มีระบบคือ นอกจากพระปฏิมาองค์ใหญ่ประทับอยู่ที่จุดสำาคัญของวัดแล้ว ยังมีพระปฏิมาองค์เล็กอีกชุดหนึ่งซึ่งถูกนำาไปกับขบวนในตอนเย็น เป็นประเพณีที่บางวัดจัดเป็นขบวนใหญ่ในตอนเย็น มีวงดนตรีบรรเลง และมีร่มใหญ่สวยงามอยู่เบื้องบน พระปฏิมาประทับอยู่บนบัลลังก์ประดับอย่างสวยงามบนเกี้ยว และมีเหล่าสาวกแบกหาม พระปฏิมาทรงเดินทางรอบหมู่บ้าน ชาวบ้านนำา พระสาดะ มาถวาย แล้วชาวบ้านก็เดินตามขบวนไปด้วย มองดูเป็นภาพที่งดงามมาก เมื่อพระปฏิมาเสด็จออกมา คนรับใช้ในวัดจะรายงานบัญชีประจำาวันแด่พระปฏิมา มีรายรับเท่านี้รายจ่ายเท่านี้ แนวคิดคือพระปฏิมาทรงเป็นเจ้าของสถาบัน พระและคนอื่นๆ ที่ดูแลวัดเป็นผู้รับใช้ของพระปฏิมา ระบบนี้โบราณมากและยังถือปฏิบัติกันอยู่ ดัังนั้น ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า เมื่อพระปฏิมาไปเดินเที่ยวผู้คนควรเดินตามพระองค์) 8. สาวกต้องไปวัดพระวิชณุอย่างน้อยวันละครั้งหรือสองครั้ง เช้าเย็น (ที่วรินดาวะนะ ระบบนี้ยังปฏิบัติกันอยู่อย่างเคร่งครัด สาวกทั้งหมดในเมืองจะไปวัดต่างๆ ทุกเช้าเย็น ช่วงเวลานี้จึงมีคนมากมายทั่วเมือง มีประมาณห้าพันวัดที่เมืองวรินดาวะนะ แน่นอนว่าเราไม่สามารถไปเยี่ยมเยียนได้ทุกวัด แต่มีอย่างน้อยสิบสองวัดที่ใหญ่และสำาคัญมากซึ่งเหล่าโกสวามีเป็นผู้ริเริ่มและเราควรไปเยี่ยมเยียน) 9. เราต้องเดินรอบวัดอย่างน้อยสามรอบ (ทุกวัดจะมีการจัดเตรียมเพื่อให้คนเดินรอบวัดได้อย่างน้อยสามครั้ง สาวกบางรูปเดินมากกว่าสามรอบ สิบรอบ สิบห้ารอบ แล้วแต่ว่าจะอธิฐานเอาไว้ เหล่าโกสวามีจะเดินรอบภูเขาโกวารดะนะ) เราควรเดินรอบทั่วทั้งบริเวณวรินดาวะนะด้วย 10. เราต้องบูชาพระปฏิมาในวัดตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ (ถวาย อาระทิ และ พระสาดะ ตกแต่งพระปฏิมา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ควรถือปฏิบัติสม่ำาเสมอ) 11. เราต้องถวายการรับใช้พระปฏิมาโดยตรง 12. เราต้องร้องเพลง 13. เราต้องทำา สังคีรทะนะ 14. เราต้องสวดภาวนา 15. เราต้องถวายบทมนต์ 16. เราต้องเปล่งบทมนต์โดยเฉพาะ 17. เราต้องทาน มะฮา-พระสาดะ (อาหารที่ถวายให้ต่อหน้าพระปฏิมา) 18. เราต้องดื่ม ชะระณามริทะ (น้ำาที่หลังจากอาบให้พระปฏิมาแล้วและนำามาให้แขก) 19. เราต้องดมกลิ่นธูปและดอกไม้ที่ถวายให้พระปฏิมา 20. เราต้องแตะพระบาทรูปดอกบัวของพระปฏิมา 21. เราต้องมองดูพระปฏิมาด้วยการอุทิศตนเป็นอย่างยิ่ง 22. เราต้องถวาย อาระทิ (อาราทริคะ) ในเวลาที่ต่างกัน 23. เราต้องสดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานและลีลาของพระองค์จาก