น้ําทิพย์
แห่งการอุทิศตนเสียสละ

บทที่ เจ็ด

หลักฐานเกี่ยวกับ

หลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละ

ยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้มาเป็นที่พึ่ง

ใน ภาคสิบเอ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่สาม โศลก 21 พระบุดดะ บอกกับ มะฮาราจะ นิมิ ว่า “กษัตริย์ที่รัก โปรดทราบอย่างชัดเจนว่าในโลกวัตถุไม่มีความสุข มันเป็นเพียงความผิดพลาดที่คิดว่ามีความสุขที่นี่ เพราะที่นี่ไม่มีอะไรนอกจากเต็มไปด้วยสภาวะแห่งความทุกข์เท่านั้น ผู้ใดมีความปรารถนาอย่างจริงจังที่จะบรรลุถึงความสุขที่แท้จริงต้องแสวงหาพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้และมาพึ่งท่านด้วยการอุปสมบท คุณสมบัติของพระอาจารย์ทิพย์คือ ท่านต้องรู้แจ้งข้อสรุปของพระคัมภีร์ด้วยการพินิจพิจารณาและถกเถียง เช่นนี้ท่านจึงสามารถทำาให้คนอื่นมั่นใจในข้อสรุปเหล่านี้ ท่านเหล่านี้คือพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ ทุกคนควรแสวงหาพระอาจารย์ทิพย์ลักษณะเช่นนี้เพื่อทำาให้ภารกิจของชีวิตสมประสงค์ คือย้ายโอนตนเองมาอยู่ในระดับแห่งความปลื้มปีติสุข”

คำาอธิบายคือ เราไม่ควรยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ที่โง่อันดับหนึ่ง ผู้ไม่มีทิศทางตามหลักธรรมคำาสอนของพระคำาภีร์ มีบุคลิกลักษณะที่น่าสงสัย ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หรือเป็นผู้ที่เอาชนะอิทธิพลของหกตัวแทนในการสนองประสาทสัมผัสยังไม่ได้ ซึ่งมีดังนี้คือ ลิ้น อวัยวะสืบพันธ์ุ ท้อง ความโกรธ จิตใจ และคำาพูด ผู้ใดที่ฝึกปฏิบัติควบคุมหกสิ่งนี้ได้ ได้รับอนุญาตให้มีสาวกทั่วโลก การยอมรับพระอาจารย์เช่นนี้เป็นจุดสำาคัญเพื่อความก้าวหน้าในวิถีชีวิตทิพย์ ผู้โชคดีพอที่มาอยู่ภายใต้ที่พึ่งของพระอาจารย์เช่นนี้ แน่นอนว่าจะข้ามพ้นวิถีแห่งความหลุดพ้นทิพย์โดยไม่ต้องสงสัย

อุปสมบทโดยพระอาจารย์ทิพย์และรับคำาสั่งสอนจากท่าน

นักปราชญ์ พระบุดดะ กล่าวกับกษัตริย์ต่อไปว่า “กษัตริย์ที่รัก สาวกต้องยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ไม่เพียงแต่ในฐานะพระอาจารย์ทิพย์เท่านั้น แต่ในฐานะเป็นผู้แทนขององค์ภควานและองค์อภิวิญญาณด้วย อีกนัยหนึ่ง สาวกควรยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ว่าเป็นองค์ภควาน เพราะท่านเป็นผู้ปรากฎอยู่ภายนอกของคริชณะ ได้ยืนยันไว้เช่นนี้ในทุกคัมภีร์ สาวกควรยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ดังนี้ เราควรเรียนรู้ชรีมัด-บากะวะธัม อย่างจริงจัง และด้วยความเคารพนับถือพระอาจารย์ทิพย์ด้วยประการทั้งปวง การสดับฟังและการพรรณา ชรีมัด-บากะวะธัม เป็นกรรมวิธีทางศาสนาที่จะพัฒนาเราให้มาถึงระดับแห่งการรับใช้และรักองค์ภควาน

