นำทิพย์แห่งคำสอน

บทมนต์ที่ ห้า

कृष्णेति यस्य गिरि तं मनसाद्रियेत दीक्षास्ति चेत्प्रणतिभिश्च भजन्तमीशम् ।
शुश्रूषया भजनविज्ञमनन्यमन्यनिन्दादिशून्यहृदमीप्सितसङ्गलब्ध्या ॥ ५ ॥

คริชเณทิ ยัสยะ กิริ ทัม มะนะสาดริเยทะ
ดีคชาสทิ เชท พระณะทิบิช ชะ บะจันทัม อีชัม
ชุชรูชะยา บะจะนะ-วิกยัม อนันยัม อันยะ-
นินดาดิ-ชูนยะ-ฮริดัม อีพสิทะ-สังกะ-ลับดยา

คริชณะ – พระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของคริชณะ, อิทิ – ดังนั้น, ยัสยะ – ของผู้ซึ่ง, กิริ – ในคำาหรือคำาพูด, ทัม – เขา, มะนะสา – ด้วยจิต, อาดริเยทะ – เขาต้องให้เกียรติ, ดีคชา – อุปสมบท, อัสทิ – มี, เชท – หาก, พระณะทิบิฮ – ด้วยการแสดงความเคารพ, ชะ – เช่นกัน, บะจันทัม – ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้, อีชัม – แด่องค์ภควาน, ชุชรูชะยา – จากการรับใช้ภาคปฏิบัติ, บะจะนะ-วิกยัม – ผู้ที่ก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, อนันยัม – โดยไม่เบี่ยงเบน, อันยะ-นินดา-อาดิ – ในการสบประมาทผู้อื่น ฯลฯ, ชูนยะ – ปราศจากโดยสิ้นเชิง, ฮริดัม – หัวใจของ ผู้ซึ่ง, อีพสิทะ – ปรารถนา, สังกะ – คบหาสมาคม, ลับดยา – จากการได้รับ

คำแปล

ภายในใจเราควรให้เกียรติสาวกผู้สวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของคริชณะ เราควรถวายความเคารพด้วยความถ่อมตนแด่สาวกผู้ที่ได้อุปสมบทแล้ว (ดีคชา) และปฏิบัติการบูชาพระปฏิมา เราควรคบหาสมาคมและควรมีความศรัทธาในการรับใช้สาวกผู้บริสุทธิ์ ผู้ซึ่งก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยไม่เบี่ยงเบน และเป็นผู้ที่มีหัวใจปราศจากแนวโน้มในการวิจารณ์ผู้อื่นอย่างสิ้นเชิงคำาอธิบาย

คำอธิบาย

ในการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนความรักหกประการที่ได้กล่าวไว้ในโศลกที่แล้วอย่างฉลาด เราต้องเลือกบุคคลที่เหมาะสมด้วยการพิจารณาใคร่ครวญอย่างระมัดระวัง ฉะนั้น ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้แนะนำาว่า เราควรเข้าพบไวชณะวะอย่างถูกกาลเทศะตามสถานภาพของ ท่าน โศลกนี้ท่านบอกว่าควรจะสัมพันธ์อย่างไรกับสาวกสามประเภทคือ คะนิชทะ-อดิคารี, มัดฮยะมะ-อดิคารี และ อุททะมะ-อดิคารี ,คะนิชทะ-อดิคารี เป็นสาวกนวกะผู้ได้รับการ อุปสมบท ฮะริ-นามะ จากพระอาจารย์ทิพย์และกำาลังพยายามสวดภาวนาพระนามอัน ศักดิ์สิทธิ์ของคริชณะ เราควรเคารพผู้นี้ภายในใจในฐานะที่เป็น คะนิชทะ-ไวชณะวะ. มัดฮ ยะมะ-อดิคารี ได้รับการอุปสมบทจากพระอาจารย์ทิพย์และได้รับคำาแนะนำาในการปฏิบัติ รับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานอย่างเต็มที่มัดฮยะมะ-อดิคารี ถือว่าอยู่ตรงกลาง ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้อุททะมะ-อดิคารีหรือสาวกผู้สูงสุดคือผู้ที่เจริญก้าวหน้ามาก ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้อุททะมะ-อดิคารี ไม่สนใจในเรื่องสบประมาทผู้อื่น หัวใจของ ท่านใสสะอาดหมดจดอย่างบริบูรณ์ และบรรลุถึงระดับรู้แจ้งคริชณะจิตสำานึกอย่างบริสุทธิ์ ตาม ชรีละ รูพะ โกสวามี การคบหาสมาคมและการรับใช้มะฮา-บากะวะทะ หรือไวชณะ วะผู้สมบูรณ์เช่นนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง

เราไม่ควรอยู่แค่คะนิชทะ-อดิคารี ซึ่งอยู่ในระดับตำา่สุดแห่งการอุทิศตนเสียสละรับ ใช้ และสนใจแต่บูชาพระปฏิมาในวัดเท่านั้น สาวกเช่นนี้ได้อธิบายไว้ในภาคสิบเอ็ดของ ชรีมัด-บากะวะธัม (11.2.47) ว่า

อารชายาม เอวะ ฮะระเย พูจาม ยะฮ ชรัดดะเยฮะเท
นะ ทัด-บัคเทชุ ชานเยชุ สะ บัคธะฮ พราคริทะฮ สมริทะฮ

“ผู้ที่มีความศรัทธามากในการปฏิบัติบูชาพระปฏิมาในวัด แต่ไม่รู้จักปฏิบัติตัวกับสาวก รูปอื่นๆ หรือกับผู้คนโดยทั่วไป เรียกว่า พราคริทะ-บัคธะ หรือ คะนิชทะ-อดิคารี

ฉะนั้น เราควรพัฒนาตนเองจากระดับ คะนิชทะ-อดิคารี มาอยู่ในระดับ มัดยะมะ- อดิคารี ใน ชรีมัด-บากะวะธัม(11.2.46) ได้อธิบายถึง มัดฮยะมะ-อดิคารี ไว้ดังนี้

อีชวะเร ทัด-อดีเนชุ บาลิเชชุ ดวิชัทสุ ชะ
เพรมะ-ไมทรี-คริโพเพคชา ยะฮ คะโรทิ สะ มัดฮยะมะฮ

มัดฮยะมะ-อดิคารี คือสาวกผู้บูชาองค์ภควานในฐานะที่เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งความรัก คบหาสาวกเป็นเพื่อน มีเมตตาต่อผู้พาซื่อ และหลีกเลี่ยงพวกที่มีธรรมชาติชอบอิจฉา”

นี่คือวิธีพัฒนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเหมาะสม ดังนั้น ในโศลกนี้ ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้แนะนำาว่าเราควรปฏิบัติต่อสาวกรูปอื่นๆ อย่างไร เราสามารถเห็นได้จาก ประสบการณ์จริงว่ามีไวชณะวะรูปแบบต่างๆ กัน โดยทั่วไป พราคริทะ-สะฮะจิยาส จะ สวดภาวนา ฮะเร คริชณะ มหามนต์ แต่ยังยึดติดอยู่กับผู้หญิง เงินทอง และสิ่งเสพติด แม้ บุคคลเหล่านี้อาจสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน แต่ยังไม่มีความบริสุทธิ์ จึงควรได้รับความเคารพอยู่ภายในใจ และควรหลีกเลี่ยงที่จะไปอยู่ใกล้ชิดคบหาสมาคม ด้วย พวกพาซื่อเพียงแต่คบหาคนไม่ดีและถูกนำาพาไป จึงควรได้รับความอนุเคราะห์หาก กระตือรือร้นยอมรับคำาสอนที่ดีจากสาวกผู้บริสุทธิ์ สาวกนวกะที่ได้รับการอุปสมบทจาก พระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้อย่างแท้จริง และปฏิบัติตามคำาสั่งของท่านอย่างจริงใจ ควรได้ รับความเคารพอย่างเหมาะสม

