ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสาม
ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก
โศลก 1-2
arjuna uvāca
prakṛtiṁ puruṣaṁ caiva
kṣetraṁ kṣetra-jñam eva ca
etad veditum icchāmi
jñānaṁ jñeyaṁ ca keśava
prakṛtiṁ puruṣaṁ caiva
kṣetraṁ kṣetra-jñam eva ca
etad veditum icchāmi
jñānaṁ jñeyaṁ ca keśava
อรฺชุน อุวาจ
ปฺรกฺฤตึ ปุรุษํ ไจว
กฺเษตฺรํ เกฺษตฺร-ชฺญมฺ เอว จ
เอตทฺ เวทิตุมฺ อิจฺฉามิ
ชฺญานํ เชฺญยํ จ เกศว
ปฺรกฺฤตึ ปุรุษํ ไจว
กฺเษตฺรํ เกฺษตฺร-ชฺญมฺ เอว จ
เอตทฺ เวทิตุมฺ อิจฺฉามิ
ชฺญานํ เชฺญยํ จ เกศว
śrī-bhagavān uvāca
idaṁ śarīraṁ kaunteya
kṣetram ity abhidhīyate
etad yo vetti taṁ prāhuḥ
kṣetra-jña iti tad-vidaḥ
idaṁ śarīraṁ kaunteya
kṣetram ity abhidhīyate
etad yo vetti taṁ prāhuḥ
kṣetra-jña iti tad-vidaḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อิทํ ศรีรํ เกานฺเตย
กฺเษตฺรมฺ อิตฺยฺ อภิธียเต
เอตทฺ โย เวตฺติ ตํ ปฺราหุห์
กฺเษตฺร-ชฺญ อิติ ตทฺ-วิทห์
อิทํ ศรีรํ เกานฺเตย
กฺเษตฺรมฺ อิตฺยฺ อภิธียเต
เอตทฺ โย เวตฺติ ตํ ปฺราหุห์
กฺเษตฺร-ชฺญ อิติ ตทฺ-วิทห์
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัสว่า, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติ, ปุรุษมฺ — ผู้รื่นเริง, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, กฺเษตฺรมฺ — สนาม, กฺเษตฺร-ชฺญมฺ — ผู้รู้สนาม, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, เอตตฺ — ทั้งหมดนี้, เวทิตุมฺ — เข้าใจ, อิจฺฉามิ — ข้าพเจ้าปรารถนา, ชฺญานมฺ — ความรู้, ชฺเญยมฺ — เป้าหมายของความรู้, จ — เช่นกัน, เกศว — โอ้ กฺฤษฺณ, ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานตรัส, อิทมฺ — นี้, ศรีรมฺ — ร่างกาย, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, กฺเษตฺรมฺ — สนาม, อิติ — ดังนั้น, อภิธียเต — เรียกว่า, เอตตฺ — นี้, ยห์ — ผู้ซึ่ง, เวตฺติ — รู้, ตมฺ — เขา, ปฺราหุห์ — เรียกว่า, กฺเษตฺร-ชฺญห์ — ผู้รู้สนาม, อิติ — ดังนั้น, ตตฺ-วิทห์ — โดยพวกที่รู้สิ่งนี้
คำแปล
อรฺชุน
คำอธิบาย
อรฺชุน ทรงถามเกี่ยวกับ ปฺรกฺฤติ (ธรรมชาติ) ปุรุษ (ผู้รื่นเริง) กฺเษตฺร (สนาม) กฺเษตฺร-ชฺญ (ผู้รู้สนาม) ความรู้และจุดมุ่งหมายแห่งความรู้ เมื่อทรงถามทั้งหมดนี้องค์กฺฤษฺณตรัสว่าร่างกายนี้เรียกว่า สนาม และผู้รู้ร่างกายนี้เรียกว่า ผู้รู้สนาม ร่างกายนี้เป็นสนามแห่งกิจกรรมสำหรับพันธวิญญาณ พันธวิญญาณได้มาติดกับอยู่ในความเป็นอยู่ทางวัตถุ พยายามเป็นเจ้าและครอบครองธรรมชาติวัตถุตามกำลังความสามารถของตนจึงได้รับสนามแห่งกิจกรรม สนามแห่งกิจกรรมนี้คือร่างกาย และร่างกายนี้คืออะไร ร่างกายประกอบไปด้วยประสาทสัมผัสต่างๆ พันธวิญญาณปรารถนาจะรื่นเริงอยู่กับการสนองประสาทสัมผัสตามกำลังความสามารถที่จะรื่นเริงกับการสนองประสาทสัมผัส