นำทิพย์แห่งคำสอน

บทมนต์ที่ สอง

अत्याहारः प्रयासश्च प्रजल्पो नियमाग्रहः ।
जनसङ्गश्च लौल्यं च षड्भिर्भक्तिर्विनश्यति ॥ २ ॥

อัทยาฮาระฮ พระยาสัช ชะ พระจัลโพ นิยะมากระฮะฮ
จะนะ-สังกัช ชะ โลลยัม ชะ ชัดบิร บัคธิร วินัชยะทิ

อทิ-อาฮาระฮ  –  รับประทานมากเกินไป หรือสะสมมากเกินไป, พระยาสะฮ – พยายามมากเกินไป, ชะ – และ, พระจัลพะฮ – พูดเหลวไหล, นิยะมะ – กฏระเบียบ, อากระฮะฮ – ยึดติดมากเกินไป (หรือ อกระฮะฮ – ละเลยมากเกินไป), จะนะ-สังกะฮ – คบหากับบุคคลทางโลก, ชะ – และ, โลลยัม – ปรารถนาอย่างรุนแรง หรือความโลภ, ชะ – และ, ชัดบิฮ – ทั้งหกสิ่งนี้, บัคธิฮ – การอุทิศตนเสียสละรับใช้, วินัชยะทิ – ถูกทำาลาย

คำแปล

การอุทิศตนเสียสละรับใช้ของเราจะถูกทำาลายลงเมื่อมาพัวพันกับกิจกรรมหกประการนี้มากเกินไป คือ (1) รับประทานมากเกินความจำาเป็นหรือสะสมกองทุนมากเกินความต้องการ (2) พยายามมากเกินไปกับบางสิ่งทางโลกซึ่งบรรลุถึงได้ยากมาก (3) พูดเกี่ยวกับเรื่องราวทางโลกวัตถุโดยไม่จำาเป็น (4) ปฏิบัติตามกฏระเบียบของพระคัมภีร์เพียงเพื่อให้รู้ว่าได้ปฏิบัติตามเท่านั้น มิใช่เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ หรือปฏิเสธกฎระเบียบของพระคัมภีร์ และทำางานโดยอิสระ หรือทำาตามอำาเภอใจ (5) คบหาสมาคมกับบุคคลที่ฝักใฝ่ทางโลกโดยไม่สนใจใน คริชณะจิตสำานึก และ (6) โลภมากเพื่อให้บรรลุผลทางโลกวัตถุคำาอธิบาย

คำอธิบาย

ชีวิตมนุษย์หมายไว้เพื่อให้กินอยู่อย่างเรียบง่าย และคิดสูงๆ เนื่องจากพันธชีวิตทั้งหมด อยู่ภายใต้การควบคุมของพลังงานที่สามขององค์ภควาน โลกวัตถุนี้ออกแบบมาเพื่อให้ เราจำาเป็นต้องทำางาน องค์ภควานทรงมีพลังงานพื้นฐานสามประการ พลังงานแรกเรียก ว่า อันทะรังกะ-ชัคทิ หรือพลังงานเบื้องสูง พลังงานที่สองเรียกว่า ทะทัสทะ-ชัคทิ หรือ พลังงานพรหมแดน พลังงานที่สามเรียกว่า บะฮิรังกะ-ชัคทิ หรือพลังงานเบื้องตำา่ สิ่งมีชีวิต สถิตอยู่ที่พลังงานพรหมแดน อยู่ระหว่างพลังงานเบื้องสูงและพลังงานเบื้องตำา่ เป็นรองใน ฐานะผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควาน จีวาทมาหรือสิ่งมีชีวิตดวงน้อยๆ ต้องอยู่ภายใต้การ ควบคุมของไม่พลังงานเบื้องสูงก็เบื้องตำา่ เมื่อมาอยู่ภายใต้การควบคุมของพลังงานเบื้องสูง จะแสดงกิจกรรมพื้นฐานเดิมแท้ตามธรรมชาติคือ ปฏิบัติการอุทิสตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ ภควานตลอดเวลา เช่นนี้ ได้กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา (9.13)

มะฮาทมานัส ทุ มาม พารทะ ไดวีม พระคริทิม อาชริทาฮ
บะจันทิ อนันยะ-มะนะโส กยาทวา บูำทาดิม อัพยะยัม

