นำทิพย์แห่งคำสอน

บทมนต์ที่ หก

दृष्टैः स्वभावजनितैर्वपुषश्च दोषैर्न प्राकृतत्वमिह भक्तजनस्य पश्येत् ।
गङ्गाम्भसां न खलु बुद्बुदफेनपङ्कैर्ब्रह्मद्रवत्वमपगच्छति नीरधर्मैः ॥ ६ ॥

ดริชไทฮ สวะบาวะ-จะนิไทร วะพุชัช ชะ โดไชร
นะ พราคริทวัม อิฮะ บัคธะ-จะนัสยะ พัชเยท
กังกามบะสาม นะ คะลุ บุดบุดะ-เพนะ-พังไคร
บระฮมะ-ดระวัทวัม อพะกัชชะทิ นีระ-ดารไมฮ

ดริชไทฮ – เห็นด้วยวิสัยทัศน์ธรรมดา, สวะบาวะ-จะนิไทฮ – เกิดจากธรรมชาติของตนเอง,วะพุชะฮ – ของร่างกาย, ชะ – และ, โดไชฮ – จากข้อผิดพลาด, นะ – ไม่, พราคริทัทวัม – ในระดับวัตถุ, อิฮะ – ในโลกนี้, บัคธะ-จะนัสยะ – ของสาวกผู้บริสุทธิ์, พัชเยท – เราควรเห็น, กังกา-อัม บะสาม – ของแม่นำา้คงคา, นะ – ไม่, คะลุ – แน่นอน, บุดบุดะ-เพนะ-พังไคฮ – จากตะกอน ฟอง และโคลน, บระฮมะ-ดระวัทวัม – ธรรมชาติทิพย์, อพะกัชชะทิ – เสียไปหมด, นีระ-ดารไมฮ – ลักษณะของนำา้

คำแปล

สถิตอยู่ในตำาแหน่งคริชณะจิตสำานึกเดิมแท้ของตน สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่สำาคัญตนเองกับร่างกาย เราไม่ควรมองสาวกเช่นนี้จากมุมมองทางวัตถุ อันที่จริงเราควรมองข้ามที่ร่างกายของสาวกเกิดมาจากครอบครัวตำา่ มีร่างกายผิวพรรณไม่น่าดู มีร่างพิการ เป็นโรค หรือทุพพลภาพ ตามสายตาธรรมดาทั่วไป ความไม่สมบูรณ์เหล่านี้อาจเห็นได้เด่นชัดในร่างกายของสาวกผู้บริสุทธิ์ แต่ถึงแม้จะมีข้อบกพร่องเหล่านี้ ร่างกายของสาวกผู้บริสุทธิ์จะไร้มลทิน เหมือนกับนำา้ในแม่นำา้คงคาซึ่งในฤดูฝนบางครั้งเต็มไปด้วยตะกอน ฟอง และโคลน แม่นำา้คงคายังคงความบริสุทธิ์ไร้มลทิน พวกที่เจริญก้าวหน้าในความเข้าใจทิพย์จะอาบนำา้ในแม่นำา้คงคาโดยไม่พิจารณาถึงสภาพของนำา้คำาอธิบาย

คำอธิบาย

ชุดดะ-บัคธิหรือกิจกรรมของดวงวิญญาณที่เหมาะสม อีกนัยหนึ่ง คือปฏิบัติในการรับ ใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควาน เป็นการปฏิบัติในสภาวะที่หลุดพ้น ใน ภควัต-คีตา (14.26) กล่าวไว้ว่า

มาม ชะ โย ’วยะบิชาเรณะ บัคธิ-โยเกนะ เสวะเท
สะ กุณาน สะมะทีทไยทาน บระฮมะ-บูำยายะ คัลพะเท

