นำทิพย์แห่งคำสอน

บทมนต์ที่ แปด

तन्नामरूपचरितादिसुकीर्तनानुस्मृत्योः क्रमेण रसनामनसी नियोज्य ।
तिष्ठन्व्रजे तदनुरागिजनानुगामी कालं नयेदखिलमित्युपदेशसारम् ॥ ८ ॥

ทัน-นามะ-รูพะ-ชะริทาดิ-สุคีรทะนานุ- สมริทโยฮ คระเมณะ ระสะนา-มะนะสี นิโยจยะ
ทิชทัน วระเจ ทัด-อนุรากิ-จะนานุกามี คาลัม นะเยด อคิลัม อิทิ อุพะเดชะ-สารัม

ทัด-ขององค์คริชณะ, นามะ – พระนามอันศักดิ์สิทธิ์, รูพะ – รูปลักษณ์, ชะริทะ-อาดิ-บุคลิก ลีลา ฯลฯ, สุ-คีรทะนะ – ในการสนทนาหรือร้องเพลงภาวนาอย่างดี, อนุสมริทโยฮ – และในการระลึกถึง, คระเมณะ – ค่อยเป็นค่อยไป, ระสะนา – ลิ้น, มะนะสี – และจิตใจ, นิโยจยะ – ปฏิบัติ, ทิชทัน – พำานัก, วระเจ – ที่วระจะ, ทัท – แด่องค์คริชณะ, อนุรากิ – ยึดมั่น, จะนะ – บุคคล, อนุกามี – ปฏิบัติตาม, คาลัม – กาลเวลา, นะเยท – ควรใช้ประโยชน์อคิลัม – เต็มเปี่ยม, อิทิ – ดังนั้น, อุพะเดชะ – ของคำาแนะนำาหรือคำาสั่งสอน, สารัม – สาระสำาคัญ,

คำแปล

สาระสำาคัญของคำาแนะนำาทั้งหมดคือ เราควรใช้เวลาอย่างเต็มที่ วันละยี่สิบสี่ชั่วโมง ในการภาวนาและระลึกถึงพระนาม รูปลักษณ์ คุณสมบัติ และลีลาทิพย์นิรันดรขององค์ภควาน เช่นนี้ ค่อยๆ ใช้ลิ้นและจิตใจปฏิบัติไป เราควรพำานักอยู่ที่ วระจะ (โกโลคะ วรินดาวะนะ ดามะ) และรับใช้คริชณะภายใต้การแนะนำาของสาวก เราควรปฏิบัติตามรอยพระบาทของเหล่าสาวกผู้เป็นที่รักยิ่งของคริชณะ และยึดมั่นอย่างลึกซึ้งในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์คำาอธิบาย

คำอธิบาย

เนื่องจากจิตใจอาจเป็นศัตรูหรือเป็นเพื่อน เราจึงต้องฝึกฝนจิตให้มาเป็นเพื่อน ขบวน การคริชณะจิตสำานึกหมายไว้เพื่อฝึกฝนจิตให้ปฏิบัติรับใช้ในภารกิจของคริชณะเสมอ จิตใจมีความประทับใจกับสิ่งต่างๆ เป็นร้อยๆ พันๆ เรื่อง ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้ แต่ รวมถึงหลายต่อหลายชาติในอดีต บางครั้งความประทับใจเหล่านี้มาสัมพันธ์กันและ ผลิตภาพที่ขัดแย้งกัน ดังนั้น การทำางานของจิตอาจเป็นอันตรายต่อพันธวิญญาณ นักศึกษาจิตวิทยารู้ถึงการเปลี่ยนแปลงอันหลากหลายของจิตเช่นนี้ ใน ภควัต-คีตา (8.6) กล่าวว่า

ยัม ยัม วาพิ สมะรัน บาวัม ทยะจะทิ อันเท คะเลวะรัม
ทัม ทัม อไวทิ คะอุนเทยะ สะดา ทัด-บาวะ-บาวิทะฮ

