นำทิพย์แห่งคำสอน

บทมนต์ที่ หนึ่ง

वाचो वेगं मनसः क्रोधवेगं जिह्वावेगमुदरोपस्थवेगम् ।
एतान्वेगान्यो विषहेत धीरः सर्वामपीमां पृथिवीं स शिष्यात् ॥ १ ॥

วาโช เวกัม มะนะสะฮ โครดะ-เวกัม จีฮวา-เวกัม อุดะโรพัสทะ-เวกัม
เอทาน เวกาน โย วิชะเฮทะ ดีระฮ สารวาม อพีมาม พริทิวีม สะ ชิชยาท

วาชะฮ – ของการพูด, เวกัม – แรงกระตุ้น, มะนะสะฮ – ของจิตใจ, โครดะ – ของความโกรธ, เวกัม – แรงกระตุ้น, จิฮวา – ของลิ้น, เวกัม – แรงกระตุ้น, อุดะระ-อุพัสทะ – ของท้องและอวัยวะสืบพันธุ์, เวกัม – แรงกระตุ้น, เอทาน – เหล่านี้, เวกาน – แรงกระตุ้น, ยะฮ – ผู้ใด, วิชะเฮทะ – สามารถอดทน, ดีระฮ – ผู้สุขุม, สารวาม-ทั้งหมด, อพิ-แน่นอน, อิมาม – นี้, พริทิวีม – โลก, สะฮ – บุคคลนั้น, ชิชยาท – สามารถสร้างสาวก

คำแปล

ผู้สุขุมคัมภีรภาพที่สามารถอดทนต่อแรงกระตุ้นในการพูด ความต้องการของจิตใจ การแสดงออกของความโกรธ และแรงกระตุ้นจากลิ้น ท้อง และอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นผู้มีศักยภาพที่จะมีสาวกได้ทั่วโลกคำาอธิบาย

คำอธิบาย

ใน ชรีมัด-บากะวะธัม (6.1.9-10) พะรีคชิท มะฮาราจะ ทรงถามหลายคำาถามดีๆ ต่อหน้า ชุคะเดวะ โกสวามี หนึ่งในนั้นคือ “ทำาไมผู้คนไปไถ่บาปหากไม่สามารถควบคุมประสาท สัมผัสของตนเองได้?” ตัวอย่างเช่น โจรอาจรู้ดีว่าหากขโมยแล้วจะถูกจับ และอาจเคย เห็นขโมยถูกตำารวจจับจริง ถึงกระนั้นก็ยังขโมย ประสบการณ์โดยทั่วไปได้มาจากการฟัง และการเห็น ผู้ด้อยปัญญารวบรวมประสบการณ์จากการเห็น และผู้มีปัญญาจะรวบรวม ประสบการณ์จากการฟัง เมื่อคนมีปัญญาได้ยินจากหนังสือกฎหมายและพระคัมภีร์(ชาส ทระ) ว่าเป็นขโมยไม่ดี และได้ยินว่าโจรจะถูกลงโทษหากถูกจับ แล้วก็หลีกเลี่ยงการขโมย คนด้อยปัญญาต้องถูกจับและถูกลงโทษก่อนถึงจะเรียนรู้และหยุดขโมย อย่างไรก็ดี คนโง่ สารเลวอาจมีประสบการณ์ทั้งจากการฟัง การเห็น และอาจจะถูกลงโทษมาแล้วด้วย แต่ ถึงกระนั้นก็ยังขโมย แม้หากผู้นี้ไถ่บาปและถูกรัฐลงโทษ ทันทีที่ออกมาจากตะรางเขาก็จะ ไปขโมยอีก หากการถูกลงโทษให้เข้าคุกคิดว่าเป็นการไถ่บาป แล้วจะได้ประโยชน์อันใดใน การไถ่บาปเช่นนี้? ดังนั้น พะรีคชิท มะฮาราจะ ทรงถามว่า

ดริชทะ-ชรุทาบยาม ยัท พาพัม จานันน อพิ อาทมะโน ’ฮิทัม
คะโรทิ บำูโย วิวะชะฮ พรายัชชิททัม อโท คะทัม
ควะชิน นิวารทะเท ’บะดราท ควะชิช ชะระทิ ทัท พุนะฮ
พรายัชชิททัม อโท ’พารทัม มันเย คุนจะระ-โชชะวัท

พระองค์ทรงเปรียบเทียบการไถ่บาปเหมือนกับช้างที่ไปอาบนำา้ ช้างอาจลงไปอาบนำา้ใน แม่นำา้จนเนื้อตัวสะอาด แต่พอมันขึ้นมาก็ไปคลุกโคลนทั่วตัวอีก แล้วการอาบนำา้เช่นนี้จะมี ประโยชน์อันใด? ลักษณะเดียวกัน นักปฏิบัติในวิถีทิพย์มากมายสวดภาวนา ฮะเร คริช ณะ มหามนต์ ขณะเดียวกันก็ไปทำาสิ่งที่ได้ห้ามไว้มากมาย โดยคิดว่าการสวดภาวนาจะ ไปลบล้างความผิด หนึ่งในอาบัติสิบประการขณะสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของ องค์ภควาน คือ นามโน บะลาด ยัสยะ ฮิ พาพะ-บุดดิฮ ทำาบาปจากพลังที่ได้มาด้วย การสวดภาวนา ฮะเร คริชณะ มหามนต์ เช่นเดียวกัน ชาวคริสเตียนบางคนไปโบสถ์เพื่อ สารภาพบาป คิดว่าการสารภาพบาปต่อหน้าบาทหลวงและปฏิบัติความเพียรบางอย่างจะ ปลดเปลื้องตนเองจากผลบาปที่ทำาทั้งสัปดาห์ พอวันเสาร์ผ่านไปวันอาทิตย์ผ่านมา ก็เริ่ม ทำาบาปใหม่ โดยคาดว่าจะได้รับการอภัยโทษในวันเสาร์หน้า พรายัชชิททะ หรือการไถ่บาป เช่นนี้ พะรีคชิท มะฮาราจะ กษัตริย์ผู้ทรงมีความเฉลียวฉลาดที่สุดในยุคนั้นทรงประนามไว้ ชุคะเดวะ โกสวามี ผู้มีสติปัญญาพอๆ กัน ผู้เหมาะที่จะเป็นพระอาจารย์ทิพย์ของ มะฮา ราจะ พะรีคชิท ได้ตอบคำาถามและยืนยันคำาพูดเกี่ยวกับการไถ่บาปของพระองค์ว่าถูกต้อง การไปทำาบุญเพื่อลบล้างบาปนั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น การไถ่บาปที่แท้จริงหรือ พรายัชชิททะ คือการฟื้นฟูคริชณะจิตสำานึกที่มีอยู่ลึกๆ ภายในตัวเรา

การไถ่บาปที่แท้จริงเกี่ยวข้องกับการมีความรู้ที่แท้จริง เช่นนี้ จึงมีวิธีที่มีมาตรฐาน เมื่อบุคคลปฏิบัติตามวิธีอย่างถูกอนามัยตามที่ได้กำาหนดไว้ จะไม่ล้มป่วย มนุษย์หมายไว้ เพื่อได้ฝึกฝนตามหลักธรรมโดยเฉพาะเพื่อฟื้นฟูความรู้เดิมของเรา ชีวิตที่ปฏิบัติตามวิธี การเช่นนี้เรียกว่าทะพัสยะ เราสามารถค่อยๆ พัฒนาจนมาถึงมาตรฐานแห่งความรู้ที่แท้ จริงหรือคริชณะจิตสำานึก จากการถือปฏิบัติสมถะและพรหมจรรย์(บระฮมะชารยะ) จาก การควบคุมจิตใจ ควบคุมประสาทสัมผัส สละทรัพย์สินไปในการให้ทาน ปฏิญาณว่าจะมี สัจจะ รักษาความสะอาดบริสุทธิ์ และปฏิบัติโยกะ-อาสะนะ อย่างไรก็ดี หากโชคดีพอที่ได้ มาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ เราสามารถข้ามพ้นการปฏิบัติเพื่อควบคุมจิตใจด้วยวิธี โยคะที่เร้นลับทั้งหลาย เพียงแต่ปฏิบัติตามหลักธรรมของคริชณะจิตสำานึกที่กำาหนดไว้คือ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่ผิด การรับประทานเนื้อสัตว์ การเสพสิ่งเสพติด และการพนัน และปฏิบัติรับใช้บุคลิกภาพสูงสุด องค์ภควาน ภายใต้การกำากับดูแลของพระอาจารย์ทิพย์ ที่เชื่อถือได้ วิธีที่ง่ายๆ เช่นนี้ ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้แนะนำาไว้

ก่อนอื่นเราต้องควบคุมพลังในการพูด ทุกคนมีพลังในการพูด พอมีโอกาสเรา จะเริ่มพูด หากไม่พูดเกี่ยวกับคริชณะจิตสำานึกเราก็จะพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ไร้สาระมากมาย คางคกในทุ่งนาก็พูดด้วยการส่งเสียงร้อง ลักษณะเดียวกัน ทุกชีวิตที่มีลิ้นต้องการพูดแม้สิ่ง ที่พูดทั้งหมดจะไร้สาระ อย่างไรก็ดี การส่งเสียงร้องของคางคกได้แต่แต่เชิญเจ้างูว่า “โปรด มาที่นี่ มากินข้า” แม้กำาลังเผชิญอยู่กับพญามัจจุราช เจ้าคางคกก็ยังส่งเสียงร้องต่อไป การ พูดของนักวัตถุนิยมและนักปราชญ์มายาวาดีที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์เปรียบเสมือนการส่ง เสียงร้องของพวกคางคก คือพูดในสิ่งที่ไร้สาระอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงเป็นการเชื้อเชิญ พญามัจจุราชให้มาจับพวกตน อย่างไรก็ดี การควบคุมการพูดไม่ได้หมายความว่าบังคับ ตนเองให้นิ่งเงียบ (กรรมวิธีภายนอกของ โมนะ) ดังเช่นพวกนักปราชญ์มายาวาดีคิด การ อยู่นิ่งเงียบอาจดูเหมือนว่าช่วยได้ระยะหนึ่ง แต่ในที่สุดจะพิสูจน์ว่าไม่ได้ผล ความหมายของ การควบคุมการพูดดังที่ ชรีละ รูพะ โกสวามี ถ่ายทอดมาคือสนับสนุนให้ใช้วิธีในเชิงบวก จาก คริชณะ-คะทา คือพูดสรรเสริญองค์ภควาน ชรี คริชณะ เช่นนี้ลิ้นจะถูกใช้ไปในการ สรรเสริญพระนาม รูปลักษณ์ คุณสมบัติ และลีลาทิพย์ของพระองค์ ครูผู้สอน คริชณะ- คะทา จะอยู่เหนืออำานาจแห่งความตายเสมอ นี่คือความสำาคัญในการควบคุมแรงกระตุ้น ในการพูด

ความไม่สงบหรือจิตใจที่ลังเล (มะโน-เวกะ) ควบคุมได้เมื่อเราสามารถตั้งมั่นจิตอยู่ ที่พระบาทรูปดอกบัวของคริชณะ เชธันญะ-ชะริทามริทะ (มัดฮยะ 22.31) กล่าวว่า

คริชณะ – สูยะ-สะมะ; มายา ฮะยะ อันดะคาระ
ยาฮาง คริชณะ, ทาฮาง นาฮิ มายาระ อดิคาระ

คริชณะเปรียบเสมือนกับดวงอาทิตย์ มายาเหมือนกับความมืด เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏ จะไม่มีความมืด ลักษณะเดียวกัน เมื่อคริชณะทรงปรากฏภายในใจ จิตใจก็จะไม่หวั่นไหว หรือถูกรบกวนด้วยอิทธิพลของมายา วิธีโยคะที่ปฏิเสธความนึกคิดทางวัตถุทั้งหมดช่วยไม่ ได้ ความพยายามในการสร้างสูญญากาศหรือความว่างเปล่าภายในจิตใจนั้นผิดธรรมชาติ ความว่างเปล่าจะไม่คงอยู่ อย่างไรก็ดี หากระลึกถึงคริชณะอยู่เสมอ และคิดว่าจะรับใช้ พระองค์ให้ดีที่สุดได้อย่างไร เช่นนี้ จะควบคุมจิตใจได้โดยธรรมชาติ

เช่นเดียวกัน ความโกรธสามารถควบคุมได้ เป็นไปไม่ได้ที่เราจะระงับความโกรธ ไว้ได้ทั้งหมด แต่หากว่าเราโกรธผู้ที่ดูหมิ่นเหยียดหยามองค์ภควานหรือสาวก เท่ากับเรา สามารถควบคุมความโกรธอยู่ในคริชณะจิตสำานึกได้ เชธันญะ มะฮาพระบุำ ทรงโกรธกับ สองพี่น้องสารเลว จะกาย และ มาดาย ซึ่งดูถูกและทำาร้าย นิทยานันดะ พระบุำ ใน ชิคชาช ทะคะ องค์ เชธันญะ ทรงเขียนว่า ทริณาด อพิ สุนีเชนะ ทะโรร อพิ สะฮิชณุนา “เราควร ถ่อมตนยิ่งกว่าใบหญ้าและควรอดทนยิ่งกว่าต้นไม้” อาจมีคำาถามว่าแล้วทำาไมพระองค์ทรง แสดงความโกรธ เหตุผลคือ เราควรพร้อมที่จะอดทนต่อการดูถูกหมิ่นประมาทต่อตัวเรา เองได้ทั้งหมด แต่เมื่อคริชณะหรือสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ถูกสบประมาท สาวกที่แท้ จริงจะโกรธและปฏิบัติราวกับพระเพลิงต่อผู้กระทำาผิด โครดะ หรือความโกรธหยุดไม่ได้ แต่สามารถนำามาใช้อย่างถูกต้องได้ ความโกรธมีอยู่ในหนุมานจึงได้จุดไฟเผาลังคา แต่ท่าน ได้รับการบูชาในฐานะที่เป็นสาวกยอดเยี่ยมที่สุดของพระราม เช่นนี้หมายความว่าหนุมาน ได้ใช้ความโกรธไปในทางที่ถูก อารจุนะเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ท่านไม่ปรารถนาจะต่อสู้ แต่ คริชณะทรงกระตุ้นความโกรธในอารจุนะว่า “เธอต้องสู้ !” การต่อสู้โดยปราศจากความ โกรธเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ดี ความโกรธควบคุมได้เมื่อนำามาใช้ในการรับใช้ องค์ภควาน บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า

เกี่ยวกับแรงกระตุ้นของลิ้น เราทั้งหมดมีประสบการณ์ว่าลิ้นปรารถนาจะรับ ประทานอาหารเอร็ดอร่อย โดยทั่วไปเราไม่ควรปล่อยให้ลิ้นรับประทานตามความต้องการ ของมัน แต่ควรควบคุมลิ้นด้วยการส่ง พระสาดัม ไปให้ ท่าทีของสาวกคือจะรับประทาน เฉพาะ พระสาดัม ที่คริชณะทรงประทานให้ นี่คือวิธีการควบคุมแรงกระตุ้นของลิ้น เรา ควรรับประทาน พระสาดัม เป็นเวลา ไม่ควรรับประทานที่ภัตตาคารหรือตามร้านอาหาร เพียงเพื่อให้ลิ้นหรือท้องพึงพอใจ หากยึดมั่นอยู่ในการับประทานเฉพาะ พระสาดัม เท่านั้น เราก็จะสามารถควบคุมแรงกระตุ้นของท้องและลิ้นได้

ลักษณะเดียวกัน แรงกระตุ้นของอวัยวะสืบพันธุ์หรือความต้องการทางเพศ สามารถควบคุมได้หากไม่ใช้โดยไม่จำาเป็น อวัยวะสืบพันธุ์ควรใช้ไปเพื่อให้กำาเนิดบุตรธิดาที่ มีคริชณะจิตสำานึก มิฉะนั้น อวัยวะสืบพันธุ์ไม่ควรถูกนำาไปใช้ ขบวนการคริชณะจิตสำานึก ส่งเสริมการสมรสมิใช่เพื่อทำาให้อวัยวะสืบพันธุ์พึงพอใจ แต่เพื่อให้กำาเนิดเด็กๆ ในคริชณะ จิตสำานึก พอเด็กโตขึ้นควรส่งไปโรงเรียน กุรุคุละ ที่ดัลลัส เท็กซัส สถานที่ที่เด็กๆ จะได้ รับการฝึกฝนให้มาเป็นผู้อุทิศตนเสียสละรับใช้ในคริชณะจิตสำานึกอย่างสมบูรณ์ มีความ จำาเป็นที่จะมีเด็กๆ ในคริชณะจิตสำานึกเช่นนี้มากมาย ผู้ที่สามารถให้กำาเนิดลูกหลานใน คริชณะจิตสำานึก ได้รับอนุญาตให้ใช้อวัยวะสืบพันธุ์ได้

เมื่อบุคคลสามารถปฏิบัติวิธีการควบคุมในคริชณะจิตสำานึกได้อย่างสมบูรณ์ เป็นผู้ มีคุณสมบัติที่จะเป็นพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้

ในการอธิบาย อนุวริททิ ของ อุพะเดชอามริทะ ชรีละ บัคธิสิดดานทะ สะรัสวะที ทา คุระ เขียนว่าการสำาคัญตนเองทางวัตถุของเราได้สร้างแรงกระตุ้นสามชนิดคือ แรงกระตุ้น ในการพูด แรงกระตุ้นหรือความอยากของจิตใจ และความต้องการของร่างกาย เมื่อสิ่ง มีชีวิตมาเป็นทาสของแรงกระตุ้นทั้งสามชนิดนี้ ชีวิตไม่เป็นสิริมงคล ผู้ที่ปฏิบัติการควบคุม ความต้องการหรือแรงกระตุ้นเหล่านี้เรียกว่า ทะพัสวี หรือผู้ปฏิบัติสมถะความเพียร จาก ทะพัสยะ นี้เขาสามารถข้ามพ้นการตกมาเป็นเหยื่อของพลังงานวัตถุ ซึ่งเป็นพลังงานเบื้อง ตำา่ขององค์ภควาน

เมื่อกล่าวถึงแรงกระตุ้นในการพูด หมายถึงการพูดที่ไร้สาระ ดังเช่นพวกนักปราชญ์ มายาวาดีที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์หรือพวกปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ (ตามภาษาเทคนิค เรียกว่าคารมะ-คาณดะ) หรือของพวกนักวัตถุนิยมที่เพียงต้องการหาความสุขกับชีวิต อย่างไร้ขอบเขต การพูดเช่นนี้หรือวรรณกรรมเหล่านี้ทั้งหมดเป็นการแสดงถึงแรงกระตุ้น ในการพูดภาคปฏิบัติ ผู้คนมากมายพูดจาไร้สาระและเขียนหนังสือที่ไร้ประโยชน์ ทั้งหมดนี้ เป็นผลจากแรงกระตุ้นในการพูด เพื่อตอบโต้กับแนวโน้มเช่นนี้ เราต้องเปลี่ยนการพูดมาที่ เรื่องราวของคริชณะ เช่นนี้ ได้อธิบายไว้ใน ชรีมัด-บากะวะธัม (1.5.10-11)

นะ ยัด วะชัช ชิทระ-พะดัม ฮะเรร ยะโช จะกัท-พะวิทรัม พระกริณีทะ คารฮิชิท
ทัด วายะสัม ทีรทัม อุชันทิ มานะสา นะ ยะทระ ฮัมสา นิระมันทิ อุชิคคชะยาฮ

“คำาพูดที่ไม่อธิบายถึงพระบารมีขององค์ภควาน ซึ่งเป็นผู้เดียวที่ทรงสามารถทำาให้ บรรยากาศของจักรวาลทั้งหมดนี้บริสุทธิ์ขึ้น เหล่านักบุญพิจารณาว่าการพูดเช่นนี้เหมือน กับอยู่ในสถานที่ทำาพิธีของพวกอีกา เนื่องจากบุคคลผู้สมบูรณ์พำานักอาศัยอยู่ที่พระ ตำาหนักทิพย์จึงไม่ได้รับความรื่นรมย์ใดๆ กับสถานที่เช่นนี้ ”

ทัด-วาก-วิสารโก จะนะทากะ-วิพละโว ยัสมิน พระทิ-ชโลคัม อบัดดะวะทิ อพิ
นามานิ อนันทัสยะ ยะโช ’นคิทานิ ยัท ชริณวันทิ กายันทิ กริณันทิ สาดะวะฮ

“อีกด้านหนึ่ง วรรณกรรมที่อธิบายถึงพระบารมีทิพย์แห่งพระนาม ชื่อเสียง รูปลักษณ์ ลีลา ฯลฯ อย่างสมบูรณ์ขององค์ภควานผู้ไร้ขอบเขต เป็นการสร้างสรรที่แตกต่างออกไป ซึ่ง เต็มไปด้วยคำาพูดที่จะนำาเราให้ปฏิรูปจากชีวิตบาปแห่งความเจริญทางโลกที่กำาลังนำาเราไป ในทางที่ผิด วรรณกรรมทิพย์เหล่านี้แม้จะเรียบเรียงไม่สมบูรณ์ทีเดียว แต่บุคคลผู้บริสุทธิ์ ซื่อสัตย์ สุจริตโดยบริบูรณ์จะรับฟัง ขับร้อง และยอมรับ ”

ข้อสรุปคือเมื่อเรามาพูดเกี่ยวกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานเท่านั้น ที่ สามารถทำาให้เราหักห้ามใจจากการพูดในสิ่งที่เหลวไหลไร้สาระ เราควรพยายามใช้พลังใน การพูดเพื่อจุดมุ่งหมายในการรู้แจ้งคริชณะจิตสำานึกอยู่เสมอ

สำาหรับการรบกวนของจิตใจที่ลังเล แบ่งเป็นสองประเภท ประเภทแรกเรียกว่า อวิโรดะ-พรีทิ หรือการยึดติดอย่างไร้ขอบเขต และอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า วิโรดะ-ยุคทะ- โครดะ ความโกรธเกิดขึ้นจากความไม่สมหวัง พวกปฏิบัติตามปรัชญาของมายาวาดีเชื่อ ในผลทางวัตถุของ คารมะ-วาดี และเชื่อในการวางแผนที่มีฐานอยู่บนความปรารถนาทาง วัตถุเรียกว่า อวิโรดะ-พรีทิ, กยานี คารมี และนักวางแผนทางวัตถุ โดยทั่วไปจะดึงดูด ความสนใจของพันธวิญญาณ แต่เมื่อนักวัตถุนิยมไม่สามารถสนองตอบแผนของตนได้ และเมื่อกลอุบายของพวกตนล้มเหลวจะกลายมาเป็นความโกรธ ความผิดหวังจากความ ปรารถนาทางวัตถุจะผลิตความโกรธ

ลักษณะเดียวกัน ความต้องการของร่างกายแบ่งออกเป็นสามคือ ความต้องการ ของลิ้น ท้อง และอวัยวะสืบพันธุ์ เราอาจสังเกตเห็นว่าประสาทสัมผัสทั้งสามของสรีระนี้ ตั้งเป็นเส้นตรง สำาหรับร่างกายและความต้องการของร่างกายเริ่มจากลิ้น หากเราสามารถ หักห้ามความต้องการของลิ้นด้วยการจำากัดกิจกรรมคือรับประทานเฉพาะ พระสาดัม แรง กระตุ้นของท้องและอวัยวะสืบพันธุ์ก็จะสามารถควบคุมได้โดยปริยาย สัมพันธ์กับประเด็น นี้ ชรีละ บัคธิวิโนดะ ทาคุระ กล่าวว่า

ชะรีระ อวิดยา-จาละ, จะเดนดริยะ ทาเฮ คาละ
จีเว เพเล วิชะยะ-สากะเร
ทา ’ระ มัดฮเย จิฮวา อทิ, โลบะมะยะ สุดุรมะทิ
ทา ’เค เจทา คะทินะ สัมสาเร
คริชณะ บะดะ ดะยามะยะ คะริบาเร จิฮวา จะยะ
สวะ-พระสาดะ-อันนะ ดิละ ไบ
เส อันนามริทะ คาว, ราดา-คริชณะ-กุณะ กาว
เพรเม ดาคะ เชธันญะ-นิทาย

“โอ้ องค์ภควาน! ร่างวัตถุนี้คือกองอวิชชา และประสาทสัมผัสเป็นเครือข่ายแห่งหนทาง ที่นำาไปสู่ความตาย อย่างไรก็ดี เราได้ตกลงมาอยู่ในมหาสมุทรแห่งความรื่นรมย์ทาง ประสาทสัมผัสวัตถุ ในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด ลิ้นเป็นตัวร้ายกาจที่สุด และควบคุม ไม่ได้ เป็นเรื่องยากมากในโลกนี้ที่จะควบคุมลิ้น โอ้ คริชณะที่รัก แต่พระองค์ทรงมีพระ เมตตาต่อพวกเรามากที่ทรงส่งพระสาดัม อันเอร็ดอร่อยเพื่อช่วยให้เราเอาชนะลิ้น ฉะนั้น ให้พวกเรารับประทาน พระสาดัม จนเป็นที่พึงพอใจและสรรเสริญองค์ ชรี ชรี ราดา และ คริชณะ และร้องเรียกองค์เชธันญะ และ พระบุำ นิทยานันดะ ด้วยความรักให้ทรงช่วย ”

มีระสะ หรือรสชาติอยู่หกประเภท หากว่าหงุดหงิดกับหนึ่งในหกประเภทนี้ เราก็จะ ถูกแรงกระตุ้นของลิ้นมาควบคุม บางคนชอบรับประทานเนื้อสัตว์ ปลา ปู ไข่ และอย่างอื่น ที่ผลิตมาจากนำา้อสุจิและเลือด แล้วนำามารับประทานในรูปของร่างที่ตายแล้วหรือซากศพ บางคนชอบรับประทานพวกผัก ไม้เลื้อย ผักขม หรือผลิตภัณฑ์นม แต่ทั้งหมดก็เพื่อสนอง ตอบให้ลิ้นได้รับความพอใจ การรับประทานเพื่อสนองประสาทสัมผัสเหล่านี้ รวมทั้งการใช้ เครื่องเทศในปริมาณมาก เช่น พริกและมะขาม ผู้ปฏิบัติคริชณะจิตสำานึกจะยกเลิกการใช้ กะทะ ฮะริทะคี หมากพลู เครื่องเทศต่างๆ ที่ใช้กับกะทะเพืื่อปรุงยาสูบ LSD กัญชา ยาฝิ่น สุรา กาแฟ และนำา้ชา ซึ่งเป็นการสนองตอบกับความต้องการที่ผิด หากเราสามารถปฏิบัติ ด้วยการรับเอาเฉพาะอาหารส่วนเหลือที่ได้ถวายให้คริชณะแล้ว จึงจะเป็นอิสระในการมา เป็นเหยื่อของมายา ผักต่างๆ ธัญพืช ผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม และนำา้เป็นอาหารที่เหมาะสม สำาหรับถวายให้องค์ภควาน ดังที่คริชณะทรงอธิบายไว้ อย่างไรก็ดี หากรับประทาน พระ สาดัม เนื่องจากมีรสชาติเอร็ดอร่อยและทำาให้รับประทานมากเกินไป เราก็ตกเป็นเหยื่อใน ความพยายามที่จะสนองความต้องการของลิ้น ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำ ทรงสอนให้เรา หลีกเลี่ยงอาหารที่เอร็ดอร่อยมากแม้ขณะรับประทานพระสาดัม หากเราถวายอาหารที่ เอร็ดอร่อยให้แด่พระปฏิมาด้วยความตั้งใจที่อยากรับประทานอาหารเอร็ดอร่อยด้วย เช่น นี้เท่ากับพยายามสนองความต้องการลิ้นของเรา หากได้รับคำาเชิญให้ไปที่บ้านคนรวยด้วย แนวคิดที่จะรับประทานอาหารเอร็ดอร่อย เท่ากับเราพยายามสนองความต้องการของลิ้น เช่นเดียวกัน ใน เชธัญะ-ชะริทามริทะ (อันทยะ 6.227) กล่าวไว้ว่า

จิฮวาระ ลาละเส เย อิทิ-อุทิ ดายะ
ชิชโนดะระ-พะรายะณะ คริชณะ นาฮิ พายะ

“คนที่วิ่งไปโน่นวิ่งมานี่เพื่อแสวงการสนองลิ้นของตนเอง และยึดติดอยู่กับความอยากของ ท้องและอวัยวะสืบพันธุ์จะไม่สามารถบรรลุถึงคริชณะได้ ”

ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า ลิ้น ท้อง และอวัยวะสืบพันธุ์ ตั้งเป็นเส้นตรง และทั้งหมดจัดอยู่ ในประเภทเดียวกัน เชธันญะตรัสว่า บาละ นา ไคเบ อาระ บาละ นา พะริเบ “จงอย่าแต่ง ตัวโอ่อ่าหรูหรา และจงอย่ารับประทานอาหารที่เอร็ดอร่อย ” (ชช. อันทยะ 6.236)

พวกที่ได้รับความทุกข์จากโรคเกี่ยวกับท้องจะต้องเป็นผู้ที่ไม่สามารถควบคุมแรง กระตุ้นของท้อง อย่างน้อยที่สุดก็ตามผลจากการวิจัยนี้ เมื่อปรารถนาจะรับประทานมาก เกินความจำาเป็น เราได้สร้างความไม่สะดวกสบายให้กับชีวิตอย่างมากมายโดยปริยาย อย่างไรก็ดี หากเราถือปฏิบัติวันอดอาหารเช่น เอคาดะชี และ จันมาชทะมีเราสามารถหัก ห้ามความอยากของท้องได้

สำาหรับแรงกระตุ้นของอวัยวะสืบพันธุ์มีอยู่สองชนิด เหมาะสมและไม่เหมาะสม หรือเพศสัมพันธ์ที่ถูกและเพศสัมพันธ์ที่ผิด เมื่อผู้ชายมีวุฒิภาวะเพียงพอ เขาสมรสได้ตาม หลักเกณฑ์ของ ชาสทระ หรือพระคัมภีร์ และใช้อวัยวะสืบพันธุ์เพื่อให้ได้บุตรธิดาที่ดี เช่นนี้ เป็นการถูกต้องและทำาตามหลักศาสนา มิฉะนั้น เขาอาจใช้วิธีที่ผิดธรรมชาติมากมายเพื่อ สนองความต้องการของอวัยวะสืบพันธุ์ และอาจไม่ใช้วิธีหักห้ามตนเอง เมื่อบุคคลตามใจ ไปในชีวิตเพศสัมพันธุ์ที่ผิด ดังที่ได้กำาหนดไว้โดย ชาสทระ ไม่ว่าด้วยความคิด การวางแผน การพูด หรือมีเพศสัมพันธ์จริง หรือทำาให้อวัยวะสืบพันธ์พึงพอใจด้วยวิธีที่ผิดธรรมชาติ เขา ถูกจับให้อยู่ในเงื้อมมือของมายา คำาสอนเหล่านี้ไม่ใช่เฉพาะสำาหรับคฤหัสถ์ แต่เป็นคำาสอน ของ ทยากี หรือพวกที่อยู่ในชีวิตสละโลกด้วย ในหนังสือ เพรมะ-วิวารทะ บทที่เจ็ด ชรีละ จะกะดานันดะ พัณดิทะ กล่าวว่า

ไวรากี บาย กรามยะ-คะทา นา ชุนิเบ คาเน
กรามยะ-วารทา นา คะฮิเบ ยะเบ มิลิเบ อาเน
สวะพะเน โอ นา คะระ บาย สทรี-สัมบาชะณะ
กริเฮ สทรี ชาดิยา บาย อาสิยาชะ วะนะ
ยะดิ ชาฮะ พระณะยะ ราคิเท โกรางเกระ สะเน
โชทะ ฮะริดาเสระ คะทา ทาเค เยนะ มะเน
บาละ นา คายเบ อาระ บาละ นา พะริเบ
ฮริดะเยเท ราดา-คริชณะ สารวะดา เสวิเบ

“พี่น้องที่รัก ท่านอยู่ในชีวิตสละโลก จึงไม่ควรฟังการพูดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ทางโลกโดยทั่วไป และไม่ควรพูดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ทางโลกเมื่อไปพบกับผู้อื่น อย่าคิดถึงผู้หญิงแม้ในความฝัน ท่านได้รับเอาชีวิตสละโลกมาปฏิบัติด้วยคำาปฏิญาณที่ห้ามไม่ให้อยู่ใกล้กับผู้หญิง หากท่าน ปรารถนาจะอยู่ใกล้ชิดกับ เชธันญะ มะฮาพระบำุ ท่านต้องจำาเหตุการณ์ของ โชทะ ฮะริดา สะ เสมอ ว่าทำาไมองค์ภควานทรงปฏิเสธเขา อย่ารับประทานอาหารที่เอร็ดอร่อยหรือแต่ง ตัวด้วยเสื้อผ้าอย่างดีเลิศ แต่อ่อนน้อมถ่อมตนและรับใช้ ชรี ชรี ราดา-คริชณะ อยู่ในส่วน ลึกของหัวใจเสมอ”

ข้อสรุปคือผู้ที่สามารถควบคุมประสาทสัมผัสทั้งหกนี้ คือ คำาพูด จิตใจ ความโกรธ ลิ้น ท้อง และอวัยวะสืบพันธุ์ ถูกเรียกว่า สวามี หรือ โกสวามี สวามีหมายถึงเจ้านาย และ โกสวามีหมายถึงเจ้านายของโก, โก คือประสาทสัมผัส เมื่อรับเอาชีวิตสละโลกมาปฏิบัติจะ ได้รับฉายาสวามี โดยปริยาย เช่นนี้ไม่ได้หมายความว่ามาเป็นเจ้านายของครอบครัว ชุมชน หรือสังคม แต่ต้องเป็นเจ้านายของประสาทสัมผัสของตนเอง นอกจากสามารถเป็นเจ้า นายของประสาทสัมผัส มิฉะนั้น ไม่ควรถูกเรียกว่าเป็น โกสวามี แต่เป็น โก-ดาสะ หรือผู้รับ ใช้ประสาทสัมผัส ปฏิบัติตามรอยเท้าของ โกสวามี แห่งวรินดาวะนะทั้งหกท่าน สวามี และ โกสวามี ทั้งหมดควรปฏิบัติรับใช้องค์ภควานด้วยความรักทิพย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับ โก-ดาสะ ที่ปฏิบัติรับใช้ประสาทสัมผัสหรือรับใช้โลกวัตถุโดยไม่มีกิจกรรมอื่น พระฮลาดะ มะฮาราจะ ได้อธิบายถึง โก-ดาสะ ว่าเป็น อดานทะ-โก ซึ่งหมายถึงผู้ที่ควบคุมประสาทสัมผัสตนเอง ไม่ได้ อดานทะ-โก ไม่สามารถมาเป็นผู้รับใช้ของคริชณะได้ ใน ชรีมัด-บากะวะธัม (7.5.30) พระฮลาดะ มะฮาราจะ กล่าวว่า

มะทิร นะ คริชเณ พะระทะฮ สวะโท วา
มิโท ’บิพัดเยทะ กริฮะวระทานาม
อดานทะ-โกบิร วิชะทาม ทะมิสรัม
พุนะฮ พุนัช ชารวิทะ-ชารวะณานาม

“สำาหรับผู้ตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตต่อไปในโลกวัตถุนี้เพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง ไม่มี โอกาสที่จะมีคริชณะจิตสำานึกได้ มิใช่จากความพยายามของตน จากคำาสอนของผู้อื่น หรือ จากทั้งสองนี้รวมกัน แต่ถูกประสาทสัมผัสที่ควบคุมไม่ได้ของตนลากลงไปยังอาณาเขตที่ มืดมิดที่สุดแห่งอวิชชา ฉะนั้น จึงทำาตัวบ้าคลั่งในสิ่งที่เรียกว่า เคี้ยวแต่กากเดน”