นำทิพย์แห่งคำสอน

บทมนต์ที่ สิบ

कर्मिभ्यः परितो हरेः प्रियतया व्यक्तिं ययुर्ज्ञानिनस्तेभ्यो ज्ञानविमुक्तभक्तिपरमाः प्रेमैकनिष्ठास्ततः ।
तेभ्यस्ताः पशुपालपङ्कजदृशस्ताभ्योऽपि सा राधिका प्रेष्ठा तद्वदियं तदीयसरसी तां नाश्रयेत्कः कृती ॥ १० ॥

คารมิบยะฮ พะริโท ฮะเรฮ พริยะทะยา วยัคทิม ยะยุร กยานินัส
เทบฮโย กยานะ-วิมุคทะ-บัคธิ-พะระมาฮ เพรไมคะ-นิชทาส ทะทะฮ
เทพฮยัส ทาฮ พะชุ-พาละ-พังคะจะ-ดริชัส ทาบโย ่พิ สา ราดิคา
เพรชทา ทัดวัด อิยัม ทะดียะ-สะระสี ทาม นาชระเยท คะฮ คริทิ

คารมิบยะฮ – กว่าผู้ทำางานเพื่อหวังผลทั้งหลาย, พะริทะฮ – ด้วยประการทั้งปวง, ฮะเรฮ – โดยองค์ภควาน, พริยะทะยา – เพราะได้รับการชื่นชอบ, วยัคทิม ยะยุฮ – ได้กล่าวไว้ใน ชาสทระ, กยานินะฮ – พวกที่ก้าวหน้าในความรู้, เทบยะฮ-สูงกว่าพวกเขา, กยานะ-วิมุคทะ – หลุดพ้นโดยความรู้, บัคธิ-พะระมาฮ – พวกที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้, เพรมะ-เอคะ-นิชทาฮ – พวกที่บรรลุถึงความรักอันบริสุทธิ์ต่อองค์ภควาน, ทะทะฮ – สูงกว่าพวกเขา, เทบยะฮ – ดีกว่าพวกเขา, ทาฮ-พวกเขา, พะชุ-พาละ-พังคะจะ-ดริชะฮ – พวกโกปี ที่ขึ้นอยู่กับคริชณะเด็กเลี้ยงโคตลอดเวลา, ทาบยะฮ – เหนือกว่าทั้งหมดนี้, อพิ – แน่นอน, สา – พระนาง, ราดิคา – ชรีมะธี ราดิคา, เพรชทา – เป็นที่รักยิ่ง, ทัดวัท – เช่นเดียวกัน, อิยัม – นี้, ทะดียะ-สะระสี – ทะเลสาบของพระนาง ชรี ราดา-คุณดะ, ทาม – ราดา-คุณดะ, นะ – ไม่, อาชระเยท – มาพึ่ง, คะฮ – ผู้ซึ่ง, คริที – โชคดีที่สุด

คำแปล

ในพระคัมภีร์ (ช�สทระ) กล่าวไว้ว่า ในบรรดาพวกที่ทำางานเพื่อหวังผลทั้งหลาย องค์ภควานฮะริทรงชื่นชอบพวกที่ก้าวหน้าในความรู้แห่งคุณค่าชีวิตที่สูงกว่า จากพวกที่ก้าวหน้าในความรู้มากมาย (กย�นี) ผู้ที่หลุดพ้นจริงด้วยคุณค่าแห่งความรู้อาจรับเอาการอุทิศตนเสียสละรับใช้มาปฏิบัติ บุคคลนี้สูงกว่าผู้อื่น อย่างไรก็ดี ผู้ที่บรรลุถึง เพรมะ ความรักที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริงต่อคริชณะยังสูงกว่าเขา พวก โกปี มีสถานภาพที่สูงส่งเหนือพวกสาวกที่เจริญก้าวหน้าแล้วทั้งหมด เพราะ โกปี ขึ้นอยู่กับเด็กเลี้ยงโคผู้เป็นทิพย์ ชรี คริชณะ ตลอดเวลาโดยสมบูรณ์ ในบรรดาพวก โกปี ชรีมะธี ราดาราณี เป็นที่รักยิ่งสูงสุดของคริชณะ คุณดะ ทะเลสาบของนางก็เป็นที่รักยิ่งของคริชณะพอๆ กับตัวราดาราณี แล้วใครจะไม่มาพำานักอาศัยอยู่ที่ ราดา-คุณดะ จากร่างทิพย์ เขาจะถูกกระตุ้นด้วยความรู้สึกปลื้มปีติสุขแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ (อพร� คริทะ-บ�วะ) และถวายการรับใช้ด้วยใจรักต่อคู่ทิพย์ ชรี ราดา-โกวินดะ ผู้แสดง อัชทะค�ลียะ-ลีล� กัน ซึ่งเป็นลีลาประจำาวันนิรันดรแปดประการ อันที่จริงพวกที่ปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่ริมฝั่ง ราดา-คุณดะ เป็นบุคคลที่โชคดีที่สุดในจักรวาลคำาอธิบาย