“โอ้ โอรสพริทา พวกที่ไม่อยู่ในความหลง ดวงวิญญาณผู้ยอดเยี่ยมจะอยู่ภายใต้การ ปกป้องของธรรมชาติทิพย์และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างสมบูรณ์ เพราะรู้ว่าข้า คือภควานองค์เดิมแท้ และไม่มีที่สิ้นสุด”

คำาว่า มะฮาทมา หมายถึงพวกที่มีจิตใจกว้างขวางไม่ใช่จิตพิการ คนที่มีจิตพิการ ปฏิบัติเพื่อสนองตอบประสาทสัมผัสของตนเองอยู่เสมอ บางครั้งขยายกิจกรรมของตน เพื่อทำาดีต่อผู้อื่นโดยผ่านทาง “ลัทธิ” บางอย่างเช่น ลัทธิชาตินิยม ลัทธิมนุษยชาตินิยม หรือลัทธิเพื่อประโยชน์ผู้อื่น และอาจปฏิเสธการสนองประสาทสัมผัสส่วนตัวเพื่อไปสนอง ประสาทสัมผัสของผู้อื่นเช่น สมาชิกในครอบครัว ชุมชน หรือสังคม ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ อันที่จริงทั้งหมดนี้เป็นการสนองประสาทสัมผัสที่แผ่ขยายออกไป จากตัวเองไปสู่ชุมชนและสังคม สิ่งเหล่านี้อาจดูว่าดีมากจากมุมมองทางวัตถุ แต่กิจกรรม เหล่านี้ไม่มีคุณค่าในวิถีทิพย์ พื้นฐานของกิจกรรมเช่นนี้คือการสนองประสาทสัมผัสไม่ว่าใน วงแคบหรือวงกว้าง นอกจากบุคคลมาสนองประสาทสัมผัสขององค์ภควาน บุคลิกภาพ สูงสุดแห่งพระเจ้าเท่านั้น ที่สามารถเรียกว่าเป็น มะฮาทมา หรือบุคคลผู้มีจิตใจกว้างขวาง

จากโศลกที่อ้างอิงมาจาก ภควัต-คีตา ข้างต้น คำาว่า ไดวีม พระคริทิม หมายถึง การควบคุมของพลังงานเบื้องสูงหรือพลังงานแห่งความสุขขององค์ภควาน พลังงานแห่ง ความสุขนี้ปรากฏมาเป็น ชรีมะธี ราดาราณี หรือ ลัคชมี เทพธิดาแห่งโชคลาภ ซึ่งเป็นภาค แบ่งแยกของราดาราณี เมื่อปัจเจกวิญญาณหรือ จีวะ อยู่ภายใต้การควบคุมของพลังงาน เบื้องสูง กิจกรรมคือทำาให้คริชณะหรือวิชณุทรงพอพระทัย นี่คือสถานภาพของ มะฮาทมา หากไม่ใช่มะฮาทมา ก็จะเป็น ดุราทมา หรือคนที่มีจิตพิการ ดุราทมา เช่นนี้ ถูกจับให้มาอยู่ ภายใต้การควบคุมของ มะฮามายา หรือพลังงานเบื้องตำา่ขององค์ภควาน

อันที่จริง มวลชีวิตภายในโลกวัตถุนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของ มะฮามายา ภารกิจ ของพระนางคือจับพวกนี้ให้มาอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความทุกข์สามคำารบคือ อดิไดวิคะ- คเลชะ (ความทุกข์อันเกิดจากเทวดา เช่น ฝนแล้ง แผ่นดินแยก หรือลมพายุ) อดิโบทิคะ- คเลชะ (ความทุกข์อันเกิดจากชีวิตอื่นสร้างให้ เช่นพวกแมลง หรือศัตรู) และ อัดฮยาทมิคะ- คเลชะ (ความทุกข์ที่ร่างกายและจิตใจของตนเองเป็นผู้สร้าง เช่น ข้อบกพร่องทางจิตใจหรือ ร่างกายทุพพลภาพ) ไดวะ-บูำทาทมะ-เฮทะวะฮ พันธวิญญาณอยู่ภายใต้ความทุกข์สาม คำารบจากการควบคุมของพลังงานเบื้องตำา่ต้องได้รับความทุกข์ยากลำาบากมากมาย

ปัญหาหลักที่พันธวิญญาณต้องเผชิญคือ การเกิด ความแก่ โรคภัยไข้เจ็บ และ ความตายซำา้ซาก ในโลกวัตถุเราต้องทำางานเพื่อรักษาร่างกายและดวงวิญญาณให้อยู่ ด้วยกัน แต่จะทำางานอย่างไรในวิธีที่เป็นที่ชื่นชอบหรือเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติคริชณะ จิตสำานึก? ทุกคนจำาเป็นต้องมีสิ่งต่างๆ เช่น ธัญพืช เสื้อผ้า เงิน และสิ่งของจำาเป็นต่างๆ เพื่อรักษาร่างกายนี้ไว้ แต่เราไม่ควรสะสมเกินความจำาเป็นกับสิ่งจำาเป็นพื้นฐานจริงๆ หาก ปฏิบัติตามหลักธรรมชาติเช่นนี้ได้ จะไม่มีความยากลำาบากในการรักษาร่างกายนี้ไว้

จากที่ธรรมชาติจัดการ สิ่งมีชีวิตที่ตำา่กว่าตามลำาดับขั้นของวิวัฒนาการจะไม่ กินหรือสะสมเกินความจำาเป็น ด้วยเหตุนี้ในอาณาจักรสัตว์โดยทั่วไปจะไม่มีปัญหาเรื่อง เศรษฐกิจหรือความขาดแคลนสิ่งจำาเป็น หากเราวางข้าวหนึ่งถุงในที่สาธารณะ พวกนกจะ มากินเพียงไม่กี่เมล็ดแล้วก็บินจากไป แต่มนุษย์จะเอาไปทั้งถุงและกินเท่าที่ท้องบรรจุได้ จากนั้นก็พยายามเอาที่เหลือไปเก็บไว้ ตามพระคัมภีร์การสะสมมากเกินความจำาเป็น (อัท ยาฮาระ) ได้ห้ามไว้ ปัจจุบันทั่วทั้งโลกได้รับความทุกข์อันเนื่องมาจากเหตุนี้

การสะสมและการกินเกินความจำาเป็นยังสร้าง พระยาสะ หรือความพยายามที่ ไม่จำาเป็น ตามที่องค์ภควานทรงจัดการ ทุกคนในส่วนต่างๆ ของโลกสามารถมีชีวิตอยู่ อย่างสงบสุขมากหากมีที่ดินทำากินเพียงเล็กน้อยและมีโคนม ไม่จำาเป็นที่คนต้องย้ายจากที่ หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเพื่อทำามาหาเลี้ยงชีพ เพราะสามารถผลิตธัญพืชในท้องถิ่นที่ตนอยู่และได้ รับนมมาจากโค เช่นนี้จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทั้งหมดได้ โชคดีที่มนุษย์มีสติปัญญาที่สูง กว่าเพื่อพัฒนาคริชณะจิตสำานึก หรือเข้าใจองค์ภควาน ความสัมพันธ์กับพระองค์ และใน ที่สุดเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือความรักพระองค์ แต่อับโชค มนุษย์ที่สมมติว่าเจริญแล้ว ไม่สนใจใยดีกับความรู้แจ้งองค์ภควาน ใช้สติปัญญาของตนเพื่อให้ได้มามากเกินความ จำาเป็น และรับประทานเพียงเพื่อสนองลิ้นของตนเอง จากการจัดการขององค์ภควานทำา ให้มีพื้นที่เพียงพอสำาหรับผลิตนมและธัญพืชสำาหรับมนุษย์ทั่วโลก แทนที่จะใช้สติปัญญาที่ สูงกว่าไปพัฒนาองค์ภควานจิตสำานึก มนุษย์ที่สมมติว่ามีปัญญาได้ใช้ปัญญาไปในทางที่ผิด เพื่อผลิตสิ่งของมากมายที่ไม่จำาเป็นและไม่มีความต้องการ ดังนั้น จึงมีโรงงาน โรงฆ่าสัตว์ ซ่องโสเภณี และร้านเหล้าร้านสุราเปิดกันมากมาย หากผู้คนได้รับคำาแนะนำาว่าอย่าสะสม สิ่งของมากเกินไป อย่ากินมากเกินไป หรืออย่าทำางานที่ไม่จำาเป็น เพื่อให้มีความสุขที่ผิด ธรรมชาติ ก็จะคิดว่ากำาลังได้รับคำาสอนให้กลับไปใช้ชีวิตแบบโบราณไม่ทันสมัย โดยทั่วไป ผู้คนไม่ชอบที่จะยอมรับการใช้ชีวิตเรียบง่ายและคิดสูงๆ นี่คือสถานภาพที่อับโชค

ชีวิตมนุษย์หมายไว้เพื่อให้รู้แจ้งองค์ภควาน และมนุษย์ได้รับสติปัญญาที่สูงกว่าเพื่อ จุดมุ่งหมายนี้ พวกที่เชื่อว่าสติปัญญาที่สูงกว่านี้หมายไว้เพื่อบรรลุถึงระดับที่สูงกว่า ควร ปฏิบัติตามคำาสอนของวรรณกรรมพระเวท ด้วยการรับคำาสอนจากผู้เชื่อถือได้ที่สูงกว่า เรา สามารถสถิตอยู่ในความรู้ที่สมบูรณ์โดยแท้จริง และให้ความหมายที่แท้จริงแด่ชีวิตได้

ใน ชรีมัด-บากะวะธัม (1.2.9) ชรี สูทะ โกสวามี ได้อธิบายถึง ดารมะ ที่เหมาะสม ของมนุษย์ ดังนี้

ดารมัสยะ ฮิ อาพะวารกยัสยะ นารโท ’รทาโยพะคัลพะเท
นารทัสยะ ดารไมคานทัสยะ คาโม ลาบายะ ฮิ สมริทะฮ

ดารมะ หรือ ธรรมะ คือการปฏิบัติอาชีพการงานทั้งหมดซึ่งหมายไว้เพื่อในที่สุดให้ได้รับ ความหลุดพ้นอย่างแน่นอน มิควรปฏิบัติไปเพื่อผลกำาไรทางวัตถุ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ปฏิบัติรับ ใช้ในอาชีพการงานที่สูงสุดหรือธรรมะ ไม่ควรใช้ผลกำาไรทางวัตถุเพื่อพัฒนาการสนอง ประสาทสัมผัส”

ก้าวแรกในความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ประกอบด้วยการปฏิบัติหน้าที่ อาชีพ การงานตามคำาสอนของพระคัมภีร์ สติปัญญาที่สูงกว่าของมนุษย์ควรได้รับการฝึกฝนให้ เข้าใจ ดารมะ หรือธรรมะพื้นฐาน ในสังคมมนุษย์มีแนวคิดทางศาสนามากมายที่มีชื่อว่า ฮินดู คริสเตียน ฮิบรู มุสลิม พุทธ และ ฯลฯ หากปราศจากศาสนา สังคมมนุษย์ก็ไม่ดีไปกว่า สังคมสัตว์เดรัจฉาน

ดังที่ได้กล่าวข้างต้น (ดารมัสยะ ฮิ อาพะวารกยัสยะ นารโท ’รทาโยพะคัลพะเท) ศาสนาหมายไว้เพื่อให้บรรลุถึงความหลุดพ้น ไม่ใช่เพื่อให้ได้ขนมปัง บางครั้งสังคมมนุษย์ ผลิตระบบที่สมมติว่าเป็นศาสนาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ แต่นั่นเป็น จุดมุ่งหมายที่ห่างไกลจาก ดารมะ ที่แท้จริง ศาสนาหมายถึงการเข้าใจกฎขององค์ภควาน เพราะว่าการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้อย่างถูกต้อง จะนำาให้ออกไปจากพันธนาการทาง วัตถุในที่สุด นั่นคือจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของศาสนา ด้วยความอับโชค ผู้คนยอมรับศาสนา เพื่อความมั่งคั่งทางวัตถุ เนื่องจากอัทยาฮาระ หรือความปรารถนาอย่างแรงกล้าเพื่อความ มั่งคั่ง อย่างไรก็ดี ศาสนาที่แท้จริงจะสอนผู้คนให้พึงพอใจกับสิ่งที่จำาเป็นจริงๆ สำาหรับชีวิต ขณะเดียวกันก็พัฒนาคริชณะจิตสำานึก ถึงแม้เราจำาเป็นต้องมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ศาสนาที่แท้จริงอนุญาตให้เพียงเพื่อจัดส่งสิ่งของที่จำาเป็นจริงๆ เพื่อความอยู่รอดทางวัตถุ จีวัสยะ ทัททวะ-จิกยาสา จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิตคือถามเกี่ยวกับสัจธรรมที่สมบูรณ์ หากความพยายาม (พระยาสะ) ของเราไม่ได้ถามเกี่ยวกับสัจธรรมที่สมบูรณ์ เราก็เพียงแต่ เพิ่มพูนความพยายามเพื่อสนองความต้องการที่ผิดธรรมชาติ ความปรารถนาในวิถีทิพย์ ควรหลีกเลี่ยงความพยายามทางโลก

อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งคือ พระจัลพะ พูดโดยไม่จำาเป็น เมื่อเราอยู่กับเพื่อนหลาย คน เราจะเริ่มพูดสิ่งที่ไม่จำาเป็นทันที ส่งเสียงเหมือนกับคางคกร้อง หากเราต้องพูดก็ควร พูดเกี่ยวกับขบวนการคริชณะจิตสำานึก พวกที่ไม่อยู่ในขบวนการคริชณะจิตสำานึกสนใจใน การอ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร และนวนิยายเป็นตั้งๆ หรือไม่ก็ไปไขคำาปริศนาและทำาในสิ่ง ที่ไร้สาระมากมาย เช่นนี้ผู้คนเพียงแต่เสียเวลาและพลังงานอันมีค่าไปโดยเปล่าประโยชน์ ในประเทศตะวันตกผู้สูงอายุหลังจากเกษียณแล้ว ก็ไปเล่นไพ่ ตกปลา ดูทีวี และถกเถียง เกี่ยวกับเรื่องสังคมและการเมืองที่ไร้ประโยชน์ สิ่งเหล่านี้และกิจกรรมที่คึกคะนองทั้งหมด รวมอยู่ในประเภท พระจัลพะ คนมีปัญญาที่สนใจในคริชณะจิตสำานึกไม่ควรมีส่วนร่วมใน กิจกรรมเหล่านี้ จะนะ-สังกะ หมายถึงการคบหาสมาคมกับคนที่ไม่สนใจในคริชณะจิตสำานึก เรา ควรหลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมเช่นนี้อย่างจริงจัง ชรีละ นะโรททะมะ ดาสะ ทาคุระ ได้ แนะนำาให้เราอาศัยอยู่ในสถานที่ๆ มีการคบหาสมาคมในคริชณะจิตสำานึกเท่านั้น (บัคธะ- สะเน วาสะ) เราควรปฏิบัติรับใช้องค์ภควานในการอยู่ใกล้ชิดร่วมกับสาวกของพระองค์ เสมอ การคบหาสมาคมกับพวกที่ทำาธุรกิจในสายเดียวกันจะช่วยให้เจริญก้าวหน้าใน ธุรกิจนั้นๆ เป็นอย่างมาก เช่นนี้นักวัตถุนิยมจึงมีสมาคมและชมรมต่างๆ เพื่อทำาให้ความ พยายามของพวกตนแข็งแกร่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ในโลกธุรกิจเราพบสถาบันเช่นตลาดหุ้น และหอการค้า ลักษณะเดียวกันเราได้สถาปนาสมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำานึก ซึ่ง เปิดโอกาสให้ผู้คนที่ไม่ลืมคริชณะได้มาคบหาสมาคมกัน ขบวนการสมาคมนานาชาติเพื่อ คริชณะจิตสำานึกของเราเสนอการคบหาในวิถีทิพย์นี้ และแพร่ขยายออกไปทุกวัน ผู้คน จากส่วนต่างๆ ของโลกได้มาร่วมกับสมาคมนี้เพื่อฟื้นฟูคริชณะจิตสำานึกเดิมแท้ที่มีอยู่ลึกๆ ภายในของตนเอง

ชรีละ บัคธิสิดดานธะ สะรัสวะที ทาคุระ ได้เขียนในคำาอธิบาย อนุวริททิ ว่า ความ พยายามมากเกินไปเพื่อให้ได้ความรู้ของพวกนักคาดคะเนทางจิตหรือนักปราชญ์ผู้แห้งแล้ง ตกอยู่ในจำาพวกอัทยาฮาระ (สะสมมากเกินความจำาเป็น) ตาม ชรีมัด-บากะวะธัม ความ พยายามของนักคาดคะเนทางปรัชญาที่เขียนหนังสือเป็นเล่มๆ เกี่ยวกับปรัชญาที่แห้งแล้ง ปราศจากคริชณะจิตสำานึก เป็นสิ่งที่ไร้ค่าความหมายโดยสิ้นเชิง งานของ คารมี ที่เขียน หนังสือเป็นเล่มๆ เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจก็อยู่ในจำาพวกอัทยาฮาระ เช่นเดียวกัน พวก ที่ไม่มีความปรารถนาในคริชณะจิตสำานึก และเพียงแต่สนใจในการสะสมสิ่งของทางวัตถุ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าในรูปของความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือผลกำาไรทางเงินๆ ทองๆ ทั้งหมดนี้ รวมอยู่ภายใต้การควบคุมของ อัทยาฮาระ

