บทมนต์ที่ สาม
उत्साहान्निश्चयाद्धैर्यात्तत्तत्कर्मप्रवर्तनात् ।
सङ्गत्यागात्सतो वृत्तेः षड्भिर्भक्तिः प्रसिध्यति ॥ ३ ॥
อุทสาฮาน นิชชะยาด ไดรยาท ทัท-ทัท-คารมะ-พระวารทะนาท
สังกะ-ทยากาท สะโท วริทเทฮ ชัดบิร บัคธิฮ พระสิดฮยะทิ
อุทสาฮาท – จากความกระตือรือร้น, นิชชะยาท – จากความมั่นใจ, ไดรยาท – จากความอดทน, ทัท-ทัท-คารมะ – กิจกรรมต่างๆ ที่เอื้ออำานวยในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, พระวารทะนาท – จากการปฏิบัติ, สังกะ-ทยากาท – จากการยกเลิกการคบหาสมาคมกับผู้ไม่ใช่สาวก, สะทะฮ – ของ อาชารยะ ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต, วริทเทฮ – จากการปฏิบัติตามรอยพระบาท, ชัดบิฮ – จากหกอย่างนี้, บัคธิฮ – การอุทิศตนเสียสละรับใช้, พระสิดยะทิ – เจริญก้าวหน้าหรือประสบความสำาเร็จ
คำแปล
หลักธรรมหกประการที่เอื้ออำานวยในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์คือ (1) มีความกระตือรือร้น (2) พยายามด้วยความมั่นใจ (3) มีความอดทน (4) ปฏิบัติตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ (เช่น ชระวะณัม คีรทะนัม วิชโณฮ สมะระณัม-การฟัง การสวดภาวนา และการระลึกถึงคริชณะ) (5) ยกเลิกการคบหาสมาคมกับผู้ไม่ใช่สาวก และ(6) เจริญรอยตามพระบาทของอาชารยะในอดีต แน่นอนว่าหลักธรรมหกประการนี้จะทำาให้ประสบความสำาเร็จอย่างสมบูรณ์ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์คำาอธิบาย
คำอธิบาย
การอุทิศตนเสียสละรับใช้ไม่ใช่เป็นเรื่องการคาดคะเนทางจิตใจ หรือมีความปลื้มปีติสุขโดย
จินตนาการขึ้นมา สาระที่แท้จริงคือกิจกรรมภาคปฏิบัติ ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้ให้คำานิยาม
การอุทิศตนเสียสละรับใช้ใน บัคธิ-ระสามริทะ-สินดำุ (1.1.11) ไว้ดังนี้
อันยาบิลาชิทา-ชูนยัม กยานะ-คารมาดิ-อนาวริทัม
อนุคูลเยนะ คริชณานุ- ชีละนัม บัคธิร อุททะมา
“อุททะมา บัคธิ หรือการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์ คือการรับใช้องค์ภควาน ชรี คริชณะ
โดยปราศจากมุมมองในเชิงลบ หมายถึงถวายการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในวิธีที่พระองค์
ทรงปราถนาและชื่นชม การอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ควรเป็นอิสระจากแรงกระตุ้นที่เป็นอื่น
เช่น ปราศจาก คารมะ เพื่อผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น กยานะ ที่มีความเชื่อว่าไร้รูปลักษณ์
และความปรารถนาอื่นใดทั้งหมดที่เป็นการเห็นแก่ตัว”
บัคธิ เป็นวิธีการพัฒนา พอกล่าวถึง “การพัฒนา” ต้องหมายถึงกิจกรรม การ
พัฒนาในวิถีทิพย์มิได้หมายความว่านั่งนิ่งเงียบเพื่อทำาสมาธิ ดังที่มีโยคีบางพวกที่สอนกัน
การทำาสมาธิแบบนิ่งเงียบเช่นนี้อาจดีสำาหรับพวกที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการอุทิศตนเสียสละ
รับใช้ ด้วยเหตุผลนี้บางครั้งจึงแนะนำาวิธีนี้เพื่อให้หยุดกิจกรรมทางวัตถุ การทำาสมาธิหมาย
