ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบเจ็ด
ระดับแห่งความศรัทธา
โศลก 15
anudvega-karaṁ vākyaṁ
satyaṁ priya-hitaṁ ca yat
svādhyāyābhyasanaṁ caiva
vāṅ-mayaṁ tapa ucyate
satyaṁ priya-hitaṁ ca yat
svādhyāyābhyasanaṁ caiva
vāṅ-mayaṁ tapa ucyate
อนุเทฺวค-กรํ วากฺยํ
สตฺยํ ปฺริย-หิตํ จ ยตฺ
สฺวาธฺยายาภฺยสนํ ไจว
วางฺ-มยํ ตป อุจฺยเต
สตฺยํ ปฺริย-หิตํ จ ยตฺ
สฺวาธฺยายาภฺยสนํ ไจว
วางฺ-มยํ ตป อุจฺยเต
อนุเทฺวค-กรมฺ — ไม่เร่าร้อน, วากฺยมฺ — คำพูด, สตฺยมฺ — สัจจะ, ปฺริย — รัก, หิตมฺ — เป็นประโยชน์, จ — เช่นกัน, ยตฺ — ซึ่ง, สฺวาธฺยาย — ของการศึกษาพระเวท, อภฺยสนมฺ — ปฏิบัติ, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, วากฺ-มยมฺ — ของเสียง, ตปห์ — ความสมถะ, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น
คำแปล
ความสมถะในการพูดประกอบด้วย
คำอธิบาย
เราไม่ควรพูดสิ่งที่จะทำให้จิตใจของผู้อื่นเร่าร้อน แน่นอนว่าเมื่อครูพูดท่านสามารถพูดความจริงเพื่อสั่งสอนศิษย์ แต่ครูไม่ควรพูดกับผู้ที่ไม่ใช่ศิษย์ของตนหากจะทำให้จิตใจของพวกเขาเร่าร้อน นี่คือการบำเพ็ญเพียรในการพูด นอกจากนั้นเราไม่ควรพูดสิ่งที่ไร้สาระ วิธีการพูดในสังคมทิพย์คือ พูดสิ่งที่พระคัมภีร์สนับสนุน เราควรอ้างอิงพระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ในทันทีเพื่อสนับสนุนสิ่งที่ได้พูดไป ในขณะเดียวกันการสนทนาควรให้เป็นที่รื่นหู จากการสนทนากันเช่นนี้เราอาจได้รับผลประโยชน์สูงสุดและจะช่วยพัฒนาสังคมมนุษย์ มีวรรณกรรมพระเวทมากมายมหาศาลที่ควรศึกษา เช่นนี้เรียกว่าเป็นการบำเพ็ญเพียรในการพูด