ขบวนการคริชณะจิตสำานึกเปิดโอกาสให้ทุกคนโดยไม่แบ่งแยกวรรณะ ความเชื่อ หรือผิวพรรณ ทุกคนได้รับเชิญให้มาร่วมกับขบวนการนี้ นั่งด้วยกัน รับประทาน พระสา ดัม และสดับฟังเกี่ยวกับคริชณะด้วยกัน เมื่อเราเห็นบางคนสนใจในคริชณะจิตสำานึก อย่างจริงจัง และต้องการอุปสมบท เรารับเขาในฐานะสาวกผู้สวดภาวนาพระนามอัน ศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน เมื่อสาวกนวกะได้รับการอุปสมบทจริง และปฏิบัติการอุทิศตน เสียสละรับใช้จากคำาสั่งของพระอาจารย์ทิพย์ ผู้นี้ควรได้รับการยอมรับว่าเป็นไวชณะวะที่ เชื่อถือได้ทันทีและควรได้รับความเคารพ ในบรรดาไวชณะวะประเภทนี้มากมายอาจพบ หนึ่งคนที่มีความจริงจังมากในการปฏิบัติรับใช้องค์ภควาน และปฏิบัติตามหลักธรรมกฎ ระเบียบที่ประมาณไว้ทั้งหมดอย่างเคร่งครัด สวดภาวนาบนประคำา จะปะ ตามจำานวนรอบ ที่กำาหนดไว้ และคิดตลอดเวลาว่าจะเผยแพร่ขยายขบวนการคริชณะจิตสำานึกได้อย่างไร? ไวชณะวะเช่นนี้ควรได้รับการยอมรับว่าเป็น อุททะมะ-อดิคารีสาวกผู้เจริญก้าวหน้ามาก และควรแสวงหาโอกาสอยู่ใกกล้ชิดกับท่านเสมอ

วิธีที่ทำาให้สาวกยึดมั่นต่อคริชณะ ได้อธิบายไว้ใน เชธันญะ-ชะริทามริทะ (อันทยะ 4.192) ดังนี้

ดีคชา-คาเล บัคธะ คะเร อาทมะ-สะมารพะณะ
เส-คาเล คริชณะ ทาเร อาทมะ-สะมะ

“ตอนที่อุปสมบท เมื่อสาวกศิโรราบในการรับใช้องค์ภควานโดยดุษฎี คริชณะทรงยอมรับ ว่าสาวกรูปนี้ว่าดีเท่าๆ กับพระองค์เอง”

ดีคชา หรือการอุปสมบททิพย์ ชรีละ จีวะ โกสวามี ได้อธิบายไว้ใน บัคธิ-สันดารบะ

(868) ว่า

ดิพยัม กยานัม ยะโท ดัดยาท คุรยาทพาพัสยะ สังคชะยัม
ทัสมาด ดีคเชทิ สา โพรคทา เดชิไคส ทัททวะ-โควิไดฮ

“จาก ดีคชา ทำาให้บุคคลค่อยๆ ลดความสนใจที่จะรื่นเริงทางวัตถุ และค่อยๆ เพิ่มความ สนใจมาที่ชีวิตทิพย์”

เราได้เห็นตัวอย่างภาคปฏิบัติในประเด็นนี้ โดยเฉพาะที่ยุโรปและอเมริกา สานุศิษย์ มากมายที่มาจากครอบครัวที่รำา่รวยและเป็นที่เคารพ มาหาเราและยกเลิกความสนใจกับ ความรื่นเริงทางวัตถุทั้งหมดอย่างรวดเร็ว และมีความกระตือรือร้นมากที่จะเข้าไปสู่ชีวิต ทิพย์ แม้จะมาจากครอบครัวที่มั่งคั่งมาก หลายคนยอมรับสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่สะดวก สบายเลย อันที่จริง เพื่อคริชณะแล้วพวกเขาพร้อมที่จะยอมรับสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ก็ได้ ตราบเท่าที่ได้อยู่ในวัดและได้อยู่ใกล้ชิดกับไวชณะวะ เมื่อไม่สนใจกับความรื่นเริง ทางวัตถุ บุคคลผู้นี้เหมาะที่จะได้รับการอุปสมบทจากพระอาจารย์ทิพย์เพื่อความเจริญ ก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ชรีมัด-บากะวะธัม (6.1.13) อธิบายว่า ทะพะสา บระฮมะชารเยณะ ชะเมนะ ชะ ดะเมนะ ชะ เมื่อจริงจังในการรับ ดีคชะ เขาต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติสมถะ ถือพรหมจรรย์ รวมทั้งควบคุมจิตใจและร่างกาย หากบุคคลเตรียมพร้อมและปรารถนาได้ รับแสงสว่างทิพย์(ดีพยัม กยานัม) เขาเหมาะที่จะได้รับการอุปสมบท ดีพยัม กยานัม ทาง เทคนิคเรียกว่า ทัด-วิกยานะ หรือความรู้เกี่ยวกับองค์ภควานผู้สูงสุด ทัด-วิกยานารทัม สะ กุรุม เอวาบิกัชเชท เมื่อบุคคลสนใจในเรื่องราวทิพย์แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ เขาควรได้รับ การอุปสมบท บุคคลเช่นนี้ควรเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์เพื่อรับ ดีคชา, ชรีมัด-บากะวะธัม (11.3.21) อธิบายเช่นกันว่า ทัสมาด กุรุม พระพัดเยทะ จิกยาสุฮ ชเรยะ อุททะมัม “เมื่อ บุคคลสนใจในศาสตร์ทิพย์แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง เขาควรเข้าพบพระอาจารย์ ทิพย์”