“ผู้ที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเต็มที่ ไม่ตกลงตำา่ในทุกสถานการณ์ จะข้ามพ้น เหนือระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ และมาถึงระดับแห่ง บระฮมัน ได้ทันที ” อัพยะบิชาริณี-บัคธิหมายถึงการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์ บุคคลผู้ปฏิบัติการ อุทิศตนเสียสละรับใช้ต้องเป็นอิสระจากแรงกระตุ้นทางวัตถุ ในขบวนการคริชณะจิตสำานึก นี้จิตสำานึกต้องเปลี่ยน หากจิตสำานึกยังตั้งเป้าอยู่ที่ความรื่นเริงทางวัตถุ เช่นนี้เป็นวัตถุ จิตสำานึก และหากตั้งเป้าอยู่ที่การรับใช้คริชณะก็เป็นคริชณะจิตสำานึก ดวงวิญญาณที่ ศิโรราบรับใช้คริชณะโดยปราศจากการพิจารณาทางวัตถุ (อันยาบิลาชิทา-ชูนยัม)กยานะ -คารมาดิ-อนาวริทัม การอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ซึ่งเป็นทิพย์เหนือกิจกรรมของ ร่างกายและจิตใจเช่น กยานะ (การคาดคะเนทางจิต) และคารมะ (งานเพื่อผลทางวัตถุ) เรียกว่า บัคธิ-โยกะ ที่บริสุทธิ์บัคธิ-โยกะ เป็นกิจกรรมที่เหมาะสำาหรับดวงวิญญาณ และ เมื่อปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์อย่างไร้มลทินจริง เท่ากับหลุดพ้นเรียบร้อย แล้ว (สะกุณาน สะมะทีทไยทาน) สาวกของคริชณะไม่อยู่ภายใต้สภาวะวัตถุ ถึงแม้ลักษณะ ทางร่างกายอาจดูเหมือนอยู่ในสภาวะวัตถุ ดังนั้น เราไม่ควรมองสาวกผู้บริสุทธิ์จากมุม มองทางวัตถุ นอกจากเรามาเป็นสาวกที่แท้จริง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเห็นสาวกอีกรูปหนึ่ง ได้อย่างสมบูรณ์ ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกก่อนว่ามีสาวกอยู่สามประเภทคือ คะนิชทะ-อดิ คารี, มัดฮยะมะ-อดิคารีและ อุททะมะ-อดิคารี, คะนิชทะ-อดิคารีไม่สามารถแยกแยะ ระหว่างสาวกและผู้ไม่ใช่สาวก เขาเพียงแต่สนใจอยู่กับการบูชาพระปฏิมาในวัด อย่างไร ก็ดีมัดฮยะมะ-อดิคารี สามารถแยกแยะระหว่างสาวกและผู้ไม่ใช่สาวก และสามารถ แยกแยะระหว่างสาวกและองค์ภควาน ดังนั้น จึงปฏิบัติต่อองค์ภควาน ต่อสาวก และต่อ ผู้ไม่ใช่สาวกแตกต่างกัน

ไม่มีผู้ใดควรวิจารณ์ข้อบกพร่องทางร่างกายของสาวกผู้บริสุทธิ์ หากมีข้อบกพร่อง ควรมองข้าม สิ่งที่ควรดูคือภารกิจหลักของพระอาจารย์ทิพย์ นั่นคือการอุทิศตนเสียสละ รับใช้ การรับใช้อย่างบริสุทธิ์ต่อองค์ภควานดังที่กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา (9.30) ว่า

อพิ เชท สุดุราชาโร บะจะเท มาม อนันยะ-บาค
สาดำุร เอวะ สะ มันทัพยะฮ สัมยัก วยะวะสิโท ฮิ สะฮ

แม้หากบางครั้งสาวกดูเหมือนปฏิบัติในกิจกรรมที่น่ารังเกียจ ควรพิจารณาว่าเป็น สาดุำ หรือนักบุญ เพราะบุคลิกภาพอันแท้จริงของท่านคือ ผู้ปฏิบัติการรับใช้ด้วยใจรักต่อองค์ ภควาน อีกนัยหนึ่ง พิจารณาว่าไม่ใช่บุคคลธรรมดา

แม้สาวกผู้บริสุทธิ์อาจไม่ได้เกิดในครอบครัวพราหมณ์หรือครอบครัวโกสวามีหาก ปฏิบัติรับใช้องค์ภควานท่านไม่ควรถูกละเลย อันที่จริงไม่มีครอบครัวโกสวามี บนฐานแห่ง การพิจารณาทางวัตถุ เช่น วรรณะหรือจากชาติกำาเนิด ฉายาโกสวามีอันที่จริงผูกขาดไว้ สำาหรับบรรดาสาวกผู้บริสุทธิ์ ดังเช่น เราพูดถึงโกสวามีทั้งหกท่านที่นำาโดย รูพะ โกสวามี และ สะนาทะนะ โกสวามี, รูพะ โกสวามี และ สะนาทะนะ โกสวามี เป็นชาวมุสลิม ดัง นั้น จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ดะบิระ คาสะ และ สาคะระ มัลลิคะ แต่ ชรี เชธันญะ มะฮาพระ บุำ ทรงตั้งให้ทั้งคู่เป็นโกสวามี ดังนั้น ฉายาโกสวามีไม่ใช่เป็นการรับมรดกมาหรือโดยชาติ กำาเนิด คำาว่าโกสวามี หมายถึงผู้ที่สามารถควบคุมประสาทสัมผัสของตนเองได้ ผู้ที่เป็น เจ้านายของประสาทสัมผัส สาวกไม่ใช่ถูกประสาทสัมผัสควบคุม แต่เป็นผู้ควบคุมประสาท สัมผัส เช่นนี้จึงถูกเรียกว่า สวามีหรือ โกสวามี แม้อาจไม่ได้เกิดในครอบครัว โกสวามี

ตามสูตรนี้ พวกโกสวามีที่สืบเชื้อสายมาจาก ชรี นิทยานันดะ พระบุำ และ ชรี อดเว ทะ พระบุำ แน่นอนว่าเป็นสาวก แต่สาวกที่มาจากครอบครัวอื่นๆ ก็ไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติ อันที่จริงไม่ว่าสาวกจะมาจากครอบครัวที่ในอดีตที่เคยเป็น อาชารยะ หรือพระอาจารย์ หรือจากครอบครัวคนธรรมดา พวกท่านควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เราไม่ควร คิดว่า “โอ้ นี่เป็นโกสวามี ชาวอเมริกัน ” และเลือกปฏิบัติ เราไม่ควรคิดว่า “นี่คือ นิทยา นันดะ วัมชะ โกสวามี” มีกระแสต่อต้านพวกเราในการให้ฉายา โกสวามีแด่ไวชณะวะชาว อเมริกันในขบวนการคริชณะจิตสำานึก บางครั้งผู้คนบอกกับสาวกชาวอเมริกันตรงๆ ว่า การเป็นสันนยาสีหรือฉายาโกสวามีของพวกท่านเชื่อถือไม่ได้ อย่างไรก็ดี ตามคำาพูดของ ชรีละ รูพะ โกสวามี ในโศลกนี้ โกสวามีชาวอเมริกัน และโกสวามีในครอบครัวของ อาชา รยะ ไม่แตกต่างกัน

อีกด้านหนึ่งสาวกผู้ได้ฉายาโกสวามี แต่ไม่ได้เกิดจากบิดาที่เป็นพราหมณ์ หรือจาก ตระกูลโกสวามีของ นิทยานันดะ หรือ อดเวทะ พระบุำ ไม่ควรผยองอย่างผิดธรรมชาติโดย คิดว่าตนเองได้มาเป็นโกสวามี ควรคิดเสมอว่า หากเรารู้สึกผยองทางวัตถุจะตกลงตำา่ทันที ขบวนการคริชณะจิตสำานึกนี้เป็นศาสตร์ทิพย์และไม่มีพื้นที่ให้กับความอิจฉา ขบวนการนี้ หมายไว้สำาหรับ พะระมะฮัมสะ ผู้ซึ่งเป็นอิสระจากความอิจฉาริษยาทั้งปวง (พะระมัม นิรมัทสะราณาม) เราไม่ควรอิจฉาบุคคลไม่ว่าจะเกิดในครอบครัวของโกสวามี หรือได้รับ ตำาแหน่งโกสวามี หากมีความอิจฉาจะตกลงมาจากระดับ พะระมะฮัมสะ ทันที

หากเราพิจารณาถึงความบกพร่องทางร่างกายของไวชณะวะ ควรเข้าใจว่าเรา ทำาอาบัติต่อพระบาทรูปดอกบัวของไวชณะวะ อาบัติที่พระบาทรูปดอกบัวของไวชณะวะ รุนแรงมาก อันที่จริง ชรี เชธันญะ มะฮาพระบุำ ทรงอธิบายอาบัติเช่นนี้ว่าเป็น ฮาที-มาทา หรืออาบัติของช้างตกมัน ช้างตกมันสามารถสร้างความหายนะโดยเฉพาะเมื่อมันเข้าไป ในสวนที่จัดแต่งอย่างสวยงาม ฉะนั้น เราควรระมัดระวังมากเพื่อไม่ทำาอาบัติต่อไวชณะ วะ สาวกทุกรูปควรพร้อมที่จะรับคำาสอนจากไวชณะวะผู้อาวุโส และไวชณะวะผู้อาวุโส ต้องพร้อมเสมอที่จะช่วยไวชณะวะผู้ด้อยอาวุโสกว่าด้วยประการทั้งปวง ผู้มีอาวุโสมาก หรืออาวุโสน้อยตามแต่สถานภาพในการพัฒนาวิถีทิพย์ในคริชณะจิตสำานึก มีข้อห้ามไม่ ให้ไปสังเกตกิจกรรมของสาวกผู้บริสุทธิ์จากมุมมองทางวัตถุ โดยเฉพาะสาวกนวกะ หาก พิจารณาสาวกผู้บริสุทธิ์จากมุมมองทางวัตถุเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ฉะนั้น เราควรหลีก เลี่ยงการสังเกตดูสาวกผู้บริสุทธิ์จากภายนอก แต่ควรพยายามมองดูลักษณะภายในและ พยายามเข้าใจว่าท่านปฏิบัติในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานอย่างไร เช่นนี้ เราสามารถหลีกเลี่ยงการมองสาวกผู้บริสุทธิ์จากมุมมองทางวัตถุ เช่นนี้จะทำาให้เราค่อยๆ บริสุทธิ์ขึ้น