ท่าทีของสาวกคือควรทำาให้พระอาจารย์ทิพย์พึงพอใจ เช่นนี้ จะทำาให้เข้าใจความรู้ทิพย์ได้ง่ายมาก ดังนี้ ได้ยืนยันไว้ในคัมภีร์พระเวท และ รูพะ โกสวามี จะอธิบายต่อไปว่าสำาหรับผู้ที่มีความศรัทธาอย่างแน่วแน่มั่นคงในองค์ภควานและพระอาจารย์ทิพย์ ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเปิดเผยออกมาอย่างง่ายดายมาก

รับใช้พระอาจารย์ทิพย์ด้วยความศรัทธาและมั่นใจ

เกี่ยวกับการรับอุปสมบทจากพระอาจารย์ทิพย์ ในภาคสิบเอ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่สิบเจ็ด โศลก 27 คริชณะตรัสว่า “อุดดะวะที่รัก พระอาจารย์ทิพย์ต้องได้รับการยอมรับไม่ใช่เป็นเพียงผู้แทนของข้าเท่านั้น แต่ในฐานะตัวของข้าเอง ต้องไม่พิจารณาว่าท่านอยู่ในระดับเดียวกับคนธรรมดาทั่วไป เราไม่ควรอิจฉาพระอาจารย์ทิพย์เหมือนกับที่เราอิจฉาคนธรรมดา ควรเห็นอยู่เสมอว่าพระอาจารย์ทิพย์เป็นผู้แทนขององค์ภควาน และจากการรับใช้พระอาจารย์ทิพย์ทำาให้เราสามารถรับใช้ปวงเทวดา”

ปฏิบัติตามรอยพระบาทของเหล่านักบุญ

ใน สคันดะ พุราณะ ได้แนะนำาไว้ว่าสาวกควรปฏิบัติตามเหล่า อาชารยะ ในอดีตและนักบุญ เพราะการกระทำาเช่นนี้ทำาให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่ปรารถนา โดยไม่เปิดโอกาสให้กับความเศร้าโศกและสับสนในความก้าวหน้า

พระคัมภีร์บระฮมะ-ยามะละ กล่าวดังนี้ “หากบางคนปรารถนาจะอ้างตนเองว่าเป็นยอดสาวกโดยไม่ปฏิบัติตามความน่าเชื่อถือได้ของพระคัมภีร์ที่เปิดเผย เช่นนี้ กิจกรรมของเขาจะไม่ช่วยให้ก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แต่จะไปสร้างความเดือดร้อนให้กับนักศึกษาผู้มีความจริงใจในการอุทิศตนเสียสละรับใช้” พวกที่ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระคัมภีร์ที่เปิดเผยอย่างเคร่งครัดเรียกว่า สะฮะจิยา เป็นผู้ที่จินตนาการว่าทุกอย่างไร้ค่าไปหมด มีความคิดที่กุขึ้นมาเอง และไม่ปฏิบัติตามคำาสั่งสอนของพระคัมภีร์ บุคคลเหล่านี้ได้แต่สร้างความเดือดร้อนในการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น

สัมพันธ์กับตรงนี้ อาจมีผู้ไม่อยู่ในสายแห่งการอุทิศตนเสียสะรับใช้และไม่ใยดีกับพระคัมภีร์ที่เปิดเผย ตัวอย่างนี้เห็นได้ในปรัชญา ชูนยะวาดิ พระพุทธเจ้าทรงปรากฎในราชวงศ์กษัตริย์คชัทริยะ ชั้นสูง แต่ปรัชญาของพระองค์ไม่ตรงกับข้อสรุปของพระเวทจึงถูกปฏิเสธ ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ฮินดู มะฮาราจะ อโชคะ ศาสนาพุทธจึงได้เผยแพร่ไปทั่วอินเดียและประเทศข้างเคียง อย่างไรก็ดี หลังจากพระอาจารย์นักสอนผู้ยิ่งใหญ่ ชังคะราชารยะ ปรากฎ พุธศาสนาได้ถูกขับให้ออกจากประเทศอินเดีย