คำอธิบาย

ปัจจุบันเกือบทุกคนทำากิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุบางอย่าง พวกที่ปรารถนา ได้รับผลกำาไรทางวัตถุด้วยการทำางานเรียกว่า คารมี หรือผู้ทำางานเพื่อผลทางวัตถุ มวลชีวิตภายในโลกวัตถุมาอยู่ภายใต้มนต์สะกดของ มายา เช่นนี้ ได้กล่าวไว้ใน วิชณุ พุราณะ (6.7.61)

วิชณุ-ชัคทิฮ พะรา โพรคทา คเชทระกยาคยา ทะทา พะรา

อวิดยา-คารมะ-สัมกยานยา ทริทียา ชัคทิร อิชยะเท นักปราชญ์ได้แบ่งพลังงานขององค์ภควานเป็นสามปราะเภท คือ พลังงานทิพย์ พลังงานพรหมแดน และพลังงานวัตถุ พลังงานวัตถุพิจารณาว่าเป็นพลังงานชั้นสาม (ทริทียะ ชัคทิฮ) สิ่งมีชีวิตภายในอาณาจักรของพลังงานวัตถุบางครั้งทำาตัวเหมือนกับ สุนัขและสุกรด้วยการทำางานหนักเพื่อสนองประสาทสัมผัส อย่างไรก็ดี ในชาตินี้หรือ หลังจากทำาความดีมามากมาย ชาติหน้า คารมี บางคนจะชอบมาปฎิบัติพิธีกรรม ต่างๆ มากมายดังที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวท จากพลังแห่งคุณงามความดีนี้พวก เขาได้พัฒนาไปถึงโลกสวรรค์ อันที่จริงพวกที่ทำาพิธีบูชาอย่างเคร่งครัดตามคัมภีร์ พระเวทจะพัฒนาไปถึงดวงจันทร์และดาวเคราะห์ที่สูงกว่าดวงจันทร์ ดังที่ได้กล่าวไว้ ใน ภควัต-คีตา (9.21) ว่า คชีเน พุณเย มารทยะ-โลคัม วิชันทิ, หลังจากที่กินบุญ เก่าหมดสิ้นเรียบร้อยแล้วพวกเขาจะกลับมายังโลกนี้อีกครั้งเรียกว่า มารทยะ-โลคะ สถานที่แห่งความตาย ถึงแม้บุคคลเหล่านี้อาจพัฒนาไปถึงโลกสวรรค์ด้วยบุญบารมี ที่สะสมมา และอาจเสวยสุขเป็นเวลาหลายๆ พันปี อย่างไรก็ดี พวกเขาต้องกลับ มายังโลกนี้อีกเมื่อบุญบารมีที่ได้สะสมไว้หมดลง

