ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสี่
สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ
โศลก 22-25
śrī-bhagavān uvāca
prakāśaṁ ca pravṛttiṁ ca
moham eva ca pāṇḍava
na dveṣṭi sampravṛttāni
na nivṛttāni kāṅkṣati
prakāśaṁ ca pravṛttiṁ ca
moham eva ca pāṇḍava
na dveṣṭi sampravṛttāni
na nivṛttāni kāṅkṣati
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปฺรกาศํ จ ปฺรวฺฤตฺตึ จ
โมหมฺ เอว จ ปาณฺฑว
น เทฺวษฺฏิ สมฺปฺรวฺฤตฺตานิ
น นิวฺฤตฺตานิ กางฺกฺษติ
ปฺรกาศํ จ ปฺรวฺฤตฺตึ จ
โมหมฺ เอว จ ปาณฺฑว
น เทฺวษฺฏิ สมฺปฺรวฺฤตฺตานิ
น นิวฺฤตฺตานิ กางฺกฺษติ
udāsīna-vad āsīno
guṇair yo na vicālyate
guṇā vartanta ity evaṁ
yo ’vatiṣṭhati neṅgate
guṇair yo na vicālyate
guṇā vartanta ity evaṁ
yo ’vatiṣṭhati neṅgate
อุทาสีน-วทฺ อาสีโน
คุไณรฺ โย น วิจาลฺยเต
คุณา วรฺตนฺต อิตฺยฺ เอวํ
โย ’วติษฺฐติ เนงฺคเต
คุไณรฺ โย น วิจาลฺยเต
คุณา วรฺตนฺต อิตฺยฺ เอวํ
โย ’วติษฺฐติ เนงฺคเต
sama-duḥkha-sukhaḥ sva-sthaḥ
sama-loṣṭāśma-kāñcanaḥ
tulya-priyāpriyo dhīras
tulya-nindātma-saṁstutiḥ
sama-loṣṭāśma-kāñcanaḥ
tulya-priyāpriyo dhīras
tulya-nindātma-saṁstutiḥ
สม-ทุห์ข-สุขห์ สฺว-สฺถห์
สม-โลษฺฏาศฺม-กาญฺจนห์
ตุลฺย-ปฺริยาปฺริโย ธีรสฺ
ตุลฺย-นินฺทาตฺม-สํสฺตุติห์
สม-โลษฺฏาศฺม-กาญฺจนห์
ตุลฺย-ปฺริยาปฺริโย ธีรสฺ
ตุลฺย-นินฺทาตฺม-สํสฺตุติห์
mānāpamānayos tulyas
tulyo mitrāri-pakṣayoḥ
sarvārambha-parityāgī
guṇātītaḥ sa ucyate
tulyo mitrāri-pakṣayoḥ
sarvārambha-parityāgī
guṇātītaḥ sa ucyate
มานาปมานโยสฺ ตุลฺยสฺ
ตุโลฺย มิตฺราริ-ปกฺษโยห์
สรฺวารมฺภ-ปริตฺยาคี
คุณาตีตห์ ส อุจฺยเต
ตุโลฺย มิตฺราริ-ปกฺษโยห์
สรฺวารมฺภ-ปริตฺยาคี
คุณาตีตห์ ส อุจฺยเต
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, ปฺรกาศมฺ — สว่างไสว, จ — และ, ปฺรวฺฤตฺติมฺ — ยึดติด, จ — และ, โมหมฺ — ความหลง, เอว จ — เช่นกัน, ปาณฺฑว — โอ้ โอรส ปาณฺฑุ, น เทฺวษฺฏิ — ไม่เกลียด, สมฺปฺรวฺฤตฺตานิ — ถึงแม้พัฒนา, น นิวฺฤตฺตานิ — ไม่หยุดพัฒนา, กางฺกฺษติ — ปรารถนา, อุทาสีน-วตฺ — ประหนึ่งเป็นกลาง, อาสีนห์ — สถิต, คุไณห์ — ด้วยคุณสมบัติ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, น — ไม่เคย, วิจาลฺยเต — เร่าร้อน, คุณาห์ — คุณสมบัติ, วรฺตนฺเต — ปฏิบัติ, อิติ เอวมฺ — รู้ดังนี้, ยห์ — ผู้ซึ่ง, อวติษฺฐติ — ยังคง, น — ไม่เคย, อิงฺคเต — นิดเดียว, สม — เสมอภาค, ทุห์ข — ในความทุกข์, สุขห์ — ในความสุข, สฺว-สฺถห์ — กระตุ้นอยู่ในตัวเขา, สม — เสมอภาค, โลษฺฏ — ก้อนดิน, อศฺม — หิน, กาญฺจนห์ — ทอง, ตุลฺย — ปฏิบัติเสมอภาค, ปฺริย — ต่อสิ่งที่รัก, อปฺริยห์ — และสิ่งที่ไม่ต้องการ, ธีรห์ — มั่นคง, ตุลฺย — เท่าเทียม, นินฺทา — ในการดูหมิ่น, อาตฺม-สํสฺตุติห์ — และสรรเสริญตัวเขา, มาน — ในเกียรติยศ, อปมานโยห์ — และเสียเกียรติ, ตุลฺยห์ — เท่าเทียม, ตุลฺยห์ — เท่าเทียม, มิตฺร — เพื่อน, อริ — และศัตรู, ปกฺษโยห์ — ต่อพรรค, สรฺว — ทั้งหมด, อารมฺภ — ความพยายาม, ปริตฺยาคี — ผู้เสียสละ, คุณ-อตีตห์ — ข้ามพ้นระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ, สห์ — เขา, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น
