ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
คำนำ
โอํ อชฺญาน-ติมิรานฺธสฺย
ชฺญานาญฺชน-ศลากยา
จกฺษุรฺ อุนฺมีลิตํ เยน
ตไสฺม ศฺรี-คุรเว นมห์
ชฺญานาญฺชน-ศลากยา
จกฺษุรฺ อุนฺมีลิตํ เยน
ตไสฺม ศฺรี-คุรเว นมห์
ศฺรี-ไจตนฺย-มโน-’ภีษฺฏํ
สฺถาปิตํ เยน ภู-ตเล
สฺวยํ รูปห์ กทา มหฺยํ
ททาติ สฺว-ปทานฺติกมฺ
สฺถาปิตํ เยน ภู-ตเล
สฺวยํ รูปห์ กทา มหฺยํ
ททาติ สฺว-ปทานฺติกมฺ
ข้าพเจ้าได้เกิดมาอยู่ในความมืดแห่งอวิชชา พระอาจารย์ทิพย์ได้เปิดดวงตาของข้าพเจ้าด้วยแสงสว่างแห่งวิชาความรู้ ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่ท่าน
เมื่อไร ศฺรีล รูป โคสฺวามี ปฺรภุปาท ผู้สถาปนาภารกิจในโลกวัตถุนี้เพื่อสนองพระราชประสงค์ขององค์ไจตนฺยจะได้โปรดให้ที่พึ่งพิงภายใต้พระบาทรูปดอกบัวของท่านแด่ข้าพเจ้าสักที
วนฺเท ’หํ ศฺรี-คุโรห์ ศฺรี-ยุต-ปท-กมลํ ศฺรี-คุรูนฺ ไวษฺณวำศฺ จ
ศฺรี-รูปํ สาคฺรชาตํ สห-คณ-รฆุนาถานฺวิตํ ตํ ส-ชีวมฺ
สาไทฺวตํ สาวธูตํ ปริชน-สหิตํ กฺฤษฺณ-ไจตนฺย-เทวํ
ศฺรี-ราธา-กฺฤษฺณ-ปาทานฺ สห-คณ-ลลิตา-ศฺรี-วิศาขานฺวิตำศฺ จ
ศฺรี-รูปํ สาคฺรชาตํ สห-คณ-รฆุนาถานฺวิตํ ตํ ส-ชีวมฺ
สาไทฺวตํ สาวธูตํ ปริชน-สหิตํ กฺฤษฺณ-ไจตนฺย-เทวํ
ศฺรี-ราธา-กฺฤษฺณ-ปาทานฺ สห-คณ-ลลิตา-ศฺรี-วิศาขานฺวิตำศฺ จ
ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่พระบาทรูปดอกบัวของพระอาจารย์ทิพย์ และขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่พระบาทของ ไวษฺณว ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่พระบาทรูปดอกบัวของ ศฺรีล รูป โคสฺวามี พร้อมทั้งพี่ชาย สนาตน โคสฺวามี รวมทั้ง รฆุนาถ ทาส , รฆุนาถ ภฏฺฏ , โคปาล ภฏฺฏ และ ศฺรีล ชีว โคสฺวามี ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่องค์ศฺรีกฺฤษฺณ ไจตนฺย และ นิตฺยานนฺท พร้อมทั้ง อไทฺวต อาจารฺย , คทาธร, ศฺรีวาส และสาวกรูปอื่นๆ ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่ ศฺรีมตี ราธาราณี และ ศฺรี กฺฤษฺณ รวมทั้งสหายของพระองค์ทั้งสอง ศฺรี ลลิตา และ วิศาขา
เห กฺฤษฺณ กรุณา-สินฺโธ
ทีน-พนฺโธ ชคตฺ-ปเต
โคเปศ โคปิกา-กานฺต
ราธา-กานฺต นโม ’สฺตุ เต
ทีน-พนฺโธ ชคตฺ-ปเต
โคเปศ โคปิกา-กานฺต
ราธา-กานฺต นโม ’สฺตุ เต
โอ้ กฺฤษฺณ ที่รักพระองค์ทรงเป็นสหายของผู้ที่มีความทุกข์ และทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งการสร้าง พระองค์ทรงเป็นเจ้านายของโกปี และเป็นคู่รักของ ราธาราณี ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่พระองค์
ตปฺต-กาญฺจน-เคารางฺคิ
ราเธ วฺฤนฺทาวเนศฺวริ
วฺฤษภานุ-สุเต เทวิ
ปฺรณมามิ หริ-ปฺริเย
ราเธ วฺฤนฺทาวเนศฺวริ
วฺฤษภานุ-สุเต เทวิ
ปฺรณมามิ หริ-ปฺริเย
ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่ ราธาราณี ผู้มีผิวพรรณอร่ามดุจดั่งทองคำ และเป็นราชินีแห่ง วฺฤนฺทาวน พระนางทรงเป็นธิดาของพระราชา วฺฤษภานุ และเป็นที่รักยิ่งขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ
วาญฺฉา-กลฺป-ตรุภฺยศฺ จ
กฺฤปา-สินฺธุภฺย เอว จ
ปติตานำ ปาวเนโภฺย
ไวษฺณเวโภฺย นโม นมห์
กฺฤปา-สินฺธุภฺย เอว จ
ปติตานำ ปาวเนโภฺย
ไวษฺณเวโภฺย นโม นมห์
ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่ ไวษฺณว ทั้งหลายขององค์ภควานฺ ผู้เปรียบเสมือนต้นกัลปพฤกษ์ที่สามารถทำให้ทุกคนได้รับทุกอย่างสมดังใจปรารถนา และยังเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาต่อพันธวิญญาณผู้ตกต่ำ
ศฺรี-กฺฤษฺณ-ไจตนฺย ปฺรภุ-นิตฺยานนฺท
ศฺรี-อไทฺวต คทาธร ศฺรีวาสาทิ-เคาร-ภกฺต-วฺฤนฺท
ศฺรี-อไทฺวต คทาธร ศฺรีวาสาทิ-เคาร-ภกฺต-วฺฤนฺท
ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่ศฺรีกฺฤษฺณ ไจตนฺย ปฺรภุ , นิตฺยานนฺท, ศฺรี อไทฺวต , คทาธร, ศฺรีวาส และสาวกทั้งหลายในสายแห่งการอุทิศตนเสียสละ
หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร
หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร
หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร
ภควัท-คีตา หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คีโตปนิษทฺ เป็นหัวใจของความรู้พระเวท และเป็นหนึ่งใน อุปนิษทฺ ที่สำคัญที่สุดในวรรณกรรมพระเวท มีคำอธิบาย ภควัท-คีตา เป็นภาษาอังกฤษมากมาย และเราอาจถามว่ามันจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องอธิบายกันอีกครั้งหนึ่ง ภควัท-คีตา ฉบับนี้จะอธิบายดังต่อไปนี้ เมื่อไม่นานมานี้มีสุภาพสตรีชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้ขอร้องให้อาตมาแนะนำหนังสือ ภควัท-คีตา ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ในอเมริกามีหนังสือ ภควัท-คีตา ที่เป็นภาษาอังกฤษมากมาย แต่เท่าที่อาตมาเห็นไม่เพียงแต่ในอเมริกาเท่านั้น แม้แต่ในอินเดียก็เช่นกันหากพูดกันอย่างจริงจังก็ไม่มีเล่มใดเลยที่น่าเชื่อถือได้ เพราะว่าหนังสือเกือบทุกเล่มนั้นผู้อธิบายได้แสดงความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ได้สัมผัสกับเนื้อหาสาระอันแท้จริงของ ภควัท-คีตา
เนื้อหาสาระอันแท้จริงของ ภควัท-คีตา ได้กล่าวไว้ในตัวของ ภควัท-คีตา เองดังต่อไปนี้ หากว่าเราต้องการรับประทานยาเราจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่เขียนอยู่บนฉลากยา เราไม่ควรจะรับประทานยาตามใจชอบหรือจากคำแนะนำของเพื่อน เราจะต้องรับประทานยาตามคำสั่งที่อยู่บนฉลาก หรือตามคำสั่งแพทย์ เช่นเดียวกันกับ ภควัท-คีตา ควรได้รับการยอมรับเหมือนกับผู้ตรัสได้ให้ไว้ ผู้ตรัส ภควัท-คีตา คือองค์ศฺรี กฺฤษฺณ พระองค์ทรงได้รับการกล่าวขานไว้ในทุกๆหน้าของ ภควัท-คีตา ว่าเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ภควานฺ คำว่า ภควานฺ บางครั้งหมายถึงมนุษย์ผู้มีอำนาจมาก หรือเทวดาผู้มีอำนาจมาก และแน่นอนว่าคำว่า ภควานฺ ในที่นี้หมายถึงองค์ศฺรี กฺฤษฺณ บุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันเราควรรู้ว่า องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดังที่ได้ยืนยันไว้โดยพระอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย เช่น ศงฺกราจารฺย, รามานุชาจารฺย, มธฺวาจารฺย, นิมฺพารฺกสฺวามี, ศฺรี ไจตนฺย มหาปฺรภุ และผู้เชื่อถือได้ในวิชาพระเวทอีกมากมายในประเทศอินเดีย องค์กฺฤษฺณทรงได้สถาปนาพระองค์เองว่าเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ใน ภควัท-คีตา พฺรหฺม-สํหิตา และ ปุราณ ทั้งหลาย โดยเฉพาะใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาควต ปุราณ (กฺฤษฺณสฺ ตุ ภควานฺ สฺวยมฺ) ฉะนั้นเราควรจะรับเอา ภควัท-คีตา ฉบับเดิมตามที่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าได้ตรัสไว้ในบทที่สี่ของ ภควัท-คีตา (4.1-3) ดังต่อไปนี้
อิมํ วิวสฺวเต โยคํ
โปฺรกฺตวานฺ อหมฺ อวฺยยมฺ
วิวสฺวานฺ มนเว ปฺราห
มนุรฺ อิกฺษฺวากเว ’พฺรวีตฺ
โปฺรกฺตวานฺ อหมฺ อวฺยยมฺ
วิวสฺวานฺ มนเว ปฺราห
มนุรฺ อิกฺษฺวากเว ’พฺรวีตฺ
เอวํ ปรมฺปรา-ปฺราปฺตมฺ
อิมํ ราชรฺษโย วิทุห์
ส กาเลเนห มหตา
โยโค นษฺฏห์ ปรนฺ-ตป
อิมํ ราชรฺษโย วิทุห์
ส กาเลเนห มหตา
โยโค นษฺฏห์ ปรนฺ-ตป
ส เอวายํ มยา เต ’ทฺย
โยคห์ โปฺรกฺตห์ ปุราตนห์
ภกฺโต ’สิ เม สขา เจติ
รหสฺยํ หฺยฺ เอตทฺ อุตฺตมมฺ
โยคห์ โปฺรกฺตห์ ปุราตนห์
ภกฺโต ’สิ เม สขา เจติ
รหสฺยํ หฺยฺ เอตทฺ อุตฺตมมฺ
ณ ที่นี้พระองค์ตรัสแก่ อรฺชุน ว่าระบบโยคะแห่ง ภควัท-คีตา นี้ครั้งแรกพระองค์ทรงตรัสให้แก่สุริยเทพ ต่อมาสุริยเทพทรงอธิบายแก่ มนุ และ มนุ ทรงอธิบายให้ อิกฺษฺวากุ ด้วยระบบ ปรมฺปรา จากผู้ตรัสผู้หนึ่งลงมาสู่ผู้ตรัสอีกผู้หนึ่ง ระบบโยคะนี้จึงได้ถูกถ่ายทอดลงมาเรื่อยๆ เมื่อกาลเวลาผ่านไปนานระบบนี้ได้สูญหายไป ฉะนั้นพระองค์ทรงตรัส ภควัท-คีตา ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และครั้งนี้ทรงตรัสให้แก่ อรฺชุน ณ สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร
พระองค์ทรงตรัสแก่ อรฺชุน ว่าที่พระองค์ทรงถ่ายทอดความลับสุดยอดนี้ให้แก่ อรฺชุน ก็เนื่องจาก อรฺชุน ทรงเป็นทั้งสาวกและสหายของพระองค์ คำอธิบายในประเด็นนี้คือ ภควัท-คีตา เป็นหนังสือสำหรับสาวกขององค์ภควานฺ มีนักทิพย์นิยมอยู่สามประเภทคือ ชฺญานี โยคี และ ภกฺต (ผู้ที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ หรือนักบำเพ็ญฌาน และสาวก) ทรงตรัสแก่ อรฺชุน อย่างชัดเจนที่นี้ว่าพระองค์ทรงให้ อรฺชุน เป็นผู้รับสาส์นคนแรกของ ปรมฺปรา ใหม่นี้ เพราะว่าสายเก่าได้ขาดตอนไป ดังนั้นจึงเป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะสถาปนา ปรมฺปรา นี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นสายเดียวกันกับสายที่ทรงถ่ายทอดให้กับสุริยเทพ และทรงเป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะให้ อรฺชุน เป็นต้นตำรับที่น่าเชื่อถือได้ในการเข้าใจ ภควัท-คีตา ดังนั้นเราจะเห็นว่า ภควัท-คีตา ได้มีการสอนให้ อรฺชุน โดยเฉพาะเพราะ อรฺชุน เป็นสาวก เป็นศิษย์โดยตรง และเป็นสหายสนิทขององค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นผู้ที่จะเข้าใจ ภควัท-คีตา ได้ดีที่สุดนั้นควรจะมีคุณสมบัติคล้ายกับ อรฺชุน คือ จะต้องเป็นสาวกผู้ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับพระองค์ ในทันทีที่เราเป็นสาวกเราจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับองค์กฺฤษฺณ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและประณีตมาก แต่จะกล่าวโดยสรุปว่าสาวกจะมีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าหนึ่งในห้ารูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. การมาเป็นสาวกแบบไม่แสดงออก
2. การมาเป็นสาวกแบบแสดงออก
3. การมาเป็นสาวกแบบเพื่อน
4. การมาเป็นสาวกแบบบิดามารดา
5. การมาเป็นสาวกแบบคู่รัก
อรฺชุน ทรงมีความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณแบบเพื่อน มิตรภาพแบบนี้กับมิตรภาพในโลกวัตถุจะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มิตรภาพเช่นนี้เป็นมิตรภาพทิพย์ที่ไม่ใช่ว่าใครก็จะมีได้ ทุกคนมีความสัมพันธ์โดยเฉพาะกับองค์ภควานฺ และความสัมพันธ์นั้นจะได้รับการฟื้นฟูขึ้นจากความสมบูรณ์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แต่ในสถานการณ์ของชีวิตปัจจุบันไม่เพียงแค่เราจะลืมองค์ภควานฺเท่านั้น แต่เรายังลืมความสัมพันธ์อันนิรันดรที่มีต่อพระองค์ด้วย มีสิ่งมีชีวิตทั้งหมดนับเป็นจำนวนพันๆล้านชีวิต แต่ละชีวิตจะมีความสัมพันธ์โดยเฉพาะกับพระองค์นิรันดร เช่นนี้เรียกว่า สฺวรูป จากวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความจงรักภักดีเราจะสามารถฟื้นฟู สฺวรูป นี้ได้ ในระดับนี้เรียกว่า สฺวรูป-สิทฺธิ หมายถึงความสมบูรณ์ในสถานภาพพื้นฐานของเรา ดังนั้น อรฺชุน เป็นสาวกและได้มาสัมผัสกับองค์ภควานฺเสมือนสหายของพระองค์
เราควรให้ความสนใจว่า อรฺชุน ได้ทรงยอมรับเอา ภควัท-คีตา นี้อย่างไร ลักษณะท่าทีแห่งการยอมรับนี้ได้ระบุไว้ในบทที่สิบ (10.12-14)
อรฺชุน อุวาจ
ปรํ พฺรหฺม ปรํ ธาม
ปวิตฺรํ ปรมํ ภวานฺ
ปุรุษํ ศาศฺวตํ ทิวฺยมฺ
อาทิ-เทวมฺ อชํ วิภุมฺ
ปวิตฺรํ ปรมํ ภวานฺ
ปุรุษํ ศาศฺวตํ ทิวฺยมฺ
อาทิ-เทวมฺ อชํ วิภุมฺ
อาหุสฺ ตฺวามฺ ฤษยห์ สเรฺว
เทวรฺษิรฺ นารทสฺ ตถา
อสิโต เทวโล วฺยาสห์
สฺวยํ ไจว พฺรวีษิ เม
เทวรฺษิรฺ นารทสฺ ตถา
อสิโต เทวโล วฺยาสห์
สฺวยํ ไจว พฺรวีษิ เม