นี่คือสถานภาพของพวก คารมี ทั้งหลาย รวมถึงคนที่ทำาดีและทำาชั่วทั้งหมด บนโลกใบนี้ เราพบว่ามีนักธุรกิจ นักการเมือง และบุคคลอื่นๆ อีกมากมายที่สนใจ เฉพาะความสุขทางวัตถุ พวกเขาพยายามหาเงินด้วยทุกวิธี โดยไม่คิดว่ามันจะถูก หรือผิด คนพวกนี้เรียกว่าคารมี หรืนักวัตถุนิยมที่หยาบ ในหมู่พวกคารมี มีบาง คนเป็น วิคารมี ผู้ที่ปฏิบัติตนโดยปราศจากคัมภีร์พระเวทนำาทาง พวกที่ปฏิบัติบน ฐานของความรู้พระเวททำาพิธีบูชาเพื่อให้พระวิชณุทรงพอพระทัยและได้รับพรจาก พระองค์ เช่นนี้จึงได้พัฒนาไปยังระบบดาวเคราะห์ที่สุงกว่า คารมี เหล่านี้สูงกว่า วิคารมี เพราะมีศรัทธาในคำาสอนพระเวทแน่นอนว่าเป็นที่รักของคริชณะ ใน ภควัต- คีตา (4.11) คริชณะตรัสว่า เย ยะทา มาม พระพัดยันเท ทามส ทะไทวะ บะจามิ อฮัม “ไม่ว่าจะศิโรราบต่อข้าด้วยวิธีใหน ข้าให้รางวัลไปตามนั้น” คริชณะทรงมีพระเมตตา มาก พระองค์ทรงสนองตอบตามความปรารถนาของ คารมี และ กยานี จึงไม่ต้อง กล่าวถึง บัคธะ ถึงแม้บางครั้ง คารมี พัฒนาไปยังระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่า ตราบ เท่าที่ยังยึดติดอยู่กับผลของกิจกรรม พวกเขาต้องได้รับร่างวัตถุใหม่หลังจากตายไป หากทำาความดีสามารถได้รับร่างเทวดาไปอยู่ระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่า หรือาจบรร ลุถึงตำาแหน่งที่สามารถได้รับมาตรฐานความสุขทางวัตถุที่สูงกว่า อีกด้านหนึ่ง พวก ที่ทำาชั่วจะตกลงตำา่ ไปเกิดเป็นสัตว์ ต้นไม้ และไม้ล้มลุก ดังนั้น พวกปฏิบัติเพื่อผล ประโยชน์โดยไม่สนใจคำาสอนของพระเวท (วิคารมี) นักบุญผู้ทรงคุณวุฒิไม่ชื่นชอบ ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ชรีมัด-บากะวะธัม (5.5.4)

นูนัม พระมัททะฮ คุรุเท วิคารมะ ยัด อินดริยะ-พรีทะยะ อาพริโณทิ
นะ สาดุ มันเย ยะทะ อาทมะโน ่ยัม อสันน อพิ คเลชะดะ อาสะ เดฮะฮ

“นักวัตถุนิยมที่ทำางานหนักเหมือนสุกรเพื่อสนองประสาทสัมผัสอันที่จริงบ้า ทำาสิ่งที่ เลวร้ายทั้งหลายเพียงเพื่อสนองประสาทสัมผัส กิจกรรมวัตถุนิยมไร้คุณค่าสำาหรับผู้ มีปัญญา เพราะผลจากกิจกรรมเหล่านี้จะทำาให้ได้ร่างวัตถุซึ่งเต็มไปด้วยความทุกข์“ จุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์คือให้หลุดออกไปจากสภาวะแห่งความทุกข์สามคำารบ นี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มาด้วยกันกับความเป็นอยู่ทางวัตถุ ด้วยความอับโชค คนทำางานเพื่อ ผลทางวัตถุ บ้าหาเงินและหาความสะดวกสบายชั่วคราวด้วยทุกวิธี ฉะนั้น พวกเขา เสี่ยงที่จะตกลงไปอยู่ในเผ่าพันธ์ชีวิตที่ตำา่ นักวัตถุนิยมวางแผนโง่ๆ มากมายเพื่อให้ มีความสุขในโลกวัตถุนี้ โดยไม่หยุดคิดและพิจารณาว่าเรามาอยู่เพียงแค่ไม่กี่ปี และ จากไม่กี่ปีนี้เราต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาเงินเพื่อสนองประสาทสัมผัส ใน ที่สุดกิจกรรมเหล่านี้จบลงที่ความตาย นักวัตถุนิยมไม่พิจารณาว่าหลังจากออกจาก ร่างนี้ไปแล้วอาจได้รับร่างสัตว์ ต้นไม้ หรือไม้ล้มลุกที่ตำา่กว่า กิจกรรมทั้งหมดนี้เพียง แต่ทำาให้จุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์ล้มเหลว ไม่เพียงเกิดมาโง่ แต่ยังทำาตัวในระดับที่ โง่ คิดว่าได้รับประโยชน์ในสิ่งของต่างๆ เช่นตึกสูงๆ รถคันใหญ่ๆ ตำาแหน่งที่มีเกียรติ ฯลฯ โดยไม่คิดว่าชาติหน้าจะตกลงตำา่ และกิจกรรมทั้งหลายทั้งปวงเพียงรับใช้ พะ ราบะวะ หรือความพ่ายแพ้เท่านั้น นี่คือข้อสรุปของ ชรีมัด-บากะวะธัม (5.5.5) พะ ราบะวัส ทาวัด อโบดะ-จาทะฮ

