บทที่ เก้า
พิจารณาเพิ่มเติม
ถึงหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้
การสบประมาท
เราไม่ควรทนต่อการสบประมาทต่อองค์ภควานหรือสาวกของพระองค์ สัมพันธ์กับตรงนี้ ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ภาคสิบ บทที่เจ็ดสิบสี่ โศลก 40 ชุคะเดวะ โกสวามี บอกกับ พะรีคชิท มะฮาราจะ ว่า “กษัตริย์ที่รัก หากได้ยินคำาสบประมาทต่อองค์ภควานและสาวกแล้วยังไม่ออกจากสถานที่นั้นไป บุคคลนี้จะสูญเสียบุญบารมีไปทั้งหมด”
โศลกหนึ่งใน ชิคชาชทะคะ ขององค์เชธันญะกล่าวว่า “สาวกควรอดทนยิ่งกว่าต้นไม้ ถ่อมตนยิ่งกว่าใบหญ้า และควรให้ความเคารพทั้งหมดแด่ผู้อื่น แต่ไม่ยอมรับความเคารพเพื่อตนเอง” ถึงแม้องค์เชธันญะทรงอ่อนน้อมถ่อมตนมากในฐานะสาวก แต่เมื่อได้ข่าวการบาดเจ็บของ ชรี นิทยานันดา ทรงวิ่งไปยังที่เกิดเหตุทันทีและปรารถนาจะสังหารผู้กระทำาผิด จะกาย และ มาดาย พฤติกรรมเช่นนี้ขององค์เชธันญะมีความสำาคัญมาก แสดงให้เห็นว่า ไวชณะวะอาจมีความอดทนและถ่อมตนมาก ไม่ใยดีต่อเกียรติยศศักดิ์ศรีของตนเอง แต่หากเป็นเกียรติยศศักดิ์ศรีของคริชณะและสาวกแล้วเขาจะไม่อดทนต่อการสบประมาท
มีสามวิธีที่เราสามารถปฏิบัติได้เกี่ยวกับการสบประมาทเช่นนี้ หากได้ยินการสบประมาทด้วยคำาพูด เราควรมีความชำานาญพอที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้ามด้วยการถกเถียง หากไม่สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ วิธีต่อไปก็ไม่ควรยืนอยู่ทำาเป็นอ่อนน้อมถ่อมตนแต่ควรพลีชีพ วิธีที่สามคือหากไม่สามารถทำาตามสองวิธีข้างต้น เราต้องเดินออกจากสถานที่นั้นไปทันทีและไปให้ไกล หากสาวกไม่ปฏิบัติตามหนึ่งในสามวิธีนี้เขาจะตกต่ำาลงจากสถานภาพแห่งการอุทิศตนเสียสละ
ทิละคะ และ ประคำา ทุละสี
ใน พัดมะ พุราณะ มีข้อความอธิบายว่าไวชณะวะควรประดับร่างกายด้วย ทิละคะ และ ประคำา ดังนี้ “บุคคลผู้ประดับประคำา ทุละสี ที่คอ เจิมสิบสองแห่งบนร่างกายด้วย ทิละคะ แสดงว่าเป็นวัดของพระวิชณุ ด้วยสัญลักษณ์เครื่องหมายของพระวิชณุ (สี่กรของพระวิขณุทรงถือ สังข์ คทา จักร และดอกบัว) และมีวิชณุ-ทิละคะ บนหน้าผาก เข้าใจว่าเป็นสาวกของพระวิชณุในโลกนี้ การปรากฎของบุคคลเช่นนี้ทำาให้โลกบริสุทธิ์ขึ้น และที่ใดที่ท่านอยู่จะทำาให้ที่นั้นดีเท่ากับไวคุณธะ”
มีข้อความคล้ายกันนี้ใน สคันดะ พุราณะ กล่าวว่า “บุคคลที่ประดับด้วย ทิละคะ หรือ โกปี-ชันดะนะ (ดินชนิดหนึ่งที่เหมือนกับดินแท้ของโลกผลิตที่บางแห่งในวรินดาวะนะ) เขียนพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานทั่วร่างกาย ที่คอและที่หน้าอกมีประคำา ทุละสี บุคคลเช่นนี้ยมทูตจะไม่มาเยือน” ยมทูต (ยะมะดูทะ) เป็นเจ้าหน้าที่ของยมราช (เจ้าแห่งความตาย) ผู้ลงโทษคนบาปทั้งหมด เจ้าหน้าที่ของยมราชจะไม่มาเยือนไวชณะวะ ใ่น ชรีมัด-บากะวะธัม ที่เล่าถึงการจัดส่งอจามิละ กล่าวว่า ยมราชทรงสั่งผู้ช่วยของพระองค์อย่างชัดเจนว่าอย่าเข้าไปหาไวชณะวะ เพราะไวชณะวะอยู่เหนืออำานาจหน้าที่ของยมราช
ใน พัดมะ พุราณะ ยังกล่าวอีกว่า “บุคคลที่ร่างกายประดับกระแจะจันทน์ด้วยการเขียนพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน จะได้รับการจัดส่งจากผลบาปทั้งปวง หลังจากตายจะไปคริชณะโลคะโดยตรง ไปอยู่ร่วมกับองค์ภควานบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า”
รับเอาพวงมาลัยดอกไม้
คำาสอนต่อไปคือควรสวมพวงมาลัยดอกไม้ที่ถวายให้พระปฏิมาแล้ว สัมพันธ์กับตรงนี้ ในภาคสิบเอ็ด บทที่หก โศลก 16 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม อุดดะวะกล่าวกับคริชณะว่า “คริชณะที่รัก ข้าได้เอาสิ่งของที่พระองค์ใช้แล้วมารื่นเริง เช่น พวงมาลัยดอกไม้ สิ่งของของนักบุญ เสื้อผ้าอาภรณ์และเครื่องประดับ และข้ารับประทานเฉพาะอาหารที่เหลือหลังจากพระองค์เสวยแล้ว เพราะข้าเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ ฉะนั้น ข้ามั่นใจว่าจะไม่ถูกมนต์สะกดแห่งพลังงานวัตถุมารุกราน” คำาอธิบายของโศลกนี้คือ ผู้ใดที่เพียงแต่ปฏิบัติตามกฎระเบียบแห่งการประดับร่างกายด้วยเครื่องหมาย ทิละคะ ของ โกปี-ชันดะนะ หรือ กระแจะจันทน์ และสวมพวงมาลัยที่ถวายให้คริชณะแล้ว จะไม่มีปัญหาเรื่องถูกมนต์สะกดของพลังงานวัตถุมาครอบงำา ตอนตายจะไม่ถูกเจ้าหน้าที่ของยมราชมาเรียกตัวไป ถึงแม้ไม่รับหลักธรรมของไวชณวะทั้งหมด แต่รับประทาอาหารหรือ คริชณะ-พระสาดะที่ถวายให้คริชณะแล้ว เขาจะค่อยๆ พัฒนาคุณสมบัติให้มาถึงระดับ ไวชณะวะ