เราไม่ควรรับพระอาจารย์ทิพย์โดยไม่ปฏิบัติตามคำาสั่งสอนของท่าน และเราไม่ ควรรับพระอาจารย์ทิพย์เหมือนกับเป็นแฟชั่นโชว์แห่งชีวิตทิพย์ เราต้องเป็น จิกยาสุ คือ ถามมากเพื่อจะได้เรียนรู้จากพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ คำาถามที่เราถามควรสัมพันธ์กับ ศาสตร์ทิพย์โดยตรง (จิกยาสุฮ ชเรยะ อุททะมัม) คำาว่า อุททะมัม หมายถึง อยู่เหนือความ รู้ทางวัตถุทะมะ หมายถึง “ความมืดแห่งโลกวัตถุนี้ ” และ อุท หมายความว่า “ทิพย์” โดย ทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่สนใจถามเกี่ยวกับเรื่องราวทางโลก เมื่อบุคคลไม่สนใจเรื่องทางโลก วัตถุและมาสนใจแต่เรื่องราวทิพย์เท่านั้น ผู้นี้เหมาะที่จะได้รับการอุปสมบท เมื่อบุคคล ได้รับการอุปสมบทจากพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้จริง และเมื่อปฏิบัติรับใช้องค์ภควาน อย่างจริงจัง บุคคลนี้ควรได้รับการยอมรับว่าเป็น มัดฮยะมะ-อดิคารี

การสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของคริชณะประเสริฐมาก หากเราสวด ภาวนา ฮะเร คริชณะ มะฮา-มันทระ โดยไร้อาบัติ หลีกเลี่ยงอาบัติสิบประการอย่าง ระมัดระวัง แน่นอนว่าจะสามารถค่อยๆ พัฒนาไปถึงจุดที่เข้าใจว่าไม่มีข้อแตกต่างระหว่าง พระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานและตัวพระองค์ ผู้ที่มาถึงจุดแห่งความเข้าใจเช่นนี้ ควรได้รับความเคารพเป็นอย่างมากจากสาวกนวกะ เราควรรู้อย่างแน่นอนว่าปราศจาก การสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานอย่างไร้อาบัติ เราจะไม่สามารถเป็น ผู้สมัครที่เหมาะสมที่จะเจริญก้าวหน้าในคริชณะจิตสำานึก ใน ชรี-เชธันญะ ชะริทามริทะ (มัดฮยะ 22.69) กล่าวไว้ว่า

ยาฮาระ โคมะละ ชรัดดา เส ‘คะนิชทะ’ จะนะ
คระเม คระเม เทงโฮ บัคธะ ฮะ-อิเบ ‘อุททะมะ’

“ผู้ที่ความศรัทธายังอ่อนแอและไม่มั่นคงเรียกว่านวกะ แต่จากการค่อยๆ ปฏิบัติตาม กรรมวิธี เขาจะพัฒนาขึ้นไปจนถึงระดับสาวกชั้นหนึ่ง” ทุกคนเริ่มชีวิตการอุทิศตนเสียสละ จากระดับนวกะ แต่หากสวดภาวนา ฮะริ-นามะ ตามจำานวนรอบที่กำาหนดไว้ จะพัฒนาที ละขั้นจนไปถึงระดับสูงสุดแห่ง อุททะมะ-อดิคารี ขบวนการคริชณะจิตสำานึกได้กำาหนดไว้ ให้สวดภาวนาวันละสิบหกรอบ เพราะคนในประเทศทางตะวันตกไม่สามารถทำาสมาธินาน ขณะสวดภาวนาบนลูกประคำา ฉะนั้น จึงกำาหนดจำานวนรอบที่ตำา่สุดให้ อย่างไรก็ดี ชรีละ บัคธิสิดดานธะ สะรัสวะที ทาคุระ เคยกล่าวว่า นอกจากเราสวดภาวนา จะปะ อย่างตำา่วัน ละหกสิบสี่รอบ (หนึ่งแสนพระนาม) ถือว่าผู้นี้ตกตำา่(พะทิทะ) ตามการคำานวณของท่าน อัน ที่จริงพวกเราทุกคนตกตำา่ แต่เนื่องจากพยายามรับใช้องค์ภควานสูงสุดด้วยความจริงจัง ทั้งหมดโดยไม่เสแสร้ง เราจึงสามารถคาดหวังพระเมตตาจากองค์ ชรี เชธันญะ มะฮาพระ บุำ ผู้ทรงมีชื่อเสียงในฐานะ พะทิทะ-พาวะนะ หรือผู้จัดส่งคนตกตำา่