ถึงหยุดกิจกรรมที่ไร้สาระทั้งหมด อย่างน้อยก็ในช่วงนี้ อย่างไรก็ดี การอุทิศตนเสียสละรับ
ใช้ไม่เพียงหยุดกิจกรรมทางโลกที่ไร้สาระทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังให้เราทำากิจกรรมที่มีความ
หมายคือกิจกรรมการอุทศตนเสียสละ ชรี พระฮลาดะ มะฮาราจะ แนะนำาไว้ว่า
ชระวะณัม คีรทะนัม วิชโณฮ สมะระณัม พาดะ-เสวะนัม
อารชะนัม วันดะนัม ดาสยัม สัคฮยัม อาทมะ-นิเวดะนัม
เก้าวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ มีดังนี้ คือ
- สดับฟังพระนามและพระบารมีขององค์ภควาน
- ร้องเพลงสวดภาวนาพระบารมีของพระองค์
- ระลึกถึงองค์ภควาน บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า
- รับใช้พระบาทของพระองค์
- บูชาพระปฏิมา
- ถวายความเคารพแด่พระองค์
- ปฏิบัติในฐานะผู้รับใช้ขององค์ภควาน
- มาเป็นเพื่อนของพระองค์
- ศิโรราบอย่างสมบูรณ์แด่องค์ภควาน บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า
ชระวะณัม หรือการสดับฟังเป็นก้าวแรกในการได้รับความรู้ทิพย์ เราไม่ควรฟังจากคนที่ไม่
น่าเชื่อถือ แต่ควรเข้าพบบุคคลที่เหมาะสม ดังที่ภควัต-คีตา (4.34) ได้แนะนำาไว้
ทัด วิดดิ พระณิพาเทนะ พะริพรัชเนนะ เสวะยา
อุพะเดคชยันทิ เท กยานัม กยานินัส ทัททวะ-ดารชินะฮ
“เพียงแต่พยายามเรียนรู้สัจธรรมด้วยการเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ ถามท่านด้วยยอม
จำานน และถวายการรับใช้แด่ท่าน ดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งแห่งตน สามารถถ่ายทอดความรู้
แด่เธอ เพราะท่านได้เห็นสัจธรรมแล้ว”
ยังได้แนะนำาอีกใน มุณดะคะ อุพะนิชัด ว่า ทัด–วิกยานารทัม สะ กุรุม เอวาบิกัชเชท
“ในการเข้าใจศาสตร์ทิพย์นั้น เราต้องเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้” ดังนั้น วิธีการ
ยอมจำานนในการรับความรู้ทิพย์ที่ลับเฉพาะนี้ไม่ใช่มีฐานอยู่ที่การคาดคะเนทางจิตใจ เกี่ยว
กับประเด็นนี้ ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำ ตรัสกับ รูพะ โกสวามี ว่า
บระฮมาณดะ บระมิเท โคนะ บากยะวาน จีวะ
กุรุ-คริชณะ-พระสาเด พายะ บัคธิ-ละทา-บีจะ
“ระหว่างเดินทางอยู่ในจักรวาลที่พระพรหมทรงสร้าง วิญญาณที่โชคดีบางดวงอาจได้รับ
เมล็ดพันธุ์แห่ง บัคธิ-ละทา พันธุ์ไม้เลื้อยแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ทั้งหมดนี้คือพระ
กรุณาธิคุณของ กุรุและ คริชณะ” (เชธันญะ-ชะริทามริทะ มัดฮยะ 19.151) โลกวัตถุเป็น
สถานที่คุมขังสิ่งมีชีวิตผู้มีธรรมชาติเป็นอานันดะมะยะ หรือผู้แสวงหาความสุข อันที่จริง
พวกเขาต้องการเป็นอิสระจากการคุมขังอยู่ในโลกแห่งความสุขที่มีเงื่อนไขนี้ แต่ไม่รู้วิธีการ
แห่งความหลุดพ้น จึงทำาให้ต้องถูกบังคับให้เปลี่ยนร่างจากเผ่าพันธุ์หนึ่งไปสู่อีกเผ่าพันธุ์
หนึ่ง และจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งไปสู่ดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่ง เช่นนี้ สิ่งมีชีวิตท่องไปทั่ว
จักรวาลวัตถุ ด้วยความโชคดีที่ได้มาพบสาวกผู้บริสุทธิ์ อดทนสดับฟังจากท่าน และเริ่ม
ปฏิบัติตามวิถีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ โอกาสเช่นนี้เสนอให้สำาหรับบุคคลที่มีความ
จริงใจ สมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำานึกได้เปิดโอกาสเช่นนี้แด่มวลมนุษยชาติ หาก
ด้วยความโชคดีเราฉวยประโยชน์กับโอกาสนี้มาปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ วิถีแห่ง
ความหลุดพ้นจะเปิดกว้างขึ้นโดยทันที
เราควรยอมรับโอกาสนี้เพื่อกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานด้วยความกระตือรือร้น
อย่างมาก ปราศจากความกระตือรือร้นเราไม่สามารถประสบความสำาเร็จได้ แม้ในโลก
วัตถุ เราต้องกระตือรือร้นมากในสายอาชีพการงานโดยเฉพาะของเรา เพื่อให้ประสบความ
สำาเร็จ นักศึกษา นักธุรกิจ ศิลปิน หรือผู้ใดก็แล้วแต่ที่ต้องการความสำาเร็จในสายอาชีพของ
ตน ต้องมีความกระตือรือร้น ลักษณะเดียวกัน เราต้องมีความกระตือรือร้นมากในการ
อุทิศตนเสียสละรับใช้ กระตือรือร้นหมายถึงการกระทำา แต่ทำาไปเพื่อใคร? คำาตอบคือ เรา
ควรปฏิบัติเพื่อคริชณะเสมอ –คริชณารทาคิละ-เชชทา (บัคธิ-ระสามริทะ-สินดำุ)
ในทุกช่วงของชีวิต เราต้องปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ภายใต้การกำากับของ
พระอาจารย์ทิพย์ เพื่อให้บรรลุถึงความสมบูรณ์แห่ง บัคธิ-โยกะ ไม่ใช่ว่าต้องถูกคุมขังหรือ
ทำาให้กิจกรรมของเราแคบลง คริชณะทรงแพร่กระจายไปทั่ว ฉะนั้น ไม่มีอะไรที่เป็นอิสระ
จากคริชณะ ดังที่คริชณะตรัสไว้ใน ภควัต-คีตา (9.4) ว่า
มะยา ทะทัม อิดัม สารวัม จะกัด อัพยัคทะ-มูรทินา
มัท-สทานิ สารวะ-บูำทานิ นะ ชาฮัม เทชว อวัสทิทะฮ
“จากข้า ในรูปลักษณ์ที่ไม่ปรากฏ จักรวาลทั้งหมดนี้แพร่กระจายออกไป มวลชีวิตอยู่ในข้า
แต่ข้ามิได้อยู่ในพวกเขา” ภายใต้การกำากับของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ เราต้องทำาให้
ทุกสิ่งทุกอย่างเอื้ออำานวยต่อการรับใช้คริชณะ ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันเราใช้เครื่องบันทึก
เสียง นักวัตถุนิยมผู้คิดค้นเครื่องบันทึกเสียงนี้ตั้งใจทำาไว้ให้กับนักธุรกิจหรือนักเขียนทาง
โลก และอาจไม่เคยคิดที่จะใช้เครื่องบันทึกเสียงในการรับใช้องค์ภควาน แต่เราใช้เครื่อง
บันทึกเสียงเพื่อเขียนวรรณกรรมของคริชณะจิตสำานึก แน่นอนว่าผู้ผลิตเครื่องบันทึกเสียง
ก็อยู่ในพลังงานของคริชณะ ชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งหมดของเครื่องมือนี้ รวมทั้งการทำาหน้าที่
ของอิเล็คทรอนิคทำามาจากการรวมตัวและปฏิสัมพันธ์ของพลังงานวัตถุพื้นฐานห้าอย่าง
คือ บูำมิ จะละ อักนิ วายุและ อาคาชะ (ดิน นำา้ ไฟ ลม และ อากาศ) ผู้คิดค้นได้ใช้สมองของ
ตนเพื่อสร้างเครื่องมือที่สลับซับซ้อนนี้ มันสมองของเขารวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ คริชณะ
ทรงเป็นผู้จัดส่งให้ ตามคำาดำารัสของคริชณะ มัท-สทานิ สารวะ-บูำทานิ “ทุกสิ่งทุกอย่าง
ขึ้นอยู่กับพลังงานของข้า” ดังนั้น สาวกสามารถเข้าใจว่า เนื่องจากไม่มีสิ่งใดเป็นอิสระจาก