เช่นเดียวกัน ใน สคันดะ พุราณะ พระพรหมตรัสกับนาระดะ ว่า “นาระดะที่รัก ผู้ใดคล้องพวงมาลัยดอกไม้ที่คอด้วยพวงมาลัยที่คริชณะสวมมาแล้วจะเป็นอิสระจากโรคภัยไข้เจ็บและผลแห่งบาปกรรมทั้งปวง และเขาจะค่อยๆ หลุดพ้นจากมลทินทางวัตถุ”
เต้นรำาต่อหน้าพระปฏิมา
ใน ดวาระคา-มาฮาทมยะ คริชณะตรัสถึงความสำาคัญในการเต้นรำาต่อหน้าพระปฏิมาดังนี้ “บุคคลผู้อยู่ในอารมณ์ร่าเริงเบิกบาน รู้สึกปลื้มปีติสุขจากการอุทิศตนเสียสละอย่างล้นเหลือขณะเต้นรำาต่อหน้าข้า และแสดงลักษณะอาการต่างๆ ของร่างกาย สามารถเผาผลาญผลบาปที่สะสมมาเป็นเวลาหลายๆ พันปี” ในหนังสือเล่มเดียวกันมีข้อความของนาระดะเขียนไว้ดังนี้ “ร่างกายของผู้ใดที่ปรบมือและเต้นรำาต่อหน้าพระปฏิมาแสดงลักษณะอาการปลื้มปีติสุข นกแห่งความบาปจะบินหนีขึ้นไปหมด” เหมือนกับที่เราเพียงแต่ปรบมือจะทำาให้นกมากมายบินหนีไป เช่นเดียวกัน นกแห่งความบาปทั้งปวงที่นั่งอยู่บนร่างกายของเราสามารถทำาให้บินหนีไปได้ด้วยเพียงแต่เต้นรำาและปรบมือต่อหน้าพระปฏิมาของคริชณะ
ก้มลงกราบเป็นการให้เกียรติพระปฏิมา
ใน นาระดียะ พุราณะ มีข้อความเกี่ยวกับการก้มลงกราบและถวายความเคารพต่อพระปฏิมาดังนี้ “คนที่ทำาพิธีกรรมอย่างยิ่งใหญ่และคนที่เพียงแต่ถวายความเคารพด้วยการก้มลงกราบองค์ภควาน ถือว่าไม่เท่ากัน” คนที่ทำาพิธีกรรมยิ่งใหญ่มากมายจะได้รับผลบุญ แต่เมื่อผลบุญหมดลงเขาจะต้องกลับมาเกิดบนโลกนี้อีกครั้ง อย่างไรก็ดี คนที่ครั้งหนึ่งเคยถวายความเคารพด้วยการก้มลงกราบต่อหน้าพระปฏิมาจะไม่กลับมายังโลกนี้อีก เพราะจะไปที่พระตำาหนักของคริชณะโดยตรง
ยืนขึ้นเพื่อต้อนรับองค์ภควาน
ใน บระฮมาณดะ พุราณะ กล่าวว่า “คนที่เห็นการฉลองราชรถ ระธะ-ยาทราขององค์ภควาน แล้วยืนขึ้นเพื่อต้อนรับพระองค์ สามารถทำาลายผลบาปทั้งหมดจากร่างกายของเขา”
เดินตามพระปฏิมา
มีข้อความคล้ายกันนี้กล่าวไว้ใน บะวิชยะ พุราณะ ว่า “แม้เกิดในครอบครัวต่ำา คนที่เดินตามแห่ราชรถ ระธะ-ยาทรา เมื่อพระปฏิมาผ่านมาด้านหน้าหรือด้านหลังแน่นอนว่าจะพัฒนาไปถึงสถานภาพแห่งความมั่งคั่งเทียบเท่าพระวิชณุ”
ไปวัดของพระวิชณุหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญ
ได้กล่าวไว้ใน พุราณะ ว่า “คนที่ตั้งใจไปเยี่ยมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญ เช่น วรินดาวะนะ, มะทุรา หรือ ดวาระคา ได้รับการสรรเสริญอย่างแท้จริง จากการเดินทางเช่นนี้พวกเขาสามารถข้ามพ้นทะเลทรายแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ”
ใน ฮะริ-บัคธิ-สุโดดะยะ ได้กล่าวเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการไปเยี่ยมวัดขององค์คริชณะ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่าที่ วรินดาวะนะ, มะทุรา, และ ดวาระคา มีระบบคือสาวกทั้งหมดฉวยประโยชน์ในการไปเยี่ยมวัดต่างๆ ที่อยู่ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ได้กล่าวไว้ใน ฮะริ-บัคธิ-สุโดดะยะ ว่า “คนที่ถูกกระตุ้นด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ในคริชณะจิตสำานึก แล้วได้เห็นพระปฏิมาของพระวิชณุที่วัด แน่นอนว่าจะหลุดพ้นจากการเข้าไปในกรงขังของครรภ์มารดาอีกครั้ง” พันธวิญญาณได้ลืมความทุกข์ยากลำาบากที่อยู่ในครรภ์มารดาตอนเกิด แต่มันเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวดและน่ากลัวมาก เพื่อหนีให้พ้นไปจากสภาวะวัตถุเช่นนี้ ได้แนะนำาให้เราไปเยี่ยมวัดพระวิชณุด้วยจิตสำานึกที่อุทิศตนเสียสละ เช่นนี้ เราสามารถหลุดออกไปจากสภาวะแห่งความทุกข์ระทมจากการเกิดในโลกวัตถุนี้ได้
เดินทักษิณาวรรตวัดพระวิชณุ
