ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 33

yathā sarva-gataṁ saukṣmyād
ākāśaṁ nopalipyate
sarvatrāvasthito dehe
tathātmā nopalipyate
ยถา สรฺว-คตํ เสากฺษฺมฺยาทฺ
อากาศํ โนปลิปฺยเต
สรฺวตฺราวสฺถิโต เทเห
ตถาตฺมา โนปลิปฺยเต
ยถา — เหมือนกับ, สรฺว-คตมฺ — แผ่กระจายไปทั่ว, เสากฺษฺมฺยาตฺ — เนื่องจากความละเอียดอ่อน, อากาศมฺ — ท้องฟ้า, — ไม่เคย, อุปลิปฺยเต — ผสม, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, อวสฺถิตห์ — สถิต, เทเห — ในร่างกาย, ตถา — ดังนั้น, อาตฺมา — ตัวเขา, — ไม่เคย, อุปลิปฺยเต — ผสม

คำแปล

เนื่องด้วยธรรมชาติที่ละเอียดอ่อนท้องฟ้ามิได้ผสมกับสิ่งใดถึงแม้ว่าจะแผ่กระจายไปทั่ว ในทำนองเดียวกันดวงวิญญาณผู้สถิตในวิสัยทัศน์ พฺรหฺมนฺ ก็มิได้ผสมกับร่างกาย ถึงแม้สถิตในร่างกายนั้น

คำอธิบาย

ลมเข้าไปในน้ำ เข้าไปในดิน ในอุจจาระ และในทุกสิ่งทุกอย่าง ถึงกระนั้นลมก็มิได้ผสมกับสิ่งใด ในทำนองเดียวกันสิ่งมีชีวิตถึงแม้สถิตในร่างกายต่างๆแต่ก็อยู่ห่างจากร่างกายเหล่านี้เนื่องจากธรรมชาติอันละเอียดอ่อน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นด้วยดวงตาวัตถุว่าสิ่งมีชีวิตมาสัมผัสกับร่างนี้ได้อย่างไร และเราจะออกจากร่างนี้ได้อย่างไรหลังจากร่างนี้ถูกทำลายลง ไม่มีนักวิทยาศาสตร์ผู้ใดสามารถยืนยันเรื่องนี้ได้