น้ําทิพย์
แห่งการอุทิศตนเสียสละ

คำนำ

อธิฐานเพื่อความเป็นสิริมงคล: องค์ภควาน ชรี คริชณะ ทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แหล่งกำาเนิดของแหล่งกำาเนิดทั้งปวง แหล่งกำาเนิดของ ระสะ หรือความสำาพันธ์ทั้งหมด เช่น เป็นกลาง (ชื่นชอบแบบไม่แสดงออก) ผู้รับใช้ เพื่อน บิดามารดา คู่รัก ตลกขบขัน เมตตา กลัว กล้าหาญ น่ากลัว อัศจรรย์ และทำาลายล้าง คริชณะทรงมีรูปลักษณ์ที่มีเสน่ห์สูงสุด ด้วยลักษณะมีเสน่ห์ที่เป็นทิพย์และสากล พระองค์ทรงดึงดูดใจพวก โกปี ทั้งหมด นำาโดย ทาระคา, พาลิคา, ชยามา, ละลิทา, และในที่สุด ชรีมะธี ราดาราณี ขอให้พระกรุณาธิคุณของพระองค์โปรยลงมาให้เราเพื่อให้ไม่มีอุปสรรคในการทำาหน้าที่เขียน น้ำทิพย์แห่งกรอุทิศตนเสียสละจากแรงดลใจของ พระกรุณาธิคุณเจ้า ชรี ชรีมัด บัคธิสิดดานทะ สะรัสวะที โกสวามี พระบุพาดะ

ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพแด่พระบาทรูปดอกบัวของ ชรีละ รูพะ โกสวามี พระบุำพาดะ และ ชรีละ บัคธิสิดดานทะ สะรัสวะที โกสวามี พระบุพาดะ ด้วยแรงดลใจของท่านทำาให้ข้าพเจ้าเรียบเรียงศึกษาบทสรุป บัคธิ-ระสมริทะ-สินดุ นี้ หนังสือเล่มนี้เป็นศาสตร์อันประเสริฐแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ดังที่ ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำ ทรงแสดง เชธันญะทรงปรากฎห้าร้อยปีก่อนที่ เบงกอล ตะวันตก ประเทศอินเดีย และเผยแพร่ขบวนการคริชณะจิตสำานึก

ชรีละ รูพะ โกสวามี เริ่มงานเขียนอันยิ่งใหญ่เล่มนี้ด้วยการถวายความเคารพแด่ ชรี สะนาทะนะ โกสวามี ผู้เป็นทั้งพี่ชายและพระอาจารย์ทิพย์ ภาวนาให้ บัคธิ-ระสมริทะ-สินดำุ เป็นที่ชื่นชอบของท่าน และยังภาวนาอีกว่าจากการอยู่ในมหาสมุทรน้ำาทิพย์ ชรี สะนาทะนะ โกสวามี คงรู้สึกมีความสุขทิพย์ตลอดเวลาในการรับใช้ ราดา และ คริชณะ

ให้พวกเราแสดงความเคารพแด่สาวกผู้ยิ่งใหญ่และ อชรยะ (ครูผู้บริสุทธิ์) ทั้งหลาย ผู้เปรียบเสมือนปลาฉลามในมหาสมุทร์น้ำาทิพย์อันยิ่งใหญ่ที่ไม่สนใจกับแม่น้ำาแห่งความหลุดพ้นต่างๆ พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ชื่นชอบมากในการกลืนเข้าไปในองค์ภควาน เหมือนกับแม่น้ำาสายต่างๆ ที่ไหลลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรเปรียบเทียบกับความหลุดพ้น และแม่น้ำาคือวิธีต่างๆ แห่งความหลุดพ้น พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์อยู่ในแม่น้ำา ซึ่งต่อมาจะกลืนเข้าไปในมหาสมุทร พวกเขาไม่มีข้อมูลว่าในมหาสมุทร เหมือนกับในแม่น้ำา ที่มีสัตว์น้ำามากมาย ปลาฉลามที่อยู่ในมหาสมุทรไม่สนใจกับแม่น้ำาที่จะไหลลงสู่มหาสมุทร สาวกอยู่ในมหาสมุทรแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้นิรันดร จึงไม่สนใจกัแม่น้ำา อีกนัยหนึ่ง เหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์จะคงอยู่ในมหาสมุทรแห่งการรับใช้ทิพย์ด้วยใจรักที่มีต่อองค์ภควาน และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับกรรมวิธีอื่นๆ ซึ่งเปรียบเสมือนกับแม่น้ำาที่ในที่สุดก็จะไหลลงสู่มหาสมุทร

