ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 34

yathā prakāśayaty ekaḥ
kṛtsnaṁ lokam imaṁ raviḥ
kṣetraṁ kṣetrī tathā kṛtsnaṁ
prakāśayati bhārata
ยถา ปฺรกาศยตฺยฺ เอกห์
กฺฤตฺสฺนํ โลกมฺ อิมํ รวิห์
กฺเษตฺรํ เกฺษตฺรี ตถา กฺฤตฺสฺนํ
ปฺรกาศยติ ภารต
ยถา — เหมือน, ปฺรกาศยติ — ส่องแสง, เอกห์ — หนึ่ง, กฺฤตฺสฺนมฺ — ทั้งหมด, โลกมฺ — จักรวาล, อิมมฺ — นี้, รวิห์ — ดวงอาทิตย์, กฺเษตฺรมฺ — ร่างกายนี้, กฺเษตฺรี — ดวงวิญญาณ, ตถา — ในทำนองเดียวกัน, กฺฤตฺสฺนมฺ — ทั้งหมด, ปฺรกาศยติ — ส่องแสง, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต

คำแปล

โอ้ โอรสแห่ง ภรต ดังเช่นดวงอาทิตย์ดวงเดียวส่องแสงสว่างไปทั่วทั้งจักรวาลนี้ สิ่งมีชีวิตภายในร่างกายก็เช่นเดียวกัน แผ่กระจายไปทั่วร่างกายด้วยจิตสำนึก

คำอธิบาย

มีทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับจิตสำนึก ใน ภควัท-คีตา ได้ให้ตัวอย่างดวงอาทิตย์และแสงอาทิตย์ เสมือนดังดวงอาทิตย์สถิต ที่นี้แต่ส่องแสงไปทั่วทั้งจักรวาล ละอองเล็กๆของดวงวิญญาณก็เช่นเดียวกันถึงแม้สถิตในหัวใจของร่างกายนี้แต่ส่องแสงไปทั่วร่างกายด้วยจิตสำนึก ฉะนั้นจิตสำนึกคือข้อพิสูจน์การปรากฏของดวงวิญญาณ เช่นเดียวกับรัศมีหรือแสงอาทิตย์ พิสูจน์ให้เห็นถึงการปรากฏของดวงอาทิตย์เนื่องจากดวงวิญญาณอยู่ในร่างจึงทำให้มีจิตสำนึกไปทั่วร่างกาย ทันทีที่ดวงวิญญาณออกจากร่างจะไม่มีจิตสำนึกอีกต่อไป ผู้ใดมีปัญญาจะสามารถเข้าใจประเด็นนี้ได้โดยง่าย ฉะนั้นจิตสำนึกไม่ใช่ผลผลิตจากการมารวมตัวกันของวัตถุแต่เป็นลักษณะอาการของสิ่งมีชีวิตจิตสำนึกของสิ่งมีชีวิต ถึงแม้ว่ามีคุณสมบัติเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิตสำนึกสูงสุดตัวเขาไม่ใช่จิตสำนึกสูงสุด เพราะว่าจิตสำนึกของร่างหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้แบ่งความรู้สึกไปให้อีกร่างหนึ่ง แต่องค์อภิวิญญาณผู้สถิตในทุกๆร่างในฐานะที่เป็นสหายของปัจเจกวิญญาณมีจิตสำนึกของทุกๆร่าง นั่นคือข้อแตกต่างระหว่างจิตสำนึกสูงสุดและปัจเจกจิตสำนึก