ชรีมัด-บากะวะธัม, ภควัต-คีตา และหนังสือลักษณะเดียวกันนี้ 24. เราต้องภาวนาเพื่อขอพระเมตตาจากพระปฏิมา 25. เราควรระลึกถึงพระปฏิมา 26. เราควรทำาสมาธิที่พระปฏิมา 27. เราควรอาสามาถวายการรับใช้ 28. เราควรคิดถึงองค์ภควานว่าเป็นเพื่อน 29. เราควรถวายทุกสิ่งให้องค์ภควาน 30. เราควรถวายสิ่งที่ชื่นชอบ (เช่นอาหารและอาภรณ์) 31. เราต้องยอมเสี่ยงทุกอย่างและทำาทุกวิถีทางเพื่อประโยชน์ของคริชณะ 32. ในทุกสถานการณ์ เราควรเป็นดวงวิญญาณที่ศิโรราบ 33. เราควรรดน้ำาต้น ทุละสี 34. เราควรสดับฟัง ชรีมัด-บากะวะธัม และวรรณกรรมคล้ายกันนี้อย่างสม่ำาเสมอ 35. เราควรอาศัยอยู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น มะทำุรา, วรินดาวะนะ, หรือ ดวาระคา 36. เราควรถวายการรับใช้ไวชณะวะ (สาวก) 37. เราควรจัดเตรียมการอุทิศตนเสียสละรับใช้ของเราตามสถานภาพที่เป็นไปได้ 38. ในเดือน คารททิคะ (ตุลาคมและพฤศจิกายน) เราควรจัดเตรียมการรับใช้เป็นพิเศษ 39. ช่วง จันมาชทะมี (ช่วงเวลาที่คริชณะทรงปรากฎบนโลกนี้) เราควรปฏิบัติรับใช้เป็นพิเศษ 40. เราควรทำาทุกอย่างด้วยความประณีตและอุทิศตนเสียสละแด่พระปฏิมา 41. เราควรรับรสความสุขในการอ่าน บากะวะธัม ร่วมกับสาวก ไม่ใช่ร่วมกับคนนอก 42. เราควรคบหาสมาคมกับสาวกที่พิจารณาว่าเจริญกว่า 43. เราควรภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน 44. เราควรอาศัยอยู่ในอาณาเขตของมะทำุรา

มาบัดนี้ หลักธรรมที่กำาหนดไว้รวมกันเป็นหกสิบสี่ข้อ ดังที่ไ้ด้กล่าวไว้แล้วว่า สิบข้อแรกเป็นหลักธรรมพื้นฐาน ต่อมาอีกสิบข้อเป็นหลักธรรมขั้นที่สอง และบวกกิจกรรมอื่นๆ อีกสี่สิบสี่ข้อ เมื่อรวมกันทั้งหมดจะได้หกสิบสี่ข้อในการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ตามที่กำาหนดไว้ จากหกสิบสี่ข้อนี้ ห้าข้อมีความสำาคัญมากคือ การบูชาพระปฏิมา สดับฟัง ชรีมัด-บากะวะธัม คบหาสมาคมกับสาวก สังคีรทะนะ และพักอาศัยอยู่ที่มะทำุรา

หกสิบสี่รายการแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ควรรวมกิจกรรมทั้งหมดของร่างกาย จิตใจ และคำาพูด ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า หลักธรรมที่กำาหนดไว้ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้บัญชาให้ประสาทสัมผัสของเราทั้งหมดต้องใช้ไปในการรับใช้องค์ภควาน จะนำาไปใช้เจาะจงอย่างไรนั้นได้อธิบายไว้ในหกสิบสี่ข้อข้างต้น ตอนนนี้ ชรีละ รูพะ โกสวามี จะให้หลักฐานจากพระคัมภีร์ต่างๆ มาสนับสนุนความน่าเชื่อถือได้จากหลายๆ จุดเหล่านี้