ดังนั้น เราควรกระตือรือร้นเพื่อเข้าใจศาสตร์แห่งดวงวิญญาณ (อาทมะ-ทัทท วะ) นอกจากจะมาถึงระดับ อาทมะ-ทัททวะ ซึ่งทำาให้เข้าใจว่าเราคือดวงวิญญาณ ไม่ใช่ร่างกาย มิฉะนั้นเรายังคงอยู่ในระดับอวิชชา จากเป็นพันๆ และแม้แต่ล้านๆ คน ที่เสียเวลาไปเพียงเพื่อสนองประสาทสัมผัส หนึ่งคนอาจมาถึงระดับแห่งความรู้และ เข้าใจคุณค่าชีวิตที่สูงกว่า บุคคลเช่นนี้เรียกว่า กยานี,กยานี รู้ว่ากิจกรรมเพื่อผล ประโยชน์ทางวัตถุจะผูกมัดเขาให้มีความเป็นอยู่ทางวัตถุและทำาให้ต้องย้ายจากร่าง หนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ชรีมัด-บากะวะธัม ว่า ชะรีระ-บันดะ (ถูก ผูกมัดในความเป็นอยู่ทางร่างกาย) ตราบใดที่ยังคงรักษาแนวคิดใดๆ เกี่ยวกับความ รื่นรมย์ทางประสาทสัมผัส จิตของเขาจะซึมซาบอยู่ใน คารมะ กิจกรรมเพื่อผลทาง วัตถุ เช่นนี้ จะผูกมัดเขาให้ต้องเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง

ฉะนั้น กยานี พิจารณาว่าสูงกว่า คารมี เพราะอย่างน้อยเขาหลีกเลียงจาก กิจกรรมที่งมงายไปกับความรื่นรมย์ทางประสาทสัมผัส นี่คือข้อสรุปขององค์ภควาน บุคลิกภาพสุงสุดแห่งพระเจ้า อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่า กยานี อาจหลุดพ้นจากอวิชชาของ คารมี นอกจากจะมาถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ มิฉะนั้น ยังพิจารณา ว่าอยู่ในอวิชชา(อวิดยา) เช่นกัน ถึงแม้ได้รับการยอมรับว่าเป็น กยานี หรือมีความ ก้าวหน้าในวิชาความรู้ ความรู้ที่มีอยู่ถือว่าไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการ อุทิศตนเสียสละรับใช้ ดังนั้น จึงละเลยการบูชาพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควาน บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าโดยตรง

เมื่อ กยานี ปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละ เขาจะสูงส่งกว่า กยานี ทั่วไปอย่าง รวดเร็ว ผู้เจริญก้าวหน้าเช่นนี้ได้อธิบายว่าเป็น กยานะ-วิมุคทะ-บัคธิ-พะระมะ. พวก กยานี รับเอาการอุทิศตนเสียสละรับใช้มาปฏิบัตได้อย่างไรนั้น ใน ภควัต-คีตา (7.19) คริชณะ ตรัสว่า

บะฮูนาม จันมะนาม อันเท กยานะวาน มาม พระพัดยะเท

วาสุเดวะฮ สารวัม อิทิ สะ มะฮาทมา สุดุรละบะฮ “หลังจากเกิดและตายหลายชาติ ผู้ที่มีความรู้จริงจะศิโรราบต่อข้า รู้ว่าข้าคือแหล่ง กำาเนิดของแหล่งกำาเนิดทั้งปวง ดวงวิญญาณผู้ยอดเยี่ยมเช่นนี้หาได้ยากมาก” อันที่ จริงเมื่อบุคคลมีปัญญา จะศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวของคริชณะ แต่ มะฮาทมา หรือดวงวิญญาณผู้ยอดเยี่ยมเช่นนี้ หาได้ยากมาก

หลังจากรับเอาการอุทิศตนเสียสละรับใช้มาปฏิบัติภายใต้หลักธรรมที่ ประมาณไว้ บุคคลอาจมาถึงระดับแห่งความรักองค์ภควานโดยธรรมชาติ โดยปฏิบัติ ตามรอยพระบาทของสาวกผู้ยอดเยี่ยมเช่น นาระดะ, สะนะคะ และ สะนาทะนะ องค์ ภควานทรงรู้ว่าบุคคลนี้สูงกว่า สาวกผู้พัฒนาความรักต่อองค์ภควานแน่นอนว่าอยู่ ในสถานภาพที่สูงส่ง

ในบรรดาสาวกทั้งหมดเหล่านี้ รู้กันว่าพวก โกปี สูงส่งกว่า เพราะพวกนาง ไม่รู้สิ่งอื่นใดนอกจากการทำาให้คริชณะทรงพอพระทัย พวกนางไม่คาดหวังที่จะได้ รับสิ่งใดกลับคืนมาจากคริชณะ อันที่จริง บางครั้งคริชณะทรงจัดให้พวกนางได้รับ ความทุกข์ระทมขมขื่นมากที่ต้องอยู่ห่างจากพระองค์ ถึงกระนั้น พวกนางไม่เคย ลืมคริชณะ ตอนที่คริชณะจากวรินดาวะนะไปที่มะทำุรา พวก โกปี เศร้าสลดหดหู่ และใช้เวลาของชีวิตที่เหลืออยู่ได้แต่ร้องไห้ครำา่ครวญถึงคริชณะที่ต้องจากกัน เช่น นี้หมายความว่า ในแง่มุมหนึ่งพวกนางไม่เคยแยกจากคริชณะอย่างแท้จริง ไม่มี ข้อแตกต่างระหว่างการคิดถึงคริชณะและการอยู่ใกล้ชิดกับพระองค์ แต่ว่า วิพระ ลัมบะ-เสวา การระลึกถึงหรือคิดถึงคริชณะขณะอยู่ห่างกันดังที่ ชรี เชธันญะ ปฏิบัติ ดีกว่าการรับใช้คริชณะโดยตรง ดังนั้น ในบรรดาสาวกทั้งหมดที่พัฒนาการอุทิศตน เสียสละรับใช้ด้วยใจรักโดยธรรมชาติต่อคริชณะ พวก โกปี สูงส่งที่สุด และจากพวก โกปี ที่สูงส่งเหล่านี้ ชรีมะธี ราดาราณี สูงสุดยอด ไม่มีผู้ใดเหนือไปกว่า ชรีมะธี รา ดาราณี ในเรื่องการอุทิศตนเสียสละรับใช้ อันที่จริง แม้แต่คริชณะก็ทรงไม่เข้าใจท่าที ของ ชรีมะธี ราดาราณี ดังนั้นพระองค์ทรงปรากฏในสถานภาพของ ราดาราณี ในรูป ของ ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำ เพียงเพื่อให้เข้าใจความรู้สึกทิพย์

เช่นนี้ ชรีละ รูพะ โกสวามี ค่อยๆ สรุปว่า ชรีมะธี ราดาราณี เป็นสาวกสูงส่ง สุดยอดของคริชณะ และ ชรี ราดา-คุณดะ หรือทะเลสาบของนางก็เป็นสถานที่สูงส่ง สุดยอด ได้รับรองไว้เช่นนี้ด้วยการอ้างอิงจาก ละกุ-บากะวะทามริทา (อุททะระ- คาณดะ 45) ดังที่ได้อ้างอิงไว้ใน เชธันญะ ชะริทามริทะ

ยะทา ราดา พริยา วิชโณส ทัสยาฮ คุณดัม พริยัม ทะทา

สารวะ-โกปีชุ ไสไวคา วิชโณร อัทยันทะ-วัลละบา “เหมือนดังที่ ชรีมะธี ราดาราณี เป็นที่รักขององค์ภควาน คริชณะ (วิชณุ) สถานที่ อาบนำา้ของนาง (ราดา-คุณดะ) ก็เป็นที่รักของคริชณะเช่นเดียวกัน ในบรรดา โกปี ทั้งหลาย ราดาราณีเพียงผู้เดียวที่ยืนอยู่สุดยอดในฐานะเป็นที่รักยิ่งขององค์ภควาน”

ฉะนั้น ทุกคนที่สนใจในคริชณะจิตสำานึก ในที่สุดควรมาพึ่ง ราดา-คุณดะ และ มาปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ณ ที่นี้ตลอดชีวิต นี่คือข้อสรุปของ รูพะ โกสวามี ในโศลกสิบของ อุพะเดชอามริทะ