ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเอ็ด

รูปลักษณ์จักรวาล

โศลก 10-11

aneka-vaktra-nayanam
anekādbhuta-darśanam
aneka-divyābharaṇaṁ
divyānekodyatāyudham
อเนก-วกฺตฺร-นยนมฺ
อเนกาทฺภุต-ทรฺศนมฺ
อเนก-ทิวฺยาภรณํ
ทิวฺยาเนโกทฺยตายุธมฺ
divya-mālyāmbara-dharaṁ
divya-gandhānulepanam
sarvāścarya-mayaṁ devam
anantaṁ viśvato-mukham
ทิวฺย-มาลฺยามฺพร-ธรํ
ทิวฺย-คนฺธานุเลปนมฺ
สรฺวาศฺจรฺย-มยํ เทวมฺ
อนนฺตํ วิศฺวโต-มุขมฺ
อเนก — มากมาย, วกฺตฺร — พระโอษฐ์, นยนมฺ — พระเนตร, อเนก — มากมาย, อทฺภุต — น่าอัศจรรย์, ทรฺศนมฺ — ทัศนียภาพ, อเนก — มากมาย, ทิวฺย — ทิพย์, อาภรณมฺ — เครื่องประดับต่างๆ, ทิวฺย — ทิพย์, อเนก — มากมาย, อุทฺยต — ยกขึ้น, อายุธมฺ — อาวุธต่างๆ, ทิวฺย — ทิพย์, มาลฺย — พวงมาลัยต่างๆ, อมฺพร — อาภรณ์ต่างๆ, ธรมฺ — สวม, ทิวฺย — ทิพย์, คนฺธ — กลิ่นหอม, อนุเลปนมฺ — ทาด้วย, สรฺว — ทั้งหมด, อาศฺจรฺย-มยมฺ — น่าอัศจรรย์, เทวมฺ — ส่องแสง, อนนฺตมฺ — ไม่สิ้นสุด, วิศฺวตห์-มุขมฺ — แผ่กระจายไปทั่ว

คำแปล

อรฺชุน ทรงเห็นภายในรูปลักษณ์จักรวาลนั้นว่ามีพระโอษฐ์ไม่มีที่สิ้นสุด พระเนตรไม่มีที่สิ้นสุด ภาพอัศจรรย์ไม่มีที่สิ้นสุด รูปลักษณ์ที่ประดับไปด้วยเครื่องประดับสวรรค์มากมาย และทรงถืออาวุธทิพย์มากมาย ทรงคล้องพวกมาลัยและอาภรณ์สวรรค์มากมาย มีน้ำหอมมากมายที่ชโลมไปทั่วพระวรกายของพระองค์ทั้งหมดนั้นน่าอัศจรรย์ สว่างไสว ไม่มีที่สิ้นสุด และแผ่กระจายไปทั่ว

คำอธิบาย

สองโศลกนี้ได้ใช้คำว่ามากมายหลายครั้งด้วยกัน แสดงให้เห็นว่าไม่มีขีดจำกัดในจำนวนของพระหัตถ์ พระโอษฐ์ พระเพลา และปรากฏการณ์อื่นๆที่ อรฺชุน ทรงได้เห็น ปรากฏการณ์เหล่านี้แจกจ่ายไปทั่วทั้งจักรวาล แต่ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺทำให้ อรฺชุน ทรงสามารถเห็นสิ่งเหล่านี้ขณะที่นั่งอยู่ที่เดียว ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เนื่องมาจากพลังอำนาจที่ไม่สามารถมองเห็นได้ขององค์กฺฤษฺณ