พลังงานของคริชณะ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงควรได้รับการประสานในการรับใช้พระองค์
ความพยายามปฏิบัติด้วยสติปัญญาในคริชณะจิตสำานึกเรียกว่า อุทสาฮะ หรือ
ความกระตือรือร้น สาวกพบวิธีที่ถูกต้องซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างสามารถนำามาใช้ในการรับใช้
พระองค์ (นิรบันดะฮ คริชณะ-สัมบันเด ยุคทัม ไวรากยัม อุชยะเท) การปฏิบัติการอุทิศตน
เสียสละรับใช้มิใช่เป็นเรื่องที่มาทำาสมาธินิ่งเฉย แต่เป็นภาคปฏิบัติบนพื้นฐานแห่งชีวิตทิพย์
กิจกรรมเหล่านี้ต้องปฏิบัติด้วยความอดทน เราไม่ควรไม่อดทนในคริชณะจิตสำานึก
อันที่จริงขบวนการคริชณะจิตสำานึกนี้เริ่มต้นด้วยคนๆ เดียว ในตอนเริ่มต้นไม่ได้รับการตอบ
รับ แต่เนื่องจากเราปฏิบัติกิจกรรมการอุทิศตนเสียสละอย่างต่อเนื่องด้วยความอดทน ผู้
คนค่อยๆ เริ่มเข้าใจความสำาคัญของขบวนการนี้ และบัดนี้พวกเขาได้มาร่วมกิจกรรมด้วย
ความกระตือรือร้น เราไม่ควรไม่อดทนในการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แต่ควร
รับคำาสั่งสอนจากพระอาจารย์ทิพย์และปฏิบัติไปด้วยความอดทน ขึ้นอยู่กับพระเมตตาของ
กุรุและ คริชณะ การปฏิบัติกิจกรรมในคริชณะจิตสำานึกเพื่อให้ประสบความสำาเร็จจำาเป็น
ต้องมีทั้งความอดทนและความมั่นใจ หญิงสาวที่เพิ่งสมรส โดยธรรมชาติคาดหวังว่าจะได้
บุตรจากสามี แต่นางไม่สามารถคาดหวังว่าจะได้บุตรธิดาทันทีหลังจากการสมรส แน่นอน
ว่าพอสมรสกันแล้วสามารถพยายามที่จะมีบุตรธิดา แต่นางต้องศิโรราบต่อสามี มั่นใจว่า
ลูกน้อยจะพัฒนาขึ้นและกำาเนิดออกมาตามเวลาอันควร ลักษณะเดียวกันในการอุทิศตน
เสียสละรับใช้ การศิโรราบหมายความว่าเราต้องมีความมั่นใจ สาวกคิดว่า อวัชยะ รัคชิเบ
คริชณะ “คริชณะจะทรงปกป้องข้าและช่วยเหลือข้าให้ประสบความสำาเร็จในการปฏิบัติ
การอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างแน่นอน” เช่นนี้เรียกว่าความมั่นใจ
ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่า เราไม่ควรอยู่นิ่งเฉย แต่ควรมีความกระตือรือร้นมากเกี่ยว
กับการปฏิบัติตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ทัท-ทัท-คารมะ-พระวารทะนะ การละเลย
หลักธรรมที่กำาหนดไว้จะทำาลายการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ในขบวนการคริชณะจิตสำานึกนี้
มีหลักธรรมพื้นฐานที่กำาหนดไว้สี่ประการคือ ห้ามมีเพศสัมพันธ์ที่ผิด ห้ามรับประทานเนื้อ
สัตว์ ห้ามเล่นการพนัน และห้ามเสพสิ่งเสพติด สาวกต้องมีความกระตือรือร้นมากในการ
ปฏิบัติตามหลักธรรมเหล่านี้ หากละเลยในการปฏิบัติตาม ความเจริญก้าวหน้าจะต้อง
สะดุดลงอย่างแน่นอน ชรีละ รูพะ โกสวามี จึงแนะนำาว่า ทัท-ทัท-คารมะ-พระวารทะนาท
“เราต้องปฏิบัติตามหลักธรรมของ ไวดี บัคธิที่กำาหนดไว้อย่างเคร่งครัด” นอกเหนือไปจาก
ข้อห้าม(ยะมะ) สี่ประการ ยังมีหลักปฏิบัติในเชิงบวก(นิยะมะ) เช่น การภาวนาพระนามอัน
ศักดิ์สิทธิ์บนประคำา จะปะ-มาลา วันละสิบหกรอบ กิจกรรมที่กำาหนดไว้เหล่านี้ต้องปฏิบัติ
