ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 35

kṣetra-kṣetrajñayor evam
antaraṁ jñāna-cakṣuṣā
bhūta-prakṛti-mokṣaṁ ca
ye vidur yānti te param
กฺเษตฺร-กฺเษตฺรชฺญโยรฺ เอวมฺ
อนฺตรํ ชฺญาน-จกฺษุษา
ภูต-ปฺรกฺฤติ-โมกฺษํ จ
เย วิทุรฺ ยานฺติ เต ปรมฺ
กฺเษตฺร — ของร่างกาย, กฺเษตฺร-ชฺญโยห์ — ของเจ้าของร่างกาย, เอวมฺ — ดังนั้น, อนฺตรมฺ — แตกต่าง, ชฺญาน-จกฺษุษา — ด้วยวิสัยทัศน์แห่งความรู้, ภูต — ของสิ่งมีชีวิต, ปฺรกฺฤติ — จากธรรมชาติวัตถุ, โมกฺษมฺ — ความหลุดพ้น, — เช่นกัน, เย — พวกซึ่ง, วิทุห์ — รู้, ยานฺติ — เข้าพบ, เต — พวกเขา, ปรมฺ — องค์ภควาน

คำแปล

พวกที่เห็นด้วยดวงตาแห่งความรู้ถึงข้อแตกต่างระหว่างร่างกาย และผู้รู้ร่างกาย และยังสามารถเข้าใจวิธีกรรมแห่งความหลุดพ้นจากพันธนาการในธรรมชาติวัตถุ บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด

คำอธิบาย

คำอธิบายของบทที่สิบสามนี้คือ เราควรรู้ข้อแตกต่างระหว่างร่างกาย เจ้าของร่างกาย และองค์อภิวิญญาณ เราควรรู้วิธีการเพื่อความหลุดพ้น ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกแปดถึงโศลกสิบสองจากนั้นเราจะสามารถไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด

บุคคลผู้มีความศรัทธานั้นก่อนอื่นควรคบหากัลยาณมิตรเพื่อสดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานฺและค่อยๆได้รับแสงสว่าง หากยอมรับพระอาจารย์ทิพย์เราจะเรียนรู้ข้อแตกต่างระหว่างวัตถุและดวงวิญญาณ และความรู้นี้จะกลายมาเป็นขั้นบันไดเพื่อความรู้แจ้งทิพย์ต่อไป คำสั่งสอนมากมายจากพระอาจารย์ทิพย์เพื่อให้เราเป็นอิสระจากแนวคิดชีวิตทางวัตถุ ตัวอย่างเช่นใน ภควัท-คีตา เราพบว่าองค์กฺฤษฺณทรงสั่งสอน อรฺชุน ให้เป็นอิสระจากการพิจารณาทางวัตถุ

เราสามารถเข้าใจว่าร่างกายนี้เป็นวัตถุซึ่งวิเคราะห์ได้ว่ามียี่สิบสี่ธาตุ ร่างกายเป็นปรากฏการณ์ที่หยาบ ปรากฏการณ์ที่ละเอียดคือจิตใจ และผลกระทบทางจิตวิทยาลักษณะอาการของชีวิตคือผลกระทบซึ่งกันและกันของปัจจัยเหล่านี้ แต่เหนือไปจากนี้มีดวงวิญญาณและยังมีอภิวิญญาณ ดวงวิญญาณ และอภิวิญญาณเป็นสอง โลกวัตถุนี้ทำงานด้วยการร่วมกันของดวงวิญญาณและธาตุวัตถุทั้งยี่สิบสี่ ผู้ที่สามารถเห็นหลักพื้นฐานของปรากฏการณ์ทางวัตถุทั้งหมดว่าเป็นการรวมกันของดวงวิญญาณและธาตุวัตถุ และยังสามารถเห็นสถานภาพของดวงวิญญาณสูงสุดได้กลายมาเป็นผู้มีสิทธิ์เพื่อโอนย้ายไปสู่โลกทิพย์ สิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อการเพ่งพิจารณาดูเพื่อความรู้แจ้ง และเราควรเข้าใจบทนี้โดยสมบูรณ์ด้วยการช่วยเหลือจากพระอาจารย์ทิพย์

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สิบสามของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก