ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสาม
ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก
โศลก 22
puruṣaḥ prakṛti-stho hi
bhuṅkte prakṛti-jān guṇān
kāraṇaṁ guṇa-saṅgo ’sya
sad-asad-yoni-janmasu
bhuṅkte prakṛti-jān guṇān
kāraṇaṁ guṇa-saṅgo ’sya
sad-asad-yoni-janmasu
ปุรุษห์ ปฺรกฺฤติ-โสฺถ หิ
ภุงฺกฺเต ปฺรกฺฤติ-ชานฺ คุณานฺ
การณํ คุณ-สงฺโค ’สฺย
สทฺ-อสทฺ-โยนิ-ชนฺมสุ
ภุงฺกฺเต ปฺรกฺฤติ-ชานฺ คุณานฺ
การณํ คุณ-สงฺโค ’สฺย
สทฺ-อสทฺ-โยนิ-ชนฺมสุ
ปุรุษห์ — สิ่งมีชีวิต, ปฺรกฺฤติ-สฺถห์ — สถิตในพลังงานวัตถุ, หิ — แน่นอน, ภุงฺกฺเต — รื่นเริง, ปฺรกฺฤติ-ชานฺ — ผลิตโดยธรรมชาติวัตถุ, คุณานฺ — ระดับของธรรมชาติ, การณมฺ — แหล่งกำเนิด, คุณ-สงฺคห์ — คบหาสมาคมกับระดับต่างๆของธรรมชาติ, อสฺย — ของสิ่งมีชีวิต, สตฺ-อสตฺ — ในความดีและความชั่ว, โยนิ — เผ่าพันธุ์แห่งชีวิต, ชนฺมสุ — ในการเกิด
คำแปล
สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติวัตถุปฏิบัติตามวิถีแห่งชีวิต
คำอธิบาย
โศลกนี้สำคัญมากในการที่จะเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่ร่างหนึ่งได้อย่างไร ได้อธิบายไว้ในบทที่สองว่าสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งเหมือนกับการเปลี่ยนเสื้อผ้า การเปลี่ยนเสื้อผ้านี้เนื่องมาจากการยึดติดกับความเป็นอยู่ทางวัตถุ ตราบใดที่ยังหลงอยู่ในเสน่ห์แห่งการปรากฏที่ผิดๆนี้ เขาจะต้องเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากความปรารถนาที่จะเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุจึงถูกจับให้มาอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาเช่นนี้ ภายใต้อิทธิพลแห่งความปรารถนาทางวัตถุบางครั้งสิ่งมีชีวิตเกิดมาเป็นเทวดา บางครั้งเป็นมนุษย์ บางครั้งเป็นสัตว์ นก หนอน สัตว์น้ำ เป็นนักปราชญ์ หรือแมลง จะดำเนินต่อไปเช่นนี้เรื่อยๆ และในทุกๆกรณีสิ่งมีชีวิตคิดว่าตนเองเป็นเจ้านายแห่งสถานการณ์ของตน แต่เขาอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติวัตถุ
เขาถูกจับให้มาอยู่ภายในร่างกายต่างๆเหล่านี้ได้อย่างไรนั้นได้อธิบาย ณ ที่นี้ เนื่องจากมาคบหาสมาคมกับระดับต่างๆของธรรมชาติ ฉะนั้นเขาจะต้องทำความเจริญขึ้นให้อยู่เหนือสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุและสถิตในสถานภาพทิพย์เช่นนี้ เรียกว่ากฺฤษฺณจิตสำนึก นอกเสียจากว่าเขาจะสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกมิฉะนั้นวัตถุจิตสำนึกของตัวเองจะบังคับให้ย้ายจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง เนื่องจากมีความปรารถนาทางวัตถุตั้งแต่กาลสมัยดึกดำบรรพ์จึงจำต้องเปลี่ยนแนวความคิดนั้น การเปลี่ยนแปลงจะเป็นผลดีก็จากการสดับฟังจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ อรฺชุน ทรงสดับฟังศาสตร์แห่งองค์ภควานฺจากองค์กฺฤษฺณ หากสิ่งมีชีวิตยอมรับวิธีการสดับฟังนี้เขาจะละทิ้งความปรารถนาที่หวังไว้เป็นเวลายาวนานว่าจะครอบครองธรรมชาติวัตถุ และจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงอย่างมีดุลยภาพ ในขณะที่ตัดทอนความปรารถนาอันยาวนานที่จะครอบครองธรรมชาติเขาจะรื่นเริงกับความสุขทิพย์ บทมนต์พระเวทกล่าวไว้ว่าขณะที่ได้รับความรู้ในการมาใกล้ชิดกับองค์ภควานฺ เขาได้รับรสชีวิตแห่งความปลื้มปีติสุขอมตะตามสัดส่วนนั้นๆ