ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสี่
สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ
โศลก 20
guṇān etān atītya trīn
dehī deha-samudbhavān
janma-mṛtyu-jarā-duḥkhair
vimukto ’mṛtam aśnute
dehī deha-samudbhavān
janma-mṛtyu-jarā-duḥkhair
vimukto ’mṛtam aśnute
คุณานฺ เอตานฺ อตีตฺย ตฺรีนฺ
เทหี เทห-สมุทฺภวานฺ
ชนฺม-มฺฤตฺยุ-ชรา-ทุห์ไขรฺ
วิมุกฺโต ’มฺฤตมฺ อศฺนุเต
เทหี เทห-สมุทฺภวานฺ
ชนฺม-มฺฤตฺยุ-ชรา-ทุห์ไขรฺ
วิมุกฺโต ’มฺฤตมฺ อศฺนุเต
คุณานฺ — คุณสมบัติ, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, อตีตฺย — ข้ามพ้น, ตฺรีนฺ — สาม, เทหี — ร่างกาย, เทห — ร่างกาย, สมุทฺภวานฺ — ผลิตจาก, ชนฺม — แห่งการเกิด, มฺฤตฺยุ — การตาย, ชรา — และความชรา, ทุห์ไขห์ — ความทุกข์, วิมุกฺตห์ — เป็นอิสระจาก, อมฺฤตมฺ — น้ำทิพย์, อศฺนุเต — เขามีความสุข
คำแปล
เมื่อชีวิตที่อยู่ในร่างสามารถข้ามพ้นทั้งสามระดับที่สัมพันธ์กับร่างกายวัตถุนี้
คำอธิบาย
เราจะอยู่ในสถานภาพทิพย์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไรแม้ขณะที่เราอยู่ในร่างกายนี้ โศลกนี้ได้อธิบายคำสันสฤต เทหี ซึ่งหมายถึง “ร่างกาย” จากความเจริญก้าวหน้าในความรู้ทิพย์ ถึงแม้ว่าอยู่ภายในร่างกายวัตถุนี้เราจะสามารถเป็นอิสระจากอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติ รื่นเริงกับความสุขแห่งชีวิตทิพย์และหลังจากออกไปจากร่างกายนี้ก็จะไปยังท้องฟ้าทิพย์อย่างแน่นอน ดังนั้นแม้อยู่ในร่างกายนี้เราก็สามารถรื่นเริงกับความสุขทิพย์ได้ อีกนัยหนึ่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นสัญลักษณ์แห่งความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ ประเด็นนี้จะอธิบายในบทที่สิบแปด เมื่อเป็นอิสระจากอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุแล้วเราจะเข้าถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้