ชาวพุทธและนักศาสนาอื่นๆ ที่ไม่สนใจใยดีกับพระคัมภีร์ที่เปิดเผยกล่าวว่า มีสาวกของพระพุทธเจ้ามากมายที่แสดงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระพุทธองค์ ดังนั้น ควรพิจารณาว่าเป็นสาวก ในการตอบข้อถกเถียงนี้ รูพะ โกสวามี กล่าวว่าผู้ปฎิบัติตาม พระพุทธเจ้าไม่ถือว่าเป็นสาวกของคริชณะ ถึงแม้ยอมรับว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นอวตารของคริชณะ ผู้ปฎิบัติเหล่านี้ไม่เจริญก้าวหน้ามากนักในความรู้พระเวท การศึกษาคัมภีร์พระเวทหมายความว่ามาให้ถึงจุดสรุปแห่งความยิ่งใหญ่สูงสุดขององค์ภควาน ฉะนั้น หลักศาสนาใดที่ปฏิเสธความยิ่งใหญ่สูงสุดขององค์ภควานจะไม่ได้รับการยอมรับและเรียกว่าเป็นลัทธิที่ไม่เชื่อในองค์ภควาน ลัทธิไม่เชื่อในองค์ภควานหมายถึงปฎิเสธความน่าเชื่อถือได้ของคัมภีร์พระเวท และปฎิเสธ อาชารยะ ผู้ยิ่งใหญ่ที่สอนวรรณกรรมพระเวทเพื่อประโยชน์ของชาวประชาโดยทั่วไป

ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ยอมรับว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นอวตารของคริชณะ แต่ใน ชรีมัด-บากะวะธัม เล่มเดียวกันก็กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงปรากฏเพื่อทำาให้พวกที่ไม่เชื่อในองค์ภควานสับสน ฉะนั้น ปรัชญาของพระองค์หมายไว้เพื่อให้พวกไม่เชื่อในองค์ภควาน สับสนจึงไม่ควรยอมรับ หากมีคนถามว่า “ทำาไมคริชณะทรงเผยแพร่หลักธรรมที่ไม่เชื่อในองค์ภควาน?” คำาตอบคือ เป็นพระประสงค์ขององค์ภควานที่จะยุติความรุนแรงที่ทำากันในนามของพระเวท พวกทีสมมุติว่าเป็นนักศาสนาได้ใช้คัมภีร์พระเวทไปในทางที่ผิดโดยตัดสินความรุนแรงเช่นการกินเนื้อสัตว์ว่าไม่ผิด พระพุทธเจ้าทรงมานำาพาพวกที่ตกต่ำาจากการตีความคัมภีร์พระเวทผิดๆ สำาหรับพวกไม่เชื่อในองค์ภควานพระพุทธองค์ทรงสอนลัทธิไม่เชื่อในองค์ภควานเพื่อพวกเขาจะมาปฎิบัติตามพระองค์ เช่นนี้เป็นกุศโลบายที่ทำาให้พวกเขามาปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระพุทธเจ้าหรือคริชณะ

ถามเกี่ยวกับหลักธรรมศาสนานิรันดร

ใน นาระดียะ พุราณะ กล่าวว่า “หากบุคคลจริงจังมากเกี่ยวกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เช่นนี้จุดมุ่งหมายทั้งหมดของเขาจะได้รับการสนองตอบโดยไม่ล่าช้า”

เตรียมพร้อมยกเลิกทุกสิ่งที่เป็นวัตถุเพื่อให้คริชณะทรงพอพระทัย

ใน พัดมะ พุราณะ กล่าวว่า “สำาหรับผู้ที่ยกเลิกความรื่นเริงทางประสาทสัมผัส และมายอมรับหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ความมั่งคั่งแห่งวิชณุโลคะหรืออาณาจักรแห่งองค์ภควานกำาลังรออยู่”

พำานักอยู่ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

ใน สคันดะ พุราณะ ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า สำาหรับบุคคลผู้อาศัยอยู่ที่ ดวาระคา เป็นเวลาหกเดือน หนึ่งเดือน หรือแม้แต่หนึ่งคืน การพัฒนาให้ไปถึง ไวคุณธะโลคะ และประโยชน์ทั้งหมดจาก สารูพยะ-มุคทิ (สิทธิที่จะมีรูปลักษณ์สี่กรเหมือนพระนารายณ์) กำาลังรออยู่

ใน บระฮมะ พุราณะ กล่าวว่า “ความสำาคัญทิพย์ของ พุรุโชทะมะ-คเชทระ ซึ่งเป็นพื้นที่แปดสิบตารางไมล์ขององค์จะกันนาทะ ไม่สามารถอธิบายให้เหมาะสมได้ แม้เหล่า เทวดาจากระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่าเห็นชาว จะกันนาทะ พุรี ว่ามีรูปลักษณ์เหมือนกับบุคคลที่ไวคุณธะ หมายความว่าเทวดาเห็นชาว จะกันนาทะ พุรี ว่ามีสี่กร”

ขณะที่นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ชุมนุมกันที่ ไนมิชารัณยะ, สูทะ โกสวามี พรรณา ชรีมัด-บากะวะธัม และกล่าวถึงความสำาคัญของแม่น้ำาคงคาดังนี้ “น้ำาของพระแม่คงคาจะมีกลิ่นของใบ ทุละสี ซึ่งถวายที่พระบาทรูปดอกบัวของชรีคริชณะอยู่เสมอ เช่นนี้ทำาให้แม่น้ำาคงคาไหลผ่านและเผยแพร่พระบารมีขององค์คริชณะตลอดเวลา ไม่ว่าพระแม่คงคาจะไหลไปที่ใด ณ ที่นั้น จะบริสุทธิ์ขึ้นทั้งภายนอกและภายใน”

รับเฉพาะสิ่งที่จำาเป็นเท่านั้น

ใน นาระดียะ พุราณะ กล่าวว่า “หากจริงจังเกี่ยวกับการปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เขาไม่ควรรับสิ่งของมากเกินความจำาเป็น” คำาอธิบายคือเราไม่ควรละเลยในการปฎิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และไม่ควรยอมรับกฎระเบียบแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้มากเกินกว่าที่ตนเองสามารถปฎิบัติได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น อาจกล่าวว่าควรภาวนาบทมนต์ ฮะเร คริชณะ หนึ่งแสนครั้งบนประคำาทุกวัน แต่ถ้าหากว่ามันเป็นไปไม่ได้ ต้องภาวนาลดน้อยลงตามที่เราสามารถจะทำาได้ โดยทั่วไป เราจะแนะนำาสาวกให้สวดภาวนาบนประคำา จะปะ อย่างน้อยวันละสิบหกรอบ เช่นนี้ควรปฎิบัติโดยสมบูรณ์ แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถท่องได้ครบสิบหกรอบ ต้องท่องซ่อมในวันต่อมา ต้องมั่นใจว่าจะรักษาคำาปฎิญาณ หากไม่ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดถือว่าละเลยอย่างแน่นอน เช่นนี้เป็นอาบัติในการรับใช้องค์ภควาน หากส่งเสริมการทำาอาบัติ เราจะไม่ก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ถ้ากำาหนดหลักเกณฑ์ในการปฎิบัติตามที่เราสามารถทำาได้และทำาตามคำาปฎิญานโดยไม่ผิดพลาดจะดีกว่า เช่นนี้ จะทำาให้ก้าวหน้าในวิถีชีวิตทิพย์

ถือศีลอดในวันเอคาดะชี

ใน บระฮมะ-ไววารทะ พุราณะ กล่าวว่า ผู้ที่ถือศีลอดในวัน เอคาดะชีจะเป็นอิสระจากผลบาปทั้งปวงและชีวิตจะเพิ่มพูนบุญกุศลมากขึ้น หลักพื้นฐานไม่ใช่เพียงแค่อดอาหาร แต่ให้เพิ่มพูนความศรัทธาและความรักต่อโกวินดะ หรือคริชณะ เหตุผลแท้จริงในการถือ ศึลอดในวัน เอคาดะชีคือลดความต้องการของร่างกายให้เหลือน้อยที่สุด และใช้เวลาไปในการรับใช้องค์ภควานด้วยการภาวนาและปฎิบัติการรับใช้เช่นเดียวกันนี้ สิ่งดีที่สุดในวันอดอาหารคือให้ระลึกถึงลีลาของโกวินดะ และสดับฟังพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดเวลา

แสดงความเคารพต่อต้นไทร

ใน สคันดะ พุราณะ แนะนำาว่าสาวกควรรดน้ำาให้ต้น ทุละสี และต้นอามะละคะควรแสดงความเคารพต่อโคและพราหมณ์ และควรรับใช้ไวชณะวะด้วยการถวายความเคารพและทำาสมาธิที่พวกท่าน กรรมวิธีเหล่านี้ทั้งหมดจะช่วยให้สาวกลดผลแห่งบาปกรรมเก่าในอดีต

ไม่คบหาสมาคมกับผู้ไม่ใช่สาวก

ครั้งหนึ่งสาวกคฤหัสถ์ถามองค์เชธันญะว่าความประพฤติทั่วไปของไวชณะวะควรเป็นเช่นไร องค์เชธันญะตรัสตอบว่าไวชณะวะควรยกเลิกการคบหาสมาคมกับผู้ไม่ใช่สาวก จากนั้นทรงอธิบายว่ามีผู้ไม่ใช่สาวกอยู่สองประเภท ประเภทหนึ่งต่อต้านความยิ่งใหญ่สูงสุดของคริชณะ และอีกประเภทหนึ่งเป็นนักวัตถุนิยมมากเกินไป อีกนัยหนึ่ง พวกที่แสวงหาความสุขทางวัตถุและผู้ที่ต่อต้านความยิ่งใหญ่สูงสุดขององค์ภควานเรียกว่า อไวชณะวะและควรหลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมอย่างจริงจัง

ใน คาทยายะนะ-สัมฮิทา กล่าวว่า หากถูกบังคับให้อยู่ในกรงขังเหล็กหรืออยู่ท่ามกลางเปลวเพลิงที่เผาโชติช่วง เราควรยอมรับสถานภาพเช่นนี้ดีกว่าที่จะอยู่กับผู้ไม่ใช่สาวกที่ต่อต้านความยิ่งใหญ่สูงสุดขององค์ภควาน ลักษณะเดียวกัน ใน วิชณุ-ระฮัสยะ มีข้อความว่า เราควรชอบที่จะโอบกอดงู เสือ หรือจรเข้ มากกว่าที่จะคบหาสมาคมกับคนที่บูชาเทวดาต่างๆ และคนที่ถูกกระตุ้นด้วยความต้องการทางวัตถุ

ในพระคัมภีร์ได้สอนไว้ว่า บุคคลอาจบูชาเทวดาเฉพาะองค์หากเขาปรารถนาผลกำาไรบางอย่างทางวัตถุ ตัวอย่างเช่น แนะนำาให้บูชาพระอาทิตย์หากปรารถนาที่จะขจัดโรคร้าย หากปรารถนาภรรยาที่สวยงามอาจบูชาพระแม่อุมา มเหสีของพระศิวะ และหากต้องการก้าวหน้าทางการศึกษาอาจบูชาพระแม่สะรัสวะที ใน ชรีมัด-บากะวะธัม มีรายชื่อผู้บูชาเทวดาทั้งหลายตามความปรารถนาทางวัตถุที่ต่างกัน แต่ผู้บูชาทั้งหมดเหล่านี้ถึงแม้ดูเหมือนว่าเป็นสาวกที่ดีมากของเทวดา ถือว่าไม่ใช่สาวก จะยอมรับว่าเป็นสาวกไม่ได้

มายาวาดี พวกที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์กล่าวว่า เขาอาจบูชารูปลักษณ์ใหนขององค์ภควานก็ได้ เพราะจะไปถึงจุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนใน ภควัต-คีตา ว่าพวกที่บูชาเทวดาจะไปยังโลกของเทวดาเท่านั้น แต่สาวกขององค์ภควานจะได้รับการส่งเสริมให้ไปยังพระตำาหนัก ไปยังอาณาจักรขององค์ภควาน อันที่จริง ภควัต-คีตา ได้ประนามพวกบูชาเทวดา โดยอธิบายว่าเนื่องจากความปรารถนาราคะ จึงสูญเสียสติปัญญา และไปบูชาเทวดาต่างๆ ดังนั้น ใน วิชณุ-ระฮัสยะ พวกบูชาเทวดาเหล่านี้ถูกประนามอย่างรุนแรงว่า ไปอยู่กับสัตว์ดุร้ายที่สุดยังดีกว่าที่จะไปอยู่ใกล้ชิดกับคนเหล่านี้

ไม่ยอมรับผู้ไม่เหมาะมาเป็นสาวก ไม่สร้างวัดมากๆ หรืออ่านหนังสือหลายๆ เล่ม

ข้อควรระวังอีกอย่างคือ บุคคลอาจมีสาวกมาก แต่ไม่ควรทำาตัวในลักษณะที่มีพันธะกับผู้ใดโดยเฉพาะหรือเป็นหนี้บุญคุณผู้ใด และเขาไม่ควรมีความกระตือรือร้นมากในการสร้างวัดใหม่ๆ หรือกระตือรือร้นในการอ่านหนังสือหลายๆ เล่ม ยกเว้นเล่มที่จะทำาให้ก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ โดยเฉพาะ ภควัต-คีตา, ชรีมัด-บากะวะธัม, คำาสอนขององค์เชธันญะ และ น้ำาทิพย์แห่งการอุทิศตนเสียสละ เล่มนี้ หากเราอ่านหนังสือเหล่านี้อย่างจริงจังก็จะได้รับความรู้เพียงพอในการเข้าใจศาสตร์แห่งคริชณะจิตสำานึก ไม่จำาเป็นต้องไปลำาบากอ่านหนังสือมากมายหลายๆ เล่ม

ในภาคเจ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม บทที่สิบสาม โศลก 8 นาระดะ มุนิ ขณะสนทนากับ มะฮาราจะ ยุดิชทิระ เกี่ยวกับหน้าที่ต่างๆ ของวรรณะต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะได้กล่าวถึงกฎระเบียบของ สันนยาสี หรือพวกที่สละโลกวัตถุนี้แล้ว ผู้ที่รับเอาระดับชีวิต สันนยาสะ มาปฏิบัติห้ามไม่ให้รับสาวกผู้ที่ไม่เหมาะสม ก่อนอื่น สันนยาสี ควรตรวจสอบว่า ว่าที่ศิษย์ของตนมีความจริงใจในการแสวงหาคริชณะจิตสำานึกหรือไม่ หากไม่ก็ไม่ควรรับ อย่างไรก็ดี ด้วยพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ขององค์เชธันญะ พระองค์ทรงแนะนำาให้พระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ทั้้งหลายพูดเกี่ยวกับคริชณะจิตสำานึกทุกหนทุกแห่ง ฉะนั้น ในสายขององค์เชธันญะ แม้สันนยาสี สามารถพูดเกี่ยวกับคริชณะจิตสำานึกทุกหนทุกแห่ง และหากบางคนปรารถนามาเป็นสาวกอย่างจริงจัง สันนยาสีจะยอมรับเขาเสมอ