พวก คารมีทำางานหนักเพื่อสะสมเงินให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อส่งให้คนรุ่นต่อไป เนื่องจากไม่มีความมั่นใจในอนาคต สนใจเพียงแต่ที่จะสะสมเงินมากๆ เพื่อให้ลูกหลาน เท่านั้น คนโง่เหล่านี้ไม่รู้แม้แต่สภาวะของตนเองว่าจะเป็นเช่นไรในชาติหน้า มีหลาย เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นประเด็นนี้ กาลครั้งหนึ่งมีคารมี ผู้ยิ่งใหญ่สะสมทรัพย์สินมากมาย เพื่อให้ลูกหลาน แต่ต่อมา ตามกรรมของตนได้ไปเกิดในบ้านช่างทำารองเท้าซึ่งอยู่ใกล้กับ ตึกที่ในชาติก่อนเป็นผู้สร้างไว้ให้ลูกหลาน เมื่อช่างทำารองเท้ามาที่บ้านของตน พวกที่เคย เป็นลูกหลานในชาติก่อนได้ใช้รองเท้ามาไล่ตี นอกจากพวก คารมี และ กยานี มาสนใจใน คริชณะจิตสำานึก มิฉะนั้น จะเสียเวลาอันมีค่าของชีวิตไปในกิจกรรมที่ไร้คุณค่า

การยอมรับกฎระเบียบในวิถีทิพย์เพื่อให้ได้ประโยชน์โดยทันที ดังเช่น ผู้เชื่อลัทธิ ผลประโยชน์ป่าวประกาศ เช่นนี้เรียกว่า นิยะมะ-อากระฮะ และการปฏิเสธกฎระเบียบ ของชาสทระ ซึ่ง หมายไว้เพื่อพัฒนาในวิถีทิพย์เรียกว่า นิยะมะ-อกระฮะ คำาว่า อากระ ฮะ หมายความว่า “กระตือรือร้นในการยอมรับ” และ อกระฮะ หมายความว่า “ปฏิเสธ ที่จะยอมรับ” จากการบวกหนึ่งในสองคำานี้เข้าไป คำานิยะมะ (“กฎระเบียบต่างๆ”) คำาว่านิ ยะมากระฮะ จึงถูกสร้างขึ้นมา คำาว่า นิยะมากระฮะ มีสองความหมายซึ่งเข้าใจตามการ รวมคำาโดยเฉพาะนี้ พวกที่สนใจในคริชณะจิตสำานึกไม่ควรกระตือรือร้นในการรับเอากฎ ระเบียบมาเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่ควรยอมรับกฎระเบียบตามพระ คัมภีร์ด้วยความศรัทธาอย่างยิ่งเพื่อเจริญก้าวหน้าในคริชณะจิตสำานึก ควรปฏิบัติตามหลัก ธรรมที่ประมาณไว้อย่างเคร่งครัด โดยหลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์ที่ผิด การรับประทานเนื้อสัตว์ การพนัน และสิ่งเสพติด

เราควรหลีกเลี่ยงการมาคบหาสมาคมกับ มายาวาดี ผู้ที่เพียงแต่สบประมาท ไวชณะวะ (สาวก) เท่านั้น บุำคทิ-คามี ที่สนใจในความสุขทางวัตถุมุคทิ-คามีพวกที่ ปรารถนาความหลุดพ้นด้วยการกลืนเข้าไปใน บระฮมัน อันสมบูรณ์ที่ไร้รูปลักษณ์ และ สิดดิ-คามี ผู้ปรารถนาความสมบูรณ์ในการปฏิบัติโยคะเพื่ออิทธิฤทธิ์ จัดอยู่ในพวก อัทยา ฮารี การคบหาสมาคมกับบุคคลเหล่านี้ไม่เป็นที่ปรารถนา

ปรารถนาจะพัฒนาจิตด้วยการฝึกโยคะอิทธิฤทธิ์ให้สมบูรณ์ กลืนเข้าไปในความ เป็นอยู่ของ บระฮมัน หรือบรรลุถึงความมั่งคั่งทางวัตถุที่ทำาไปตามอำาเภอใจ ทั้งหมดรวมอยู่ ในประเภทแห่งความโลภ (โลลยะ) ความพยายามทั้งหมดเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางวัตถุ หรือ ที่สมมติว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ เป็นอุปสรรคบนหนทางแห่งคริชณะจิตสำานึก

สงครามสมัยปัจจุบัน ชั่งนำา้หนักระหว่างลัทธิทุนนิยม และ ลัทธิคอมมิวนิสต์ เนื่องจากหลีกเลี่ยงคำาแนะนำาของ ชรีละ รูพะ โกสวามี เกี่ยวกับอัทยาฮาระ พวกทุนนิยม สมัยปัจจุบันสะสมความมั่งคั่งมากเกินความจำาเป็น และพวกคอมมิวนิสต์อิจฉาในความ มั่งคั่งของพวกนี้ จึงต้องการรวบรวมทรัพย์สมบัติและที่ดินทั้งหมดมาเป็นของรัฐ ด้วยความ อับโชค พวกคอมมิวนิสต์ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาความมั่งคั่งและกระจายทรัพยากรได้อย่างไร ดังนั้น เมื่อความมั่งคั่งจากทุนนิยมตกไปอยู่ในมือของคอมมิวนิสต์ จึงไม่มีคำาตอบ ถูกกดดัน ด้วยปรัชญาทั้งสองนี้ แนวคิดแห่งรัฐของคริชณะจิตสำานึกกล่าวว่า ทรัพยากรทั้งหมดเป็น ของคริชณะ ฉะนั้น นอกจากทรัพยากรทั้งหมดมาอยู่ภายใต้การบริหารของคริชณะ จึง ไม่มีผลสรุปเกี่ยวกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของมนุษยชาติ ไม่มีปัญหาไหนแก้ได้ด้วย การให้ทรัพยากรไปอยู่ในมือของพวกคอมมิวนิสต์หรือพวกทุนนิยม หากมีธนบัตรใบละ หนึ่งพันตกอยู่บนถนน คนหนึ่งอาจหยิบเก็บใส่กระเป๋า คนนี้ไม่ซื่อสัตย์ อีกคนหนึ่งเห็นเงิน แล้วตัดสินใจปล่อยทิ้งไว้ที่เดิม โดยคิดว่าไม่ควรแตะต้องเงินของผู้อื่น แม้คนที่สองนี้ไม่ได้ ขโมยเงินเพื่อตนเอง แต่ไม่รู้ว่าจะนำาไปใช้ให้ถูกต้องอย่างไร คนที่สามเห็นธนบัตรหนึ่งพัน บาทแล้วหยิบขึ้นมา จากนั้นก็ไปตามหาคนที่ทำาเงินตกและจัดส่งคืนไปให้ คนนี้ไม่ได้ขโมย เงินเพื่อนำามาใช้ส่วนตัว และไม่ได้ละเลยปล่อยมันทิ้งอยู่บนถนน จากการนำาเงินส่งคืนให้ เจ้าของที่ทำาตก ชายคนนี้ทั้งซื่อสัตย์และฉลาด

เพียงแต่โอนทรัพยากรจากพวกทุนนิยมไปให้พวกคอมมิวนิสต์ไม่สามารถแก้ ปัญหาการเมืองปัจจุบันได้ เพราะได้เห็นแล้วว่าเมื่อคอมมิวนิสต์ได้เงินก็จะใช้ไปเพื่อสนอง ประสาทสัมผัสของตนเอง ทรัพย์สินบนโลกอันที่จริงเป็นของคริชณะ และทุกชีวิตทั้งมนุษย์ และสัตว์มีสิทธิโดยกำาเนิดในการใช้ทรัพย์สินขององค์ภควานเพื่อดำารงชีวิต เมื่อเอามาเกิน ความจำาเป็นในการดำารงชีพ ไม่ว่าจะเป็นพวกทุนนิยมหรือคอมมิวนิสต์ก็คือโจร ดังนั้น จะ ต้องรับผิดชอบในการถูกลงโทษจากกฎแห่งธรรมชาติ

ทรัพย์สินในโลกควรใช้ไปเพื่อประโยชน์สุขของมวลชีวิต เพราะนั่นเป็นแผนของพระ แม่ธรรมชาติ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยการใช้ทรัพย์สมบัติขององค์ภควาน เมื่อผู้คน เรียนรู้ถึงศิลปในการใช้ทรัพย์สมบัติขององค์ภควานแบบวิทยาศาสตร์ พวกเขาจะไม่ต้องไป ข่มเหงสิทธิ์ของผู้อื่น เช่นนี้จะสร้างสังคมที่ดีเลิศขึ้นมาได้ หลักธรรมพื้นฐานของสังคมทิพย์ เช่นนี้ได้กล่าวไว้ในบทมนต์แรกของ ชรี อีโช พะนิชัด หรือ ศรี อุปนิษัท ว่า

อีชาวาสยัม อิดัม สารวัม ยัท คินชะ จะกัทยาม จะกัท
เทนะ ทยัคเทนะ บุำนจิทา มา กริดะฮ คัสยะ สวิด ดะนัม

para “ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งเคลื่อนที่ได้ หรือเคลื่อนที่ไม่ได้ที่อยู่ภายในจักรวาล องค์ภควาน ทรงเป็นผู้ควบคุมและเป็นเจ้าของ ฉะนั้น เราควรยอมรับสิ่งที่จำาเป็นสำาหรับตนเองเท่านั้น ซึ่งได้จัดไว้เป็นส่วนของเรา และไม่ควรรับเอาสิ่งอื่นมาโดยรู้ดีว่าเป็นของใคร”

สาวกในคริชณะจิตสำานึกรู้ดีว่าโลกวัตถุนี้ออกแบบโดยการจัดเตรียมอย่างสมบูรณ์ ขององค์ภควานเพื่อสนองตอบกับความจำาเป็นในชีวิตสำาหรับทุกชีวิต โดยไม่จำาเป็นต้อง ไปก้าวร้าวกับชีวิตหรือสิทธิ์ของผู้อื่น การจัดเตรียมที่สมบูรณ์นี้ทำาให้ทุกคนได้รับส่วนแบ่ง ของทรัพย์สมบัติตามความจำาเป็นจริงๆ ของตนเอง ดังนั้น ทุกคนควรมีชีวิตอยู่อย่างสงบ สุขตามหลักธรรมแห่งการอยู่อย่างเรียบง่ายและคิดสูงๆ ด้วยความอับโชค นักวัตถุนิยม ผู้ที่ไม่มีทั้งความศรัทธาในแผนขององค์ภควาน และไม่มีความปรารถนาเพื่อพัฒนาในวิถี ทิพย์ให้สูงขึ้น ได้ใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้มา แล้วนำาไปใช้ในทางที่ผิด เพียงเพื่อ เพิ่มพูนทรัพย์สินทางวัตถุ พวกเขาออกแบบระบบมากมายเช่นระบบลัทธิทุนนิยม และลัทธิ คอมมิวนิสต์วัตถุนิยม เพื่อให้เจริญก้าวหน้าทางวัตถุ โดยไม่สนใจในกฎแห่งองค์ภควาน หรือเป้าหมายที่สูงกว่า กระตือรือร้นที่จะสนองตอบความอยากอันไร้ขอบเขตเพื่อสนอง ประสาทสัมผัสอยู่เสมอ มีจุดเด่นอยู่ที่มีความสามารถทำาลายล้างเพื่อนสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง

หากสังคมมนุษย์ยกเลิกข้อผิดพลาดพื้นฐานเหล่านี้ที่ ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้ระบุ ไว้ (อัทยาฮาระ ฯลฯ) ความเป็นปรปักษ์ต่อกันจะยุติลงระหว่างมนุษย์และสัตว์ ระหว่างพวก ทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาทางเศรษฐกิจหรือทางการเมืองที่ปรับ ไม่ได้ที่และความไม่มั่นคงทั้งหมด จะได้รับการแก้ไข จิตสำานึกที่บริสุทธิ์นี้ฟื้นฟูให้กลับคืนขึ้น มาได้โดยขบวนการคริชณะจิตสำานึกด้วยการให้การศึกษาทิพย์ที่ถูกต้อง และภาคปฏิบัติซึ่ง เสนออย่างเป็นระบบแบบวิทยาศาสตร์

ขบวนการคริชณะจิตสำานึกนี้นำาเสนอสังคมทิพย์ที่จะนำาสภาวะอันสงบสุขมาสู่โลก ผู้ทรงภูมิปัญญาทุกท่านควรทำาให้จิตสำานึกของตนบริสุทธิ์ขึ้น ขจัดอุปสรรคหกอย่างในการ อุทิศตนเสียสละรับใช้ที่กล่าวมาแล้ว โดยมาพึ่งขบวนการคริชณะจิตสำานึกนี้อย่างสุดหัวใจ