ได้กล่าวไว้ใน ฮะริ-บัคธิ-สุโดดะยะ ว่า ”คนที่เดินทักษิณาวรรตพระปฏิมาของพระวิชณุสามารถลบล้างวัฐจักรแห่งการเกิดและตายในโลกวัตถุนี้ได้” พันธวิญญาณเดินทักษิณาวรรตรอบการเกิดและตายซ้ำาซากเนื่องมาจากความเป็นอยู่ทางวัตถุ เช่นนี้สามารถลบล้างไปได้ด้วยเพียงแต่เดินทักษิณาวรรตรอบพระปฏิมาในวัด
พิธีกรรม ชาทุรมาสยะ ถือปฏิบัติกันสี่เดือนช่วงฤดูฝนในประเทศอินเดีย (ประมาณเดือน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และ ตุลาคม) เริ่มจาก ชราวะณะ ช่วงเวลาสี่เดือนนี้นักบุญที่เคยเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแพร่คริชณะจิตสำานึกจะพักอยู่ ณ สถานที่เดียว โดยทั่วไปจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญ ช่วงเวลานี้จะมีกฎระเบียบบางอย่างที่เคร่งครัดต้องปฏิบัติตาม กล่าวไว้ใน สคันดะ พุราณะ ว่าช่วงเวลานี้หากใครเดินทักษิณวรรตรอบวัดของพระวิชณุอย่างน้อยสี่รอบ เข้าใจว่าเขาได้เดินทางไปรอบจักรวาล จากการเดินทักษิณาวรรตเช่นนี้เข้าใจว่าเขาได้เห็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดที่แม่น้ำาคงคาไหลผ่าน และจากการปฏิบัติตามหลักธรรมของ ชาทุรมาสยะ จะสามารถพัฒนาให้มาถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยรวดเร็ว
อารชะนา
อารชะนา หมายถึงการบูชาพระปฏิมาในวัด จากการปฏิบัติตามวิธีการนี้เขายืนยันว่าตนเองไม่ใช่ร่างกายนี้แต่เป็นดวงวิญญาณ ในภาคสิบ บทที่แปดสิบเอ็ด โศลก 19 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม ได้กล่าวว่าเพื่อนสนิทของคริชณะ ชื่อสุดามาขณะไปที่บ้านของ บราฮมะณะ ได้พึมพัมกับตนเองว่า “เพียงแต่บูชาคริชณะเขาสามารถบรรลุถึงผลทั้งหมดแห่งความมั่งคั่งบนสวรรค์ ความหลุดพ้น ความเป็นใหญ่เหนือดาวเคราะห์ในจัรวาล ความมั่งคั่งทั้งหมดแห่่งโลกวัตถุนี้ และพลังอิทธิฤทธิ์จากการปฏิบัติตามระบบโยคะ”
เหตุการณ์ที่นำาให้สุดามาพึมพัมเช่นนี้มีดังนี้คือ ชรี คริชณะ ทรงสั่งให้เพื่อนสุดามาไปที่บ้านพราหมณ์เพื่อขออาหาร พราหมณ์กำาลังทำาพิธีกรรมอย่างยิ่งใหญ่ ชรี คริชณะ บอกกับสุดามาว่าให้ขอร้องเขาว่าพระองค์กับบะละรามะรู้สึกหิวและอยากได้อาหาร เมื่อสุดามาไปถึงพราหมณ์ปฏิเสธที่จะถวายสิ่งใดให้ แต่พวกภรรยาของพราหมณ์พอได้ยินว่า ชรี คริชณะ อยากได้อาหาร ก็รีบกุลีกุจอจัดเตรียมอาหารอย่างเอร็ดอร่อยมากมายแล้วนำาไปถวายให้คริชณะ ใน วิชณุ-ระฮัสยะ ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า “บุคคลใดในโลกนี้ปฏิบัติบูชาพระวิชณุจะบรรลุถึงไวคุณธะโลคะ อาณาจักรแห่งองค์ภควานที่มีความปลื้มปีติสุขตลอดเวลา ได้โดยง่ายดาย”
ถวายการรับใช้แด่องค์ภควาน
ได้กล่าวไว้ใน วิชณุ-ระฮัสยะ ว่า บุคคลที่สามารถจัดเตรียมการรับใช้องค์ภควานเหมือนกับการรับใช้พระมหากษัตริย์ แน่นอนว่าจะพัฒนาไปถึงพระตำาหนักของคริชณะหลังจากตายไป” อันที่จริงวัดในประเทศอินเดียเหมือนกับพระราชวัง ไม่ใช่อาคารธรรมดา เพราะการบูชาคริชณะควรปฏิบัติเหมือนกับการบูชากษัตริย์ในราชวัง ที่วรินดาวะนะมีหลายร้อยวัดที่พระปฏิมาได้รับการบูชาเหมือนกษัตริย์ ใน นาระดียะ พุราณะ กล่าวไว้ว่า “หากบุคคลมาอยู่ในวัดขององค์ภควานแม้เพียงไม่กี่นาที แน่นอนว่าจะบรรลุถึงอาณาจักรทิพย์แห่งองค์ภควาน”
ข้อสรุปคือ คนรวยในสังคมควรสร้างวัดสวยๆ และจัดเตรียมการบูชาพระวิชณุเพื่อดึงดูดผู้คนให้มาเยี่ยมเยียนวัดประเภทนี้ ทำาให้ได้รับโอกาศมาเต้นรำาต่อหน้าองค์ภควาน ร้องเพลงภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน หรือสดับฟังพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน เช่นนี้ ทำาให้ทุกคนได้รับโอกาศพัฒนาไปถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควาน อีกนัยนึ่ง แม้คนธรรมดาสามัญเพียงแต่ไปเยี่ยมเยียนวัดเช่นนี้จะได้รับพรอันสูงสุด จึงไม่ต้องกล่าวถึงเหล่าสาวกผู้ปฏิบัติรับใช้องค์ภควานใน คริชณะจิตสำานึกตลอดเวลา
สัมพันธ์กับตรงนี้ มีข้อความในภาคสี่ บทที่ยี่สิบเอ็ด โศลก 31 ของ ชรีมัด- บากะวะธัม ซึ่งกษัตริย์พริทำุตรัสกับประชาชนของพระองค์ว่า “พสกนิกรที่รัก โปรดทราบว่าอันที่จริงองค์ภควาน ฮะริ ทรงเป็นผู้จัดส่งพันธวิญญาณที่ตกต่ำาทั้งหลาย ไม่มีเทวดาองค์ใหนสามารถจัดส่งพันธวิญญาณได้ เพราะเหล่าเทวดาก็อยู่ภายใต้พันธสภาวะ พันธวิญญาณดวงหนึ่งไม่สามารถจัดส่งพันธวิญญาณอีกดวงหนึ่งได้ คริชณะหรือผู้แทนที่เชื่อถือได้ของพระองค์เท่านั้นจึงสามารถจัดส่งได้ น้ำาคงคาที่ไหลผ่านหัวแม่เท้าของพระวิชณุแล้วตกลงมายังโลกนี้และโลกอื่นๆ เช่นนี้ได้จัดส่งพันธชีวิตที่มีบาปทั้งปวงได้ จึงไม่ต้องกล่าวถึงการจัดส่งคนที่ปฏิบัติรับใช้องค์ภควานอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ต้องสงสัยถึงความหลุดพ้นของพวกท่านเลย ถึงแม้จะทำาบาปมามากมายจากหลายต่อหลายชาติ” อีกนัยหนึ่ง บุคคลผู้ปฏิบัติการบูชาพระปฏิมาสามารถลดความบาปที่สะสมมาหลายต่อหลายชาติในอดีตให้เหลือน้อยที่สุด วิธีการบูชาพระปฏิมาได้อธิบายไว้แล้ว และเราควรปฏิบัติตามกฎระเบียบนี้อย่างจริงจัง
การร้องเพลง
ใน ลิงกะ พุราณะ ได้กล่าวถึงข้อความการสรรเสริญและร้องเพลงเกี่ยวกับองค์ภควานว่า “พราหมณ์ผู้ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีขององค์ภควานตลอดเวลา แน่นอนว่าจะพัฒนาไปอยู่ในโลกเดียวกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า คริชณะทรงชื่นชอบการร้องเพลงเช่นนี้มากกว่าบทมนต์ที่พระศิวะทรงถวายให้”
สังคีรทะนะ
เมื่อบุคคลสรรเสริญพระบารมีแห่งกิจกรรม คุณสมบัติ รูปลักษณ์ ฯลฯ ขององค์ภควานด้วยเสียงอันดัง การสรรเสริญเช่นนี้เรียกว่า สังคีรทะนะ, สังคีรทะนะ ยังหมายถึงการมาร่วมชุมนุมกันร้องเพลงพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน
ใน วิชณุ-ดารมะ มีข้อความสรรเสริญวิธีการร่วมชุมนุมร้องเพลงว่า “กษัตริย์ที่รัก คำาว่า คริชณะ เป็นสิริมงคลมาก ใครที่เปล่งพระนามอันศักดิ์สิทธิ์นี้สามารถขจัดผลบาปที่ทำามาหลายต่อหลายชาติได้ มีข้อความใน เชธันญะ-ชะริทามริทะ ว่า “บุคคลผู้เปล่งเสียงพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของคริชณะเพียงครั้งเดียว จะขจัดผลแห่งบาปที่เขาสามรถทำาได้” คนบาปจะทำาบาปได้มากมายก่ายกอง แต่ไม่ว่าทำาบาปมามากเพียงใด เพียงแต่เปล่งคำาว่า คริชณะ เพียงครั้งเดียวก็จะลบล้างไปได้หมด
ในภาคเจ็ด บทที่เก้า โศลก 18 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม มะฮาราจะ พระฮลาดะ ถวายบทมนต์แด่องค์ภควานดังนี้ “องค์นริสิมฮะที่รัก หากข้าพเจ้าสามารถพัฒนาขึ้นมาถึงสถานภาพเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ เช่นนี้ จึงเป็นไปได้ที่ข้าพเจ้าจะได้สดับฟังเกี่ยวกับกิจกรรมของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นเพื่อนสูงสุดและทรงเป็นพระปฏิมาที่ควรเคารพบูชาสูงสุด ลีลาของพระองค์ทรงเป็นทิพย์ เพียงแต่ฟังลีลาเหล่านี้สามารถขจัดความบาปทั้งปวงออกไปได้ ดังนั้น ข้าพเจ้าไม่สนใจกับการทำาบาปทั้งปวง เพราะเพียงแต่สดับฟังเกี่ยวกับลีลาของพระองค์ ข้าพเจ้าจะหลุดออกไปจากมลทินแห่งการยึดติดทางวัตถุทั้งปวงได้”
มีหลายบทเพลงเกี่ยวกับกิจกรรมขององค์ภควาน ตัวอย่างเช่น มีบระฮมะ-สัมฮิทาที่ขับร้องโดยพระพรหม นาระดะ-พันชะราทระ ขับร้องโดย นาระดะ มุนิ และ ชรีมัด-บากะวะธัม ขับร้องโดย ชุคะเดวะ โกสวามี หากใครได้ยินบทเพลงเหล่านี้เขาสามารถออกจากเงื้อมมือแห่งมลทินทางวัตถุได้อย่างง่ายดายโดยไม่มีความยากลำาบากอันใดในการสดับฟังบทเพลงแห่งองค์ภควาน บทเพลงเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดลงมาหลายๆ ล้านปีมาแล้ว และผู้คนยังฉวยประโยชน์แม้ในปัจจุบัน แล้วทำาไมตอนนี้เราไม่ฉวยประโยชน์อย่างเต็มที่และได้รับความหลุดพ้น
ในภาคหนึ่ง บทที่ห้า โศลก22 ของ ชรีมัด-บากะวะธัม นาระดะ มุนิ กล่าวกับสาวก วิยาสะ เดวะ ว่า “วิยาสะ เดวะ ที่รัก เธอควรรู้ว่าคนที่ปฏิบัติสมถะและความเพียร ศึกษาคัมภีร์พระเวท คาดคะเนเกี่ยวกับความรู้ทิพย์ และทำาบุญให้ทาน ทำากิจกรรมอันเป็นสิริมงคลทั้งหมดนี้เพียงเพื่อให้ได้มาคบหาสมาคมกับสาวกและร้องเพลงภาวนาสรรเสริญพระบารมีขององค์ภควาน” แสดงไว้ ณ ที่นี้ว่า การร้องเพลงภาวนาและสรรเสริญองค์ภควานเป็นกิจกรรมสูงสุดของสิ่งมีชีวิต
จะปะ
การภาวนาบทมนต์หรือสวดมนต์เบาๆ ช้าๆ เรียกว่า จะปะ และหากร้องเพลงบทมนต์เดียวกันเรียกว่า คีรทะนะ ตัวอย่างเช่น ภาวนามหามนต์ (ฮะเร คริชณะ ฮะเร คริชณะ คริชณะ คริชณะ ฮะเร ฮะเร/ ฮะเร รามะ ฮะเร รามะ รามะ รามะ ฮะเร ฮะเร) เบามากเพื่อให้ตนเองได้ยินเท่านั้น เรียกว่า จะปะ และร้องเพลงบทมนต์เดียวกันนี้ด้วยเสียงดังมากเพื่อให้คนอื่นๆ ได้ยินด้วยเรียกว่า คีรทะนะ มหามนต์นำาไปใช้ได้ทั้ง จะปะ และ คีรทะนะ เมื่อภาวนา จะปะ เพื่อประโยชน์ของผู้ภาวนา แต่เมื่อร้องเพลง คีรทะนะ ก็เพื่อประโยชน์ของทุกคนที่อาจได้ยิน
ใน พัดมะ พุราณะ มีข้อความดังนี้ “ผู้ใดที่ร้องเพลงภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นเสียงค่อยหรือเสียงดัง หนทางแห่งความหลุดพ้นและแม้แต่ความสุขแบบชาวสวรรค์ได้เปิดขึ้นโดยทันที”
ยอมจำานน
ใน สคันดะ พุราณะ มีข้อความเกี่ยวกับการยอมจำานนแด่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควาน ได้กล่าวว่าพวกสาวกที่สุขุมคัมภีรภาพสามารถถวายการยอมจำานนต่อ คริชณะสามวิธีดังนี้ 1. สัมพรารทะนาทมิคา ถวายบทมนต์ด้วยความรู้สึกที่แรงกล้ามาก 2. ไดนยะโวดิคา อ่อนน้อมยอมจำานนตนเอง 3. ลาละสามะยีปรารถนามาให้ถึงระดับความสมบูรณ์บางอย่าง ความปรารถนาที่จะมาให้ถึงระดับความสมบูรณ์ในชีวิตทิพย์ไม่ใช่การสนองประสาทสัมผัส เมื่อรู้แจ้งบางอย่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์พื้นฐานของตนเองกับองค์ภควาน เขาเข้าใจสถานภาพเดิมแท้และปรารถนาจะกลับคืนสู่สถานภาพเดิม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ผู้รับใช้ บิดามารดา หรือคู่รักของคริชณะ เช่นนี้เรียกว่า ลาละสามะยี หรือมีความกระตือรือร้นมากที่ปรารถนากลับไปสู่สถานภาพตามธรรมชาติของตน ระดับ ลาละสามะยี แห่งการยอมจำานนมาในระดับแห่งความหลุดพ้นโดยสมบูรณ์ เรียกทางเทคนิคว่า สวะรูพะ-สิดดิ เมื่อสิ่งมีชีวิตเข้าใจความสัมพันธ์เดิมแท้ของตนกับองค์ภควานด้วยความเจริญก้าวหน้าหรือด้วยการเปิดเผยทิพย์โดยสมบูรณ์
ใน พัดมะ พุราณะ มีข้อความแห่งการยอมจำานนด้วยความรู้สึก โดยสาวกภาวนาต่อองค์ภควานดังนี้ “องค์ภควานของข้า ข้ารู้ว่าหญิงสาวมีความชื่นชอบตามธรรมชาติต่อชายหนุ่ม และชายหนุ่มก็มีความชื่นชอบตามธรรมชาติต่อหญิงสาว ข้าขอภาวนาต่อหน้าพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ว่า ให้จิตใจของข้ามาชื่นชอบพระองค์ตามธรรมชาติแบบเดียวกันนี้” ตัวอย่างนี้เหมาะสมมาก เมื่อชายหนุ่มหรือหญิงสาวเห็นเพศตรงข้ามจะมีความชื่นชอบตามธรรมชาติโดยไม่จำาเป็นต้องมีการแนะนำา โดยปราศจากการฝึกฝนมาก่อนจะมีความชื่นชอบตามธรรมชาติเนื่องมาจากแรงกระตุ้นทางเพศ นี่เป็นตัวอย่างทางวัตถุ แต่สาวกภาวนาว่าเขาอาจพัฒนาความยึดมั่นตามธรรมชาติลักษณะเดียวกันนี้ต่อองค์ภควานสูงสุด เป็นอิสระจากความปรารถนาเพื่อผลกำาไรและไม่มีเหตุอื่น ความชื่นชอบตามธรรมชาติต่อองค์ภควานเป็นระดับสมบูรณ์แห่งการรู้แจ้งตนเอง
ใน พัดมะ พุราณะ เช่นกัน มีข้อความเกี่ยวกับการยอมจำานนด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ได้กล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดที่จะมีบาปมากไปกว่าข้า หรือมีผู้ทำาอาบัติยิ่งไปกว่าข้า ข้ามีบาปหนาและทำาอาบัติมาก เมื่อมาสารภาพบาปต่อหน้าพระองค์ ข้าพเจ้ารู้สึกอาย” นี่คือสถานภาพตามธรรมชาติของสาวก สำาหรับพันธวิญญาณไม่แปลกใจว่าได้ทำาบาปมาในชาติก่อน เช่นนี้ควรยอมรับและสารภาพต่อหน้าพระองค์ ทันทีที่ทำาเช่นนี้ องค์ภควานทรงให้อภัยสาวกผู้มีความจริงใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราควรฉวยประโยชน์จากพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์และคาดว่าจะไปทำาบาปเหมือนเดิมแล้วได้รับอภัยโทษซ้ำาแล้วซ้ำาอีก แนวคิดเช่นนี้สำาหรับผู้ไม่มียางอายเท่านั้น กล่าวไว้ชัดเจน ณ ที่นี้ว่า “เมื่อสารภาพบาปข้าพเจ้ารู้สึกอาย” ดังนั้น หากบุคคลไม่อายต่อบาปและทำาบาปเหมือนเดิมอย่างต่อเนื่องด้วยความรู้ที่ว่าพระองค์จะทรงให้อภัย เช่นนี้เป็นการกระทำาที่ไร้สาระที่สุด แนวคิดเช่นนี้ไม่มีส่วนใหนของคัมภีร์พระเวทยอมรับ เป็นความจริงที่ว่า ด้วยการร้องเพลงภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน ความบาปในอดีตชาติจะถูกชะล้างออกไปหมด แต่เช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าหลังจากชะล้างความบาปไปแล้ว มาเริ่มทำาบาปใหม่และคาดว่าจะได้ถูกชะล้างอีก นี่เป็นข้อเสนอที่ไร้สาระและไม่เป็นที่ยอมรับในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ บางคนอาจคิดว่า “ข้าทำาบาปมาทั้งอาทิตย์แล้วจะไปวัดหรือไปโบสถ์หนึ่งวันเพื่อสารภาพและชะล้างบาป แล้วค่อยมาเริ่มทำาบาปกันใหม่” เช่นนี้ไร้สาระที่สุดและเป็นอาบัติมากที่สุด ผู้เขียน บัคธิ-ระสามริทะ-สินดุไม่ยอมรับ
ใน นาระดะ-พันชะราทระ มีข้อความอ่อนน้อมยอมจำานนควบคู่ไปกับความต้องการเพื่อความสมบูรณ์ โดยสาวกกล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก เมื่อไรวันนั้นจะมาถึง? วันที่พระองค์ทรงบอกให้ข้าพเจ้าพัดให้พระองค์ และตรัสว่า ่พัดแบบนี้แหละ ่ “ แนวคิดของโศลกนี้คือสาวกปรารถนาจะพัดพระวรกายขององค์ภควานด้วยตัวเอง เช่นนี้หมายความว่าเขาปรารถนามาเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดส่วนพระองค์ แน่นอนว่าสาวกไม่ว่าจะอยู่ในขีดความสามารถใด เช่น ผู้รับใช้ เพื่อน หรือคู่รักจะอยู่ใกล้ชิดโดยตรงกับองค์ภควานเสมอ แต่เป็นไปตามรสชาติของแต่ละปัจเจกบุคคล บุคคลมีความปรารถนาหนึ่งในความสัมพันธ์เหล่านี้เท่านั้น ณ ที่นี้สาวกปรารถนามาเป็นผู้รับใช้ขององค์ภควานและปรารถนาจะพัดให้พระองค์ เหมือนกับพลังเบื้องสูงของพระองค์เทพธิดาแห่งโชคลาภลัคชมี และยังปรารถนาอีกด้วยว่าองค์ภควานทรงยินดีกับเขาพร้อมบอกให้พัดอย่างไร การอ่อนน้อมยอมจำานน หรือ ลาละสามะยี วิกยัพทิ เช่นนี้เป็นระดับความสมบูรณ์สูงสุดแห่งความรู้แจ้งทิพย์
ใน นาระดะ-พันชะราทระ เช่นกัน มีการแสดงความจำานนอีกที่หนึ่งโดยสาวกกล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก โอ้ ผู้มีดวงตารูปดอกบัว เมื่อไรวันนั้นจะมาถึง? วันที่อยู่ที่แม่น้ำายะมุนา แล้วข้าร้องเพลงพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์อย่างต่อเนื่องเหมือนคนบ้าพร้อมมีน้ำาตาไหลพรากลงมาจากดวงตา” นี่คือระดับความสมบูรณ์อีกอย่างหนึ่ง องค์เชธันญะทรงปรารถนาว่า “โอ้ องค์ภควาน หนึ่งนาทีรู้สึกเหมือนกับสิบสองปีสำาหรับข้า โลกทั้งโลกดูว่างเปล่าไปหมดเมือไม่เห็นพระองค์” เราควรภาวนาด้วยความรู้สึกและกระตือรือร้นที่จะถวายการรับใช้โดยเฉพาะแด่พระองค์ นี่คือคำาสอนของเหล่าสาวกทั้งหลายโดยเฉพาะองค์เชธันญะ
อีกนัยหนึ่ง เราควรเรียนรู้ถึงการร้องไห้เพื่อองค์ภควาน ควรเรียนรู้วิธีเล็กๆ นี้ และควรมีความกระตือรือร้นมาก อันที่จริงควรร้องไห้เพื่อให้ได้รับใช้ กระทำาบางอย่างโดยเฉพาะ เช่นนี้เรียกว่า โลลยัม หรือมีความกระตือรือร้นอย่างเปี่ยมล้นเพื่อให้ได้พบและรับใช้พระองค์โดยเฉพาะ นี่คือราคาในการเข้าไปในอาณาจักรแห่งองค์ภควาน มิฉะนั้น จะคำานวณค่าบัตรทางวัตถุในการเข้าไปในอาณาจักรแห่งองค์ภควานไม่ได้ ราคาเดียวในการเข้าไปได้คือ โลลยัม ลาละสามะยี หรือความปรารถนาและความกระตือรือร้นอันยิ่งใหญ่
ภาวนาบทมนต์ที่มีชื่อเสียง
ตามนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิมากกล่าวว่า ภควัต-คีตา ทั้งเล่มมีบทมนต์ที่เชื่อถือได้มากมาย โดยเฉพาะบทที่สิบเอ็ดที่อารจุนะถวายบทมนต์ให้รูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควาน เช่นเดียวกัน ใน โกทะมียะ-ทันทระ โศลกทั้งหมดเรียกว่าบทมนต์ แล้วใน ชรีมัด-บากะวะธัม มีเป็นร้อยๆ บทมนต์ที่ถวายให้องค์ภควาน ดังนั้น สาวกควรเลือกบทมนต์เหล่านี้เพื่อสวดภาวนา ใน สคันดะ พุราณะ พระบารมีของบทมนต์เหล่านี้ได้กล่าวไว้ดังนี้ “สาวกผู้ที่ลิ้นประดับไปด้วยบทมนต์ที่ถวายให้องค์คริชณะเสมอ นักบุญและนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่จะให้ความเคารพเสมอ อันที่จริงแม้เทวดายังบูชาสาวกรูปนี้”
ผู้ด้อยปัญญาต้องการบูชาเทวดามากมายเพื่อผลกำาไรทางวัตถุ แทนที่จะบูชาคริชณะ แต่ ณ ที่นี้ได้กล่าวว่า แม้เหล่าเทวดาเองยังบูชาสาวกผู้ถวายบทมนต์แด่องค์ ภควานเสมอ สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่มีอะไรจะขอจากเทวดา แต่ทว่า เทวดาอยากจะถวายบทมนต์ให้สาวกผู้บริสุทธิ์