เมื่อ ชรีละ สัทยะราจะ คาน สาวกผู้ยอดเยี่ยมของ ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำ ถาม พระองค์ว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าบุคคลนี้เป็นไวชณะวะ องค์ภควานทรงตอบว่า

พระบำุ คะเฮ – “ยางระ มุเค ชุนิ เอคะ-บาระ
คริชณะ-นามะ, เส พูจยะ, – ชเรชทะ สะบาคาระ”

“หากเราได้ยินบุคคลเปล่งคำาว่า ‘คริชณะ’ แม้เพียงครั้งเดียว บุคคลนี้ควรได้รับการยอมรับ ว่าเป็นคนดีที่สุด จากคนกลุ่มทั่วๆ ไป” (ชช.มัดฮยะ 15.106) องค์เชธันญะ มะฮา พระบุำ ตรัสต่อว่า

“อทะเอวะ ยางระ มุเค เอคะ คริชณะ-นามะ
เส ทะ’ ไวชณะวะ, คะริฮะ ทังฮาระ สัมมานะ”

“ผู้ที่สนใจในการสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของคริชณะ หรือผู้ที่ภาคปฏิบัติชอบร้อง เพลงสวดภาวนาพระนามของคริชณะ ควรได้รับการยอมรับว่าเป็นไวชณะวะ และควรได้ รับความเคารพ อย่างน้อยก็ภายในใจของเรา” (ชช. มัดฮยะ 15.111) เพื่อนของเราคนหนึ่ง เป็นนักดนตรีชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง รู้สึกชื่นชอบในการร้องเพลงสวดภาวนาพระนามอัน ศักดิ์สิทธิ์ของคริชณะ แม้แต่ในแผ่นเสียงของเขายังได้กล่าวถึงพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ ของ คริชณะหลายครั้ง เขาถวายความเคารพต่อรูปภาพของคริชณะ และบรรดาอาจารย์ผู้ สอนคริชณะจิตสำานึกที่บ้าน โดยรวมประเมินพระนามและกิจกรรมของคริชณะสูงมาก ฉะนั้น เราขอแสดงความเคารพแด่ท่านผู้นี้โดยไม่ลังเล เพราะเห็นอย่างแท้จริงว่าสุภาพบุรุษ ผู้นี้ค่อยๆ เจริญก้าวหน้าขึ้นในคริชณะจิตสำานึก บุคคลเช่นนี้ควรได้รับความเคารพเสมอ ข้อ สรุปคือผู้ใดที่พยายามเจริญก้าวหน้าในคริชณะจิตสำานึก ด้วยการสวดภาวนาพระนามอัน ศักดิ์สิทธิ์อย่างสมำา่เสมอ ควรได้รับการเคารพจากบรรดาไวชณะวะตลอดเวลา อีกด้าน หนึ่ง เราได้เห็นว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันซึ่งควรเป็นครูสอนที่ยิ่งใหญ่ค่อยๆ ตกลงไปอยู่ในแนวคิด ชีวิตทางวัตถุ เนื่องจากไม่สวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควาน

ขณะให้คำาสั่งสอนแด่ สะนาทะนะ โกสวามี, องค์เชธันญะ มะฮาพระบุำ ทรงแบ่งการ อุทิศตนเสียสละรับใช้ออกเป็นสามประเภท