เราจึงได้รับร่างกายหรือสนามแห่งกิจกรรมมา ดังนั้นร่างกายจึงเรียกว่า กฺเษตฺร หรือสนามแห่งกิจกรรมสำหรับพันธวิญญาณ เช่นนี้บุคคลที่สำคัญตนเองกับร่างกายเรียกว่า กฺเษตฺร-ชฺญ หรือผู้รู้สนาม การที่จะเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างสนามและผู้รู้สนามมิใช่เป็นสิ่งลำบาก ร่างกายและผู้รู้ร่างกายใครๆก็สามารถพิจารณาได้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชราเราได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมามากมาย แต่เรายังคงเป็นบุคคลเดิม ดังนั้นจึงมีข้อแตกต่างระหว่างผู้รู้สนามแห่งกิจกรรมและตัวสนามแห่งกิจกรรม พันธวิญญาณผู้มีชีวิตสามารถเข้าใจว่าตนเองแตกต่างไปจากร่างกาย ได้อธิบายไว้ในตอนต้นว่า เทหิโน ’สฺมินฺ สิ่งมีชีวิตอยู่ภายในร่างกายและร่างกายเปลี่ยนแปลงจากทารกมาเป็นเด็ก จากเด็กมาเป็นหนุ่มสาว และจากหนุ่มสาวมาเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นเจ้าของร่างกายรู้ว่าร่างกายนี้เปลี่ยนแปลงเจ้าของคือ กฺเษตฺร-ชฺญ ที่แตกต่างออกไป บางครั้งเราคิดว่า “ฉันมีความสุข” “ฉันเป็นผู้ชาย” “ฉันเป็นผู้หญิง” “ฉันเป็นสุนัข” “ฉันเป็นแมว” เหล่านี้เป็นชื่อระบุทางร่างกายของผู้รู้ แต่ผู้รู้แตกต่างไปจากร่างกายถึงแม้ว่าเราอาจใช้สิ่งของมากมาย เช่น เสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆ แต่เรารู้ว่าตัวเราแตกต่างไปจากสิ่งของที่เราใช้ ในทำนองเดียวกันจากการพิจารณาเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจได้ว่าเราแตกต่างไปจากร่างกาย อาตมา ท่าน หรือผู้ใดที่เป็นเจ้าของร่างกายเรียกว่า กฺเษตฺร-ชฺญ หรือผู้รู้สนามแห่งกิจกรรม และร่างกายเรียกว่า กฺเษตฺร หรือตัวสนามแห่งกิจกรรม
ในหกบทแรกของ ภควัท-คีตา ได้อธิบายถึงผู้รู้ร่างกาย (สิ่งมีชีวิต) และตำแหน่งที่เขาสามารถเข้าใจองค์ภควานฺ ในหกบทกลางของ ภควัท-คีตา ได้อธิบายถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ได้นิยามสถานภาพที่สูงกว่าขององค์ภควานฺและสถานภาพที่ด้อยกว่าของปัจเจกวิญญาณอย่างชัดเจนในบทเหล่านี้ เนื่องจากลืมไปว่าตนเองด้อยกว่าในทุกๆสถานการณ์สิ่งมีชีวิตจึงได้รับทุกข์ เมื่อสว่างไสวขึ้นด้วยบุญบารมีสิ่งมีชีวิตจึงเข้าพบองค์ภควานฺในสภาวะที่แตกต่างกัน เช่น สภาวะที่มีความทุกข์ สภาวะที่ต้องการเงิน สภาวะชอบถาม และสภาวะที่แสวงหาความรู้ซึ่งได้อธิบายไว้เช่นกัน จากบทที่สิบสามจะอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตมาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร และองค์ภควานฺทรงจัดส่งเขาด้วยวิธีต่างๆอย่างไรโดยผ่านทางกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ การพัฒนาความรู้และการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ถึงแม้ว่าสิ่งมีชีวิตแตกต่างจากร่างกายวัตถุโดยสิ้นเชิงแต่ก็มีความสัมพันธ์กัน ประเด็นนี้ได้อธิบายไว้เช่นเดียวกัน