“ไม่ว่าจิตใจระลึกถึงสิ่งใดขณะออกจากร่าง เขาจะได้รับสิ่งนั้นอย่างแน่นอน” ขณะตาย จิตใจและปัญญาของสิ่งมีชีวิตจะสร้างรูปลักษณ์ละเอียดเฉพาะสำาหรับ ชาติหน้า หากชั่วพริบตานั้นจิตระลึกถึงสิ่งไม่ดีจะต้องได้รับร่างนั้นในชาติหน้า แต่ หากสามารถระลึกถึงคริชณะขณะตาย จะย้ายไปยังโลกทิพย์ โกโลคะ วริดาวะนะ กรรมวิธีในการย้ายร่างนี้ละเอียดอ่อนมาก ดังนั้น ชรีละ รูพะ โกสวามี แนะนำาสาวก ให้ฝึกฝนจิตเพื่อให้ไม่ระลึกถึงสิ่งอื่นใดนอกจากคริชณะ เราควรฝึกลิ้นให้พูดเกี่ยวกับ คริชณะและรับประทาน คริชณะ พระสาดะ เท่านั้น ชรีละ รูพะ โกสวามี ยังแนะนำาถึง ทิชทัน วระเจ ว่าเราควรอาศัยอยู่ที่วรินดาวะนะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของ วระจะ บำูมิ, วระจะบูำมิ หรือแผ่นดินแห่ง วรินดาวะนะ มีเนื้อที่ประมาณแปดสิบสี่ โครชัช หนึ่ง โครชะ เท่ากับสองตะรางไมล์ เมื่อพำานักอาศัยอยู่ที่วรินดาวะนะ เราควรมาพึ่งสาวก ผู้เจริญแล้ว ณ ที่นั้น ควรระลึกถึงคริชณะ และลีลาของพระองค์เสมอ เรื่องนี้ ชรี ละ รูพะ โกสวามี ได้อธิบายไว้อย่างละเอีอยดในหนังสือ บัคธิ-ระสามริทะ-สินดุ (นำา้ ทิพย์แห่งการอุทิศตนเสียสละ 1.2.294)

คริชณัม สมะรัน จะนัม ชาสยะ เพรชทัม นิจะ-สะมีฮิทัม

ทัท-ทัท-คะทา-ระทัช ชาโส คุรยาด วาสัม วระเจ สะดา “สาวกควรอาศัยอยู่ที่อาณาจักรทิพย์แห่ง วระจะ และปฏิบัติใน คริชณัม สมะรัน จะนัม ชาสยะ เพรชทัม คือระลึกถึง ชรี คริชณะ และผู้อยู่ใกล้ชิดอันเป็นที่รักของ พระองค์เสมอ จากการปฏิบัติตามรอยพระบาทของผู้อยู่ใกล้ชิด และอยู่ภายใต้การ นำาทางของพวกท่านนิรันดร เราจะสร้างเสริมความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการรับ ใช้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า องค์ภควาน” อีกครั้งที่ ชรีละ รูพะ โกสวามี กล่าวใน บัคธิ-ระสามริทะสินดำุ (1.2.295) ว่า

เสวา สาดะคะ-รูเพณะ สิดดะ-รูเพณะ ชาทระ ฮิ
ทัด-บาวะ--ลิพสุนา คารยา วระจะ-โลคานุสาระทะฮ

“ที่อาณาจักรทิพย์แห่ง วระจะ (วระจะ-ดามะ) เราควรรับใช้องค์ภควาน ชรี คริชณะ ด้วยความรู้สึกคล้ายๆ กับผู้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ วางตัวให้อยู่ภายใต้การแนะนำา โดยตรงของผู้ใกล้ชิดคริชณะโดยเฉพาะ และปฏิบัติตามรอยพระบาทของท่าน วิธีนี้ ใช้ได้ทั้งในระดับ สาดะนะ (การฝึกปฏิบัติวิถีทิพย์ขณะที่ยังถูกพันธนาการอยู่) และใน ระดับ สาดฮยะ (รู้แจ้งองค์ภควานแล้ว) เมื่อมาเป็น สิดดะ-พุรุชะ หรือดวงวิญญาณ ผู้รู้แจ้งทิพย์โดยสมบูรณ์”

ชรีละ บัคธิสิดดานธะ สะรัสวะที ทาคุระ ได้อธิบายโศลกนี้ดังนี้ “ผู้ที่ยังไม่ พัฒนาความสนใจในคริชณะจิตสำานึกควรยกเลิกแรงกระตุ้นทางวัตถุทั้งปวง และ ฝึกฝนจิตให้ปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อความเจริญ เช่น สวดมนต์ภาวนา และระลึก ถึงคริชณะ พระนาม รูปลักษณ์ คุณสมบัติ ลีลา ฯลฯ หลังจากได้รับรสจากสิ่งเหล่า นี้แล้ว ควรไปอาศัยอยู่ที่ วรินดาวะนะ และระลึกถึง พระนาม ชื่อเสียง ลีลา และ คุณสมบัติของ คริชณะ ภายใต้คำาแนะนำาและปกป้องของสาวกผู้ชำานาญ นี่คือแก่น สารของคำาสอนทั้งหมดเกี่ยวกับการพัฒนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้

“ในระดับเริ่มต้นเราควรสดับฟัง คริชณะ-คะทา สมำา่เสมอ เรียกว่าระดับ สดับฟัง ชระวะณะ-ดะชา จากการสดับฟังพระนามทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์ของคริชณะ รูปลักษณ์ คุณสมบัติ และลีลาทิพย์อย่างสมมำา่เสมอ เราสามารถบรรลุถึงระดับที่ ยอมรับเรียก วะระณะ-ดะชา พอถึงระดับนี้จะยึดมั่นในการสดับฟัง คริชณะ-คะทา เมื่อสามารถภาวนาด้วยความปลื้มปีติสุขบุคคลบรรลุถึงระดับระลึกถึงเรียกว่า สมะ ระณาวัสทา ระดับแห่งการระลึกถึง ทรงจำา ซึมซาบ สมาธิ ทรงจำาและระลึกถึง พระองค์อยู่ในสมาธิตลอดเวลาคือห้ารายการแห่งความก้าวหน้าของ คริชณะ-สมะ ระณะ ในช่วงเริ่มต้นการระลึกถึงคริชณะอาจติดขัดหรือขาดช่วงบางตอน แต่ต่อมา การระลึกถึงจะดำาเนินต่อไปอย่างไม่ขาดสาย เมื่อการระลึกถึงไม่ติดขัดมีความเข้ม ข้นและต่อเนื่อง ตรงนี้เรียกว่าสมาธิ เมื่อสมาธิเพิ่มพูนต่อเนื่องตลอดเวลาเรียกว่า อนุสมริทิ จาก อนุสมริทิ ที่ไม่ขาดตอนไม่ขัดข้องจะเข้ามาสู่ระดับสมาธิ หรือฌาณ ทิพย์ หลังจาก สมะระณะ-ดะชา หรือ สะมาดิ พัฒนาอย่างสมบูรณ์ ดวงวิญญาณ จะเข้าใจสถานภาพเดิมแท้ของตนเอง ช่วงนี้จะมีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์และชัดเจน ถึงความสัมพันธ์ที่ตนเองมีต่อคริชณะ ตรงนี้เรียกว่า สัมพัททิ-ดะชา ความสมบูรณ์ แห่งชีวิต

เชธันญะ-ชะริทามริทะ แนะนำาผู้เริ่มต้นหรือ นวกะ ให้ยกเลิกแรงกระตุ้นแห่ง ความปรารถนาต่างๆ และเพียงแต่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่พระองค์ทรง ประมาณไว้ตามคำาสอนของพระคัมภีร์ เช่นนี้ผู้เริ่มต้นจะค่อยๆ พัฒนาความยึดมั่น ต่อพระนาม ชื่อเสียง รูปลักษณ์ คุณสมบัติ และ ฯลฯ เมื่อบุคคลพัฒนาความยึดมั่น เช่นนี้แล้วจะรับใช้พระบาทรูปดอกบัวของคริชณะแม้ไม่ปฏิตามหลักธรรมที่กำาหนดไว้ ระดับนี้เรียกว่า รากะ-บัคธิ หรือการอุทิศตนเสียสลรับใช้ด้วยใจรักโดยธรรมชาติ ระดับนี้สาวกสามารถปฏิบัติตามรอยพระบาทของผู้อยู่ใกล้ชิดนิรันดรกับคริชณะที่ วรินดาวะนะ เช่นนี้เรียกว่า รากานุกะ-บัคธิ, รากานุกะ-บัคธิ หรือการอุทิศตนเสีย สละรับใช้โดยธรรมชาติสามารถปฏิบัติใน ชานทะ-ระสะ เมื่อเราปรารถนามาเป็นโค ของคริชณะ มาเป็นไม้เรียวหรือขลุ่ยที่อยู่ในมือของคริชณะ หรือเป็นดอกไม้ที่อยู่รอบ คอคริชณะ ใน ดาสยะ-ระสะ เราปฏิบัติตามรอยพระบาทของผู้รับใช้เช่น ชิทระคะ พะทะคระ หรือ รัคทะคะ ใน สัคฮยะ-ระสะ เราสามารถมาเป็นเพื่อนเช่น บะละเด วะ ชรีดามา หรือ สุดามา ใน วาทสัลยะ-ระสะ เป็นความรักที่เหมือนกับของบิดา มารดา เราสามารถมาเป็น นันดะ มะฮาราจะ และ ยะโชดา และใน มาดุรยะ-ระสะ เป็นความรักแบบคู่รัก เราสามารถมาเป็นเหมือนกับ ชรีมะธี ราดาราณี หรือเพื่อนๆ ของนาง เช่น ละลิทา หรือผู้รับใช้ของนาง (มันจะรี) เช่น รูพะ และ ระทิ นี่คือสาระ สำาคัญของคำาสอนทั้งหมดเกี่ยวกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้”