ชรีละ รูพะ โกสวามี ภาวนาให้พระอาจารย์ ชรีละ สะนาทะนะ โกสวามี ช่วยปกป้อง บัคธิ-ระสมริทะ-สินดำุ "มหาสมุทรแห่งน้ำาทิพย์ที่บริสุทธิ์ของการอุทิศตนเสียสละรับใช้" จากการถกเถียงของนักตรรกวิทยาที่เข้ามายุ่งกับศาสตร์แห่งการรับใช้องค์ภควานโดยไม่จำาเป็น ท่านเปรียบเทียบการถกเถียงและตรรกะของพวกเขาเหมือนกับภูเขาไฟที่อยู่กลางมหาสมุทร สภาวะเช่นนี้ภูเขาไฟจะทำาอันตรายได้น้อยมาก เช่นเดียวกัน พวกที่ต่อต้านการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควาน และมีทฤษฎีปรัชญามากมายเกี่ยวกับความรู้แจ้งทิพย์สูงสุด จะไม่สามารถยับยั้งมหาสมุทรอันยิ่งใหญ่แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ได้

ผู้เขียน บัคธิ-ระสมริทะ-สินดำุ ชรีละ รูพะ โกสวามี ยอมรับด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนว่าท่านเพียงพยายามเผยแพร่คริชณะจิตสำานึกไปทั่วโลก แม้ท่านคิดอย่างถ่อมตนว่าตัวท่านไม่เหมาะกับงานนี้ เช่นนี้ ควรเป็นท่าทีของผู้สอนในขบวนการคริชณะจิตสำานึกทั้งหมด ปฏิบัติตามรอยเท้าของ ชรีละ รูพะ โกสวามี ไม่ควรคิดว่าตัวเราเป็นครูสอนผู้ยิ่งใหญ่ แต่ควรพิจารณาเสมอว่าเราเป็นเพียงเครื่องมือของ อชรยะ ในอดีต เพียงแต่ปฏิบัติตามรอยเท้าของพวกท่านเราอาจสามารถทำาประโยชน์ให้มนุษยชาติที่กำาลังมีทุกข์ได้

บัคธิ-ระสมริทะ-สินดำุ แบ่งเป็นสี่ส่วน เหมือนกับมหาสมุทรที่บางครั้งแบ่งเป็นสี่ส่วน และแต่ละส่วนยังแบ่งเป็นตอน เดิมที ในมหาสมุทรถูกแบ่งออกเหมือนกับน้ำาในมหาสมุทรที่ไหลไปทางทิศตะวันออก ใต้ ตะวันตก และทิศเหนือ ส่วนที่แยกย่อยออกไปจากนี้เรียกว่าคลื่น เหมือนในมหาสมุทรจะมีคลื่นอยู่เสมอ ไม่ว่าทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ เช่นเดียวกัน บัคธิ-ระสมริทะ-สินดำุ มีคลื่นต่างๆ ในส่วนแรกมีสี่คลื่น คลื่นลูกแรกอธิบายทั่วไปเกี่ยวกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ลูกที่สองเกี่ยวกับหลักธรรมประมาณไว้ในการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ ลูกที่สาม การอุทิศตนเสียสละรับใช้ในความปลื้มปีติสุข และในคลื่นลูกที่สี่เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ ความรักแห่งองค์ภควาน สิ่งเหล่านี้จะอธิบายอย่างชัดเจนพร้อมทั้งลักษณะอาการต่างๆ

อธิบายคำาว่า บัคธิ หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่เชื่อถือได้ เดินตามรอยพระบาทของ อชรยะ ในอดีต ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้สรุปไว้ดังนี้ "การอุทิศตนเสียสละรับใช้ชั้นหนึ่งคือมีแนวโน้มปฏิบัติคริชณะจิตสำานึกอย่างเต็มที่ รับใช้องค์ภควานในเชิงบวก" คำาอธิบายคือบางคนอาจมาอยู่ในคริชณะจิตสำานึกในเชิงลบ เช่นนี้เรียกไม่ได้ว่าเป็นการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ควรเป็นอิสระจากความปราถนาเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ หรือเพื่อสนองประสาทสัมผัส เพราะความปรารถนาเหล่านี้พัฒนามาจากกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุและการคาดคะเนทางปรัชญา โดยทั่วไป ผู้คนทำากิจกรรมต่างๆ เพื่อผลกำาไรทางวัตถุ ขณะที่นักปราชญ์ส่วนใหญ่เสนอความรู้แจ้งทิพย์ผ่านทางสำานวนโวหารในหนังสือและการคาดคะเน การอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ต้องเป็นอิสระจากกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุและการคาดคะเนทางปรัชญา เราต้องเรียนรู้คริชณะจิตสำานึก หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์จากผู้ที่เชื่อถือได้ด้วยการรับใช้จากใจรักตามธรรมชาติ

การอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้เป็นการพัฒนา ไม่ใช่ไร้กิจกรรม สำาหรับพวกที่ไม่ชอบกิจกรรมหรือสละเวลาไปกับการทำาสมาธิเงียบๆ มีหลายวิธีสำาหรับผู้ต้องการเช่นนี้ แต่การพัฒนาคริชณะจิตสำานนึกต่างออกไป คำาโดยเฉพาะที ชรีละ รูพะ โกสวามี ใช้คือ อนุชีละนะ หรือ พัฒนาด้วยการปฏิบัติตาม อชรยะ ในอดีต ทันทีที่เรากล่าวว่า "พัฒนา" ต้องหมายถึงกิจกรรม ปราศจากกิจกรรม จิตสำานึกอย่างเดียวจะไม่ช่วยเรา กิจกรรมทั้งหมดแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งสำาหรับบรรลุเป้าหมายโดยเฉพาะ และอีกส่วนหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา ในภาษาสันสกฤตกิจกรรมเหล่านี้เรียกว่า พระวริททิ และ นิวริททิ กิจกรรมบวกและลบ มีตัวอย่างของกิจกรรมลบมากมาย เช่น คนเป็นโรคต้องระวังในการทานยาเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการป่วยหนัก

พวกที่พัฒนาชีวิตทิพย์และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะมีกิจกรรมเสมอ กิจกรรมเหล่านี้อาจปฏิบัติด้วยร่างกายหรือด้วยจิตใจ ความคิด ความรู้สึก และความยินดีเต็มใจ ทั้งหมดเป็นกิจกรรมของจิต เมื่อเรายินดีเต็มใจจะทำาบางอย่าง จะปรากฏเป็นกิจกรรมโดยการแสดงของประสาทสัมผัส ฉะนั้น กิจกรรมทางจิตเราควรพยายามคิดถึงคริชณะ และพยายามวางแผนที่จะทำาให้พระองค์ทรงพอพระทัย โดยปฏิบัติตามรอยเท้าของ อชรยะ ผู้ยิ่งใหญ่และพระอาจารย์ทิพย์ มีกิจกรรมของร่างกาย กิจกรรมของจิต และกิจกรรมของคำาพูด บุคคลในคริชณะจิตสำานึกใช้คำาพูดในการสรรเสริญพระบารมีขององค์ภควาน เช่นนี้เรียกว่า คีรทะนะ ใช้จิตในการระลึกถึงกิจกรรมของพระองค์ ดังเช่นขณะที่พระองค์ตรัสที่สมรภูมิคุรุคเชทระ หรือแสดงลีลาต่างๆ ที่วรินดาวะนะกับเหล่าสาวก เช่นนี้จะทำาให้เราสามารถระลึกถึงเรื่องราวและลีลาของพระองค์เสมอ นี่คือการพัฒนาจิตในคริชณะจิตสำานึก

เช่นเดียวกัน เราสามารถถวายการรับใช้ด้วยกิจกรรมของร่างกาย แต่กิจกรรมทั้งหมดนี้ต้องสัมพันธ์กับคริชณะ ความสัมพันธ์นี้สถาปนาขึ้นด้วยการเชื่อมตนเองกับพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ซึ่งเป็นผู้แทนโดยตรงของคริชณะในสาย พะรัมพะรดังนั้น การปฏิบัติกิจกรรมของร่างกายในคริชณะจิตสำานึก พระอาจารย์ทิพย์ควรเป็นผู้กำากับ จากนั้น ปฏิบัติไปด้วยความศรัทธา การเชื่อมกับพระอาจารย์ทิพย์เรียกว่า อุปสมบท จากวันที่อุปสมบทโดยพระอาจารย์ทิพย์ได้สถาปนาความเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคริชณะและผู้พัฒนาคริชณะจิตสำานึก ปราศจากการอุปสมบทโดยพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ จะไม่มีความเชื่อมสัมพันธ์ที่แท้จริงกับคริชณะจิตสำานึก

การพัฒนาคริชณะจิตสำานึกนี้ไม่ใช่วัตถุ องค์ภควานทรงมีพลังงานโดยทั่วไปสามประเภทคือ พลังงานเบื้องต่ำา พลังงานเบื้องสูง และพลังงานพรมแดน สิ่งมีชีวิตเรียกว่าพลังงานพรมแดน การปรากฎของจักรวาลวัตถุเป็นผลของพลังงานเบื้องต่ำาหรือพลังงานวัตถุ แล้วยังมีโลกทิพย์ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของพลังงานเบื้องสูง สิ่งมีชีวิตเรียกว่าพลังงานพรมแดน ทำากิจกรรมวัตถุเมื่ออยู่ภายใต้อำานาจของพลังงานเบื้องต่ำา และเมื่อทำากิจกรรมภายใต้อำานาจของพลังงานเบื้องสูงหรือพลังงานทิพย์ กิจกรรมเหล่านี้เรียกว่าคริชณะจิตสำานึก เช่นนี้หมายความว่า พวกดวงวิญญาณที่ยิ่งใหญ่หรือสาวกผู้ยิ่งใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติอยู่ภายใต้พลังงานวัตถุ แต่อยู่ภายใต้การปกป้องของพลังงานทิพย์ กิจกรรมที่ทำาในการอุทิศตนเสียสละรับใช้หรือในคริชณะจิตสำานึกอยู่ภายใต้การควบคุมของพลังงานทิพย์โดยตรง อีกนัยหนึ่ง พลังงานคือพลังชนิดหนึ่งและพลังนี้สามารถเปลี่ยนเป็นทิพย์ได้ด้วยพระเมตตาของพระอาจารย์ทิพย์และคริชณะ

ใน เชธันญะ-ชะริทมริทะ โดย คริชณะดาสะ คะวิราจะ โกสวามี องค์เชธันญะตรัสว่ามันเป็นบุญของคนที่มาสัมผัสกับพระอาจารย์ทิพย์ด้วยพระกรุณาของคริชณะ คริชณะทรงให้ปัญญาผู้มีความจริงจังในชีวิตทิพย์ให้มาสัมผัสกับพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ และด้วยพระกรุณาของพระอาจารย์ทิพย์เขาจึงเจริญก้าวหน้าใน คริชณะจิตสำานึก เช่นนี้ อาณาเขตของคริชณะจิตสำานึกทั้งหมดอยู่ภายใต้พลังงานทิพย์โดยตรง คือคริชณะและพระอาจารย์ทิพย์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับโลกวัตถุ เมื่อเราพูดถึง "คริชณะ" หมายถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าพร้อมทั้งภาคแบ่งแยกมากมายของพระองค์ ละอองภาคที่สมบูรณ์ ละอองภาคต่างๆ และพลังงานต่างๆ ถูกแบ่งภาคออกไป อีกนัยหนึ่ง "คริชณะ" หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างและรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง โดยทั่วไปเราควรเข้าใจ "คริชณะ" หมายความว่าคริชณะและภาคแบ่งแยกจากส่วนที่สมบูรณ์ของพระองค์ คริชณะทรงแบ่งภาคของพระองค์มาเป็น บะละเดวะ สังคารชะณะ วาสุเดวะ อนิรุดดะ พรัดยุมนะ รามะ นริสิมฮะ และ วะราฮะ รวมทั้งอวตารอื่นๆ อีกมากมาย และภาคแบ่งแยกของพระวิชณุที่นับไม่ถ้วน ได้อธิบายไว้ใน ชรีมัด-บกะวะธัม ว่า มีมากมายจนนับไม่ถ้วนเหมือนคลื่นน้ำา ชรี คริชณะ รวมถึงภาคแบ่งแยกทั้งหมดนี้พร้อมทั้งเหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์ ใน บระฮมะ-สัมฮิท กล่าวว่าภาคแบ่งแยกของคริชณะทั้งหมดทรงเปี่ยมด้วยความเป็นอมตะ ปลื้มปีติสุข และรอบรูุ้

การอุทิศตนเสียสละรับใช้หมายถึงการทำากิจกรรมคริชณะจิตสำานึกในเชิงบวกเพื่อให้องค์ภควานคริชณะทรงมีความสุขทิพย์ กิจกรรมในเชิงลบที่ไม่ทำาให้พระองค์ทรงมีความสุขทิพย์ไม่รับว่าเป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ตัวอย่างเช่น มารผู้ยิ่งใหญ่ ราวะณะ คัมสะ ฮิรัณยะคะชิพุ ทั้งหมดคิดถึงคริชณะ แต่คิดว่าพระองค์เป็นศัตรู ความคิดเช่นนี้ยอมรับไม่ได้ว่าเป็น บัคธิ หรือคริชณะจิตสำานึก

พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์บางครั้งเข้าใจการอุทิศตนเสียสละรับใช้ผิดโดยแบ่งแยกคริชณะออกจากส่วนที่เกี่ยวข้องและลีลาของพระองค์ ตัวอย่างเช่น ภควัต-คีตตรัสขึ้นที่สมรภูมิ คุรุคเชทระ พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์กล่าวว่า คริชณะน่าสนใจแต่สมรภูมิ คุรุคเชทระ ไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ดี ะสาวกรู้ว่าเราไม่ยุ่งเกี่ยวอะไรกับสมรภูมิ คุรุคเชทระ แต่ยังรู้อีกด้วยว่า "คริชณะ" ไม่ได้หมายถึงคริชณะเพียงผู้เดียว พระองค์จะอยู่กับเพื่อนๆ และส่วนประกอบอื่นๆ เสมอ ตัวอย่างเช่น หากมีคนบอกว่า "เอาอาหารให้คนที่ถือปืนกิน" คนที่กินอาหารไม่ใช่ปืน ลักษณะเดียวกัน ในคริชณะจิตสำานึก สาวกอาจสนใจส่วนประกอบและสถานที่ เช่น สมรภูมิ คุรุคเชทระ ซึ่งสัมพันธ์กับคริชณะ แต่ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสมรภูมิอื่นๆ เขาสนใจกับคริชณะ คำาพูดของพระองค์ คำาสอนของพระองค์ ฯลฯ เพราะว่าคริชณะทรงอยู่ตรงนั้น สมรภูมิจึงมีความสำาคัญมาก

นี่คือความเข้าใจโดยสรุปว่าคริชณะจิตสำานึกคืออะไร ปราศจากความเข้าใจเช่นนี้แน่นอนว่าเราจะเข้าใจผิดว่าทำาไมสาวกจึงสนใจกับสมรภูมิ คุรุคเชทระ ผู้ที่สนใจในคริชณะ จะสนใจกับลีลาและกิจกรรมต่างๆ ของพระองค์

คำานิยาม สาวกผู้บริสุทธิ์ รูพะ โกสวามี ให้ไว้ใน บัคธิ ระสมริทะ-สินดำุ สรุปได้ดังนี้ การรับใช้ของเขาเป็นไปในเชิงบวกและสัมพันธ์กับคริชณะเสมอ เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของกิจกรรมคริชณะจิตสำานึกนี้ไว้ เขาต้องเป็นอิสระจากความปรารถนาทางวัตถุและการคาดคะเนทางปรัชญาทั้งหมด ความปรารถนาใดๆ นอกจากการรับใช้องค์ภควานเรียกว่าความปรารถนาทางวัตถุ และ "การคาดคะเนทางปรัชญา" หมายถึงการคาดคะเนที่ในที่สุดจะสรุปลงที่ลัทธิศูนย์เปล่า หรือลัทธิไร้รูปลักษณ์ การสรุปเช่นนี้ไร้ประโยชน์สำาหรับบุคคลในคริชณะจิตสำานึก มีน้อยคนมากที่คาคคะเนทางปรัชญาจะสรุปลงด้วยการบูชา วาสุเดวะ หรือ คริชณะ ตรงนี้ ภควัต-คีต ได้ยืนยันไว้ จุดหมายปลายทางของการคาดคะเนต้องเป็น คริชณะ ด้วยความเข้าใจว่าคริชณะคือทุกสิ่งทุกอย่าง แหล่งกำาเนิดของแหล่งกำาเนิดทั้งปวง ดังนั้น เราควรศิโรราบต่อพระองค์ หากจุดมุ่งหมายสูงสุดเป็นเช่นนี้ ความก้าวหน้าทางปรัชญาก็เป็นไปในเชิงบวก แต่หากการคาดคะเนทางปรัชญาสรุปลงที่ลัทธิศูนย์เปล่า หรือลัทธิไร้รูปลักษณ์ เช่นนี้ไม่ใช่ บัคธิ

ครมะ หรือกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุบางครั้งเข้าใจว่าเป็นพิธีกรรม มีผู้คนมากมายชอบพิธีกรรมที่อธิบายไว้ในคัมภีร์พระเวท หากเพียงแต่ชอบพิธีกรรมโดยไม่เข้าใจคริชณะ กิจกรรมเช่นนี้เป็นเชิงลบในคริชณะจิตสำานึก อันที่จริง คริชณะจิตสำานึกมีฐานอยู่ที่การฟัง ภาวนา และจำา ฯลฯ มีเก้าวิธีที่ ชรีมัด บกะวะธัม อธิบายไว้ นอกนั้น ทุกสิ่งที่ทำาไปจะเป็นเชิงลบในคริชณะจิตสำานึก ดังนั้น เราควรระวังเสมอเพื่อไม่ให้ตกลงต่ำา

ชรีละ รูพะ โกสวามี ยังได้กล่าวถึงคำานิยามของ บัคธิ คำาพูด กยนะ-ครมดิ, ครมดิ หรืองานเพื่อผลทางวัตถุนี้ประกอบด้วยกิจกรรมที่ไม่สามารถช่วยเราให้บรรลุถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ การเสียสละหลายรูปแบบก็ไม่เป็นไปในเชิงบวกสำาหรับการอุทิศตนเสีสละรับใช้ในคริชณะจิตสำานึก

ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้อ้างอิงคำานิยามจาก "นระดะ พันชะรทระ" ดังนี้ "เขาควรเป็นอิสระจากชื่อระบุทางวัตถุทั้งปวง และจากคริชณะจิตสำานึกต้องชะล้างมลทินทางวัตถุทั้งหมด ควรเรียกคืนบุคลิกที่บริสุทธิ์กลับคืนมา โดยการนำาประสาทสัมผัสของเขามารับใช้เจ้าของประสาทสัมผัสที่แท้จริง" ฉะนั้น เมื่อประสาทสัมผัสถูกนำามาปฏิบัติรับใช้เจ้าของประสาทสัมผัสที่แท้จริง เช่นนี้เรียกว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ในพันธสภาวะ ประสาทสัมผัสของเรารับใช้ความต้องการของร่างกาย เมื่อประสาทสัมผัสชุดเดียวกันนี้ปฏิบัติตามคำาสั่งของคริชณะ กิจกรรมนี้เรียกว่า บัคธิ

ตราบใดที่เรายังสำาคัญตนเองว่าเป็นของครอบครัวนี้ สังคมนี้ หรือบุคคลนี้ เช่นนี้ ถูกปกคลุมด้วยชื่อระบุ เมื่อรู้อย่างเต็มเปี่ยมว่าเราไม่ได้เป็นของครอบครัวใด สังคมใด หรือประเทศใด แต่มีความสัมพันธ์กับคริชณะนิรันดร เช่นนี้ เขารู้แจ้งว่าพลังงานของเขาควรถูกใช้ไป ไม่ใช่เพื่อครอบครัวใด สังคมใด หรือประเทศใด แต่เพื่อประโยชณ์ของคริชณะ นี่คือความบริสุทธิ์แห่งจุดมุ่งหมายและเป็นระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ในคริชณะจิตสำานึก