ใน นริสิมฮะ พุราณะ กล่าวว่า “ผู้ใดที่มาอยู่ต่อหน้าพระปฏิมาขององค์คริชณะและเริ่มภาวนาบทมนต์ต่างๆ จะได้รับการปลดเปลื้องจากผลบาปทั้งหมดทันที และมีสิทธิที่จะเข้าไปในไวคุณธะโลคะโดยไม่ต้องสงสัย”
การรับพระสาดะ
มีข้อความโดยเฉพาะใน พัดมะ พุราณะ ว่า “ผู้ที่ให้เกียรติและรับประทาน พระสาดะ เสมอไม่ใช่ต่อหน้าพระปฏิมา พร้อมดื่ม ชะระณามริทะ (น้ำาที่ถวายให้แด่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานซึ่งผสมกับเมล็ดของต้น ทุละสี ) จะได้บุญเทียบเท่ากับการทำาพิธีบูชาหนึ่งหมื่นครั้งทันที”
การดื่ม ชะระณามริทะ
ชะระณามระทะ จะได้รับในตอนเช้าโดยเอาน้ำาสรงให้องค์ภควานก่อนแต่งองค์ ผสมกับน้ำาหอมและดอกไม้ น้ำาไหลลงมาผ่านพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์และนำามาผสมกับโยเกิร์ต เช่นนี้ชะระณามริทะ ไม่เพียงแต่่มีรสชาติดีเท่านั้นแต่ยังมีคุณค่าทิพย์อย่างมหาศาล ดังที่ได้กล่าวไว้ใน พัดมะ พุราณะ ว่า แม้แต่ผู้ไม่เคยทำาบุญให้ทานมาเลย ไม่เคยทำาพิธีบูชายิ่งใหญ่มาเลย ไม่เคยศึกษาคัมภีร์พระเวทมาเลย ไม่เคยบูชาองค์ภควานมาเลย หรืออีกนัยหนึ่ง แม้แต่คนที่ไม่เคยทำาบุญอันใดมาแต่ก่อนเลย จะมีสิทธิ์เข้าไปในอาณาจักรแห่งองค์ภควาน หากเพียงแต่ได้ดื่ม ชะระณามริทะ ที่เก็บรักษาอยู่ที่วัด เป็นประเพณีที่วัดจะเก็บ ชะระณามริทะ ไว้ในหม้อใหญ่ สาวกผู้มาเยี่ยมเยียนแสดงความเคารพต่อพระปฏิมาแล้วดื่ม ชะระณามริทะ สามหยดด้วยความยอมจำานนมาก แล้วจะรู้สึกมีความสุขในปีติทิพย์
การดมกลิ่นหอมของธูปและดอกไม้ที่ถวายให้พระปฏิมา
ใน ฮะริ-บัคธิ-สุโดดะยะ มีข้อความเกี่ยวกับธูปที่ถวายให้พระปฏิมาดังนี้ “เมื่อสาวกได้ดมกลิ่นหอมจากธูปที่ถวายให้พระปฏิมา จะได้รับการรักษาจากพิษแห่งมลทินทางวัตถุ เหมือนกับคนที่ถูกงูกัดแล้วดมยาสมุนไพรตามแพทย์สั่งพิษก็จะสลายไป” คำาอธิบายของโศลกนี้คือ มีสมุนไพรในป่าซึ่งผู้มีความชำานาญรู้วิธีใช้เพื่อฟื้นฟูจิตสำานึกของคนที่ถูกงูกัดให้กลับคืนมาได้ เพียงแต่ได้ดมกลิ่นสุนไพรเขาจะฟื้นจากพิษที่ถูกงูกัดทันที ตัวอย่างลักษณะเดียวกันนี้ใช้กันได้คือ เมื่อคนมาเยี่ยมเยียนวัดและได้ดมกลิ่หอมของธูปที่ถวายให้พระปฏิมา เขาจะได้รับการรักษาจากมลทินทางวัตถุในตอนนั้น
สาวกผู้มาที่วัดควรถวายบางสิ่งบางอย่างให้พระปฏิมาเสมอเช่น ผลไม้ ดอกไม้ ธูป ฯลฯ หากไม่สามารถถวายเงินก็ต้องถวายบางอย่าง ที่ประเทศอินเดียระบบคือ สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทั้งหลายที่ไปเยี่ยมวัดในตอนเช้าและนำาสิ่งของมามากมาย แม้ข้าวหรือแป้งหนึ่งกำามือก็ถวายได้ เป็นหลักปฏิบัติว่าเราไม่ควรไปหานับุญหรือพระปฏิมาที่วัดโดยไม่ถวายอะไร สิ่งถวายอาจจะไม่มาก หรืออาจจะไร้ค่า แม้แต่ดอกไม้หนึ่งดอก ผลไม้หนึ่งผล น้ำานิดหน่อย อะไรก็ได้ แต่ต้องถวาย เมื่อสาวกมาถวายบางสิ่งให้พระปฏิมาในตอนเช้า ต้องได้ดมกลิ่นหอมจากธูปอย่างแน่นอน ตรงนี้เขาจะได้ขจัดมลพิษจากความเป็นอยู่ทางวัตถุ
ได้กล่าวไว้ใน ทันทระ-ชาชทระ ว่า “หากกลิ่นหอมของพวงมาลัยที่ถวายให้พระปฏิมาในวัดเข้าไปในโพรงจมูกของผู้ใด พันธนาการจากผลบาปจะถูกขจัดออกไปทันที หาก บุคคลไม่มีบาป จากการดมกลิ่นของดอกไม้ที่ถวายแล้วเขาจะก้าวหน้าจากมายาวาดี (ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์) มาเป็นสาวก” มีหลายตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นนี้ ที่โดดเด่นคือความเจริญก้าวหน้าของสี่คุมาระ เดิมทีเป็นมายาวาดีผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ แต่หลังจากได้ดมกลิ่นหอมของดอกไม้และธูปที่ถวายอยู่ในวัด สี่คุมาระกลายมาเป็นสาวก จากโศลกที่กล่าวมานี้ปรากฎว่ามายาวาดีหรือผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์มีมลทินไม่มากก็น้อย พวกเขาไม่บริสุทธิ์
