ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสี่

สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

โศลก 21

arjuna uvāca
kair liṅgais trīn guṇān etān
atīto bhavati prabho
kim-ācāraḥ kathaṁ caitāṁs
trīn guṇān ativartate
อรฺชุน อุวาจ
ไกรฺ ลิงฺไคสฺ ตฺรีนฺ คุณานฺ เอตานฺ
อตีโต ภวติ ปฺรโภ
กิมฺ-อาจารห์ กถํ ไจตำสฺ
ตฺรีนฺ คุณานฺ อติวรฺตเต
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, ไกห์ — ซึ่ง, ลิงฺไคห์ — อาการต่างๆ, ตฺรีนฺ — สาม, คุณานฺ — คุณสมบัติ, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, อตีตห์ — ข้ามพ้น, ภวติ — เป็น, ปฺรโภ — โอ้ องค์ภควานฺของข้า, กิมฺ — อะไร, อาจารห์ — พฤติกรรม, กถมฺ — อย่างไร, — เช่นกัน, เอตานฺ — เหล่านี้, ตฺรีนฺ — สาม, คุณานฺ — คุณสมบัติ, อติวรฺตเต — ข้ามพ้น

คำแปล

อรฺชุน ทรงถามว่า โอ้ องค์ภควานฺที่รัก ผู้ที่ข้ามพ้นเหนือสามระดับนี้มีลักษณะอาการอย่างไร ความประพฤติของเขาเป็นเช่นไร และเขาข้ามพ้นระดับแห่งธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร

คำอธิบาย

โศลกนี้คำถามของ อรฺชุน เหมาะสมมากเพราะปรารถนาที่จะทราบลักษณะอาการของบุคคลผู้ข้ามพ้นระดับวัตถุต่างๆ ก่อนอื่นท่านทรงถามถึงลักษณะอาการของบุคคลทิพย์เช่นนี้ เราจะเข้าใจได้อย่างไรว่าบุคคลนี้ได้ข้ามพ้นอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ คำถามที่สองถามว่าเขาใช้ชีวิตอยู่อย่างไรและมีกิจกรรมอะไร มีระเบียบหรือไร้ระเบียบ จากนั้น อรฺชุน ทรงถามถึงวิธีที่จะทำให้บรรลุถึงธรรมชาติทิพย์ซึ่งประเด็นนี้สำคัญมาก นอกเสียจากว่าเราจะรู้วิธีโดยตรงที่ทำให้สถิตในวิถีทิพย์ตลอดเวลาได้ มิฉะนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่จะแสดงลักษณะอาการเหล่านี้ ดังนั้นคำถามทั้งหมดที่ อรฺชุน ทรงถามมีความสำคัญมากและองค์ภควานฺจะทรงให้คำตอบ