สรฺวมฺ เอตทฺ ฤตํ มเนฺย
ยนฺ มำ วทสิ เกศว
น หิ เต ภควนฺ วฺยกฺตึ
วิทุรฺ เทวา น ทานวาห์
ยนฺ มำ วทสิ เกศว
น หิ เต ภควนฺ วฺยกฺตึ
วิทุรฺ เทวา น ทานวาห์
อรฺชุน ตรัสว่า “พระองค์ทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ทรงเป็นที่พำนักพักพิงสูงสุด ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ที่สุด ทรงเป็นสัจธรรมที่สมบูรณ์ พระองค์ทรงเป็นอมตะ ทรงเป็นทิพย์ ทรงเป็นปฐมองค์ ไม่มีการเกิด และทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย เช่น นารท, อสิต, เทวล และ วฺยาส ได้ยืนยันความจริงเช่นนี้เกี่ยวกับพระองค์ และมาถึงบัดนี้พระองค์ทรงประกาศให้ข้าได้ทราบ โอ้ องค์กฺฤษฺณ ข้าพเจ้าขอน้อมรับโดยดุษฏีว่าทุกสิ่งที่พระองค์ตรัสเป็นสัจธรรมแม้เหล่าเทวดาหรือเหล่ามารก็ไม่สามารถเข้าใจบุคลิกภาพแห่งพระองค์ได้”
หลังจากที่ อรฺชุน ทรงสดับฟัง ภควัท-คีตา จากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าแล้ว อรฺชุน ทรงยอมรับองค์ศฺรีกฺฤษฺณว่าเป็น ปรํ พฺรหฺม หรือ พฺรหฺมนฺ สูงสุด ทุกชีวิตเป็น พฺรหฺมนฺ แต่ว่าชีวิตที่สูงสุดหรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า คือ พฺรหฺมนฺ สูงสุด ปรํ ธาม หมายความว่าพระองค์ทรงเป็นที่พำนักพักพิงสูงสุดสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง ปวิตฺรมฺ หมายความว่าพระองค์ทรงมีความบริสุทธิ์ปราศจากมลทินทางวัตถุ ปุรุษมฺ หมายความว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความสุขเกษมสำราญสูงสุด ศาศฺวตมฺ เป็นอมตะ ทิวฺยมฺ เป็นทิพย์ อาทิ-เทวมฺ เป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์เดิมแท้ อชมฺ ไม่มีการเกิด และ วิภุมฺ เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
เราอาจคิดว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นพระสหายของ อรฺชุน อรฺชุน จึงทรงตรัสสรรเสริญเยินยอพระองค์ แต่เพื่อขจัดความสงสัยเช่นนี้ให้ออกจากจิตใจของผู้อ่าน ภควัท-คีตา อรฺชุน จึงทรงยืนยันคำสรรเสริญนี้ในโศลกต่อมาว่าองค์กฺฤษฺณทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ไม่เพียงแต่ อรฺชุน เท่านั้นแม้แต่ผู้ที่น่าเชื่อถือได้ เช่น นารท, อสิต, เทวล และ วฺยาสเทว พวกท่านเหล่านี้ก็ล้วนเป็นบุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่ที่แจกจ่ายความรู้พระเวทเหมือนดังเช่นที่ อาจารฺย ทั้งหลายได้มีการยอมรับทั้งสิ้น ดังนั้น อรฺชุน ได้ตรัสแด่องค์กฺฤษฺณว่าทรงยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่องค์กฺฤษฺณตรัสว่า มีความสมบูรณ์บริบูรณ์ สรฺวมฺ เอตทฺ ฤตํ มเนฺย “ข้าพเจ้ายอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ตรัสว่าเป็นสัจธรรม” อรฺชุน ตรัสว่า “บุคลิกภาพแห่งพระเจ้านี้ยากที่จะเข้าใจนัก แม้แต่เหล่าเทวดาผู้ยิ่งใหญ่ก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจพระองค์ได้ หมายความว่าแม้แต่บุคลิกภาพที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจพระองค์ได้ ดังนั้นมนุษย์ธรรมดาจะเข้าใจองค์กฺฤษฺณได้อย่างไร ถ้าหากยังไม่ได้มาเป็นสาวกของพระองค์”
ฉะนั้นเราจึงควรรับเอา ภควัท-คีตา ด้วยจิตวิญญาณแห่งการอุทิศตนเสียสละ ไม่ควรคิดว่าตัวเราเทียบเท่ากับองค์กฺฤษฺณ และไม่ควรคิดว่าองค์กฺฤษฺณ ทรงเป็นเพียงบุคคลธรรมดาสามัญ หรือแม้แต่คิดว่าพระองค์ทรงเป็นบุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่มากเท่านั้น องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ฉะนั้นตามที่ ภควัท-คีตา หรือที่ อรฺชุน ได้ตรัสไว้ว่าผู้ที่พยายามเข้าใจ ภควัท-คีตา อย่างน้อยตามทฤษฎีก็ควรยอมรับว่าองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และด้วยจิตวิญญาณที่ยอมรับเช่นนี้ก็จะสามารถเข้าใจ ภควัท-คีตา หากเราไม่ได้อ่าน ภควัท-คีตา ด้วยจิตวิญญาณที่ยอมรับเช่นนี้ก็จะเป็นการยากมากที่จะเข้าใจ ภควัท-คีตา เพราะจะเป็นสิ่งที่เร้นลับมาก
ภควัท-คีตา คืออะไร จุดมุ่งหมายของ ภควัท-คีตา นั้นก็เพื่อที่จะนำพามวลมนุษย์ให้ออกจากอวิชชาแห่งชีวิตทางวัตถุ ทุกๆคนจะมีความยากลำบากนานัปการ เหมือนดังเช่น อรฺชุน ที่ทรงอยู่ในความยากลำบากที่จะต้องต่อสู้ในสมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร อรฺชุน ทรงศิโรราบแด่องค์ศฺรีกฺฤษฺณ จากนั้นองค์กฺฤษฺณ จึงตรัส ภควัท-คีตา พระองค์ไม่เพียงให้ทรงตรัสแด่ อรฺชุน เท่านั้น เราทุกคนก็ล้วนเต็มไปด้วยความวิตกกังวลในโลกวัตถุนี้ ความเป็นอยู่ของเราในปัจจุบันนี้อยู่ในบรรยากาศที่ไม่เป็นความจริง อันที่จริงเราไม่ควรจะถูกความไม่เป็นจริงมาข่มขู่ดวงวิญญาณของเราที่ซึ่งเป็นอมตะนี้ อย่างไรก็ดีเราได้ถูกจับให้มาอยู่ในสถานที่ที่มีชื่อว่า อสตฺ อสตฺ นั้นหมายถึงสิ่งที่ไม่เป็นจริง
ในจำนวนมนุษย์มากมายที่ได้รับความทุกข์นั้นมีน้อยคนนักที่จะถามถึงสถานภาพของพวกเขาว่า “พวกเขาคือใคร” แล้วเหตุไฉนจึงมาอยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้ หากเราไม่มีความตื่นตัวเพื่อที่จะถามคำถามถึงสภาวะแห่งความทุกข์นี้ และหากว่าเราไม่รู้ว่าตนเองไม่ต้องการความทุกข์ แต่ต้องการแก้ไขปัญหาความทุกข์ทั้งปวงต่างหาก เราก็ไม่ควรพิจารณาว่าตนเองเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ความเป็นมนุษยชาติจะเริ่มต้นเมื่อมีคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นในจิตใจของตนเอง ใน พฺรหฺม-สูตฺร คำถามเช่นนี้เรียกว่า พฺรหฺม-ชิชฺญาสา อถาโต พฺรหฺม-ชิชฺญาสา กิจกรรมของมนุษย์ทั้งหมดจะถือว่าล้มเหลวหากเราไม่ตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติแห่งสัจธรรม ฉะนั้นผู้ที่เริ่มถามคำถามว่าทำไมเราจะต้องได้รับทุกข์ทรมาน หรือว่าเรามาจากไหน และเราจะไปไหนหลังจากเราตายไปแล้ว เช่นนี้จึงจะถือว่าเป็นนักศึกษาที่ควรค่าแก่การเข้าใจ ภควัท-คีตา นักศึกษาผู้มีความจริงใจควรมีความเคารพอย่างมั่นคงต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และ อรฺชุน ถือว่าเป็นนักศึกษาประเภทนี้
องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเสด็จลงมาเพื่อสถาปนาจุดมุ่งหมายแท้จริงของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมนุษย์ลืมจุดมุ่งหมายนี้ ถึงอย่างไรก็ตามจากบรรดาผู้ที่ตื่นแล้วจำนวนมากมาย จะมีเพียงคนเดียวที่สามารถเข้าถึงเจตนารมณ์แห่งความเข้าใจสถานภาพหน้าที่อันแท้จริงของตนเอง ภควัท-คีตา ได้ตรัสขึ้นเพื่อพวกเขา อันที่จริงเราทั้งหมดกำลังถูกนางเสือร้ายแห่งอวิชชากลืนกินอยู่ทุกขณะ แต่พระองค์ทรงมีพระเมตตาต่อสิ่งมีชีวิตมากโดยเฉพาะมนุษย์พระองค์จึงทรงตรัส ภควัท-คีตา และทรงให้สหาย อรฺชุน มาเป็นศิษย์ของพระองค์
ในฐานะที่เป็นสหายขององค์ศฺรีกฺฤษฺณ อรฺชุน ทรงอยู่เหนืออวิชชาทั้งปวง แต่ อรฺชุน ก็ยังทรงถูกอวิชชาครอบงำบนสมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร นี้ ก็เพื่อที่จะให้ตั้งคำถามต่อองค์กฺฤษฺณเกี่ยวกับปัญหาชีวิต เพื่อพระองค์จะได้ทรงอธิบายให้ได้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังสืบต่อไป และเพื่อที่จะให้เราสามารถวางแผนชีวิตได้อย่างถูกต้อง จากนั้นมนุษย์ก็จะได้ปฏิบัติตาม และทำให้ภารกิจของชีวิตมนุษย์เสร็จสิ้นสมบูรณ์
เนื้อหาสาระของ ภควัท-คีตา ประกอบด้วยความเข้าใจสัจธรรมพื้นฐานห้าประการ ประการแรกอธิบายถึงศาสตร์แห่งองค์ภควานฺ จากนั้นอธิบายถึงสถานภาพพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชีว อีศฺวร หมายถึงผู้ควบคุม และ ชีว หมายถึง สิ่งมีชีวิตผู้ถูกควบคุม ถ้าหากว่าสิ่งมีชีวิตกล่าวว่าเป็นอิสระไม่ถูกควบคุมเช่นนี้เรียกว่า เสียสติ เพราะสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมอยู่ตลอดเวลาอย่างน้อยก็ในชีวิตสภาวะวัตถุ ฉะนั้นเนื้อหาสาระของ ภควัท-คีตา จึงกล่าวถึง อีศฺวร ผู้ควบคุมสูงสุดและ ชีว สิ่งมีชีวิตผู้ถูกควบคุม ปฺรกฺฤติ (ธรรมชาติวัตถุ) กาลเวลา (ระยะเวลาที่จักรวาลเป็นอยู่หรือปรากฏการณ์ของธรรมชาติวัตถุ) และ กรฺม (กรรม) ทั้งหมดนี้ได้มีการอธิบายไว้ที่นี้ ปรากฏการณ์ในจักรวาลเต็มไปด้วยกิจกรรมที่แตกต่างกันซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีการทำกิจกรรมแตกต่างกันออกไป จาก ภควัท-คีตา เราต้องเรียนรู้ว่าองค์ภควานฺคืออะไร สิ่งมีชีวิตคืออะไร ปฺรกฺฤติ คืออะไร ปรากฏการณ์ในจักรวาลคืออะไร ถูกควบคุมด้วยกาลเวลาได้อย่างไร และอะไรคือกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต
จากเนื้อเรื่องพื้นฐานทั้งห้าประการใน ภควัท-คีตา ได้สถาปนาว่าองค์ภควานฺ หรือองค์กฺฤษฺณ พฺรหฺมนฺ ผู้ควบคุมสูงสุดหรือ ปรมาตฺมา เราอาจจะใช้พระนามไหนก็ได้ที่เราชอบซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทั้งสิ้น โดยคุณสมบัติแล้วสิ่งมีชีวิตก็เหมือนผู้ควบคุมสูงสุด ตัวอย่างเช่น องค์ภควานฺทรงควบคุมกิจกรรมในจักรวาลของธรรมชาติวัตถุ ซึ่งจะอธิบายในบทต่อๆไปใน ภควัท-คีตา ธรรมชาติวัตถุไม่เป็นอิสระ พระนางทรงปฏิบัติภายใต้คำสั่งขององค์ภควานฺ ดังเช่นองค์กฺฤษฺณทรงตรัสว่า มยาธฺยกฺเษณ ปฺรกฺฤติห์ สูยเต ส-จราจรมฺ “ธรรมชาติวัตถุนี้ปฏิบัติการภายใต้คำสั่งของข้า” เมื่อเราเห็นสิ่งอัศจรรย์มากมายเกิดขึ้นในจักรวาลวัตถุ เราควรรู้ว่าเบื้องหลังของปรากฏการณ์ในจักรวาลวัตถุนี้มีผู้ควบคุม ไม่มีอะไรปรากฏออกมาได้โดยไม่มีผู้ควบคุม หากเราไม่พิจารณาถึงผู้ควบคุมเราก็ถือได้ว่าเรามีความคิดเหมือนกับเด็กๆ ตัวอย่างเช่น เด็กอาจจะคิดว่ารถยนต์นี้น่าอัศจรรย์ที่สามารถวิ่งเองได้โดยไม่ต้องมีม้าหรือสัตว์มาลากจูง แต่คนปกติธรรมดารู้ธรรมชาติของระบบเครื่องยนต์ว่าทำงานอย่างไร เขาจะรู้เบื้องหลังของเครื่องยนต์ว่ามีคนขับเป็นคน ในทำนองเดียวกันองค์ภควานฺก็ทรงเป็นผู้ขับขี่ซึ่งจากภายใต้คำสั่งของพระองค์กิจกรรมทั้งหมดจึงจะสามารถดำเนินต่อไปได้ ทรงยอมรับในบทต่อๆมาว่า ชีว หรือสิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูของพระองค์ เศษทองคำก็เป็นทองคำ น้ำหนึ่งหยดจากมหาสมุทรก็มีความเค็มเช่นเดียวกันกับน้ำทั้งหมดในมหาสมุทร ดังนั้นสิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูของผู้ควบคุมสูงสุด อีศฺวร หรือองค์ภควานฺศฺรี กฺฤษฺณ เราทุกคนมีคุณสมบัติทั้งหมดขององค์ภควานฺในปริมาณเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเราเป็น อีศฺวร ที่ย่อยๆออกมาที่พยายามจะควบคุมธรรมชาติ ดังเช่นปัจจุบันนี้เราพยายามจะควบคุมอวกาศและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ แนวโน้มการควบคุมยังมีอยู่เพราะว่ามันมีอยู่ในองค์กฺฤษฺณ แต่ถึงแม้เเรามีแนวโน้มที่จะเป็นเจ้าแห่งธรรมชาติวัตถุเราก็ควรรู้ว่าเราไม่ใช่ผู้ควบคุมสูงสุด เรื่องนี้ก็มีการอธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา เช่นกัน
ธรรมชาติวัตถุคืออะไรนั้นได้มีการอธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา ว่าเป็น ปฺรกฺฤติ หรือธรรมชาติที่ต่ำกว่า สิ่งมีชีวิตเป็น ปฺรกฺฤติ ที่สูงกว่า ปฺรกฺฤติ จะอยู่ภายใต้การควบคุมเสมอไม่ว่าจะเป็น ปฺรกฺฤติ ที่สูงหรือต่ำกว่า ปฺรกฺฤติ เป็นสตรีเพศและนางถูกควบคุมโดยองค์ภควานฺ เหมือนกับกิจกรรมของภรรยาที่จะถูกสามีควบคุม ปฺรกฺฤติ จะเป็นรองอยู่เสมอและถูกควบคุมโดยองค์ภควานฺ ผู้ซึ่งเป็นผู้ควบคุม สิ่งมีชีวิตและธรรมชาติวัตถุทั้งคู่ถูกควบคุมโดยองค์ภควานฺ ตาม ภควัท-คีตา ถึงแม้ว่าสิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺก็ถือว่าเป็น ปฺรกฺฤติ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในบทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา ว่า อปเรยมฺ อิตสฺ ตฺวฺ อนฺยำ ปฺรกฺฤตึ วิทฺธิ เม ปรามฺ / ชีว-ภูตามฺ “ธรรมชาติวัตถุนี้เป็น ปฺรกฺฤติ เบื้องต่ำของข้า แต่เหนือไปกว่านั้นยังมีธรรมชาติอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า ชีว-ภูตามฺ หรือสิ่งมีชีวิต”
