ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 23

upadraṣṭānumantā ca
bhartā bhoktā maheśvaraḥ
paramātmeti cāpy ukto
dehe ’smin puruṣaḥ paraḥ
อุปทฺรษฺฏานุมนฺตา จ
ภรฺตา โภกฺตา มเหศฺวรห์
ปรมาตฺเมติ จาปฺยฺ อุกฺโต
เทเห ’สฺมินฺ ปุรุษห์ ปรห์
อุปทฺรษฺฏา — ผู้ดูแล, อนุมนฺตา — ผู้ให้อนุญาต, — เช่นกัน, ภรฺตา — เจ้านาย, โภกฺตา — ผู้มีความรื่นเริงสูงสุด, มหา-อีศฺวรห์ — องค์ภควานฺสูงสุด, ปรม-อาตฺมา — อภิวิญญาณ, อิติ — เช่นกัน, — และ, อปิ — แน่นอน, อุกฺตห์ — กล่าวว่า, เทเห — ในร่างกาย, อสฺมินฺ — นี้, ปุรุษห์ — ผู้รื่นเริง, ปรห์ — ทิพย์

คำแปล

ในร่างกายนี้มีผู้รื่นเริงทิพย์อีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นองค์ภควานฺ ทรงเป็นเจ้าของสูงสุด ทรงประทับอยู่ในฐานะผู้ดูแล และผู้ให้อนุญาต และผู้ที่รู้จักในฐานะองค์อภิวิญญาณ

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้ตรงนี้ว่าองค์อภิวิญญาณผู้ประทับอยู่กับปัจเจกวิญญาณเสมอ ทรงเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺ ทรงมิใช่สิ่งมีชีวิตธรรมดา เพราะว่าเหล่านักปราชญ์ผู้เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกันคิดว่าผู้รู้ร่างกายเป็นหนึ่ง โดยไม่มีข้อแตกต่างระหว่างอภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณ เพื่อให้ประเด็นนี้กระจ่างขึ้นทรงตรัสว่าพระองค์ทรงมีผู้แทนในฐานะ ปรมาตฺมา อยู่ในทุกๆร่าง พระองค์ทรงแตกต่างจากปัจเจกวิญญาณ ทรงเป็น ปรมาตฺมา หรือเป็นทิพย์ ปัจเจกวิญญาณได้รับความสุขกับสนามเฉพาะของตน แต่อภิวิญญาณทรงปรากฏไม่ใช่ในฐานะผู้มีความสุขที่มีขีดจำกัด หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางร่างกาย แต่ในฐานะพยานผู้ดูแล ผู้ให้อนุญาต และผู้มีความสุขสูงสุด พระองค์ทรงพระนามว่า ปรมาตฺมา ไม่ใช่อาทมาและทรงเป็นทิพย์ ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า อาตฺมา และ ปรมาตฺมา แตกต่างกัน อภิวิญญาณ ปรมาตฺมา มีพระเพลาและพระกรทุกหนทุกแห่งแต่ปัจเจกวิญญาณไม่มี และเนื่องจาก ปรมาตฺมา ทรงเป็นองค์ภควานผู้ประทับอยู่ภายในเพื่ออนุมัติความสุขทางวัตถุตามที่ปัจเจกวิญญาณปรารถนา หากปราศจากการอนุมัติของอภิวิญญาณปัจเจกวิญญาณจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย ปัจเจกวิญญาณเป็น ภุกฺต หรือผู้ได้รับการอนุเคราะห์ และพระองค์คือ โภกฺตา หรือผู้อนุเคราะห์ มีสิ่งมีชีวิตจำนวนนับไม่ถ้วนและพระองค์ทรงประทับอยู่ภายในร่างกายของพวกเขาในฐานะสหาย

ความจริงคือทุกๆปัจเจกชีวิตเป็นละอองอณูนิรันดรขององค์ภควานฺ และทั้งคู่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันมากในฐานะเพื่อน แต่สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธการอนุมัติของพระองค์และทำไปโดยพลการเพื่อพยายามที่จะครอบครองธรรมชาติ เนื่องจากมีแนวโน้มเช่นนี้เขาจึงถูกเรียกว่าเป็นพลังงานพรมแดนของพระองค์สิ่งมีชีวิตสามารถสถิตในพลังงานวัตถุหรือในพลังงานทิพย์ตราบใดที่ยังอยู่ภายใต้พันธสภาวะของพลังงานวัตถุ องค์ภควานฺหรืออภิวิญญาณในฐานะสหายจะอยู่กับเขาเพื่อให้เขากลับคืนสู่พลังงานทิพย์ พระองค์ทรงมีความกระตือรือร้นที่จะนำเขากลับไปยังพลังงานทิพย์เสมอ แต่เนื่องจากเสรีภาพเพียงนิดเดียวทำให้ปัจเจกชีวิตปฏิเสธการมาอยู่ใกล้ชิดกับประทีปทิพย์อยู่ตลอดเวลา การใช้เสรีภาพไปในทางที่ผิดเช่นนี้จึงทำให้ต้องดิ้นรนทางวัตถุในสภาวะธรรมชาติ ดังนั้นพระองค์ทรงให้คำสั่งสอนทั้งจากภายในและภายนอกเสมอ จากภายนอกทรงให้คำสั่งสอนดังที่ตรัสไว้ใน ภควัท-คีตา และจากภายในทรงพยายามทำให้สิ่งมีชีวิตมั่นใจว่ากิจกรรมของเขาในสนามวัตถุจะไม่นำมาซึ่งความสุขอันแท้จริง โดยตรัสว่า “จงยกเลิกมันเสียและหันความศรัทธามาที่ข้า แล้วเจ้าจะมีความสุข” ดังนั้นปัญญาชนผู้มอบความศรัทธาให้แก่ ปรมาตฺมา หรือองค์ภควานฺจะเริ่มเจริญก้าวหน้าไปสู่ชีวิตแห่งความปลื้มปีติสุข ที่เป็นอมตะ และเปี่ยมไปด้วยความรู้