คำแปล
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า
คำอธิบาย
อรฺชุน ทรงถามสามคำถาม องค์ภควานฺทรงตอบทีละข้อ ในโศลกเหล่านี้ก่อนอื่นองค์กฺฤษฺณทรงแสดงให้เห็นว่าบุคคลสถิตในระดับทิพย์จะไม่มีความอิจฉาริษยาและไม่ทะเยอทะยานกับสิ่งใดๆ เมื่อสิ่งมีชีวิตมาอยู่ในโลกวัตถุนี้และถูกร่างวัตถุปกคลุมเข้าใจว่าเขาต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหนึ่งในสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ จนกว่าจะออกจากร่างกายจริงๆเขาจึงจะออกจากเงื้อมมือของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ตราบใดที่ยังไม่ออกไปจากร่างวัตถุเขาควรทำตัวเป็นกลาง และควรปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺเพื่อจะได้ลืมการสำคัญตนเองกับร่างกายวัตถุไปโดยปริยาย เมื่อมีจิตสำนึกอยู่กับร่างกายวัตถุเขาจะทำสิ่งต่างๆเพื่อสนองประสาทสัมผัสเท่านั้น แต่เมื่อย้ายจิตสำนึกไปที่องค์กฺฤษฺณการสนองประสาทสัมผัสจะหยุดลงโดยปริยาย ร่างกายวัตถุนี้ไม่มีความจำเป็นและตัวเขาก็ไม่จำเป็นต้องยอมรับคำบงการจากร่างวัตถุ คุณสมบัติต่างๆของระดับวัตถุในร่างกายจะทำงาน แต่ดวงวิญญาณหรือตัวเขาเองอยู่ออกห่างเหนือไปจากกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ เขาอยู่เหนือและห่างออกไปได้อย่างไร เขาไม่ปรารถนาหาความสุขกับร่างกายและไม่ปรารถนาที่จะออกไปจากร่างกาย ดังนั้นจึงสถิตในวิถีทิพย์สาวกเป็นอิสระโดยปริยาย จึงไม่จำเป็นต้องพยายามมาเป็นอิสระจากอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ
คำถามต่อไปเกี่ยวกับบุคคลผู้สถิตในวิถีทิพย์ บุคคลสถิตทางวัตถุได้รับผลกระทบจากสิ่งที่สมมติว่าเป็นการได้รับเกียรติและเสียเกียรติที่เสนอให้กับร่างกาย แต่บุคคลผู้สถิตในวิถีทิพย์ไม่ได้รับผลกระทบจากการได้เกียรติและการเสียเกียรติอย่างผิดๆ เขาปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกและไม่สนใจว่าใครจะให้เกียรติหรือจะทำให้เขาเสียเกียรติ เขายอมรับสิ่งต่างๆที่เอื้ออำนวยต่อหน้าที่การงานของตนในกฺฤษฺณจิตสำนึก มิฉะนั้นจะไม่มีความจำเป็นกับสิ่งใดๆที่เป็นวัตถุไม่ว่าจะเป็นก้อนหินหรือทองคำ ถือเสียว่าทุกๆคนที่ช่วยเขาในการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นเพื่อนรักและไม่เกลียดคนที่สมมติว่าเป็นศัตรู เขาปฏิบัติเสมอภาคกับทุกคนและมองดูทุกสิ่งทุกอย่างในระดับเดียวกัน เพราะทราบดีว่าตัวเขาไม่มีอะไรยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทางวัตถุ ประเด็นทางสังคมและทางการเมืองจะไม่มีผลกระทบต่อเขา เพราะเขารู้ถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและความยุ่งยากต่างๆที่ไม่ถาวร และไม่พยายามทำสิ่งใดๆเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่จะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อองค์กฺฤษฺณ สำหรับส่วนตัวจะไม่พยายามเพื่อสิ่งใด จากพฤติกรรมเช่นนี้เขาสถิตในวิถีทิพย์โดยแท้จริง