ด้วยความศรัทธาและกระตือรือร้น เช่นนี้เรียกว่า ทัท-ทัท-คารมะ-พระวารทะนะ หรือ
การปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อันหลากหลาย
ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อให้ประสบความสำาเร็จในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เราต้องยกเลิก
การคบหาสมาคมกับบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา เช่นนี้ รวมถึงพวก คารมี, กยานี, โยกี และ
พวกที่ไม่ใช่สาวก ครั้งหนึ่งสาวกคฤหัสถ์ของ ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำ ได้ถามพระองค์
เกี่ยวกับหลักธรรมทั่วไปของลัทธิไวชณะวะ รวมทั้งกิจกรรมประจำาวันทั่วไปของไวชณะวะ
ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำทรงตอบทันทีว่า อสัท-สังกะ-ทยากะ – อี ไวชณะวะ-อาชาระ
“ลักษณะโดยทั่วไป ไวชณะวะคือผู้ที่ยกเลิกการคบหาสมาคมกับบุคคลทางโลก หรือพวก
ไม่ใช่สาวก” ชรีละ นะโรททะมะ ดาสะ ทาคุระ ได้แนะนำาว่า ทางเดระ ชะระณะ เสวิ บัคธะ-
สะเน วาสะ เราต้องอยู่ร่วมกับสาวกผู้บริสุทธิ์และปฏิบัติตามหลักธรรมที่เหล่าอาชารยะใน
อดีต โกสวามี ทั้งหก (เช่นชรี รูพะ โกสวามี, ชรี สะนาทะนะ โกสวามี, ชรี จีวะโกสวามี, ชรี
ระกำุนาทะ ดาสะ โกสวามี, ชรี โกพาละ บัททะ โกสวามี, และ ชรี ระกุำนาทะ บัททะ โกสวา
มี) ได้กำาหนดไว้ หากเราอยู่ร่วมกับสาวกทำาให้มีโอกาสน้อยมากที่จะอยู่ใกล้ชิดกับพวกไม่ใช่
สาวก สมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำานึกได้เปิดศูนย์มากมายเพื่อเชื้อเชิญผู้คนให้มาอยู่
ร่วมกับเหล่าสาวกและปฏิบัติตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้สำาหรับชีวิตทิพย์
การอุทิศตนเสียสละรับใช้หมายถึงกิจกรรมทิพย์ ในระดับทิพย์จะไม่มีมลทินจาก
สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ เช่นนี้เรียกว่า วิชุดดะ-สัททวะ ระดับแห่งความดีที่บริสุทธิ์
หรือความดีที่เป็นอิสระจากมลทินของคุณสมบัติแห่งตัณหาและอวิชชา ในขบวนการ
คริชณะจิตสำานึกนี้ ทุกคนต้องตื่นแต่เช้าตรู่ตอนสี่นาฬิกา และทำาพิธีบูชาในตอนเช้า มังกะ
ละ-อาระทิจากนั้นก็อ่าน ชรีมัด-บากะวะธัม ทำา คีรทะนะ และฯลฯ เรามีกิจกรรมอย่างต่อ
เนื่องในการอุทิศตนเสียสละรับใช้วันละยี่สิบสี่ชั่วโมง เช่นนี้เรียกว่า สะโท วริททิ หรือปฏิบัติ
ตามรอยพระบาท อาชารยะ ในอดีตซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำานาญในการทำาให้ทุกนาทีเต็มไป
ด้วยกิจกรรมแห่งคริชณะจิตสำานึก
หากเราปฏิบัติตามคำาแนะนำาที่ ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้ให้ไว้ในโศลกนี้อย่างเคร่งครัด
เช่น มีความกระตือรือร้น มีความมั่นใจ มีความอดทน ยกเลิกการคบหาสมาคมกับบุคคลที่
ไม่พึงปรารถนา ปฏิบัติตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ และอยู่ใกล้ชิดกับบรรดาสาวก แน่นอน
ว่าจะเจริญก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เกี่ยวกับประเด็นนี้ ชรีละ บัคธิสิดดานธะ