ธรรมชาติวัตถุประกอบด้วยคุณลักษณะสามประการ คุณลักษณะความดี ตัณหา และอวิชชา ที่สูงไปกว่านี้มีกาลเวลาที่เป็นอมตะ ด้วยการผสมผสานกันของคุณลักษณะแห่งธรรมชาติภายใต้การควบคุมของกาลเวลาอมตะนั้นมีกิจกรรมเรียกว่า กรฺม (กรรม) กิจกรรมเหล่านี้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ซึ่งเราจะได้รับความทุกข์หรือความสุขก็เนื่องจากผลของการกระทำของเรา ตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าอาตมาเป็นนักธุรกิจทำงานอย่างขยันขันแข็งด้วยสติปัญญา และสั่งสมเงินมากมายในธนาคารอาตมาจะเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ ต่อมาธุรกิจล้มละลายลงอาตมาจะเป็นผู้ได้รับความทุกข์ทรมาน ในทุกๆด้านของชีวิตเราจะได้รับผลของการกระทำของเราเองไม่ว่าจะเป็นทั้งความสุขหรือความทุกข์ เช่นนี้เรียกว่า กรฺม หรือ กรรม
อีศฺวร (องค์ภควานฺ) ชีว (สิ่งมีชีวิต) ปฺรกฺฤติ (ธรรมชาติ) กาล (กาลเวลาอมตะ) และ กรฺม (กรรม) ทั้งหมดนี้ได้มีการอธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา จากทั้งห้าประการนี้ องค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิต ธรรมชาติวัตถุ และกาลเวลาเป็นอมตะ ปรากฏการณ์ของ ปฺรกฺฤติ อาจเป็นการชั่วคราวแต่ว่าไม่ผิดพลาด นักปรัชญาบางท่านกล่าวว่าปรากฏการณ์ของธรรมชาติวัตถุนั้นผิด แต่ตามปรัชญาของ ภควัท-คีตา หรือตามปรัชญาของระบบ ไวษฺณว ปรากฏการณ์ของโลกจะไม่ถือว่าผิด มันจะถือว่าเป็นความจริงแต่ว่าไม่ถาวร คล้ายๆกับก้อนเมฆซึ่งเคลื่อนผ่านท้องฟ้าไป หรือว่าฝนที่ตกตามฤดูกาลให้ความชุ่มฉ่ำต่อเมล็ดข้าว เมื่อหน้าฝนผ่านไปก้อนเมฆถูกพัดไปที่อื่น พืชพันธุ์ธัญญาหารที่ได้รับความชุ่มฉ่ำจากฝนก็แห้งแล้งลงไป เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ทางวัตถุนี้เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่ง ดำรงอยู่สักช่วงหนึ่ง จากนั้นก็สูญหายไป นี่คือการทำงานของ ปฺรกฺฤติ แต่วัฏจักรนี้จะเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดกาล ฉะนั้น ปฺรกฺฤติ ที่ว่าเป็นอมตะนั้นไม่ถือว่าผิด องค์ภควานฺทรงตรัสถึงข้อนี้ว่าเป็น “ปฺรกฺฤติ ของข้า” ธรรมชาติวัตถุนี้เป็นพลังงานที่แยกมาจากองค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตก็เป็นพลังงานขององค์ภควานฺเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่แยกจากกัน แต่มีความสัมพันธ์ต่อกันชั่วกัลปาวสาน ดังนั้นองค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิต ธรรมชาติวัตถุ และกาลเวลามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งหมด และทั้งหมดนี้เป็นอมตะ อย่างไรก็ดีมีอีกสิ่งหนึ่งคือ กรรม หรือ กรฺม ที่ไม่เป็นอมตะ ผลกรรมของเราอาจจะนานมากแล้ว เราได้รับความทุกข์หรือความสุขจากผลกรรมตั้งแต่อดีตโบราณกาล แต่เราสามารถเปลี่ยนผลกรรมของเราได้ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของความรู้ของตัวเราเอง เราปฏิบัติกิจกรรมมากมายเราต่างก็ไม่รู้กันเลยว่ากิจกรรมใดที่เราปฏิบัติแล้วเราจะได้รับความหลุดพ้นไปจากกรรม และผลกรรมทั้งหลายเหล่านี้ แต่เรื่องนี้ก็ได้มีการอธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา แล้วเช่นกัน
สถานภาพของ อีศฺวร (องค์ภควานฺ) เป็นสถานภาพของจิตสำนึกสูงสุด ชีว หรือสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺต่างก็มีจิตสำนึกเช่นเดียวกัน ทั้งสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติวัตถุเป็น ปฺรกฺฤติ พลังงานขององค์ภควานฺ แต่หนึ่งในสองที่แตกต่างกันก็คือ ชีว มีจิตสำนึก ปฺรกฺฤติ ไม่มีจิตสำนึก ฉะนั้น ชีว-ปฺรกฺฤติ จึงได้ชื่อว่าสูงกว่าเพราะว่า ชีว มีจิตสำนึกคล้ายจิตสำนึกขององค์ภควานฺ จิตสำนึกขององค์ภควานฺเป็นจิตสำนึกที่สูงสุด อย่างไรก็ดีเราไม่ควรอ้างว่า ชีว หรือสิ่งมีชีวิตมีจิตสำนึกสูงสุดเช่นเดียวกัน สิ่งมีชีวิตไม่สามารถมีจิตสำนึกสูงสุดได้ไม่ว่าจะมีความสมบูรณ์บริบูรณ์ในระดับใดก็ตาม และทฤษฎีที่ว่าเราสามารถมีจิตสำนึกสูงสุดได้จึงเป็นทฤษฎีที่นำเราไปในทางที่ผิด เราอาจมีจิตสำนึกได้แต่ก็ไม่ใช่จิตสำนึกที่สมบูรณ์หรือสูงสุด
ข้อแตกต่างระหว่าง ชีว และ อีศฺวร จะอธิบายในบทที่สิบสามของ ภควัท-คีตา พระองค์ทรงเป็น กฺเษตฺร-ชฺญ จิตสำนึกเหมือนกับสิ่งมีชีวิต แต่สิ่งมีชีวิตมีจิตสำนึกแค่เฉพาะร่างกายของตนเองเท่านั้น ในขณะที่องค์ภควานฺทรงมีจิตสำนึกในทุกๆร่างเพราะว่าทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกๆชีวิต พระองค์ทรงมีจิตสำนึกการเคลื่อนไหวทางจิตวิทยาของทุกๆ ชีว ซึ่งเราไม่ควรลืมสิ่งนี้ ได้อธิบายว่า ปรมาตฺมา บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าประทับอยู่ในหัวใจของทุกๆชีวิตเป็น อีศฺวร หรือผู้ควบคุม พระองค์ทรงประทานแนวทางเพื่อให้สิ่งมีชีวิตปฏิบัติตามที่ตนปรารถนา สิ่งมีชีวิตลืมไปว่าจะทำอะไรซึ่งครั้งแรกเราตั้งใจจะทำบางสิ่งบางอย่าง จากนั้นเราก็ถูกพันธนาการอยู่ในกรรมและผลกรรมของเราเอง หลังจากละทิ้งร่างหนึ่งไปแล้วเราก็จะเข้าไปสู่อีกร่างหนึ่งเหมือนกับการเปลี่ยนเสื้อผ้า ขณะที่ดวงวิญญาณเดินทางไปเราจะได้รับความทุกข์จากผลกรรมในอดีต กิจกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อสิ่งมีชีวิตอยู่ในคุณลักษณะความดีเป็นคนปกติและเข้าใจว่ากิจกรรมใดควรทำ หากทำได้เช่นนี้ผลกรรมในอดีตของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้นกรรมหรือ กรฺม ไม่เป็นอมตะจึงพูดได้ว่าทั้งห้าประการนั้น (อีศฺวร ชีว ปฺรกฺฤติ กาลเวลา และ กรฺม) มีสี่ประการที่เป็นอมตะส่วนกรรมไม่เป็นอมตะ
จิตสำนึกสูงสุด อีศฺวร คล้ายสิ่งมีชีวิตดังนี้คือ ทั้งจิตสำนึกขององค์ภควานฺและจิตสำนึกของสิ่งมีชีวิตเป็นทิพย์ ไม่ได้หมายความว่าจิตสำนึกกำเนิดมาจากการสัมผัสกับวัตถุนั้นเป็นความคิดที่ผิด ทฤษฏีที่ว่าจิตสำนึกพัฒนาขึ้นภายใต้สถานการณ์ของการผสมผสานทางวัตถุบางประการนั้น ภควัท-คีตา ไม่ยอมรับ จิตสำนึกที่อาจจะสะท้อนกลับมาแบบผิดๆภายใต้การครอบงำของสถานการณ์ทางวัตถุ ดังเช่นแสงสะท้อนผ่านกระจกสีอาจจะเป็นสีอื่น แต่จิตสำนึกขององค์ภควานฺจะไม่มีผลกระทบจากวัตถุ องค์กฺฤษฺณทรงตรัสว่า มยาธฺยกฺเษณ ปฺรกฺฤติห์ เมื่อเสด็จลงมาในจักรวาลวัตถุจิตสำนึกของพระองค์จะไม่ถูกกระทบโดยวัตถุ หากพระองค์ถูกกระทบเช่นนั้นพระองค์ก็จะไม่เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะตรัสเกี่ยวกับสถานภาพทิพย์อย่างเช่นที่พระองค์ทรงตรัสใน ภควัท-คีตา เราจะไม่สามารถที่จะพูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องโลกทิพย์ได้เลยถ้าหากว่าเรายังไม่เป็นอิสระจากจิตสำนึกที่มีมลทินทางวัตถุ ดังนั้นองค์ภควานฺทรงไม่มีมลทินทางวัตถุ จิตสำนึกของเราในปัจจุบันมีมลทินทางวัตถุ ภควัท-คีตา สอนให้เราทำจิตสำนึกที่มีมลทินทางวัตถุนี้ให้บริสุทธิ์ขึ้น ด้วยจิตสำนึกที่บริสุทธิ์การกระทำของเราจึงจะเหมาะสมกับพระราชประสงค์ของ อีศฺวร เช่นนี้จะทำให้เรามีความสุข เราไม่จำเป็นที่จะต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมด แต่เราต้องทำให้กิจกรรมของเราบริสุทธิ์ขึ้นและกิจกรรมที่ทำให้บริสุทธิ์นี้เรียกว่า ภกฺติ กิจกรรมใน ภกฺติ คล้ายกับกิจกรรมธรรมดาสามัญแต่ว่าไร้มลทิน ผู้ที่อยู่ในอวิชชาอาจเห็นสาวกปฏิบัติกิจกรรมหรือทำงานเหมือนคนธรรมดา คนที่ด้อยความรู้ประเภทนี้จะไม่ทราบว่ากิจกรรมของสาวกหรือขององค์ภควานฺไม่มีมลทินจากจิตสำนึกที่ไม่บริสุทธิ์ หรือวัตถุจิตสำนึกซึ่งอยู่นอกเหนือคุณลักษณะสามประการของธรรมชาติ อย่างไรก็ดีเราควรรู้ตัวอยู่เสมอว่าขณะนี้จิตสำนึกของเราคงยังมีมลทิน
ขณะที่เรายังมีมลทินทางวัตถุเราจะถูกเรียกว่าอยู่ภายใต้สภาวะวัตถุ จิตสำนึกที่ผิดจะแสดงออกภายใต้ความรู้สึกว่า ข้าเป็นผลผลิตของธรรมชาติวัตถุเช่นนี้เรียกว่า อหังการ ผู้ที่ซึมซาบอยู่ในแนวคิดทางร่างกายไม่สามารถเข้าใจสภาวะของตนเอง ภควัท-คีตา ถูกตรัสขึ้นเพื่อให้เราเป็นอิสระจากชีวิตที่เต็มไปด้วยแนวความคิดทางร่างกาย อรฺชุน ทรงมาอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้เพื่อจะได้รับข้อมูลจากองค์ภควานฺ กิจกรรมเบื้องต้นของนักทิพย์นิยมผู้ที่ต้องการอิสรภาพหลุดพ้นคือ เราต้องเป็นอิสระจากชีวิตที่มีแนวคิดชีวิตทางร่างกาย สิ่งแรกสุดต้องเรียนรู้ว่าตัวเราไม่ใช่ร่างกายวัตถุนี้ มุกฺติ หรือความหลุดพ้นหมายถึง ความมีอิสระภาพจากจิตสำนึกทางวัตถุ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้กล่าวถึงคำจำกัดความของความหลุดพ้นว่า มุกฺติรฺ หิตฺวานฺยถา-รูปํ สฺวรูเปณ วฺยวสฺถิติห์ มุกฺติ หมายถึง ความหลุดพ้นจากจิตสำนึกที่มีมลทินแห่งโลกวัตถุนี้ และสถิตในจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ คำสอนใน ภควัท-คีตา ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นฟูจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ ดังนั้นเราจะพบว่าคำสอนสุดท้ายของ ภควัท-คีตา องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงถาม อรฺชุน ว่าบัดนี้เธอมีจิตสำนึกที่บริสุทธิ์หรือยัง จิตสำนึกที่บริสุทธิ์หมายถึง การปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนขององค์ภควานฺ นี่คือข้อสรุปและเนื้อหาสาระสำคัญทั้งหมดของจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ จิตสำนึกมีพร้อมอยู่แล้วเนื่องจากเราเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ แต่สำหรับเราอาจมีผลกระทบมาจากระดับที่ต่ำกว่า แต่ว่าองค์ภควานฺทรงไม่ถูกกระทบด้วยสิ่งใดเลย และนี่คือข้อแตกต่างระหว่างองค์ภควานฺและปัจเจกวิญญาณดวงเล็กๆ
จิตสำนึกคืออะไร จิตสำนึกนี้ก็คือ “ข้าคือ” จากนั้น “ข้าคืออะไร” ในจิตสำนึกที่มีมลทิน “ข้าคือ” หมายถึง “ข้าคือพระเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มา ข้าเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ” โลกนี้หมุนไปเนื่องจากทุกชีวิตคิดว่าตนเองเป็นพระเจ้า และเป็นผู้สร้างโลกวัตถุ มีจิตวิทยาสองรูปแบบในจิตสำนึกทางวัตถุ แบบหนึ่งคือ ข้าเป็นผู้สร้าง และอีกแบบหนึ่งคือ ข้าเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ แต่อันที่จริงองค์ภควานฺทรงเป็นทั้งผู้สร้างและผู้มีความสุขเกษมสำราญ สิ่งมีชีวิตเป็นเพียงละอองอณูขององค์ภควานฺเท่านั้น ไม่ใช่เป็นผู้สร้างหรือผู้มีความสุขเกษมสำราญแต่เป็นผู้ร่วมมือ เราเป็นผู้ถูกสร้างขึ้นมาและเป็นผู้ถูกให้ความสุขเกษมสำราญ ตัวอย่างเช่น ส่วนของเครื่องยนต์จะร่วมมือกับเครื่องยนต์ทั้งเครื่อง ส่วนของร่างกายจะร่วมมือกับร่างกายทุกส่วน แขน ขา ตา ฯลฯ ทั้งหมดเป็นส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ส่วนต่างๆทั้งหมดนั้นไม่ใช่ส่วนที่จะได้รับความสุขที่แท้จริง ท้องต่างหากที่เป็นส่วนที่ได้รับความสุข เท้าใช้เดิน มือใช้ส่งอาหาร ฟันใช้เคี้ยว ส่วนต่างๆทั้งหมดของร่างกายจะร่วมมือกันเพื่อให้ท้องได้รับความพึงพอใจ เพราะว่าท้องเป็นอวัยวะหลักที่จะให้พลังงานแก่ร่างกายทั้งหมด ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงถูกส่งมาที่ท้อง เราจะให้อาหารและพลังงานแก่ต้นไม้ด้วยการรดน้ำไปที่ราก และเราจะให้พลังงานแก่ร่างกายด้วยการส่งอาหารไปที่ท้อง เพื่อที่ร่างกายจะได้มีสุขภาพดี ส่วนต่างๆของร่างกายจะต้องร่วมมือกันเพื่อป้อนอาหารให้ท้อง องค์ภควานฺก็เช่นเดียวกันทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญและเป็นผู้สร้าง เราในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต่ำกว่าหมายไว้เพื่อร่วมมือกันทำให้พระองค์ทรงพอพระทัย การร่วมมือกันเช่นนี้จะช่วยเราได้อย่างแน่นอน เหมือนกับท้องได้รับอาหารก็จะไปช่วยส่วนต่างๆของร่างกาย หากว่านิ้วมือคิดว่าเขาควรรับประทานอาหารเสียเองแทนที่จะส่งไปให้ท้องก็จะเกิดความสับสนวุ่นวายขึ้น จุดศูนย์กลางของการสร้างและความสุขเกษมสำราญคือ องค์ภควานฺ และสิ่งมีชีวิตเป็นผู้ร่วมมือ จากการร่วมมือทำให้เราได้รับความสุขเกษมสำราญ ความสัมพันธ์คล้ายกับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายและผู้รับใช้ หากเจ้านายมีความพึงพอใจอย่างมากผู้รับใช้ก็จะได้รับความพึงพอใจไปโดยปริยาย ในทำนองเดียวกันองค์ภควานฺก็ควรได้รับความพึงพอใจ แนวโน้มที่จะเป็นผู้สร้างและจะเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญในโลกวัตถุจะมีอยู่ในสิ่งมีชีวิต เนื่องจากแนวโน้มเหล่านี้มีอยู่ในองค์ภควานฺ ผู้ทรงสร้างจักรวาลวัตถุที่ปรากฏอยู่
ดังนั้นใน ภควัท-คีตา เราจะพบความสมบูรณ์ทั้งหมดประกอบด้วยผู้ควบคุมสูงสุด สิ่งมีชีวิตที่ถูกควบคุม ปรากฏการณ์แห่งจักรวาล กาลเวลาอมตะ และ กรฺม หรือกิจกรรมทั้งหมดนี้อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้ ทั้งหมดนี้รวมเข้าด้วยกันจะประกอบกันเป็นความสมบูรณ์ทั้งหมด และความสมบูรณ์นี้เรียกว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด ภาพที่สมบูรณ์และสัจธรรมที่สมบูรณ์ทั้งหมดคือ บุคลิกภาพขององค์ภควานฺที่สมบูรณ์องค์ศฺรี กฺฤษฺณ ปรากฏการณ์ทั้งหมดที่มีก็เนื่องมาจากพลังงานต่างๆขององค์กฺฤษฺณ พระองค์ทรงเป็นสื่งที่สมบูรณ์ทั้งหมด
ได้อธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา ว่า พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์เป็นรองบุคลิกภาพสูงสุดที่สมบูรณ์ (พฺรหฺมโณ หิ ปฺรติษฺฐาหมฺ ) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดชัดเจนใน พฺรหฺม-สูตฺร ว่า พฺรหฺมนฺ เหมือนกับรัศมีของแสงอาทิตย์ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์เป็นรัศมีที่เจิดจรัสของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์เป็นความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ของความสมบูรณ์ทั้งหมด และแนวคิดของ ปรมาตฺมา ก็เช่นเดียวกัน ในบทที่สิบห้าเราจะเห็นว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า (ปุรุโษตฺตม) อยู่เหนือทั้ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์และความรู้ ส่วนหนึ่งของ ปรมาตฺมา บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเรียกว่า สตฺ จิตฺ อานนฺท วิคฺรห พฺรหฺม-สํหิตา เริ่มดังนี้ อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์ สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรหห์ / อนาทิรฺ อาทิรฺ โควินฺทห์ สรฺว-การณ-การณมฺ “โควินฺท หรือองค์กฺฤษฺณ ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดองค์แรก พระองค์ทรงมีพระวรกายที่เป็นอมตะ เปี่ยมไปด้วยความรู้ และความปลื้มปีติสุข” ความรู้แห่ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์เป็นความรู้แห่ง สตฺ (อมตะ) ของพระองค์ความรู้แห่ง ปรมาตฺมา เป็นความรู้ สตฺ-จิตฺ (อมตะ-ความรู้) แต่ความรู้แห่งบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า องค์กฺฤษฺณเป็นความรู้เหนือโลกทุกลักษณะ ทั้ง สตฺ จิตฺ และ อานนฺท (อมตะ ความรู้ และความปลื้มปีติสุข) ใน วิคฺรห (หรือในรูป) ที่สมบูรณ์
ผู้ด้อยปัญญาจะพิจารณาว่าสัจธรรมสูงสุดไร้รูปลักษณ์ แต่องค์ภควานฺทรงมีบุคลิกภาพทิพย์ ในวรรณกรรมพระเวททั้งหมดได้ยืนยันไว้ นิโตฺย นิตฺยานำ เจตนศฺ เจตนานามฺ (กฐ อุปนิษทฺ 2.2.13) ดังเช่นมนุษย์ทั้งหมดเป็นปัจเจกชนทุกคนมีเอกลักษณ์ของตนเอง สัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดก็เช่นเดียวกันในขั้นสุดท้ายจะเป็นบุคคล และความรู้แจ้งองค์ภควานฺเป็นความรู้แจ้งบุคลิกลักษณะทิพย์ในรูปที่สมบูรณ์ของพระองค์ รูปที่สมบูรณ์ทั้งหมดมิได้ไร้รูปลักษณ์ หากองค์ภควานฺทรงด้อยกว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดพระองค์จะไม่สามารถเป็นความสมบูรณ์ทั้งหมดได้ ความสมบูรณ์นั้นจะต้องมีทุกสิ่งทุกอย่างทั้งภายใต้ประสบการณ์และเหนือประสบการณ์ของเรา มิเช่นนั้นจะไม่สามารถเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ได้
ความสมบูรณ์ทั้งหมดหรือบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺ มีพลังอำนาจมากมาย (ปราสฺย ศกฺติรฺ วิวิไธว ศฺรูยเต ) องค์กฺฤษฺณทรงแสดงอำนาจต่างๆได้อย่างไรนั้นได้อธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา ปรากฏการณ์ในโลกหรือโลกวัตถุที่เราอาศัยอยู่นี้มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเองเช่นกัน เพราะว่าธาตุทั้งยี่สิบสี่ที่ปรากฏชั่วคราวในจักรวาลวัตถุ ตามปรัชญา สางฺขฺย ปรับตัวเองได้ทั้งหมดในการผลิตทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นอย่างสมบูรณ์เพื่ออนุรักษ์จักรวาลนี้ไว้ และไม่มีสิ่งใดต้องการเพิ่มอีกปรากฏการณ์นี้มีกำหนดเวลาที่แม่นยำด้วยพลังงานของความสมบูรณ์ทั้งหมดแล้ว และเมื่อถึงเวลาปรากฏการณ์ชั่วคราวนี้ก็จะถูกทำลายไปโดยการจัดการอำนวยความสะดวกอย่างสมบูรณ์ แม้แต่ในหน่วยสมบูรณ์เล็กๆดังเช่นสิ่งมีชีวิตยังก็ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกนี้เพื่อให้ได้รับการรู้แจ้งแห่งความสมบูรณ์ และความไม่สมบูรณ์ต่างๆทั้งหมดเป็นประสบการณ์เนื่องมาจากความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ของผู้ที่สมบูรณ์ ดังนั้น ภควัท-คีตา จึงบรรจุความรู้อันสมบูรณ์แห่งปรัชญาพระเวท
ความรู้พระเวททั้งหมดไม่มีข้อผิดพลาด ชาวฮินดูยอมรับว่าความรู้พระเวทสมบูรณ์และไม่มีข้อผิดพลาด ตัวอย่างเช่น มูลวัวเป็นอุจจาระของสัตว์ ตาม สฺมฺฤติ หรือคำสอนของพระเวทหากเราแตะต้องอุจจาระของสัตว์เราต้องอาบน้ำชำระล้างร่างกายทันที แต่คัมภีร์พระเวทกล่าวว่ามูลวัวมีสารที่ทำให้บริสุทธิ์ซึ่งเราอาจจะคิดตรงกันข้าม แต่เพราะว่าเป็นคำสั่งสอนของพระเวทการยอมรับเช่นนี้เราจึงไม่มีความผิดพลาด ในเวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่ามูลวัวมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคทั้งหมด ฉะนั้นความรู้พระเวทจึงสมบูรณ์ เพราะว่าอยู่เหนือความสงสัยและความผิดพลาดทั้งปวง และ ภควัท-คีตา เป็นหัวใจของพระเวททั้งหมด
ความรู้พระเวทไม่ได้อยู่ที่การวิจัย งานวิจัยนั้นไม่สมบูรณ์เพราะว่าเราวิจัยสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสที่ไม่สมบูรณ์ เราต้องยอมรับความรู้ที่สมบูรณ์ซึ่งถ่ายทอดลงมาดังที่กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา ด้วยระบบ ปรมฺปรา (ถ่ายทอดจากพระอาจารย์สู่ศิษย์) เราต้องรับความรู้จากแหล่งที่ถูกต้องในสาย ปรมฺปรา เริ่มต้นจากพระอาจารย์ทิพย์สูงสุดคือองค์ภควานฺเอง และถ่ายทอดสืบต่อลงมาจากพระอาจารย์สู่พระอาจารย์ตามลำดับ อรฺชุน สาวกผู้ได้รับการศึกษาจากองค์กฺฤษฺณทรงยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่องค์ภควานฺได้ตรัสโดยไม่มีข้อแม้ เราไม่ควรรับเอาส่วนหนึ่งของ ภควัท-คีตา และปฏิเสธอีกส่วนหนึ่ง เราต้องยอมรับ ภควัท-คีตา โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงความหมาย และไม่มีการตัดทอนหรือต่อเติมสิ่งใดๆ ตามความคิดเห็นอันผิดพลาดของเรา คีตา ควรได้รับการยอมรับว่าเป็นความรู้พระเวทที่มีความสมบูรณ์สูงสุด ความรู้พระเวทได้รับมาจากแหล่งกำเนิดทิพย์ และคำแรกองค์ภควานฺทรงตรัสด้วยพระองค์เอง คำที่ตรัสโดยองค์ภควานฺ เรียกว่า อเปารุเษย หมายความว่า คำพูดเหล่านี้ไม่เหมือนกับคำพูดที่ปุถุชนคนธรรมดาพูด ในโลกวัตถุมีข้อบกพร่องสี่ประการคือ 1.บุคคลในโลกวัตถุต้องทำความผิดอย่างแน่นอน 2.บุคคลในโลกวัตถุอยู่ในความหลง 3.บุคคลในโลกวัตถุชอบโกงผู้อื่น และ 4.บุคคลในโลกวัตถุถูกจำกัดด้วยประสาทสัมผัสที่ไม่สมบูรณ์ จากความไม่สมบูรณ์สี่ประการนี้เราจึงไม่สามารถถ่ายทอดข้อมูลที่สมบูรณ์แห่งความรู้ที่แผ่กระจายไปทั่วได้
ความรู้พระเวทมิใช่ถ่ายทอดโดยสิ่งมีชีวิตที่มีความบกพร่อง ความรู้พระเวทได้ถูกถ่ายทอดเข้าไปที่หัวใจของพระพรหม (พฺรหฺมา) ดวงชีวิตแรก และพระพรหมทรงถ่ายทอดวิชาความรู้นี้ให้บุตรและสาวก เหมือนดังที่ได้รับความรู้มาจากองค์ภควานฺ ทรงเป็น ปูรฺณมฺ สมบูรณ์ทุกประการ และไม่มีโอกาสเลยที่จะทรงมาอยู่ภายใต้กฎแห่งธรรมชาติวัตถุ ฉะนั้นเราควรมีปัญญาพอที่จะรู้ว่าองค์ภควานฺเพียงผู้เดียวทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลและทรงเป็นผู้สร้างองค์แรก พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างพระพรหมในบทที่สิบเอ็ดเรียกองค์ภควานฺว่า พระ ปิตามห เพราะว่าพระพรหมทรงถูกเรียกว่า ปิตามห พระอัยกาและองค์ภควานฺทรงเป็นผู้สร้างพระอัยกา ฉะนั้นไม่มีใครเลยที่ควรอ้างว่าเป็นเจ้าของสิ่งใดๆ เราควรรับเอาเฉพาะสิ่งที่จัดสรรไว้ให้สำหรับเราโดยองค์ภควานฺว่าเป็นสิ่งที่ควรจะได้รับเพื่อให้เราดำรงชีวิตอยู่
มีตัวอย่างมากมายที่แนะนำว่าเราควรใช้ประโยชน์กับสิ่งที่องค์ภควานฺทรงประทานให้ ได้อธิบายใน ภควัท-คีตา ตอนต้นที่ อรฺชุน ทรงตัดสินใจว่าจะไม่รบในสมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร นี่เป็นการตัดสินใจของ อรฺชุน อรฺชุน ตรัสต่อองค์ภควานฺว่าเป็นไปไม่ได้ที่ตนเองจะมาหาความสุขกับราชอาณาจักรหลังจากที่สังหารสังคญาติของตน การตัดสินใจเช่นนี้มีพื้นฐานอยู่ที่ร่างกายเพราะ อรฺชุน ทรงคิดว่าร่างกายเป็นของตน และสิ่งที่สัมพันธ์กับร่างกายหรือว่าส่วนที่แยกออกไปเป็นพี่ชาย น้องชาย หลานชาย พี่เขย น้องเขย ปู่ ตา และอื่นๆ ดังนั้น อรฺชุน ทรงต้องการสนองความต้องการของร่างกาย ภควัท-คีตา ได้ตรัสขึ้นโดยองค์ภควานฺ เพื่อที่จะเปลี่ยนความคิดเห็นเช่นนี้ และในที่สุด อรฺชุน ทรงตัดสินใจที่จะต่อสู้ภายใต้คำสั่งขององค์ภควานฺ เมื่อ อรฺชุน ตรัสว่า กริเษฺย วจนํ ตว “ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามคำดำรัสของพระองค์”
ในโลกนี้มนุษย์เราไม่ควรที่จะทะเลาะกันเหมือนกับแมวและสุนัข เราควรฉลาดพอที่จะรู้ถึงความสำคัญของชีวิตมนุษย์ และไม่ควรทำตัวให้เหมือนกับสัตว์เดรัจฉานทั่วไป มนุษย์ควรรู้แจ้งจุดมุ่งหมายของชีวิต และคำแนะนำนี้มีอยู่ในวรรณกรรมพระเวททั้งหมด สาระสำคัญได้ให้ไว้ใน ภควัท-คีตา วรรณกรรมพระเวทมีไว้สำหรับมนุษย์ไม่ใช่สำหรับสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานสามารถที่จะฆ่าสัตว์เดรัจฉานตัวอื่นได้ และจะไม่ได้รับความบาป แต่ถ้าหากมนุษย์ฆ่าสัตว์เพื่อสนองรสชาติที่ควบคุมไม่ได้ของตนจะต้องรับผิดชอบที่ทำผิดกฎธรรมชาติ ใน ภควัท-คีตา ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่ามีกิจกรรมสามชนิดตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันตามธรรมชาติคือ กิจกรรมแห่งความดี ตัณหา และอวิชชา ในทำนองเดียวกันก็มีอาหารอยู่สามชนิด อาหารแห่งความดี ตัณหา และอวิชชา ทั้งหมดนี้ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน ถ้าหากเราใช้ประโยชน์กับคำสั่งสอนใน ภควัท-คีตา อย่างถูกต้องชีวิตเราก็จะบริสุทธิ์ และในที่สุดเราสามารถไปถึงจุดหมายที่อยู่เหนือท้องฟ้าวัตถุ (ยทฺ คตฺวา น นิวรฺตนฺเต ตทฺ ธาม ปรมํ มม )
จุดหมายปลายทางที่เรียกว่าท้องฟ้า สนาตน ท้องฟ้าทิพย์อมตะ ในโลกวัตถุนี้เราพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ถาวร มีการเกิดขึ้น เป็นอยู่ชั่วคราว ขยายพันธุ์ หดตัวลง และสลายไปในที่สุดนี่คือกฎแห่งโลกวัตถุ ไม่ว่าเราจะใช้ร่างกายนี้เป็นตัวอย่างหรือผลไม้ผลหนึ่ง หรืออะไรก็ได้แต่เหนือไปกว่าโลกอันไม่ถาวรนี้ ยังมีอีกโลกหนึ่งที่เรามีข้อมูล โลกนั้นมีธรรมชาติอีกแบบหนึ่งเป็น สนาตน หรืออมตะ ชีว หรือดวงชีวิตอธิบายไว้ว่าเป็น สนาตน องค์ภควานฺทรงอธิบายว่าเป็น สนาตน ดังที่กล่าวไว้ในบทที่สิบเอ็ด เรามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์ภควานฺ เพราะว่าเราทั้งหมดมีคุณภาพเป็นหนึ่งคือ สนาตน-ธรฺม หรือท้องฟ้า สนาตน บุคลิกภาพสูงสุด สนาตน และสิ่งมีชีวิต สนาตน จุดมุ่งหมายของ ภควัท-คีตา ทั้งเล่มนี้ก็เพื่อฟื้นฟูอาชีพ สนาตน หรือ สนาตน-ธรฺม ของเราซึ่งเป็นอาชีพอมตะของสิ่งมีชีวิต เราต่างก็มีกิจกรรมชั่วคราวแตกต่างกันมากมาย แต่กิจกรรมทั้งหมดนี้ถูกทำให้บริสุทธิ์ได้ถ้าหากเรายกเลิกกิจกรรมชั่วคราวเหล่านี้ทั้งหมด และรับเอากิจกรรมที่ได้อธิบายไว้โดยองค์ภควานฺ เช่นนี้เรียกว่าเป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ของเรา
องค์ภควานฺและพระตำหนักทิพย์ของพระองค์ทั้งคู่เป็น สนาตน เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ร่วมกันขององค์ภควานฺและสิ่งมีชีวิตที่พระตำหนักทิพย์เป็นความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิตมนุษย์ องค์ภควานฺทรงมีพระเมตตาต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเพราะว่าเราเป็นบุตรขององค์กฺฤษฺณ พระองค์ทรงประกาศใน ภควัท-คีตา ว่า สรฺว-โยนิษุ… อหํ พีช-ปฺรทห์ ปิตา “ข้าเป็นพระบิดาของมวลชีวิต” แน่นอนว่ามีสิ่งมีชีวิตทุกชนิดตามแต่กรรมที่แตกต่างกันไป ตรงนี้องค์ภควานฺทรงประกาศว่าทรงเป็นพระบิดาของทั้งหมด ฉะนั้นพระองค์เสด็จลงมาเพื่อเรียกดวงวิญญาณในสภาวะที่ตกต่ำทั้งหมดนี้ ในการที่จะเรียกพวกเขาเหล่านี้ให้กลับคืนสู่ท้องฟ้าอมตะ สนาตน เพื่อสิ่งมีชีวิต สนาตน จะได้รับสถาพภาพ สนาตน ในความสัมพันธ์อมตะกับองค์ภควานฺ องค์ภควานฺทรงเสด็จลงมาด้วยพระองค์เองในรูปอวตารแตกต่างกัน หรือทรงส่งผู้รับใช้ที่ใกล้ชิดสนิทสนมมาเป็นบุตร หรือผู้ร่วมงาน หรือ อาจารฺย (พระอาจารย์ทิพย์) เพื่อที่จะมานำพาดวงวิญญาณในสภาวะวัตถุให้กลับคืนสู่เหย้า
ฉะนั้น สนาตน-ธรฺม จึงไม่ใช่พิธีกรรมทางศาสนาที่แบ่งแยก แต่เป็นหน้าที่นิรันดรของสิ่งมีชีวิตอมตะที่มีความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ ผู้เป็นอมตะสูงสุด สนาตน-ธรฺม หมายถึงอาชีพนิรันดรของสิ่งมีชีวิตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ศฺรีปาท รามานุชาจารฺย ได้อธิบายคำ สนาตน ว่า “เป็นสิ่งที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบ” ดังนั้นเมื่อเราพูดถึง สนาตน-ธรฺม เราต้องเชื่อมั่นในความเชื่อถือได้ของ ศฺรีปาท รามานุชาจารฺย ว่ามันไม่มีทั้งจุดเริ่มต้นและจุดจบ
คำว่าศาสนามีข้อแตกต่างจาก สนาตน-ธรฺม เล็กน้อย ศาสนาหมายถึงแนวคิดแห่งความศรัทธา และความศรัทธานั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เขาอาจมีความศรัทธาในพิธีกรรมอย่างหนึ่ง และอาจเปลี่ยนความศรัทธานี้ไปรับเอาความศรัทธาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ว่า สนาตน-ธรฺม หมายถึงกิจกรรมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น ความเหลวไม่สามารถแยกออกจากน้ำได้ และความร้อนก็ไม่สามารถแยกออกจากไฟได้ฉันใด หน้าที่อมตะนิรันดรของสิ่งมีชีวิตอมตะก็ไม่สามารถที่จะแยกออกจากสิ่งมีชีวิตได้ฉันนั้น สนาตน-ธรฺม จึงเป็นส่วนที่แนบสนิทนิรันดรคู่ไปกับสิ่งมีชีวิต ฉะนั้นเมื่อเราพูดถึง สนาตน-ธรฺม เราต้องเชื่อในความน่าเชื่อถือได้ของ ศฺรีปาท รามานุชาจารฺย ว่าไม่มีทั้งจุดเริ่มต้นและจุดจบ สิ่งที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบจึงแบ่งแยกออกไม่ได้ เพราะเราไม่สามารถจำกัดเขตกำแพงใดๆทั้งสิ้น ผู้ที่มีความศรัทธาในการแบ่งแยกพิจารณาอย่างผิดๆว่า สนาตน-ธรฺม ก็เป็นสิ่งที่แบ่งแยกเช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากว่าเรามองลึกเข้าไปในประเด็นนี้ และพิจารณาด้วยแสงสว่างแห่งวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเป็นไปได้ที่เราจะเห็นว่า สนาตน-ธรฺม เป็นภารกิจของมนุษย์ทั้งหมดในโลก และยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นภารกิจของทุกๆชีวิตในจักรวาล
ความศรัทธาในศาสนาที่ไม่ใช่ สนาตน อาจมีจุดเริ่มต้นในประวัติศาสตร์ของชีวิตมนุษย์ แต่ว่าไม่มีจุดเริ่มต้นในประวัติศาสตร์ของ สนาตน-ธรฺม เพราะว่าจะคงอยู่ชั่วกัลปาวสานควบคู่ไปกับสิ่งมีชีวิต แต่สำหรับสิ่งมีชีวิต ศาสฺตฺร หรือคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ตรัสไว้ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีทั้งการเกิดและการตาย ใน ภควัท-คีตา ตรัสไว้ว่า สิ่งมีชีวิตไม่เคยเกิดและไม่เคยตาย เป็นอมตะ ไม่มีวันถูกทำลาย และจะคงอยู่ตลอดไปหลังจากที่ร่างกายวัตถุชั่วคราวนี้ถูกทำลาย ได้กล่าวถึงความหมายของ สนาตน-ธรฺม เราต้องพยายามทำความเข้าใจแนวคิดของศาสนาจากรากศัพท์สันสกฤต ธรฺม หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวเสมอควบคู่กับสิ่งของนั้น เราสรุปได้ว่ามีความร้อนและแสงควบคู่ไปกับไฟ หากว่าไม่มีความร้อนและแสงคำว่าไฟก็ไม่มีความหมาย เช่นกันว่าเราจะต้องค้นหาส่วนที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิต และสิ่งนั้นเป็นมิตรแท้แนบสนิทติดตัวเราอยู่เสมอ มิตรแท้ที่ติดตัวเขาอยู่เสมอคือคุณสมบัติอมตะนิรันดร และคุณสมบัติอมตะนั้นก็คือ ศาสนาอมตะของตัวเขาเอง
เมื่อ สนาตน โคสฺวามี ถาม ศฺรี ไจตนฺย มหาปฺรภุ เกี่ยวกับ สฺวรูป ของทุกๆชีวิตพระองค์ทรงตอบว่า สฺวรูป หรือสถานภาพพื้นฐานเดิมแท้ของสิ่งมีชีวิตคือ การปฏิบัติตนรับใช้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า หากเราวิเคราะห์คำดำรัสของ ศฺรี ไจตนฺย เราจะสามารถเห็นได้โดยง่ายดายว่าแต่ละชีวิตจะปฏิบัติตนรับใช้อีกชีวิตหนึ่งเสมอ ชีวิตหนึ่งจะรับใช้ชีวิตอื่นๆตามความสามารถที่แตกต่างกันไปจากการกระทำ เช่นนี้สิ่งมีชีวิตจึงได้รับความสุขในชีวิต สัตว์ที่ต่ำกว่ารับใช้มนุษย์ และคนรับใช้จะรับใช้เจ้านาย คุณ ก.รับใช้เจ้านาย ข. คุณ ข. รับใช้เจ้านาย ค. คุณ ค. รับใช้เจ้านาย ง. ฯลฯ ภายใต้สภาวะเช่นนี้เราจะเห็นว่าเพื่อนจะรับใช้เพื่อนอีกคนหนึ่ง มารดารับใช้บุตร ภรรยารับใช้สามี และสามีรับใช้ภรรยา ฯลฯ หากเราค้นคว้าด้วยจิตวิญญาณเช่นนี้เราจะเห็นว่าไม่มีข้อยกเว้นในการปฏิบัติตนรับใช้ในสังคมสิ่งมีชีวิต นักการเมืองจะเสนอนโยบายให้สาธารณะเพื่อให้ความมั่นใจกับความสามารถที่ตนจะรับใช้ ผู้ลงคะแนนเสียงจึงให้คะแนนอันมีค่าแก่นักการเมืองโดยคิดว่าเขาจะรับใช้สังคมอย่างมีคุณค่า เจ้าของร้านรับใช้ลูกค้า ศิลปินรับใช้นายทุน นายทุนรับใช้ครอบครัว และครอบครัวรับใช้รัฐในรูปของความสามารถอมตะของสิ่งมีชีวิตอมตะ เช่นนี้เราจะเห็นว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตใดเลยที่ได้รับการยกเว้นจากการปฏิบัติตนรับใช้สิ่งมีชีวิตอื่น ดังนั้นเราสามารถสรุปได้อย่างถูกต้องว่า การรับใช้เป็นมิตรแท้คงอยู่เสมอไปควบคู่กับสิ่งมีชีวิต และการปฏิบัติตนรับใช้จึงเป็นศาสนาอมตะของสิ่งมีชีวิต
แต่มนุษย์จะอ้างว่าตนมีความศรัทธาเช่นนั้นเช่นนี้ตามกาลเวลาและสถานที่ และจะอ้างว่าตนเป็นชาวฮินดู ชาวมุสลิม ชาวคริสเตียน ชาวพุทธ หรือว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามนิกายอื่นๆ ชื่อระบุเช่นนี้ไม่ใช่ สนาตน-ธรฺม ชาวฮินดูอาจเปลี่ยนความศรัทธามาเป็นมุสลิม หรือชาวมุสลิมอาจเปลี่ยนความศรัทธามาเป็นฮินดู หรือชาวคริสเตียนอาจเปลี่ยนความศรัทธาของตน เป็นต้น แต่ว่าในสภาวการณ์ทั้งหมดการเปลี่ยนความศรัทธาในศาสนานั้นไม่ได้มีผลกระทบกับอาชีพอมตะแห่งการปฏิบัติตนรับใช้ผู้อื่น ชาวฮินดู ชาวมุสลิม หรือชาวคริสเตียนเป็นผู้รับใช้คนอื่นในทุกสภาวการณ์ ดังนั้นการอ้างว่าตนมีความศรัทธาในศาสนานั้นศาสนานี้มิใช่เป็นการอ้าง สนาตน-ธรฺม ของตน การปฏิบัติตนรับใช้คือ สนาตน-ธรฺม
อันที่จริงเราสัมพันธ์กับองค์ภควานฺด้วยการรับใช้พระองค์ผู้ทรงมีความสุขเกษมสำราญสูงสุด และเราเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ เราถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความสุขเกษมสำราญของพระองค์ หากว่าเราร่วมมือในความสุขเกษมสำราญชั่วนิรันดรกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเราจะมีความสุข มิฉะนั้นเราก็จะไม่มีความสุข เป็นไปไม่ได้ที่เราจะมีความสุขโดยอิสระเหมือนกับส่วนหนึ่งของร่างกายจะไม่สามารถมีความสุขได้หากไม่ร่วมมือกับท้อง เป็นไปไม่ได้ที่สิ่งมีชีวิตจะมีความสุขได้โดยไม่ปฏิบัติตนรับใช้ทิพย์ด้วยความจงรักภักดีต่อองค์ภควานฺ
ใน ภควัท-คีตา การบูชาหรือปฏิบัติตนรับใช้ต่อเหล่าเทวดาไม่ได้รับการยอมรับ ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทที่เจ็ด โศลกที่ยี่สิบว่า
กาไมสฺ ไตสฺ ไตรฺ หฺฤต-ชฺญานาห์
ปฺรปทฺยนฺเต ’นฺย-เทวตาห์
ตํ ตํ นิยมมฺ อาสฺถาย
ปฺรกฺฤตฺยา นิยตาห์ สฺวยา
ปฺรปทฺยนฺเต ’นฺย-เทวตาห์
ตํ ตํ นิยมมฺ อาสฺถาย
ปฺรกฺฤตฺยา นิยตาห์ สฺวยา
“พวกที่ถูกความต้องการทางวัตถุขโมยเอาปัญญาไปจะศิโรราบต่อเทวดา และจะปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆของพิธีกรรมในการบูชาตามธรรมชาติของตน” ได้กล่าวไว้อย่างง่ายๆว่าผู้ที่มีราคะเป็นตัวนำจะบูชาเทวดาไม่บูชาองค์ภควานฺ (ศฺรี กฺฤษฺณ) เมื่อกล่าวถึงพระนาม กฺฤษฺณ เราไม่ได้หมายถึงพระนามที่แบ่งแยก กฺฤษฺณ หมายถึงความปลื้มปีติสุขสูงสุด ได้ยืนยันไว้ว่า องค์ภควานฺทรงเป็นแหล่งกำเนิด หรือเป็นขุมทรัพย์แห่งความสุขทั้งมวล เราทั้งหมดกระหายที่จะได้มาซึ่งความสุข อานนฺท-มโย ’ภฺยาสาตฺ (เวทานฺต-สูตฺร 1.1.12) สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับองค์ภควานฺคือ เต็มไปด้วยจิตสำนึก และทั้งคู่ใฝ่หาความปลื้มปีติสุข องค์ภควานฺทรงมีความปลื้มปีติสุขชั่วนิรันดร หากว่าสิ่งมีชีวิตมาสัมพันธ์กับพระองค์ และมาแสดงเป็นส่วนร่วมของพระองค์ก็จะสามารถได้รับความปลื้มปีติสุขด้วยเช่นกัน
องค์ภควานฺทรงเสด็จลงมาในโลกแห่งความตายเพื่อแสดงลีลาของพระองค์ที่ วฺฤนฺทาวน ซึ่งเต็มไปด้วยความปลื้มปีติสุข องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงประทับอยู่ที่ วฺฤนฺทาวน กิจกรรมของพระองค์กับเพื่อนเด็กเลี้ยงวัวและเพื่อนหญิง รวมทั้งชาว วฺฤนฺทาวน และโคทั้งหมดเต็มไปด้วยความปลื้มปีติสุข ประชากรทั้งหมดที่ วฺฤนฺทาวน ไม่รู้จักใครเลยนอกจากองค์กฺฤษฺณ แต่องค์กฺฤษฺณทรงไม่สนับสนุนพระบิดา นนฺท มหาราช ไปบูชาพระอินทร์ผู้เป็นเทวดา เพราะว่าทรงประสงค์ที่จะสถาปนาสัจธรรมที่ว่ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องบูชาเทวดา เราเพียงแต่บูชาองค์ภควานฺเพียงองค์เดียว เพราะจุดมุ่งหมายสุดยอดของเราคือ การกลับคืนไปสู่พระตำหนักของพระองค์
พระตำหนักขององค์ศฺรี กฺฤษฺณได้อธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา บทที่สิบห้า โศลกที่หกดังนี้
น ตทฺ ภาสยเต สูโรฺย
น ศศางฺโก น ปาวกห์
ยทฺ คตฺวา น นิวรฺตนฺเต
ตทฺ ธาม ปรมํ มม
น ศศางฺโก น ปาวกห์
ยทฺ คตฺวา น นิวรฺตนฺเต
ตทฺ ธาม ปรมํ มม
“พระตำหนักสูงสุดของข้ามิได้เจิดจรัสด้วยแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ คบเพลิง หรือไฟฟ้า หากผู้ใดไปถึงที่นั้นจะไม่กลับมาในโลกวัตถุนี้อีก”
โศลกนี้ได้บรรยายถึงท้องฟ้าอมตะ เรามีแนวคิดทางวัตถุเกี่ยวกับท้องฟ้าและเราคิดว่ามันควรมีความสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว และอื่นๆอย่างแน่นอน แต่ในโศลกนี้องค์ภควานฺทรงตรัสว่าที่ท้องฟ้าอมตะไม่มีความจำเป็นต้องมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ไฟฟ้า หรือคบเพลิงในรูปแบบใดก็ตาม เพราะว่าท้องฟ้าทิพย์มีรัศมีเจิดจรัสอยู่แล้วโดย พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ซึ่งเป็นรัศมีเจิดจรัสที่มีแหล่งกำเนิดมาจากองค์ภควานฺเอง เราพยายามด้วยความยากลำบากเพื่อที่จะไปถึงดาวเคราะห์ดวงอื่น แต่มันไม่ยากเลยที่จะเข้าใจพระตำหนักขององค์ภควานฺ พระตำหนักนี้มีนามว่า โคโลก ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.37) ได้อธิบายไว้อย่างงดงามว่า โคโลก เอว นิวสตฺยฺ อขิลาตฺม-ภูตห์ องค์ภควานฺทรงประทับนิรันดรอยู่ที่พระตำหนัก โคโลก เราสามารถเข้าถึงพระองค์จากโลกนี้ได้ และเพื่อจุดมุ่งหมายนี้พระองค์เสด็จลงมาปรากฏพระวรกาย สตฺ จิตฺ อานนฺท วิคฺรห อันแท้จริงของพระองค์เมื่อทรงปรากฏในร่างนี้ เราจึงไม่จำเป็นต้องใช้จินตนาการของเราคิดว่ารูปร่างของพระองค์เป็นเช่นไร องค์ภควานฺจึงเสด็จลงมาเพื่อไม่ส่งเสริมการสร้างจินตนาการแบบคาดคะเนเช่นนี้ และทรงแสดงพระวรกายของพระองค์ตามความเป็นจริงในรูป ศฺยามสุนฺทร แต่ด้วยความอับโชคพวกด้อยปัญญาเยาะเย้ยพระองค์ เพราะว่าพระองค์เสด็จลงมาเหมือนพวกเราและเล่นกับเราเหมือนมนุษย์ ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้นเราก็ไม่ควรพิจารณาว่าพระองค์ทรงเหมือนกับพวกเรา ด้วยพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงปรากฏในรูปลักษณ์อันแท้จริงต่อหน้าพวกเรา และทรงแสดงลีลาของพระองค์ซึ่งเป็นลีลาเดียวกันกับที่เราจะได้เห็น ณ พระตำหนักทิพย์ของพระองค์
ในรัศมีอันเจิดจรัสบนท้องฟ้าทิพย์มีดาวเคราะห์จำนวนนับไม่ถ้วนลอยอยู่ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ส่องรัศมีมาจากพระตำหนักสูงสุด กฺฤษฺณโลก และดาวเคราะห์ อานนฺท-มย, จินฺ-มย ไม่ใช่วัตถุซึ่งลอยอยู่ในรัศมีเหล่านี้ องค์ภควานฺทรงตรัสว่า น ตทฺ ภาสยเต สูโรฺย น ศศางฺโก น ปาวกห์ / ยทฺ คตฺวา น นิวรฺตนฺเต ตทฺ ธาม ปรมํ มม ผู้ที่สามารถไปถึงท้องฟ้าทิพย์จะไม่ต้องลงมาในท้องฟ้าวัตถุอีกครั้ง ถึงแม้ว่าเราจะไปถึงดาวเคราะห์ที่สูงสุดในท้องฟ้าวัตถุ พฺรหฺมา โลกหรือ พฺรหฺมโลก เราจะพบสภาวะชีวิตที่เหมือนกันคือ มีการเกิด การตาย ความเจ็บ และความแก่ จึงไม่ต้องพูดถึงดวงจันทร์ ไม่มีดาวเคราะห์ดวงใดในจักรวาลวัตถุเป็นอิสระจากความทุกข์สี่ประการแห่งโลกวัตถุ
สิ่งมีชีวิตเดินทางจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งไปสู่อีกดวงหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถไปดาวเคราะห์ดวงไหนก็ได้ตามใจชอบโดยใช้เครื่องจักรกล หากเราปรารถนาจะไปถึงดาวเคราะห์ดวงอื่นก็มีวิธีการที่จะไปถึง กล่าวไว้ว่า ยานฺติ เทว-วฺรตา เทวานฺ ปิตฺฤๅนฺ ยานฺติ ปิตฺฤ-วฺรตาห์ ไม่มีความจำเป็นในการใช้เครื่องจักรกลหากเราต้องการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์ ภควัท-คีตา สอนว่า ยานฺติ เทว-วฺรตา เทวานฺ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์เบื้องสูงอื่นๆเรียกว่า สฺวรฺคโลก มีดาวเคราะห์อยู่สามระบบ คือ ระบบสูง ระบบกลาง และระบบต่ำ โลกมนุษย์อยู่ในระบบกลาง ภควัท-คีตา แนะนำว่าเราจะเดินทางอย่างไรให้ไปถึงระบบดาวเคราะห์เบื้องสูง (เทวโลก) ด้วยสูตรง่ายๆ ยานฺติ เทว-วฺรตา เทวานฺ เราเพียงแต่บูชาเทวดาของดาวเคราะห์ดวงนั้นด้วยวิธีนี้เราก็จะไปถึงดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ หรือว่าระบบดาวเคราะห์ใดๆที่สูงกว่าได้
แต่ ภควัท-คีตา ไม่แนะนำให้เราไปที่ดาวเคราะห์ดวงใดในโลกวัตถุนี้ เพราะถึงแม้ว่าเราไปถึง พฺรหฺมา โลกหรือ พฺรหฺมโลก ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่สูงสุดโดยใช้เครื่องจักรกลอาจจะใช้เวลาเดินทางเป็นเวลาสี่หมื่นปี (แล้วใครจะมีชีวิตอยู่ถึงสี่หมื่นปี) เราก็ยังจะพบความไม่สะดวกสบายในโลกวัตถุ เช่น การเกิด ความแก่ การเจ็บ และความตาย แต่ผู้ที่ต้องการจะไปถึงดาวเคราะห์สูงสุด กฺฤษฺณโลก หรือดาวเคราะห์ดวงใดภายในท้องฟ้าทิพย์เขาจะไม่พบกับความไม่สะดวกสบายกับวัตถุเหล่านี้ ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมดในท้องฟ้าทิพย์จะมีดาวเคราะห์สูงสุดดวงหนึ่งมีชื่อว่า โคโลก วฺฤนฺทาวน ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกในพระตำหนักของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าพระองค์แรก ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้ให้ไว้ใน ภควัท-คีตา และเราได้แจกจ่ายข้อมูลตาม ภควัท-คีตา ว่าจะออกจากโลกวัตถุนี้และเริ่มต้นชีวิตที่มีความปลื้มปีติสุขจริงในท้องฟ้าทิพย์ได้อย่างไร
บทที่สิบห้าของ ภควัท-คีตา ได้กล่าวถึงภาพอันแท้จริงของโลกวัตถุไว้ ดังนี้
อูรฺธฺว-มูลมฺ อธห์-ศาขมฺ
อศฺวตฺถํ ปฺราหุรฺ อวฺยยมฺ
ฉนฺทำสิ ยสฺย ปรฺณานิ
ยสฺ ตํ เวท ส เวท-วิตฺ
อศฺวตฺถํ ปฺราหุรฺ อวฺยยมฺ
ฉนฺทำสิ ยสฺย ปรฺณานิ
ยสฺ ตํ เวท ส เวท-วิตฺ
ในโศลกนี้โลกวัตถุเปรียบเสมือนต้นไม้ที่มีรากชี้ฟ้าและกิ่งก้านสาขาอยู่ด้านล่าง เราจะได้รับประสบการณ์ที่มีรากต้นไม้อยู่ด้านบนถ้าเรายืนอยู่ริมแม่น้ำ หรือแหล่งน้ำใดก็ตามเราก็จะเห็นภาพสะท้อนในน้ำที่มียอดต้นไม้กลับกันกิ่งก้านสาขาอยู่ด้านล่างและรากอยู่ด้านบน ในลักษณะเดียวกันโลกวัตถุนี้เป็นภาพสะท้อนจากโลกทิพย์เป็นเงาของความจริงซึ่งไร้แก่นสารอันแท้จริง แต่จากเงาทำให้เราสามารถเข้าใจว่ามีแก่นสารและความเป็นจริง ในทะเลทรายไม่มีน้ำแต่ภาพหลอนจะหลอกเราว่ามีน้ำ ในโลกวัตถุไม่มีน้ำ ไม่มีความสุข แต่น้ำแห่งความปลื้มปีติสุขที่แท้จริงมีอยู่จริงในโลกทิพย์
องค์ภควานฺทรงแนะนำให้เรากลับไปยังโลกทิพย์ดังนี้ (ภควัท-คีตา 15.5)
นิรฺมาน-โมหา ชิต-สงฺค-โทษา
อธฺยาตฺม-นิตฺยา วินิวฺฤตฺต-กามาห์
ทฺวนฺไทฺวรฺ วิมุกฺตาห์ สุข-ทุห์ข-สํชฺไญรฺ
คจฺฉนฺตฺยฺ อมูฒาห์ ปทมฺ อวฺยยํ ตตฺ
อธฺยาตฺม-นิตฺยา วินิวฺฤตฺต-กามาห์
ทฺวนฺไทฺวรฺ วิมุกฺตาห์ สุข-ทุห์ข-สํชฺไญรฺ
คจฺฉนฺตฺยฺ อมูฒาห์ ปทมฺ อวฺยยํ ตตฺ
ปทมฺ อวฺยยมฺ หรือพระราชอาณาจักรอมตะนิรันดรนั้นสามารถบรรลุถึงโดยผู้ที่เป็น นิรฺมาน-โมห หมายความว่าอย่างไร คนส่วนใหญ่ต้องการได้รับเกียรติยศ บางคนต้องการเป็นเจ้านายใหญ่โต บางคนต้องการเป็นประธานธิบดี เศรษฐี พระราชา หรืออื่นๆอีกมากมาย ตราบใดที่เรายังยึดติดอยู่กับเกียรติยศเหล่านี้เราก็ยังคงยึดติดอยู่กับร่างกาย เพราะว่าตำแหน่งเหล่านั้นขึ้นอยู่กับร่างกาย แต่เราไม่ใช่ร่างกายนี้ นี่เป็นความรู้พื้นฐานแห่งความรู้ทิพย์ เรามาสัมผัสกับสามระดับของธรรมชาติวัตถุ แต่เราต้องไม่ยึดติดและอุทิศตนเสียสละด้วยความจงรักภักดีต่อองค์ภควานฺ หากว่าเราไม่ยึดมั่นในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความจงรักภักดีต่อองค์ภควานฺ เราก็ไม่สามารถที่จะหยุดความยึดติดกับสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุนี้ได้ เกียรติยศและความยึดติดนี้ก็เนื่องจากราคะและความต้องการของเรา ความต้องการที่จะเป็นเจ้าแห่งธรรมชาติวัตถุ ตราบใดที่เรายังไม่ยกเลิกแนวโน้มที่จะเป็นเจ้าแห่งธรรมชาติวัตถุนี้ก็เป็นไปไม่ได้ที่เราจะกลับไปสู่พระราชอาณาจักรขององค์ภควานฺ สนาตน-ธรฺม พระราชอาณาจักรนิรันดรที่ไม่มีวันถูกทำลาย และสามารถจะไปถึงได้โดยผู้ที่ไม่มีความสับสนอยู่ในเสน่ห์แห่งความสุขทางวัตถุที่ผิดๆนี้ ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในการปฏิบัติตนรับใช้ต่อองค์ภควานฺ และผู้สถิตอยู่เช่นนี้จะสามารถไปถึงพระตำหนักทิพย์สูงสุดได้อย่างง่ายดาย
ตอนหนึ่งใน คีตา (8.21) ได้กล่าวไว้ว่า :
อวฺยกฺโต ’กฺษร อิตฺยฺ อุกฺตสฺ
ตมฺ อาหุห์ ปรมำ คติมฺ
ยํ ปฺราปฺย น นิวรฺตนฺเต
ตทฺ ธาม ปรมํ มม
ตมฺ อาหุห์ ปรมำ คติมฺ
ยํ ปฺราปฺย น นิวรฺตนฺเต
ตทฺ ธาม ปรมํ มม
อวฺยกฺต หมายถึง สิ่งที่ไม่ปรากฏ ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกวัตถุจะปรากฏออกมาให้เราเห็น ประสาทสัมผัสของเรานั้นไม่สมบูรณ์เราจึงไม่สามารถเห็นดวงดาวทั้งหมดภายในจักรวาลวัตถุนี้ ในวรรณกรรมพระเวทเราสามารถได้รับข้อมูลมากมายเกี่ยวกับดาวเคราะห์ทั้งหมดและเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ ดาวเคราะห์ที่สำคัญๆทั้งหมดได้อธิบายไว้ในวรรณกรรมพระเวทโดยเฉพาะ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ และโลกทิพย์ซึ่งอยู่เหนือไปจากท้องฟ้าวัตถุนี้ได้อธิบายว่าเป็น อวฺยกฺต (ไม่ปรากฏ) เราควรมีความปรารถนาและใฝ่ฝันเพื่อไปยังอาณาจักรอันสูงสุดนั้น เพราะเมื่อเราได้ไปถึงอาณาจักรนั้นแล้วเราจะไม่ต้องกลับมาในโลกวัตถุนี้อีกต่อไป
จากนี้อาจมีคำถามว่าเราจะไปถึงพระตำหนักทิพย์ขององค์ภควานฺได้อย่างไร ข้อมูลนี้ได้ให้ไว้ในบทที่แปดโดยกล่าวว่า
อนฺต-กาเล จ มามฺ เอว
สฺมรนฺ มุกฺตฺวา กเลวรมฺ
ยห์ ปฺรยาติ ส มทฺ-ภาวํ
ยาติ นาสฺตฺยฺ อตฺร สํศยห์
สฺมรนฺ มุกฺตฺวา กเลวรมฺ
ยห์ ปฺรยาติ ส มทฺ-ภาวํ
ยาติ นาสฺตฺยฺ อตฺร สํศยห์
“ใครก็แล้วแต่ที่ในบั้นปลายชีวิตก่อนออกจากร่างนี้ระลึกถึงข้า จะมาถึงธรรมชาติของข้าโดยไม่ต้องสงสัย” (ภควัท-คีตา 8.5) ผู้ที่คิดถึงองค์กฺฤษฺณในขณะตายจะไปหาศฺรี กฺฤษฺณ เราต้องจดจำพระวรกายขององค์กฺฤษฺณ เพราะถ้าเราออกจากร่างนี้ไปด้วยการระลึกถึงรูปลักษณ์นี้แน่นอนว่าเราจะไปถึงอาณาจักรทิพย์ มทฺ-ภาวมฺ หมายถึง ธรรมชาติสูงสุดของสิ่งมีชีวิตสูงสุด สิ่งมีชีวิตสูงสุดคือ สตฺ จิตฺ อานนฺท วิคฺรห หมายถึงรูปลักษณ์ของพระองค์ที่เป็นอมตะ เปี่ยมไปด้วยความรู้ และความปลื้มปีติสุข ร่างกายปัจจุบันของเราไม่ใช่ สจฺ-จิทฺ-อานนฺท แต่เป็น อสตฺ ไม่ใช่ สตฺ ไม่เป็นอมตะ สูญสลายได้ และไม่ใช่ จิตฺ ที่เต็มไปด้วยความรู้ แต่เต็มไปด้วยอวิชชา เราไม่มีความรู้เกี่ยวกับอาณาจักรทิพย์และไม่มีความรู้ที่สมบูรณ์ แม้แต่ในโลกวัตถุนี้ก็มีสิ่งที่เรายังไม่รู้อีกมากมาย ร่างกายก็เป็น นิรานนฺท เช่นเดียวกันแทนที่จะเปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุขก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ความทุกข์ทั้งหมดที่เราได้รับประสบการณ์ในโลกนี้เกิดขึ้นมาจากร่างกาย แต่ผู้ที่จากร่างนี้ไปด้วยการระลึกถึงองค์ภควานฺศฺรี กฺฤษฺณจะได้รับร่าง สจฺ-จิทฺ-อานนฺท ทันที
วิธีการออกจากร่างกายนี้และเข้าไปสู่อีกร่างหนึ่งในโลกวัตถุได้ถูกจัดไว้เรียบร้อยแล้ว หลังจากถูกตัดสินว่าจะอยู่ร่างไหนในชาติหน้ามนุษย์จึงจะตาย ผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าเป็นผู้ตัดสินตามผลกรรมของเราในชาตินี้ไม่ใช่สิ่งมีชิวิตเป็นผู้กำหนด เราอาจเจริญขึ้นหรืออาจตกต่ำลงชีวิตนี้จึงเป็นการเตรียมตัวสำหรับชีวิตหน้า ดังนั้นหากเราเตรียมตัวในชีวิตนี้ดีเพื่อเจริญขึ้นไปถึงอาณาจักรขององค์ภควานฺ หลังจากที่เราออกจากร่างวัตถุนี้แล้วเราจะได้รับร่างทิพย์เหมือนกับร่างของพระองค์อย่างแน่นอน
ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่ามีนักทิพย์นิยมหลายประเภท เช่น พฺรหฺม-วาที, ปรมาตฺม-วาที และสาวก ได้กล่าวไว้เช่นกันว่าใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ (ท้องฟ้าทิพย์) มีดาวเคราะห์ทิพย์นับจำนวนไม่ถ้วน จำนวนดาวเคราะห์เหล่านี้มีมากเกินกว่าจำนวนของดาวเคราะห์ทั้งหมดในโลกวัตถุ ได้ประมาณไว้ว่าโลกวัตถุนี้มีขนาดเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ของการสร้าง (เอกำเศน สฺถิโต ชคตฺ ) ในส่วนของโลกวัตถุนี้มีจำนวนร้อยล้านพันล้านจักรวาลพร้อมทั้งดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวเป็นจำนวนล้านๆดวง แต่การสร้างโลกวัตถุนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างทั้งหมดการสร้างส่วนใหญ่อยู่ในโลกทิพย์ ผู้ที่มีความต้องการจะกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ของ พฺรหฺมนฺ สูงสุดจะย้ายไปอยู่ใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ขององค์ภควานฺซึ่งเป็นท้องฟ้าทิพย์ สาวกต้องการได้รับความสุขเกษมสำราญด้วยการมีความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺจะได้เข้าไปอยู่ที่ดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ ซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล และพระนารายณ์สี่กรอวตารที่แบ่งแยกออกมาจากองค์ภควานฺทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ซึ่งมีพระนามแตกต่างกัน เช่น ปฺรทฺยุมฺน, อนิรุทฺธ และ โควินฺท ฉะนั้นในบั้นปลายชีวิตของนักทิพย์นิยมนั้นไม่ว่ายังไงก็จะระลึกถึง พฺรหฺม-โชฺยติรฺ, ปรมาตฺมา หรือองค์ภควานฺศฺรี กฺฤษฺณ พวกเขาจึงจะเข้าไปในท้องฟ้าทิพย์ แต่สาวกหรือผู้ที่มาสัมผัสกับองค์ภควานฺโดยตรงเท่านั้นจึงเข้าไปยังดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ หรือดาวเคราะห์ โคโลก วฺฤนฺทาวน องค์ภควานฺ ตรัสต่อว่า “โดยไม่ต้องสงสัย” เราต้องเชื่อเช่นนี้อย่างแน่วแน่ เราไม่ควรปฏิเสธกับสิ่งที่ไม่ตรงกับจิตนาการของเราทั้งหมด ท่าทีของเราควรให้เหมือนกับ อรฺชุน ที่ตรัสว่า “ข้าพเจ้าเชื่อในทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ตรัส” ดังนั้นเมื่อองค์ภควานฺทรงตรัสว่าใครก็แล้วแต่ขณะที่กำลังตายระลึกถึงองค์ภควานฺโดยคิดว่าพระองค์ทรงเป็น พฺรหฺมนฺ, ปรมาตฺมา หรือองค์ภควานฺจะเข้าไปสู่ท้องฟ้าทิพย์อย่างแน่นอน โดยไม่ต้องสงสัย และไม่มีคำถามอื่นใดอีกเกี่ยวกับความเชื่อเช่นนี้
ใน ภควัท-คีตา (8.6) ได้อธิบายถึงหลักทั่วไปในการที่จะเข้าไปในอาณาจักรทิพย์คือ เพียงแค่ระลึกถึงองค์ภควานฺขณะที่กำลังจะตาย
ยํ ยํ วาปิ สฺมรนฺ ภาวํ
ตฺยชตฺยฺ อนฺเต กเลวรมฺ
ตํ ตมฺ เอไวติ เกานฺเตย
สทา ตทฺ-ภาว-ภาวิตห์
ตฺยชตฺยฺ อนฺเต กเลวรมฺ
ตํ ตมฺ เอไวติ เกานฺเตย
สทา ตทฺ-ภาว-ภาวิตห์
“ไม่ว่าจิตใจกำลังคิดถึงสิ่งใดในขณะที่ออกจากร่างนี้ เขาจะได้รับสิ่งนั้นในชาติหน้าอย่างแน่นอน” ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าธรรมชาติวัตถุเป็นพลังงานส่วนหนึ่งขององค์ภควานฺที่ทรงแสดงออกมา ใน วิษฺณุ ปุราณ (6.7.61) พลังงานทั้งหมดขององค์ภควานฺได้อธิบายไว้ดังนี้
วิษฺณุ-ศกฺติห์ ปรา โปฺรกฺตา
กฺเษตฺร-ชฺญาขฺยา ตถา ปรา
อวิทฺยา-กรฺม-สํชฺญานฺยา
ตฺฤตียา ศกฺติรฺ อิษฺยเต
กฺเษตฺร-ชฺญาขฺยา ตถา ปรา
อวิทฺยา-กรฺม-สํชฺญานฺยา
ตฺฤตียา ศกฺติรฺ อิษฺยเต
องค์ภควานฺทรงมีพลังงานมากมายจนนับไม่ถ้วน ซึ่งอยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดของเรา อย่างไรก็ดีนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ หรือดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นแล้วได้ศึกษา วิเคราะห์ และจำแนกพลังงานเหล่านี้ออกเป็นสามประเภท พลังงานทั้งหมดเป็น วิษฺณุ-ศกฺติ หมายความว่าเป็นพลังงานอันหลากหลายของพระวิษณุ พลังงานแรกเรียกว่า ปรา คือเป็นทิพย์ หรือเหนือโลกสิ่งมีชีวิตเป็นพลังงานเบื้องสูงดังที่ได้อธิบายไว้ แล้วอีกพลังงานหนึ่งเป็นพลังงานวัตถุซึ่งอยู่ในคุณลักษณะอวิชชา ขณะที่กำลังตายเราอาจจะอยู่ภายในพลังงานเบื้องต่ำของโลกวัตถุนี้ หรืออาจย้ายไปที่พลังงานของโลกทิพย์ ดังที่ ภควัท-คีตา (8.6) กล่าวว่า
ยํ ยํ วาปิ สฺมรนฺ ภาวํ
ตฺยชตฺยฺ อนฺเต กเลวรมฺ
ตํ ตมฺ เอไวติ เกานฺเตย
สทา ตทฺ-ภาว-ภาวิตห์
ตฺยชตฺยฺ อนฺเต กเลวรมฺ
ตํ ตมฺ เอไวติ เกานฺเตย
สทา ตทฺ-ภาว-ภาวิตห์
“ไม่ว่าจิตใจกำลังคิดถึงสิ่งใดในขณะที่ออกจากร่างนี้ เขาจะได้รับสิ่งนั้นในชาติหน้าอย่างแน่นอน”
ในชีวิตเราอาจเคยชินต่อการคิดถึงพลังงานวัตถุหรือพลังงานทิพย์ และมาบัดนี้เราจะเปลี่ยนความคิดจากพลังงานวัตถุนี้ให้มาเป็นพลังงานทิพย์ได้อย่างไร มีวรรณกรรมทางพลังงานวัตถุมากมายที่เข้ามาอยู่ในสมองของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นวนิยาย ฯลฯ ความคิดของเราที่ซึมซาบอยู่ในวรรณกรรมเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนมาเป็นวรรณกรรมพระเวท ฉะนั้นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ได้เขียนวรรณกรรมพระเวทมากมาย เช่น ปุราณ ปุราณ มิได้เป็นจินตนาการแต่เป็นประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต (มธฺย 20.122) มีโศลกต่อไปนี้
มายา-มุคฺธ ชีเวร นาหิ สฺวตห์ กฺฤษฺณ-ชฺญาน
ชีเวเร กฺฤปาย ไกลา กฺฤษฺณ เวท-ปุราณ
ชีเวเร กฺฤปาย ไกลา กฺฤษฺณ เวท-ปุราณ
สิ่งมีชีวิตที่หลงลืมหรือดวงวิญญาณที่อยู่ในสภาวะวัตถุลืมความสัมพันธ์ของตนเองกับองค์ภควานฺ และพัวพันอยู่ในความคิดแห่งกิจกรรมทางวัตถุเพื่อเปลี่ยนพลังความคิดของพวกเขาไปยังท้องฟ้าทิพย์ กฺฤษฺณ-ไทฺวปายน วฺยาส ได้ให้วรรณกรรมพระเวทไว้มากมาย ขั้นแรกได้แบ่งคัมภีร์พระเวทเป็นสี่ส่วน จากนั้นอธิบายใน ปุราณ สำหรับผู้ที่มีความสามารถน้อยท่านได้เขียน มหาภารต ภควัท-คีตา อยู่ใน มหาภารต จากนั้นวรรณกรรมพระเวททั้งหมดได้สรุปลงใน เวทานฺต-สูตฺร และเพื่อเป็นการชี้แนะในอนาคตท่านได้ให้คำอธิบายโดยธรรมชาติเกี่ยวกับ เวทานฺต-สูตฺร เรียกว่า ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เราต้องใช้จิตใจของเราไปในการอ่านวรรณกรรมพระเวทเหล่านี้เสมอ เหมือนกับนักวัตถุนิยมที่ใช้จิตใจอ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร และวรรณกรรมทางโลกมากมาย เราต้องเปลี่ยนการอ่านของเรามาอ่านวรรณกรรมเหล่านี้ที่ วฺยาสเทว ได้ให้ไว้แทน จากการทำเช่นนี้จะทำให้เราระลึกถึงองค์ภควานฺในขณะที่เราจะตายได้ และนี่เป็นวิธีเดียวที่พระองค์ทรงแนะนำ และทรงรับประกันผลไว้ว่า “อย่างไม่ต้องสงสัย”
ตสฺมาตฺ สเรฺวษุ กาเลษุ
มามฺ อนุสฺมร ยุธฺย จ
มยฺยฺ อรฺปิต-มโน-พุทฺธิรฺ
มามฺ เอไวษฺยสฺยฺ อสํศยห์
มามฺ อนุสฺมร ยุธฺย จ
มยฺยฺ อรฺปิต-มโน-พุทฺธิรฺ
มามฺ เอไวษฺยสฺยฺ อสํศยห์
“ฉะนั้น อรฺชุน เธอควรระลึกถึงข้าเสมอในรูปลักษณ์ กฺฤษฺณ ในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติหน้าที่ในการรบที่ได้จัดไว้ ด้วยการ กระทำของเธอที่อุทิศแด่ข้า ทั้งจิตใจ และปัญญาตั้งมั่นอยู่ที่ข้า เธอจะมาถึงข้าโดยไม่ต้องสงสัย” (ภควัท-คีตา 8.7)
พระองค์ทรงไม่ได้แนะนำให้ อรฺชุน เพียงแต่ระลึกถึงพระองค์ และยกเลิกอาชีพของตนเท่านั้น พระองค์ทรงไม่เคยแนะนำในสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้ ในโลกวัตถุนี้การที่จะรักษาร่างกายนี้ไว้ได้นั้นเราจะต้องทำงาน สังคมมนุษย์แบ่งออกตามหน้าที่การงานเป็นสี่วรรณะ พฺราหฺมณ, กฺษตฺริย, ไวศฺย และ ศูทฺร พฺราหฺมณ หรือชั้นปัญญาชนทำงานประเภทหนึ่ง กฺษตฺริย หรือชนชั้นบริหารทำงานอีกประเภทหนึ่ง ชนชั้นพ่อค้าและกรรมกรทั้งหมดก็ทำหน้าที่เฉพาะของตน ในสังคมมนุษย์ไม่ว่าเราจะเป็นกรรมกรพ่อค้า นักบริหาร หรือชาวนา หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในชั้นสูงสุด เป็นผู้คงแก่เรียน นักวิทยาศาสตร์ หรือนักศาสนาจะต้องทำงานเพื่อดำรงชีพ ฉะนั้นองค์ภควานฺทรงตรัสต่อ อรฺชุน ว่า อรฺชุน ไม่ควรยกเลิกอาชีพของตน แต่ในขณะที่ประกอบอาชีพควรระลึกถึงองค์กฺฤษฺณ (มามฺ อนุสฺมร ) ถ้าหากว่า อรฺชุน ทรงไม่ฝึกฝนการระลึกถึงองค์กฺฤษฺณขณะที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อดำรงชีวิตก็เป็นไปไม่ได้ที่ อรฺชุน จะทรงระลึกถึงองค์กฺฤษฺณในขณะกำลังจะตาย องค์ไจตนฺยทรงแนะนำเช่นเดียวกันว่า กีรฺตนียห์ สทา หริห์ เราควรฝึกฝนการสวดภาวนาพระนามขององค์ภควานฺเสมอ พระนามขององค์ภควานฺและองค์ภควานฺไม่แตกต่างกัน ฉะนั้นคำสั่งสอนขององค์กฺฤษฺณที่ให้แก่ อรฺชุน ว่า “จงระลึกถึงข้า” และคำสั่งสอนขององค์ไจตนฺยว่า “จงสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์กฺฤษฺณอยู่เสมอ” จึงเป็นคำสั่งสอนที่เหมือนกันและไม่มีข้อแตกต่าง เพราะว่าองค์กฺฤษฺณและพระนามของพระองค์ไม่มีความแตกต่างกัน ในระดับที่สมบูรณ์สูงสุดจะไม่มีข้อแตกต่างระหว่างข้ออ้างอิงและผู้อ้างอิง ดังนั้นเราจึงควรฝึกฝนการระลึกถึงองค์ภควานกฺฺฤษฺณเสมอ วันละยี่สิบสี่ชั่วโมง ด้วยการสวดภาวนาพระนามของพระองค์ และจัดกิจกรรมของชีวิตเพื่อให้เราสามารถระลึกถึงองค์ศฺรี กฺฤษฺณได้เสมอ
บรรดาเหล่า อาจารฺย ทั้งหลายได้ให้ตัวอย่างไว้ว่าจะสามารถทำอย่างนั้นได้อย่างไรดังต่อไปนี้ หากสตรีที่แต่งงานแล้วไปสนใจชายอีกคนหนึ่ง หรือหากว่าผู้ชายไปสนใจหญิงที่ไม่ใช่ภรรยาของตนนั้น ความสนใจเช่นนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีพลังมาก ผู้ที่มีความสนใจเช่นนี้จะคิดถึงคนรักเสมอ ภรรยาที่คิดถึงคู่รักของตนจะคิดเสมอว่าต้องการพบเขาแม้ขณะที่เธอทำงานบ้านอยู่ เธออาจต้องปฏิบัติงานบ้านด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นเพื่อที่สามีจะได้ไม่สงสัยความสนใจที่เธอมีชายอื่น เช่นเดียวกันเราควรระลึกถึงคู่รักสูงสุดองค์ศฺรี กฺฤษฺณเสมอ และในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติหน้าที่ทางวัตถุอย่างดีเยี่ยม ตรงนี้ความรู้สึกในความรักที่มีพลังเป็นสิ่งจำเป็น หากว่าเรามีความรู้สึกในความรักที่เข้มข้นต่อองค์ภควานฺเราจึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ของเราโดยในขณะเดียวกันก็ระลึกถึงพระองค์ได้ แต่จะต้องพัฒนาความรู้สึกแห่งความรักนั้นอยู่เรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น อรฺชุน ทรงคิดถึงองค์กฺฤษฺณเสมอ อรฺชุน ทรงเป็นสหายขององค์กฺฤษฺณและในขณะเดียวกัน อรฺชุน ก็เป็นนักรบ องค์กฺฤษฺณทรงไม่ได้แนะนำให้ อรฺชุน ยกเลิกการต่อสู้และไปอยู่ในป่าบำเพ็ญฌาน เมื่อองค์กฺฤษฺณทรงอธิบายระบบโยคะให้ อรฺชุน อรฺชุน ก็ตรัสว่าการปฏิบัติตามระบบนี้เป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์
อรฺชุน อุวาจ
โย ’ยํ โยคสฺ ตฺวยา โปฺรกฺตห์
สาเมฺยน มธุสูทน
เอตสฺยาหํ น ปศฺยามิ
จญฺจลตฺวาตฺ สฺถิตึ สฺถิรามฺ
สาเมฺยน มธุสูทน
เอตสฺยาหํ น ปศฺยามิ
จญฺจลตฺวาตฺ สฺถิตึ สฺถิรามฺ
“อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ มธุสูทน ดูเหมือนว่าข้าพเจ้าจะปฏิบัติระบบโยคะที่พระองค์ทรงสรุปและอดทนไม่ได้ เพราะจิตใจไม่สงบและไม่มั่นคง” (ภควัท-คีตา 6.33)
แต่องค์ภควานฺทรงตรัสว่า
โยคินามฺ อปิ สเรฺวษามฺ
มทฺ-คเตนานฺตรฺ-อาตฺมนา
ศฺรทฺธาวานฺ ภชเต โย มำ
ส เม ยุกฺต-ตโม มตห์
มทฺ-คเตนานฺตรฺ-อาตฺมนา
ศฺรทฺธาวานฺ ภชเต โย มำ
ส เม ยุกฺต-ตโม มตห์
