ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสาม
ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก
โศลก 24
ya evaṁ vetti puruṣaṁ
prakṛtiṁ ca guṇaiḥ saha
sarvathā vartamāno ’pi
na sa bhūyo ’bhijāyate
prakṛtiṁ ca guṇaiḥ saha
sarvathā vartamāno ’pi
na sa bhūyo ’bhijāyate
ย เอวํ เวตฺติ ปุรุษํ
ปฺรกฺฤตึ จ คุไณห์ สห
สรฺวถา วรฺตมาโน ’ปิ
น ส ภูโย ’ภิชายเต
ปฺรกฺฤตึ จ คุไณห์ สห
สรฺวถา วรฺตมาโน ’ปิ
น ส ภูโย ’ภิชายเต
ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, เอวมฺ — ดังนั้น, เวตฺติ — เข้าใจ, ปุรุษมฺ — สิ่งมีชีวิต, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติวัตถุ, จ — และ, คุไณห์ — ระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ, สห — กับ, สรฺวถา — ในทุกๆวิธี, วรฺตมานห์ — สถิต, อปิ — ถึงแม้ว่า, น — ไม่เคย, สห์ — เขา, ภูยห์ — อีกครั้งหนึ่ง, อภิชายเต — เกิด
คำแปล
ผู้เข้าใจปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติวัตถุ
คำอธิบาย
การเข้าใจธรรมชาติวัตถุ อภิวิญญาณ ปัจเจกวิญญาณ และผลกระทบซึ่งกันและกันของทั้งหมดนี้อย่างชัดเจนนั้นจะทำให้มีสิทธิ์ได้รับเสรีภาพ และกลับคืนสู่บรรยากาศทิพย์โดยไม่ต้องถูกบังคับให้กลับคืนมาสู่ธรรมชาติวัตถุนี้อีก นั่นคือผลแห่งความรู้ จุดมุ่งหมายแห่งความรู้คือการเข้าใจอย่างชัดเจนว่า โดยบังเอิญแล้วนั้นสิ่งมีชีวิตได้ตกลงมามีความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้ แต่ด้วยความพยายามส่วนตัวที่มาคบหาสมาคมกับบุคคลผู้เชื่อถือได้ เช่น นักบุญและพระอาจารย์ทิพย์ทำให้เข้าใจสถานภาพของตนเอง จากนั้นก็กลับคืนไปสู่จิตสำนึกทิพย์ หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการเข้าใจ ภควัท-คีตา ตามที่องค์ภควานฺทรงอธิบาย จึงจะเป็นที่แน่นอนว่าเราจะไม่กลับมามีความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้อีกครั้ง และจะถูกย้ายไปยังโลกทิพย์เพื่อชีวิตอมตะที่มีความปลื้มปีติสุขและเปี่ยมไปด้วยความรู้