สะรัสวะที ทาคุระ ให้ข้อสังเกตว่า การพัฒนาความรู้จากการคาดคะเนทางปรัชญา การ
สะสมความมั่งคั่งทางโลก ด้วยความเจริญก้าวหน้าในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ และความ
ปรารถนาโยกะ-สิดดิ หรือความสมบูรณ์ทางวัตถุ ทั้งหมดนี้ตรงกันข้ามกับหลักธรรมแห่ง
การอุทิศตนเสียสละรับใช้ เราต้องต่อต้านกิจกรรมที่ไม่ถาวรเหล่านี้อย่างจริงจัง และมุ่ง
หน้ากับหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่กำาหนดไว้ภควัต-คีตา (2.69) กล่าวว่า
ยา นิชา สารวะ-บูำทานาม ทัสยาม จาการทิ สัมยะมี
ยัสยัม จากระทิ บูำทานิ สา นิชา พัชยะโทมุเนฮ
“เวลากลางคืนของมวลชีวิตเป็นเวลาตื่นของผู้ที่ควบคุมตนเองได้ และเวลาตื่นของมวลชีวิต
เป็นเวลากลางคืนของนักปราชญ์ผู้พิจารณาใคร่ครวญ”
การปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละแด่องค์ภควานเป็นชีวิตและจิตวิญญาณของสิ่งมี
ชีวิต เป็นจุดมุ่งหมายที่พึงปรารถนาและเป็นความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิตมนุษย์ ต้องมั่นใจ
เช่นนี้และเรายังต้องมั่นใจว่ากิจกรรมทั้งหมดนอกเหนือไปจากการอุทิศตนเสียสละรับ
ใช้ เช่น การคาดคะเนทางจิตใจ การทำางานเพื่อผลทางวัตถุ หรือความพยายามเพื่อให้ได้
อิทธิฤทธิ์จะไม่มีวันให้ประโยชน์ที่ถาวร ความมั่นใจอย่างสมบูรณ์ในวิถีแห่งการอุทิศตนเสีย
สละรับใช้จะทำาให้เราบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ปรารถนา แต่ความพยายามเพื่อปฏิบัติตามวิถี
ทางอื่นเพียงแต่จะทำาเกิดความวุ่นวายเท่านั้น ในภาคเจ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม ได้กล่าว
ไว้ว่า “เราต้องมั่นใจอย่างสุขุมว่า ผู้ที่ยกเลิกการอุทิศตนเสียสละรับใช้แล้วไปปฏิบัติสมถะ
อย่างเคร่งครัดเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างอื่น จิตใจยังไม่บริสุทธิ์ แม้จะก้าวหน้าในการปฏิบัติ
สมถะ เพราะไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการรับใช้ทิพย์ด้วยใจรักต่อองค์ภควาน”
ยังกล่าวอีกต่อไปในภาคเจ็ดว่า “ถึงแม้นักคาดคะเนทางจิตและนักแสดงเพื่อผล
ทางวัตถุอาจปฏิบัติสมถะและความเพียรอย่างเคร่งครัด พวกนี้ยังตกตำา่เพราะไม่มีข้อมูล
เกี่ยวกับพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควาน” อย่างไรก็ดี เหล่าสาวกของพระองค์ไม่เคย
ตกลงตำา่ ในภควัต-คีตา (9.31) องค์ภควานทรงให้ความมั่นใจแก่อารจุนะว่า คะอุนเทยะ
พระทิจานีฮิ นะ เม บัคธะฮ พระณัชยะทิ “โอ้ โอรสคุนที จงประกาศอย่างอาจหาญว่า
สาวกของข้าจะไม่มีวันถูกทำาลาย”
อีกครั้งหนึ่งใน ภควัต-คีตา (2.40) คริชณะตรัสว่า
เนฮาบิคระมะ-นาโช ’สทิ พรัทยะวาโย นะ วิดยะเท
สวัลพัม อพิ อัสยะ ดารมัสยะ ทรายะเท มะฮะโท บะยาท
“ความพยายามเช่นนี้จะไม่มีวันสูญเปล่าหรือลดน้อยลง และความเจริญก้าวหน้าเพียงเล็ก
น้อยบนวิถีทางนี้ สามารถปกป้องเราจากความกลัวที่เป็นอันตรายมากที่สุด”
การอุทิศตนเสียสละรับใช้มีความบริสุทธิ์และสมบูรณ์มากจนกระทั้งเมื่อเริ่มต้น
