ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบเอ็ด
รูปลักษณ์จักรวาล
โศลก 20
dyāv ā-pṛthivyor idam antaraṁ hi
vyāptaṁ tvayaikena diśaś ca sarvāḥ
dṛṣṭvādbhutaṁ rūpam ugraṁ tavedaṁ
loka-trayaṁ pravyathitaṁ mahātman
vyāptaṁ tvayaikena diśaś ca sarvāḥ
dṛṣṭvādbhutaṁ rūpam ugraṁ tavedaṁ
loka-trayaṁ pravyathitaṁ mahātman
ทฺยาวฺ อา-ปฺฤถิโวฺยรฺ อิทมฺ อนฺตรํ หิ
วฺยาปฺตํ ตฺวไยเกน ทิศศฺ จ สรฺวาห์
ทฺฤษฺฏฺวาทฺภุตํ รูปมฺ อุคฺรํ ตเวทํ
โลก-ตฺรยํ ปฺรวฺยถิตํ มหาตฺมนฺ
วฺยาปฺตํ ตฺวไยเกน ทิศศฺ จ สรฺวาห์
ทฺฤษฺฏฺวาทฺภุตํ รูปมฺ อุคฺรํ ตเวทํ
โลก-ตฺรยํ ปฺรวฺยถิตํ มหาตฺมนฺ
เทฺยา — จากนอกอวกาศ, อา-ปฺฤถิโวฺยห์ — มาถึงโลก, อิทมฺ — นี้, อนฺตรมฺ — ระหว่าง, หิ — แน่นอน, วฺยาปฺตมฺ — แผ่กระจาย, ตฺวยา — โดยพระองค์, เอเกน — ผู้เดียว, ทิศห์ — ทิศทางต่างๆ, จ — และ, สรฺวาห์ — ทั้งหมด, ทฺฤษฺฏฺวา — ด้วยการเห็น, อทฺภุตมฺ — น่าอัศจรรย์, รูปมฺ — รูปลักษณ์, อุคฺรมฺ — น่าสะพรึงกลัว, ตว — ของพระองค์, อิทมฺ — นี้, โลก — ระบบดาวเคราะห์ต่างๆ, ตฺรยมฺ — สาม, ปฺรวฺยถิตมฺ — ยุ่งเหยิง, มหา-อาตฺมนฺ — โอ้ ผู้ยิ่งใหญ่
คำแปล
ถึงแม้ทรงเป็นหนึ่ง
คำอธิบาย
คำว่า ทฺยาวฺ อา-ปฺฤถิโวฺยห์ (“อวกาศหรือช่องว่างระหว่างสวรรค์และโลก”) และ โลก-ตฺรยมฺ (“สามโลก”) มีความสำคัญในโศลกนี้ เพราะปรากฏว่าไม่เพียงแต่ อรฺชุน เท่านั้นที่ทรงเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺแต่บุคคลอื่นๆในระบบดาวเคราะห์อื่นก็ได้เห็นด้วยเช่นกัน การที่ อรฺชุน ได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลนั้นไม่ใช่เป็นความฝัน ทุกคนที่พระองค์ทรงประทานจักษุทิพย์ให้จะได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลที่สมรภูมินี้