มีประเด็นหนึ่งคือ หากไม่เพิ่มจำานวนของสานุศิษย์ วัฒนธรรมคริชณะจิตสำานึกจะไม่เผยแพร่ ดังนั้น ถึงแม้จะเสี่ยง สันนยาสีในสายของ เชธันญะ มะฮาพระบำุ อาจรับเอาบุคคลที่ไม่เหมาะสมโดยสมบูรณ์มาเป็นสาวก ต่อมา ด้วยพระเมตตาของพระอาจารย์ที่เชื่อถือได้รูปนี้ สาวกค่อยๆ พัฒนาขึ้น อย่างไรก็ดี หากเพิ่มจำานวนของสานุศิษย์เพียงเพื่อชื่อเสียงเกียรติยศและการบูชาที่ผิด แน่นอนว่าเขาจะตกลงจากการปฏิบัติคริชณะจิตสำานึก

เช่นเดียวกัน พระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ไม่มีภาระในการอ่านหนังสือมากมายเพียงเพื่ออวดว่าอ่านเก่งหรือทำาให้ตนเองเป็นที่นิยมด้วยการไปปาฐกถาตามสถานที่ต่างๆ เขาควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ ยังกล่าวด้วยว่า สันนยาสีไม่ควรกระตือรือร้นในการสร้างวัด เราสามารถเห็นได้จาก อาชารยะ มากมายในสายของ ชรี เชธันญะ มะฮาพระบำุ ว่าพวกท่านไม่กระตือรือร้นในการสร้างวัด อย่างไรก็ดี หากมีบางคนมาเสนอเพื่อรับใช้อาชารยะคนเดียวกันที่ปฏิเสธจะสนับสนุนผู้เสนอให้สร้างวัดราคาแพงๆ ตัวอย่างเช่น มะฮาราจะ มานซิงฮ์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของจักรพรรดิ์ อัคฮบาร ได้เสนอมารับใช้ และ รูพะ โกสวามี สอนให้เขาสร้างวัดใหญ่มากให้ โกวินดะจี ซึ่งราคาแพงมหาศาล

ดังนั้น พระอาจารย์ทิพ์ไม่ควรรับผิดชอบโดยตรงในการสร้างวัด แต่ถ้าหากว่ามีคนมีเงินและปรารถนาที่จะนำามารับใช้คริชณะ อาชารยะ เช่น รูพะ โกสวามี อาจใช้เงินของสาวกมาสร้างวัดที่สวยงามราคาแพงเพื่อรับใช้องค์ภควาน ด้วยความอับโชคที่บางครั้งมีบุคคลไม่เหมาะสมมาเป็นพระอาจารย์ทิพย์ ไปเข้าหาคนรวยเพื่อเอาเงินมาทำาบุญสร้างวัด หากพระอาจารย์ทิพย์ผู้ไร้คุณวุฒิผู้นี้ใช้เงินมาสร้างวัดราคาแพงเพื่อให้ตนเองได้อยู่อย่างสุขสบายโดยไม่ทำางานสอนอย่างแท้จริง เช่นนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ อีกนัยหนึ่ง พระอาจารย์ทิพย์ไม่จำาเป็นต้องกระตือรือร้นมากในการสร้างวัดใหญ่ในนามที่สมมุติว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ อันที่จริง กิจกรรมแรกและสำาคัญที่สุดของท่านคือการสอน สัมพันธ์กับตรงนี้ ชรีละ บัคธิสิดดานธะ โกสวามี มะฮาราจะ แนะนำาให้พระอาจารย์ทิพย์พิมพ์หนังสือ หากมีเงิน แทนที่จะไปสร้างวัดราคาแพงๆ เขาควรนำาเงินไปพิมพ์หนังสือที่เชื่อถือได้ในภาษาต่างๆ เพื่อเผยแพร่ขบวนการคริชณะจิตสำานึกจะดีกว่า