ได้ยืนยันไว้ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ว่า “ผู้ที่ยังไม่ชะล้างผลบาปออกไปให้หมดไม่สามารถเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ได้ สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่สูงสุดขององค์ภควาน ดังนั้น ท่านจึงปฏิบัติในคริชณะจิตสำานึกและการอุทิศตนเสียสละรับใช้” มีข้อความคล้ายกันนี้ใน อกัสทยะ-สัมฮิทา โดยกล่าวว่า เพียงเพื่อทำาให้โพรงจมูกบริสุทธิ์ เราควรดมกลิ่นหอมจากดอกไม้ที่ถวายให้คริชณะแล้วในวัด
สัมผัสพระปฏิมา
ใน วิชณุ-ดารโมทะระ มีข้อความเกี่ยวกับการสัมผัสพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานดังนี้ “คนที่อุปสมบทเป็นไวชณะวะและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในคริชณะจิตสำานึกเท่านั้นจึงมีสิทธิ์มาสัมผัสกับพระวรกายของพระปฏิมา” ที่ประเทศอินเดียมีเรื่องวุ่นวายช่วงที่มีขบวนการทางการเมืองของ มหาตมะ คานธี เพราะบุคคลชั้นต่ำาเช่น คนกวาดถนน และ ชัณดาละ ได้ถูกห้ามไม่ให้เข้าไปในวัด ตามระบบพระเวทเนื่องจากนิสัยที่ไีม่สะอาดจึงถูกห้าม แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาได้รับโอกาสเอื้ออำานวยให้พัฒนามาถึงระดับสูงสุดแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยการมาคบหาสมาคมกับเหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าคนจะเกิดในครอบครัวใดจะไม่ถูกห้าม แต่ต้องสะอาด ต้องรับวิธีการชำาระให้สะอาดมาปฏิบัติ มหาตมะ คานธี ต้องการให้พวกเขาสะอาดด้วยการประทับตราแสตมป์ชื่อที่ประดิษฐ์ขึ้น ฮะริ จะนะ (“บุตรของพระเจ้า”) ดังนั้น จึงเกิดการชักเย่อกันระหว่างพวกเจ้าของวัดและสานุศิษย์ของ มหาตมะ คานธี
อย่างไรก็ดี กฎหมายปัจจุบันเป็นกฎหมายของทุกคัมภีร์คือ ผู้ใดที่สะอาดสามารถเข้าไปในวัดได้ อันที่จริงนี่คือสถานภาพ คนที่ได้รับการอุปสมบทอย่างถูกต้องเหมาะสม คนที่ปฏิบัติตามหลักธรรมอย่างถูกต้องเหมาะสมเท่านั้นจึงสามารถเข้าไปและสัมผัสพระปฏิมาได้ ไม่ใช่ทุกคน และคนที่ไปสัมผัสพระวรกายของพระปฏิมา ปฏิบัติตามหลักธรรมเช่นนี้จะได้รับการจัดส่งจากมลทินบาปแห่งวัตถุทันที และความปรารถนาของเขาจะได้รับสมประสงค์โดยไม่ล่าช้า
การเห็นพระปฏิมา
ใน วะราฮะ พุราณะ มีข้อความการเห็นพระปฏิมาของชรีคริชณะในวัด สาวกกล่าว ณ ที่นั้นว่า “วะสุนดะรา ที่รัก คนที่ไปวรินดาวะนะและเห็นพระปฏิมาของโกวินดะเดวะ แม้หากเขาไม่สามารถพัฒนาไปถึงอาณาจักรทิพย์ มั่นใจได้ว่าเขาจะพัฒนาไปยังระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่า เช่นนี้หมายความว่าเพียงแต่ได้ไปเยี่ยมเยียนพระปฏิมาโกวินดะที่วรินดาวะนะ เขาจะพัฒนาใด้สูงมากในชีวิตอันเป็นกุศล
ร่วมพิธีอาระทีและงานฉลองขององค์ภควาน
ใน สคันดะ พุราณะ มีข้อความจากผลที่ได้เห็น อาระที (การบูชา) พระปฏิมา “หากผู้ใดเห็นพระพักตร์ขององค์ภควานขณะที่พิธีอาระที ดำาเนินอยู่ เขาจะได้รับการปลดเปลื้องจากผลบาปที่สะสมมาเป็นเวลาหลายพันและหลายล้านปีในอดีต และได้รับการอภัยโทษแม้จากการฆ่าพราหมณ์หรือกิจกรรมต้องห้ามในลักษณะนี้”
ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่ามีการเฉลิมฉลองที่ควรร่วมด้วย เช่นวันคล้ายวันประสูติของ คริชณะ วันคล้ายวันประสูติของพระราม วันคล้ายวันเกิดของไวชณะวะที่โดดเด่น พิธีฉลอง จุละนะ-ยาทรา ที่องค์ภควานทรงนั่งอยู่บนชิงช้า และ โดละ-ยาทรา (ลีลาขององค์ภค วาน ในเดือนมีนาคม) ในพิธีฉลองทั้งหมดนี้พระองค์ทรงประทับอยู่บนราชรถ และราชรถจะเคลื่อนไปตามถนนสายต่างๆ ในเมือง เพื่อผู้คนจะฉวยประโยชน์ได้ยลโฉมขององค์ภควาน ได้กล่าวไว้ใน บะวิชยะ พุราณะ ว่า “ในพิธีเช่นนี้หาก ชัณดาละ (คนกินสุนัข) ด้วยความอยากรู้ได้มาเห็นองค์ภควานบนราชรถ นับได้ว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้ใกล้ชิดของพระวิชณุ”
ใน อักนิ พุราณะ กล่าวว่า “คนดีใจที่ได้เห็นการบูชาพระปฏิมาในวัด จะได้รับผลจากการปฏิบัติคริยา-โยกะ ซึ่งอธิบายไว้ในพระคัมภีร์พันชะราทระ” คริยา-โยกะ เป็นระบบการปฏิบัติที่คล้ายกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แต่หมายไว้สำาหรับโยคีผู้มีฤทธิ์ อีกนัยหนึ่ง จากกรรมวิธีปฏิบัติค่อยเป็นค่อยไปเช่นนี้ในที่สุดโยคีผู้มีฤทธิ์จะพัฒนามาถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควาน