ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสอง
การอุทิศตนเสียสละรับใช้
โศลก 10
abhyāse ’py asamartho ’si
mat-karma-paramo bhava
mad-artham api karmāṇi
kurvan siddhim avāpsyasi
mat-karma-paramo bhava
mad-artham api karmāṇi
kurvan siddhim avāpsyasi
อภฺยาเส ’ปฺยฺ อสมรฺโถ ’สิ
มตฺ-กรฺม-ปรโม ภว
มทฺ-อรฺถมฺ อปิ กรฺมาณิ
กุรฺวนฺ สิทฺธิมฺ อวาปฺสฺยสิ
มตฺ-กรฺม-ปรโม ภว
มทฺ-อรฺถมฺ อปิ กรฺมาณิ
กุรฺวนฺ สิทฺธิมฺ อวาปฺสฺยสิ
อภฺยาเส — ในการปฏิบัติ, อปิ — ถึงแม้ว่า, อสมรฺถห์ — ไม่สามารถ, อสิ — เธอเป็น, มตฺ-กรฺม — งานของข้า, ปรมห์ — อุทิศตนเสียสละแด่, ภว — มาเป็น, มตฺ-อรฺถมฺ — เพื่อประโยชน์ของข้า, อปิ — แม้, กรฺมาณิ — งาน, กุรฺวนฺ — ปฏิบัติ, สิทฺธิมฺ — สมบูรณ์, อวาปฺสฺยสิ — เธอจะบรรลุ
คำแปล
หากไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ
คำอธิบาย
ผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักธรรมของ ภกฺติ-โยค ภายใต้การแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ยังถูกนำพาให้มาถึงระดับสมบูรณ์นี้ได้ด้วยการทำงานให้แด่องค์ภควานฺ เราจะทำงานนี้ได้อย่างไรนั้นได้อธิบายไว้แล้วในโศลกที่ห้าสิบห้าของบทที่สิบเอ็ด เราควรมีความเห็นใจในการเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึก มีสาวกมากมายปฏิบัติตนในการเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้นแม้เราไม่สามารถปฏิบัติตามหลักธรรมของ ภกฺติ-โยค โดยตรงเราอาจพยายามช่วยงานนี้ได้ การริเริ่มกระทำสิ่งใดจำเป็นต้องใช้ที่ดิน เงินทุน องค์กรและแรงงาน เช่นเดียวกับธุรกิจ เราจำเป็นต้องมีสถานที่อยู่อาศัย มีเงินทุนสำหรับใช้จ่าย มีแรงงานและมีองค์กรเพื่อขยาย สิ่งต่างๆเหล่านี้มีความจำเป็นในการรับใช้องค์กฺฤษฺณ ข้อแตกต่างก็คือในลัทธิวัตถุนิยมงานทำไปเพื่อสนองประสาทสัมผัส อย่างไรก็ดีงานที่คล้ายกันนี้สามารถกระทำได้เพื่อความพึงพอพระทัยขององค์กฺฤษฺณ และนั่นคือกิจกรรมทิพย์ หากมีเงินเพียงพอเราสามารถช่วยก่อสร้างสำนักงาน หรือสร้างวัดเพื่อเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึก หรืออาจช่วยในการพิมพ์หนังสือ ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายที่น่าสนใจหากเราไม่สามารถสละผลของกิจกรรมเราก็สามารถสละบางส่วนเพื่อเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึก การอาสาสมัครรับใช้เพื่อกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้จะช่วยให้เราเจริญขึ้นไปถึงระดับแห่งความรักองค์ภควานฺที่สูงกว่าซึ่งจะทำให้เราสมบูรณ์