ในความสัมพันธ์ทั่วไปควรตรงไปตรงมา และควรเสมอภาคทั้งในขาดทุนและกำาไร

ใน พัดมะ พุราณะ กล่าวว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติคริชณะจิตสำานึกไม่ควรหวั่นไหวไปกับผลกำาไรหรือขาดทุนทางวัตถุ เขาไม่ควรหงุดหงิด แต่ควรระลึกถึงคริชณะอยู่ภายในเสมอ” คำาอธิบายคือ พันธวิญญาณทุกดวงจะซึมซาบอยู่ในการคิดถึงกิจกรรมทางวัตถุเสมอ เขาต้องทำาให้ตนเองเป็นอิสระจากความคิดเช่นนี้ และย้ายตนเองไปอยู่ในคริชณะจิตสำานึกโดยสมบูรณ์ ดังที่อธิบายไว้แล้วว่า หลักพื้นฐานของคริชณะจิตสำานึกคือระลึกถึงคริชณะอยู่เสมอ เราไม่ควรหวั่นไหวไปกับการสูญเสียทางวัตถุ แต่ควรทำาสมาธิจิตตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวของคริชณะอยู่เสมอ

สาวกไม่ควรตกอยู่ในความเศร้าโศกหรือความหลง มีข้อความใน พัดมะ พุราณะดังนี้ “ภายในหัวใจของคนที่ถูกความเศร้าโศกหรือความโกรธครอบงำา เป็นไปไม่ได้ที่ คริชณะจะทรงปรากฎ”

เทวดา

เราไม่ควรละเลยในการแสดงความเคารพต่อเหล่าเทวดา เราอาจไม่ใช่สาวกของเทวดา แต่ไม่ได้หมายความว่าเราควรไม่เคารพพวกท่าน ตัวอย่างเช่น ไวชณะวะไม่ได้เป็นสาวกของพระศิวะหรือพระพรหม แต่เป็นหน้าที่ผูกมัดว่าต้องแสดงความเคารพด้วยประการทั้งปวงต่อเทวดาผู้มีสถานภาพสูงส่งเช่นนี้ ตามปรัชญาของไวชณะวะว่าเราควรแสดงความเคารพแม้แต่มด จึงไม่จำาเป็นต้องกล่าวถึงบุคลิกภาพผู้สูงส่งเช่น พระศิวะ และพระพรหม

ใน พัดมะ พุราณะ กล่าวว่า “คริชณะ หรือ ฮะริ ทรงเป็นเจ้านายของมวลเทวดา ฉะนั้นพระองค์ทรงควรได้รับการบูชาเสมอ แต่เช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรไม่แสดงความเคารพต่อเหล่าเทวดา”

ไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับมวลชีวิต

นี่เป็นข้อความจาก มะฮาบาระทะ (มหาภารตะ) “บุคคลผู้ไม่หวั่นไหวหรือไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับจิตใจของมวลชีวิต และปฏิบัติกับทุกชีวิตเหมือนกับเป็นบิดาที่รักลูกๆ แน่นอนว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าจะทรงชื่นชอบภายในเร็วๆ นี้”

ในสังคมมนุษย์ที่สมมุติว่าเจริญแล้วบางครั้งจะมีการต่อต้านกับความโหดร้ายที่มนุษย์ทำาต่อสัตว์ แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดให้มีโรงฆ่าสัตว์ตลอดเวลา ไวชณะวะไม่เป็นเช่นนี้ ไวชณะวะจะไม่มีวันส่งเสริมการฆ่าสัตว์หรือแม้แต่สร้างความเจ็บปวดให้กับสิ่งมีชีวิตใดๆ