“ในบรรดาโยคะทั้งหมดผู้ที่มีความศรัทธาอันยิ่งใหญ่ต่อข้า ปฏิบัติตามคำสอนของข้าเสมอ ภายในใจระลึกถึงข้า และรับใช้ข้าด้วยความรักทิพย์ เป็นผู้ที่อยู่ร่วมกับข้าอย่างใกล้ชิดในโยคะ และเป็นผู้สูงสุดกว่าใครทั้งหมด นี่คือความคิดเห็นของข้า” (ภควัท-คีตา 6.47) ฉะนั้นผู้ที่ระลึกถึงองค์ภควานฺจะเป็นโยคีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จะเป็น ชฺญานี สูงสุด และเป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ในขณะเดียวกันองค์ภควานฺทรงตรัสแด่อาจุนะต่อไปว่า ในฐานะที่ อรฺชุน เป็น กฺษตฺริย จะยกเลิกการต่อสู้ไม่ได้ แต่ถ้าหากต่อสู้พร้อมทั้งระลึกถึงองค์กฺฤษฺณไปด้วย อรฺชุน ก็จะทรงสามารถระลึกถึงองค์กฺฤษฺณในขณะที่กำลังจะตายได้ แต่เราต้องศิโรราบในการรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อองค์ภควานฺอย่างสมบูรณ์
เราไม่ได้ทำงานด้วยร่างกายแต่ทำด้วยจิตใจและปัญญา ถ้าหากว่าจิตใจและปัญญาถูกใช้ไปในการระลึกถึงองค์ภควานฺ ประสาทสัมผัสก็จะถูกใช้ในการรับใช้องค์ภควานฺโดยธรรมชาติ อย่างน้อยที่สุดกิจกรรมทางประสาทสัมผัสจะยังคงเหมือนเดิม แต่จิตสำนึกจะเปลี่ยนไป ภควัท-คีตา สอนให้เราใช้จิตสำนึกและปัญญาให้ซึมซาบไปในการระลึกถึงองค์ภควานฺ เพราะการซึมซาบเช่นนี้สามารถนำเราไปยังอาณาจักรขององค์ภควานฺ หากจิตใจถูกใช้ไปในการรับใช้องค์ศฺรี กฺฤษฺณประสาทสัมผัสก็จะถูกใช้ไปในการรับใช้พระองค์โดยปริยาย นี่คือศิลปะและเป็นความลับของ ภควัท-คีตา ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับการซึมซาบอย่างสมบูรณ์ในการระลึกถึงองค์ศฺรี กฺฤษฺณ
ในปัจจุบันมนุษย์ดิ้นรนด้วยความยากลำบากที่จะไปถึงดวงจันทร์ แต่ไม่พยายามนำตนเองให้เจริญขึ้นในวิถีทิพย์ หากเรามีเวลาเหลืออยู่อีกห้าสิบปีเราควรใช้เวลาอันไม่มากนี้ปฏิบัติการพัฒนาเพื่อระลึกถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า การปฏิบัติเช่นนี้เป็นวิธีการอุทิศตนเสียสละรับใช้
ศฺรวณํ กีรฺตนํ วิษฺโณห์
สฺมรณํ ปาท-เสวนมฺ
อรฺจนํ วนฺทนํ ทาสฺยํ
สขฺยมฺ อาตฺม-นิเวทนมฺ
สฺมรณํ ปาท-เสวนมฺ
อรฺจนํ วนฺทนํ ทาสฺยํ
สขฺยมฺ อาตฺม-นิเวทนมฺ
(ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ 7.5.23)
ขบวนการเก้าวิธีนี้ ศฺรวณมฺ หรือการสดับฟัง ภควัท-คีตา จากผู้รู้แจ้งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดซึ่งจะทำให้เราระลึกถึงองค์ภควานฺ วิธีนี้จะทำให้เราระลึกถึงองค์ภควานฺได้ในขณะที่วิญญาณออกจากร่าง และได้รับร่างทิพย์อันเหมาะสมในการร่วมสมาคมกับพระองค์เจ้า
องค์ภควานฺองค์ทรงตรัสต่อไปว่า :
อภฺยาส-โยค-ยุกฺเตน
เจตสา นานฺย-คามินา
ปรมํ ปุรุษํ ทิวฺยํ
ยาติ ปารฺถานุจินฺตยนฺ
เจตสา นานฺย-คามินา
ปรมํ ปุรุษํ ทิวฺยํ
ยาติ ปารฺถานุจินฺตยนฺ
“ผู้ที่ทำสมาธิจดจ่ออยู่ที่ข้าว่าเป็นองค์ภควานฺ จิตใจระลึกถึงข้าเสมอโดยไม่เบี่ยงเบนจากวิถีทาง โอ้ อรฺชุน เขาจะต้องบรรลุถึงข้าอย่างแน่นอน” (ภควัท-คีตา 8.8)
เช่นนี้ไม่ใช่เป็นวิธีที่ยากลำบากอันใดเลย อย่างไรก็ดีเราจะต้องศึกษาจากผู้ที่มีประสบการณ์ ตทฺ-วิชฺญานารฺถํ ส คุรุมฺ เอวาภิคจฺเฉตฺ เราต้องเข้าพบผู้ที่ปฏิบัติชอบแล้ว เพราะจิตใจของเราจะโผผินบินไปโน่นไปนี่อยู่เสมอ แต่เราต้องฝึกทำสมาธิด้วยจิตของเราตั้งมั่นอยู่ที่รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ (ศฺรี กฺฤษฺณ) หรือทำสมาธิอยู่ที่เสียงของพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์อยู่เสมอ โดยธรรมชาติจิตใจเราจะไม่สงบไปโน่นมานี่ตลอดเวลา แต่มันจะสงบลงได้อยู่ที่เสียงทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นเราต้องทำสมาธิที่ ปรมํ ปุรุษมฺ องค์ภควานฺในอาณาจักรทิพย์ ในท้องฟ้าทิพย์ และบรรลุถึงพระองค์ หนทางและจุดมุ่งหมายแห่งการรู้แจ้งสูงสุด ความสำเร็จสูงสุดนั้นได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา และประตูแห่งความรู้นี้เปิดให้ไว้สำหรับทุกๆคน ไม่มีผู้ใดต้องห้าม บุคคลทุกชั้นวรรณะสามารถเข้าถึงองค์กฺฤษฺณได้ด้วยการระลึกถึงพระองค์ เพราะการสดับฟังและการระลึกถึงองค์กฺฤษฺณนั้นใครๆก็สามารถทำได้
องค์ภควานฺทรงตรัสต่อไปว่า (ภควัท-คีตา 9.32-33)
มำ หิ ปารฺถ วฺยปาศฺริตฺย
เย ’ปิ สฺยุห์ ปาป-โยนยห์
สฺตฺริโย ไวศฺยาสฺ ตถา ศูทฺราสฺ
เต ’ปิ ยานฺติ ปรำ คติมฺ
เย ’ปิ สฺยุห์ ปาป-โยนยห์
สฺตฺริโย ไวศฺยาสฺ ตถา ศูทฺราสฺ
เต ’ปิ ยานฺติ ปรำ คติมฺ
กึ ปุนรฺ พฺราหฺมณาห์ ปุณฺยา
ภกฺตา ราชรฺษยสฺ ตถา
อนิตฺยมฺ อสุขํ โลกมฺ
อิมํ ปฺราปฺย ภชสฺว มามฺ
ภกฺตา ราชรฺษยสฺ ตถา
อนิตฺยมฺ อสุขํ โลกมฺ
อิมํ ปฺราปฺย ภชสฺว มามฺ
ดังนั้นองค์ภควานฺทรงตรัสว่า แม้แต่พ่อค้า สตรีที่ตกต่ำ กรรมกร หรือมนุษย์ที่มีชีวิตต่ำต้อยที่สุดก็สามารถเข้าถึงพระองค์ได้ เราไม่จำเป็นต้องมีปัญญาสูงมาก แต่ที่สำคัญคือใครก็ตามที่รับเอาหลักการของ ภกฺติ-โยค มาปฏิบัติ และยอมรับองค์ภควานฺว่าทรงเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิตจะสามารถไปถึงพระองค์ในท้องฟ้าทิพย์ได้ หากรับเอาหลักธรรมที่ให้ไว้ใน ภควัท-คีตา มาปฏิบัติก็จะสามารถทำให้ชีวิตของเราสมบูรณ์ และสามารถที่จะแก้ไขปัญหาชีวิตทั้งหมดได้อย่างถาวร นี่คือเนื้อหาสาระสำคัญของ ภควัท-คีตา ทั้งเล่มนี้
ข้อสรุปคือ ภควัท-คีตา เป็นวรรณกรรมทิพย์เหนือโลกที่เราควรอ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน คีตา-ศาสฺตฺรมฺ อิทํ ปุณฺยํ ยห์ ปเฐตฺ ปฺรยตห์ ปุมานฺ หากปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ ภควัท-คีตา อย่างถูกต้องเราจะสามารถเป็นอิสระจากความทุกข์และความวิตกกังวลทั้งหมดในชีวิต ภย-โศกาทิ-วรฺชิตห์ เราจะเป็นอิสระจากความหวาดกลัวทั้งหมดในชีวิตนี้ และในชีวิตหน้าเราจะมีร่างทิพย์ (คีตา-มาหาตฺมฺย )
ยังมีประโยชน์อื่นๆที่เราจะได้รับอีกคือ
คีตาธฺยายน-ศีลสฺย
ปฺราณายาม-ปรสฺย จ
ไนว สนฺติ หิ ปาปานิ
ปูรฺว-ชนฺม-กฺฤตานิ จ
ปฺราณายาม-ปรสฺย จ
ไนว สนฺติ หิ ปาปานิ
ปูรฺว-ชนฺม-กฺฤตานิ จ
“หากเราอ่าน ภควัท-คีตา ด้วยความจริงใจและจริงจังด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ ผลกรรมที่เราทำไว้ในอดีตนั้นจะไม่ตามมา” (คีตา-มาหาตฺมฺย 2) องค์ภควานฺตรัสด้วยสุรเสียงอันดังในตอนท้ายของ ภควัท-คีตา ว่า (18.66)
สรฺว-ธรฺมานฺ ปริตฺยชฺย
มามฺ เอกํ ศรณํ วฺรช
อหํ ตฺวำ สรฺว-ปาเปโภฺย
โมกฺษยิษฺยามิ มา ศุจห์
มามฺ เอกํ ศรณํ วฺรช
อหํ ตฺวำ สรฺว-ปาเปโภฺย
โมกฺษยิษฺยามิ มา ศุจห์
“ยกเลิกศาสนาอื่นๆทั้งหมด และเพียงแต่ศิโรราบต่อข้า ข้าจะพาเธอให้หลุดออกจากผลแห่งบาปทั้งปวง จงอย่ากลัว” เช่นนี้องค์ภควานฺทรงรับผิดชอบทุกอย่างสำหรับผู้ที่ศิโรราบต่อพระองค์ และจะทรงให้อภัยต่อบาปกรรมทั้งปวงที่เราได้สั่งสมไว้
มล-นิรฺโมจนํ ปุํสำ
ชล-สฺนานํ ทิเน ทิเน
สกฺฤทฺ คีตามฺฤต-สฺนานํ
สํสาร-มล-นาศนมฺ
ชล-สฺนานํ ทิเน ทิเน
สกฺฤทฺ คีตามฺฤต-สฺนานํ
สํสาร-มล-นาศนมฺ
“เราอาจทำความสะอาดร่างกายด้วยการอาบน้ำทุกวัน แต่ถ้าหากว่าเราอาบน้ำในแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์แห่ง ภควัท-คีตา เพียงครั้งเดียว ความสกปรกแห่งชีวิตวัตถุของเรานั้นจะถูกชะล้างจนหมดสิ้น” (คีตา-มาหาตฺมฺย 3)
คีตา สุ-คีตา กรฺตวฺยา
กิมฺ อไนฺยห์ ศาสฺตฺร-วิสฺตไรห์
ยา สฺวยํ ปทฺมนาภสฺย
มุข-ปทฺมาทฺ วินิห์สฺฤตา
กิมฺ อไนฺยห์ ศาสฺตฺร-วิสฺตไรห์
ยา สฺวยํ ปทฺมนาภสฺย
มุข-ปทฺมาทฺ วินิห์สฺฤตา
เนื่องจาก ภควัท-คีตา นั้นตรัสโดยบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเราจึงไม่จำเป็นที่จะต้องอ่านวรรณกรรมพระเวทเล่มอื่นๆ เราเพียงแต่สดับฟังและอ่าน ภควัท-คีตา ด้วยความตั้งใจและสม่ำเสมอเท่านั้น ในยุคปัจจุบันผู้คนจะซึมซาบไปในกิจกรรมทางวัตถุจึงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะสามารถอ่านวรรณกรรมพระเวทได้ทั้งหมด และก็ไม่มีความจำเป็นอีกด้วยเนื่องจาก ภควัท-คีตา เพียงเล่มเดียวก็เพียงพอแล้ว เพราะว่า ภควัท-คีตา เป็นหัวใจสำคัญของวรรณกรรมพระเวททั้งหมด และบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นผู้ตรัส (คีตา-มาหาตฺมฺย 4)
เหมือนที่กล่าวไว้ว่า
ภารตามฺฤต-สรฺวสฺวํ
วิษฺณุ-วกฺตฺราทฺ วินิห์สฺฤตมฺ
คีตา-คงฺโคทกํ ปีตฺวา
ปุนรฺ ชนฺม น วิทฺยเต
วิษฺณุ-วกฺตฺราทฺ วินิห์สฺฤตมฺ
คีตา-คงฺโคทกํ ปีตฺวา
ปุนรฺ ชนฺม น วิทฺยเต
“ผู้ที่ดื่มน้ำจากแม่น้ำคงจะได้รับความหลุดพ้น แล้วผู้ที่ดื่มน้ำทิพย์แห่ง ภควัท-คีตา เล่าจะได้รับผลมากมายกว่าเพียงใด ภควัท-คีตา เป็นยอดแห่งน้ำทิพย์ของ มหาภารต ซึ่งองค์กฺฤษฺณหรือพระวิษณุองค์เดิมทรงเป็นผู้ตรัสเอง” (คีตา-มาหาตฺมฺย 5) ภควัท-คีตา ได้หลั่งออกมาจากพระโอษฐ์ขององค์ภควานฺ และแม่น้ำคงคาหลั่งมาจากพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ ซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างพระโอษฐ์และพระบาทขององค์ภควานฺอย่างแน่นอน แต่จากการศึกษาที่ไม่มีอคติเราจะสามารถชื่นชม ภควัท-คีตา ว่าความจริงแล้วมีความสำคัญมากกว่าแม่น้ำคงคาเสียอีก
สโรฺวปนิษโท คาโว
โทคฺธา โคปาล-นนฺทนห์
ปารฺโถ วตฺสห์ สุ-ธีรฺ โภกฺตา
ทุคฺธํ คีตามฺฤตํ มหตฺ
โทคฺธา โคปาล-นนฺทนห์
ปารฺโถ วตฺสห์ สุ-ธีรฺ โภกฺตา
ทุคฺธํ คีตามฺฤตํ มหตฺ
“คีโตปนิษทฺ หรือ ภควัท-คีตา นี้เป็นหัวใจสำคัญของ อุปนิษทฺ ทั้งหมดเปรียบเทียบเหมือนกับวัว และองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นเด็กเลี้ยงวัวที่กำลังรีดนมวัวตัวนี้ อรฺชุน เปรียบเหมือนกับลูกวัว นักวิชาการผู้คงแก่เรียนและสาวกผู้บริสุทธิ์ได้ดื่มน้ำนมทิพย์แห่ง ภควัท-คีตา นี้” (คีตา-มาหาตฺมฺย 6)
เอกํ ศาสฺตฺรํ เทวกี-ปุตฺร-คีตมฺ
เอโก เทโว เทวกี-ปุตฺร เอว
เอโก มนฺตฺรสฺ ตสฺย นามานิ ยานิ
กรฺมาปฺยฺ เอกํ ตสฺย เทวสฺย เสวา
เอโก เทโว เทวกี-ปุตฺร เอว
เอโก มนฺตฺรสฺ ตสฺย นามานิ ยานิ
กรฺมาปฺยฺ เอกํ ตสฺย เทวสฺย เสวา
(คีตา-มาหาตฺมฺย 7)
ในปัจจุบันนี้ผู้คนมีความกระตือรือร้นที่จะมีพระคัมภีร์เล่มเดียว มีพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว มีศาสนาเดียว และมีอาชีพเดียว ดังนั้น เอกํ ศาสฺตฺรํ เทวกี-ปุตฺร-คีตมฺ หมายความว่าให้มีพระคัมภีร์เพียงเล่มเดียวเท่านั้น สำหรับคนทั้งโลกนั่นคือ ภควัท-คีตา เอโก เทโว เทวกี-ปุตฺร เอว ให้มีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียวสำหรับคนทั้งโลกนั่นคือศฺรี กฺฤษฺณ เอโก มนฺตฺรสฺ ตสฺย นามานิ และมีบทมนต์สวดภาวนาและบทเพลงเพียงบทเดียวคือ บทสวดภาวนาพระนามขององค์ภควานฺ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร กรฺมาปฺยฺ เอกํ ตสฺย เทวสฺย เสวา และมีอาชีพการงานเพียงอาชีพเดียวเท่านั้น นั่นก็คือการรับใช้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ภควานฺ
ระบบพะรัมพะรา
เอวํ ปรมฺปรา-ปฺราปฺตมฺ อิมํ ราชรฺษโย วิทุห์ (ภควัท-คีตา 4.2) ภควัท-คีตา ฉบับเดิมนี้ได้รับการถ่ายทอดผ่านทางระบบ ปรมฺปรา ดังต่อไปนี้
1. กฺฤษฺณ
2. พฺรหฺมา (พระพรหม)
3. นารท
4. วฺยาส
5. มธฺว
6. ปทฺมนาภ
7. นฺฤหริ
8. มาธว
9. อกฺโษภฺย
10. ชย ตีรฺถ
11. ชฺญานสินฺธุ
12. ทยานิธิ
13. วิทฺยานิธิ
14. ราเชนฺทฺร
15. ชยธรฺม
16. ปุรุโษตฺตม
17. พฺรหฺมณฺย ตีรฺถ
18. วฺยาส ตีรฺถ
19. ลกฺษฺมีปติ
20. มาธเวนฺทฺร ปุรี
21. อีศฺวร ปุรี (นิตฺยานนฺท อไทฺวต)
22. องค์ ไจตนฺย
23. รูป (สฺวรูป, สนาตน)
24. รฆุนาถ, ชีว
25. กฺฤษฺณทาส
26. นโรตฺตม
27. วิศฺวนาถ
28. (วิทฺยาภูษณ), ชคนฺนาถ
29. ภกฺติวิโนท
30. เคารกิโศร
31. ภกฺติสิทฺธานฺต สรสฺวตี
32. อภัย จรณารวินฺท ภกฺติเวทนฺต สฺวามี ปฺรภุปาท