พวกที่คิดว่าคริชณะจิตสำานึกจำากัดอยู่ที่ประชากรส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะสาวกส่วน หนึ่ง หรือแผ่นดินผืนหนึ่งโดยเฉพาะ โดยทั่วไปพวกนี้ชอบมองลักษณะภายนอกของสาวก นวกะเหล่านี้ไม่สามารถชื่นชอบการรับใช้อย่างสูงส่งของสาวกผู้เจริญแล้ว และพยายาม ดึงเอา มะฮา-บากะวะทะ มาอยู่ที่ระดับของพวกตน เรามีประสบการณ์ความยากลำาบาก เช่นนี้ในการเผยแพร่คริชณะจิตสำานึกไปทั่วโลก ด้วยความอับโชคเรารายล้อมไปด้วยศิษย์ พี่ศิษย์น้องที่เป็นนวกะผู้ไม่ชื่นชอบกับกิจกรรมอันดีเลิศในการเผยแพร่คริชณะจิตสำานึกไป ทั่วโลก เพียงแต่พยายามดึงเราให้มาอยู่ในระดับเดียวกันกับพวกท่าน และวิจารณ์เราใน ทุกๆ ด้าน เราเสียใจมากกับกิจกรรมที่ไม่เดียงสาและด้อยความรู้เช่นนี้บุคคลผู้ได้รับพลังที่ สามารถปฏิบัติการรับใช้องค์ภควานอย่างใกล้ชิดโดยแท้จริง ไม่ควรได้รับการปฏิบัติเหมือน กับปุถุชนคนธรรมดา เพราะได้กล่าวไว้ว่านอกจากท่านได้รับพลังจากคริชณะ มิฉะนั้น จะ ไม่สามารถเผยแพร่ขบวนการคริชณะจิตสำานึกไปทั่วโลก

เมื่อเราวิจารณ์สาวกผู้บริสุทธิ์ เท่ากับทำาอาบัติ(ไวชณะวะ-อพะราดะ) เช่นนี้ เป็นอุปสรรคและเป็นอันตรายมากสำาหรับพวกที่ปรารถนาจะเจริญก้าวหน้าในคริชณะ จิตสำานึก บุคคลไม่สามารถได้รับประโยชน์ในวิถีทิพย์เมื่อทำาอาบัติที่พระบาทรูปดอกบัว ของไวชณะวะ ดังนั้น ทุกคนควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งที่จะไม่อิจฉาไวชณะวะผู้ได้รับ พลังมา หรือ ชุดดะ-ไวชณะวะ ยังเป็นอาบัติด้วยหากพิจารณาว่าไวชณะวะผู้ได้รับพลัง มาเป็นเป้าหมายแห่งการลงโทษทางวินัย เป็นอาบัติที่พยายามแนะนำาหรือแก้ไขท่าน เรา สามารถแยกแยะระหว่างไวชณะวะนวกะและไวชณะวะผู้เจริญแล้วด้วยกิจกรรมของพวก ท่าน ไวชณะวะผู้เจริญแล้วสถิตในฐานะที่เป็นพระอาจารย์ทิพย์เสมอ และนวกะพิจารณา ว่าเป็นสาวกของท่านเสมอ พระอาจารย์ทิพย์ต้องไม่อยู่ภายใต้การแนะนำาของสาวก และ พระอาจารย์ทิพย์ ไม่จำาเป็นต้องได้รับคำาสั่งสอนจากพวกที่ไม่ใช่สาวก นี่คือเนื้อหาสาระ สำาคัญจากคำาแนะนำาของ ชรีละ รูพะ โกสวามี ในโศลกหกนี้