แล้ว เราจะถูกนำาพาไปแบบเหมือนถูกบังคับให้ประสบความสำาเร็จสูงสุด บางครั้งบุคคล
จะยกเลิกการปฏิบัติทางวัตถุทั่วไป และด้วยอารมณ์ ได้มาพึ่งพระบาทรูปดอกบัวขององค์
ภควาน จึงได้เริ่มปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ขั้นพื้นฐาน แม้สาวกที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ
เช่นนี้ตกลงตำา่จะไม่มีการสูญเสียในส่วนตัว อีกด้านหนึ่ง จะมีประโยชน์อันใดกับคนที่ปฏิบัติ
ตามหน้าที่วารณะ และ อาชระมะ แต่ไม่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แม้่ชาติหน้า
สาวกผู้ตกตำา่อาจเกิดในครอบครัวตำา่ ถึงกระนั้น การอุทิศตนเสียสละของเขาจะดำาเนินต่อ
เนื่องจากชาติที่แล้ว การอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็น อไฮทุคิ อพระทิฮะทา คือไม่ใช่เป็นผล
กระทบจากเหตุทางโลกวัตถุ และก็ไม่สามารถหยุดลงด้วยเหตุใดๆ ทางโลกวัตถุ หรือถูก
จำากัดอย่างถาวรจากการขัดขวางทางวัตถุใดๆ ฉะนั้น สาวกควรมั่นใจเกี่ยวกับการปฏิบัติ
ของตน และไม่ควรให้ความสนใจมากกับกิจกรรมของ คารมี, กยานีและ โยกี
แน่นอนว่าคุณสมบัติดีๆ มากมายในหมู่นักแสดงเพื่อผลทางวัตถุ นักคาดคะเน
ทางปรัชญา และโยคีผู้มีฤทธิ์ แต่คุณสมบัติที่ดีทั้งหมดจะพัฒนาขึ้นโดยปริยายในบุคลิก
ของสาวก ไม่จำาเป็นต้องมีความพยายามพิเศษใดๆ ดังที่ได้ยืนยันไว้ใน ชรีมัด-บากะวะธัม
(5.18.12) คุณสมบัติที่ดีของเหล่าเทวดาค่อยๆ ปรากฏขึ้นในบุคคลที่พัฒนาการอุทิศตนเสีย
สละรับใช้อย่างบริสุทธิ์ เนื่องจากสาวกไม่สนใจกับกิจกรรมทางวัตถุ จึงไม่มีมลทินทางวัตถุ
แต่สถิตอยู่ในระดับชีวิตทิพย์ทันที อย่างไรก็ดี ผู้ปฏิบัติในกิจกรรมทางโลกไม่ว่าจะเป็นผู้ที่
สมมติว่าเป็น กยานี, โยกี, คารมี, คนใจบุญ, คนชาตินิยมหรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่สามารถ
บรรลุถึงระดับสูงที่เรียกว่า มะฮาทมา ได้ หากแต่ยังคงเป็น ดุราทมา หรือบุคคลที่มีจิตใจ
พิการ ภควัต-คีตา (9.13) กล่าวว่า
มะฮาทมานัส ทุ มาม พารทะ ไดวีม พระคริทิม อาชริทาฮ
บะจันทิ อนันยะ-มะนะโส กยาทวา บูำทาดิม อัพยะยัม
“โอ้ โอรสพริทา พวกที่ไม่อยู่ในความหลง ดวงวิญญาณผู้ยอดเยี่ยมจะอยู่ภายใต้การ
ปกป้องของธรรมชาติทิพย์ พร้อมปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเต็มที่ เพราะรู้ว่าข้า
คือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ภควานองค์เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด”
เนื่องจากสาวกขององค์ภควานทั้งหมดอยู่ภายใต้การปกป้องของพลังงานเบื้อง
สูงของพระองค์ จึงไม่ควรเบี่ยงเบนจากวิถีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และไปดำาเนิน
วิถีของ คารมี, กยานี, หรือ โยกี เช่นนี้ เรียกว่า อุทสาฮาน นิชชะยาด ไดรยาท ทัท-ทัท-
คารมะ-พระวารทะนาท ปฏิบัติกิจกรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่กำาหนดไว้อย่าง
กระตือรือร้น ด้วยความอดทนและมั่นใจ เช่นนี้จะสามารถเจริญก้าวหน้าในการอุทิศตน
เสียสละรับใช้โดยปราศจากอุปสรรค