ชาสทระ-ยุคทิ นาฮิ จาเน ดริดะ, ชรัดดาวาน
‘มัดฮยะมะ-อดิคารี’ เส มะฮา-บากยะวาน

“บุคคลที่ข้อสรุปความรู้ของพระคัมภีร์(ชาสทระ) ไม่เก่งนัก แต่ได้พัฒนาความศรัทธา อย่างมั่นคงในการสวดภาวนา ฮะเร คริชณะ มหามนต์ และไม่มีผู้ใดสามารถมาขวางกั้น การปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่กำาหนดไว้ได้ พิจารณาว่าผู้นี้คือ มัดฮยะมะ-อดิคารี เป็น ผู้ที่โชคดีมาก” (ชช. มัดฮยะ 22.67) มัดฮยะมะ-อดิคารีเป็น ชรัดดาวาน บุคคลที่มีความ ศรัทธามั่นคงและเป็นผู้สมัครเพื่อเจริญก้าวหน้าขึ้นไปในการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่าง แท้จริง ดังนั้น ใน เชธันญะ-ชะริทามริทะ (มัดฮยะ 22.64) กล่าวไว้ว่า

ชรัดดาวาน จะนะ ฮะยะ บัคธิ-อดิคารี
‘อุททะมะ’, ‘มัดฮยะมะ’, ‘คะนิชทะ’ – ชรัดดา-อนุสารี

“ผู้ที่มีคุณวุฒิมาเป็นสาวกในระดับ พื้นฐาน ระดับกลาง และ ระดับสูงสุด แห่งการอุทิศตน เสียสละรับใช้ตามการพัฒนาความศรัทธา (ชรัดดา) ของเขา” อีกครั้งหนึ่งใน เชธันญะ-ชะริ ทามริทะ (มัดฮยะ22.62) กล่าไว้ว่า

‘ชรัดดำา’-ชับเด – วิชวาสะ คะเฮ สุดริดะ นิชชะยะ
คริชเณ บัคธิ ไคเล สารวะ-คารมะ คริทะ ฮะยะ

“‘จากการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่คริชณะเขาได้ปฏิบัติกิจกรรมที่รองลงไปทั้งหมดโดย ปริยาย’ การปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่มีความมั่นใจ มีศรัทธาที่มั่นคงและเป็นที่ชื่น ชอบเช่นนี้เรียกว่า ชรัดดา” ชรัดดา หรือความศรัทธาในคริชณะเป็นจุดเริ่มต้นของคริชณะ จิตสำานึก ความศรัทธาหมายถึงความศรัทธาที่แข็งแกร่งมั่นคง คำาดำารัสใน ภควัต - คีตา เป็นคำาสั่งสอนที่เชื่อถือได้สำาหรับคนที่มีความศรัทธา สิ่งใดที่คริชณะตรัสในภควัต - คีตา ต้องยอมรับตามนั้น โดยไม่มีการตีความ นี่คือวิธีที่อารจุนะยอมรับ ภควัต-คีตา หลังจาก ได้ยิน ภควัต-คีตา แล้ว อารจุนะตรัสต่อคริชณะว่า สารวัม เอทัด ริทัม มันเย ยัน มาม วะดะ สิ เคชะวะ “โอ้ คริชณะ ข้าพเจ้ายอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทรงตรัสต่อข้าว่าเป็นความ จริงโดยสมบูรณ์ ” (ภควัต-คีตา 10.14)

เช่นนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องในการเข้าใจ ภควัต-คีตา เช่นนี้เรียกว่า ชรัดดา ไม่ใช่ว่าเรา ยอมรับส่วนหนึ่งของ ภควัต-คีตา ตามที่เราตีความตามอำาเภอใจ และปฏิเสธอีกส่วน หนึ่ง เช่นนี้ไม่ใช่ชรัดดา,ชรัดดา คือการยอมรับคำาสั่งสอนของ ภควัต-คีตาโดยสมบูรณ์ โดยเฉพาะคำาสั่งสอนสุดท้าย สารวะ-ดารมาน พะริทยัจยะ มาม เอคัม ชะระณัม วระจะ “ยกเลิกศาสนาอันหลากหลายทั้งหมด และเพียงแต่ศิโรราบต่อข้า” (ภควัต-คีตา 18.66) เมื่อเรามีความศรัทธาโดยสมบูรณ์เกี่ยวกับคำาสอนนี้ ความศรัทธาอันมั่นคงของเรากลาย มาเป็นพื้นฐานแห่งความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์

เมื่อเราสวดภาวนา ฮะเร คริชณะ มหามนต์อย่างเต็มที่ จะค่อยๆ รู้แจ้งบุคลิกทิพย์ ของตนเอง นอกจากเราสวดภาวนาบทมนต์ ฮะเร คริชณะ ด้วยความศรัทธา มิฉะนั้นคริช ณะจะทรงไม่เปิดเผยพระองค์เสโวนมุคเฮ ฮิ จิฮวาโด สวะยัม เอวะ สพำุระทิ อดะฮ (บัคธิ- ระสามริทะ-สินดุำ 1.2.234) เราไม่สามารถรู้แจ้งองค์ภควาน บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ด้วยวิธีที่ผิดธรรมชาติอื่นใด เราต้องปฏิบัติรับใช้พระองค์ด้วยความศรัทธา การรับใช้เช่นนี้ เริ่มต้นจากลิ้น (เสโวนมุคเฮ ฮิ จิฮวาโด) ซึ่งหมายความว่าเราควรสวดภาวนาพระนามอัน ศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานตลอดเวลา และรับประทาน คริชณะ-พระสาดัม เราไม่ควรสวด ภาวนาหรือรับประทานสิ่งอื่นใด เมื่อเราปฏิบัติตามวิธีนี้ด้วยความศรัทธา องค์ภควานจะ ทรงเปิดเผยพระองค์แด่สาวก

เมื่อบุคคลรู้แจ้งตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรของคริชณะ เขาจะไม่สนใจสิ่งอื่นใด นอกจากการรับใช้คริชณะ คิดถึงคริชณะอยู่เสมอ คอยหาวิธีที่จะเผยแพร่พระนามอันศักดิ์ สิทธิ์ของคริชณะ เข้าใจว่าภารกิจเดียวของตนที่มีอยู่คือเผยแพร่ขบวนการคริชณะจิตสำานึก ไปทั่วโลก บุคคลเช่นนี้ควรรู้ว่าเป็น อุททะมะ-อดิคารี และการอยู่ใกล้ชิดกับท่านควร ยอมรับทันที ตามหกวิธี (ดะดาทิ พระทิกริฮณาทิฯลฯ) อันที่จริงสาวกไวชณะวะ อุททะมะ- อดิคารี ผู้เจริญแล้ว ควรได้รับการยอมรับให้เป็นพระอาจารย์ทิพย์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเป็น เจ้าของควรถวายให้ท่าน เพราะได้กล่าวไว้ว่าเราควรจัดส่งทุกสิ่งที่มีอยู่ให้กับพระอาจารย์ ทิพย์ โดยเฉพาะ บระฮมะชารี ควรไปภิกขาจารและถวายทุกอย่างที่ได้มาแด่พระอาจารย์ ทิพย์ อย่างไรก็ดี เราไม่ควรเลียนแบบพฤติกรรมของสาวกผู้เจริญแล้ว (มะฮา-บากะวะ ทะ) หากไม่รู้แจ้งแห่งตน เพราะหากไปเลียนแบบเช่นนี้จะทำาให้เราตกตำา่ในเวลาต่อมา

ในโศลกนี้ ชรีละ รูพะ โกสวามี แนะนำาสาวกให้ฉลาดพอที่จะแยกแยะระหว่างคะนิช ทะ-อดิคารี, มัดฮยะมะ-อดิคารี และ อุททะมะ-อดิคารี สาวกควรรู้สถานภาพของตนเอง ด้วยเช่นกัน ไม่ควรเลียนแบบสาวกผู้อยู่ในระดับที่สูงกว่า ชรีละ บัคธิวิโนดะ ทาคุระ ได้ให้ข้อ สังเกตุภาคปฏิบัติของไวชณะวะ อุททะมะ-อดิคารีว่า มีความสามารถทำาให้ดวงวิญญาณ ผู้ตกตำา่มากมายมาเป็นไวชณะวะได้ เราไม่ควรมาเป็นพระอาจารย์ทิพย์นอกจากจะบรรลุ ถึงระดับ อุททะมะ-อดิคารี ไวชณะวะนวกะหรือไวชณะวะที่อยู่ในระดับกลางสามารถรับ สาวกได้เช่นกัน แต่สาวกเหล่านี้ต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ควรเข้าใจว่าพวกนี้จะไม่สามารถ เจริญก้าวหน้าได้ดีเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ภายใต้การนำาที่ไร้ประสิทธิภาพของ พระอาจารย์ ฉะนั้น สาวกควรพิจารณาใคร่ครวญให้ดีในการยอมรับ อุททะมะ-อดิคารี มาเป็นพระอาจารย์ทิพย์