ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบเอ็ด
รูปลักษณ์จักรวาล
โศลก 51
arjuna uvāca
dṛṣṭvedaṁ mānuṣaṁ rūpaṁ
tava saumyaṁ janārdana
idānīm asmi saṁvṛttaḥ
sa-cetāḥ prakṛtiṁ gataḥ
dṛṣṭvedaṁ mānuṣaṁ rūpaṁ
tava saumyaṁ janārdana
idānīm asmi saṁvṛttaḥ
sa-cetāḥ prakṛtiṁ gataḥ
อรฺชุน อุวาจ
ทฺฤษฺเฏฺวทํ มานุษํ รูปํ
ตว เสามฺยํ ชนารฺทน
อิทานีมฺ อสฺมิ สํวฺฤตฺตห์
ส-เจตาห์ ปฺรกฺฤตึ คตห์
ทฺฤษฺเฏฺวทํ มานุษํ รูปํ
ตว เสามฺยํ ชนารฺทน
อิทานีมฺ อสฺมิ สํวฺฤตฺตห์
ส-เจตาห์ ปฺรกฺฤตึ คตห์
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัส, ทฺฤษฺฏฺวา — เห็น, อิทมฺ — นี้, มานุษมฺ — มนุษย์, รูปมฺ — รูปลักษณ์, ตว — ของพระองค์, เสามฺยมฺ — สง่างามมาก, ชนารฺทน — โอ้ ผู้กำราบศัตรู, อิทานีมฺ — บัดนี้, อสฺมิ — ข้าเป็น, สํวฺฤตฺตห์ — สงบลง, ส-เจตาห์ — ในจิตสำนึกของข้าพเจ้า, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติของตัวข้าพเจ้า, คตห์ — กลับคืน
คำแปล
ดังนั้น
คำอธิบาย
ณ ที่นี้คำว่า มานุษํ รูปมฺ แสดงให้เห็นถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้ารูปเดิมที่มีสองกรอย่างชัดเจน พวกที่เยาะเย้ยองค์กฺฤษฺณประหนึ่งว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลธรรมดาแสดงให้เห็นถึงความโง่เขลาเบาปัญญาของตนเกี่ยวกับธรรมชาติทิพย์ของพระองค์ ณ ที่นี้หากองค์กฺฤษฺณทรงเหมือนกับมนุษย์ธรรมดาแล้วเป็นไปได้อย่างไรที่ทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาล ทรงแสดงรูปลักษณ์พระนารายณ์สี่กร ดังนั้นจึงได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนมากใน ภควัท-คีตา ว่าผู้ที่คิดว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคคลธรรมดา และนำพาผู้อ่านไปในทางที่ผิดโดยอ้างว่า พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ที่อยู่ภายในองค์กฺฤษฺณเป็นผู้ตรัสบุคคลนี้กำลังกระทำผิดอย่างมหันต์ องค์กฺฤษฺณทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาลและทรงแสดงรูปลักษณ์ วิษฺณุ สี่กรจริง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพระองค์จะทรงเป็นมนุษย์ธรรมดาสามัญได้อย่างไร สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่สับสนกับคำวิจารณ์ ภควัท-คีตา ที่นำพาไปในทางที่ผิดเพราะทราบดีว่าอะไรเป็นอะไร โศลกเดิมแท้ของ ภควัท-คีตา นั้นสว่างไสวชัดเจนเหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงตะเกียงจากนักตีความผู้เบาปัญญา