ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบเจ็ด
ระดับแห่งความศรัทธา
โศลก 16
manaḥ-prasādaḥ saumyatvaṁ
maunam ātma-vinigrahaḥ
bhāva-saṁśuddhir ity etat
tapo mānasam ucyate
maunam ātma-vinigrahaḥ
bhāva-saṁśuddhir ity etat
tapo mānasam ucyate
มนห์-ปฺรสาทห์ เสามฺยตฺวํ
เมานมฺ อาตฺม-วินิคฺรหห์
ภาว-สํศุทฺธิรฺ อิตฺยฺ เอตตฺ
ตโป มานสมฺ อุจฺยเต
เมานมฺ อาตฺม-วินิคฺรหห์
ภาว-สํศุทฺธิรฺ อิตฺยฺ เอตตฺ
ตโป มานสมฺ อุจฺยเต
มนห์-ปฺรสาทห์ — ความพึงพอใจของจิต, เสามฺยตฺวมฺ — ไม่ตีสองหน้ากับผู้อื่น, เมานมฺ — ความจริงจัง, อาตฺม — ของตัวเขา, วินิคฺรหห์ — ควบคุม, ภาว — ธรรมชาติของตน, สํศุทฺธิห์ — ความบริสุทธิ์, อิติ — ดังนั้น, เอตตฺ — นี้, ตปห์ — ความสมถะ, มานสมฺ — ของจิต, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น
คำแปล
มีความพึงพอใจ
คำอธิบาย
การทำให้จิตใจมีความสมถะคือ ไม่ให้จิตใจไปยึดติดกับการสนองประสาทสัมผัส จิตใจควรได้รับการฝึกฝนจนสามารถคิดถึงการทำดีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ วิธีการฝึกฝนจิตใจที่ดีที่สุดคือ มีความจริงจังในความคิด ไม่ควรเบี่ยงเบนจากกฺฤษฺณจิตสำนึก และต้องหลีกเลี่ยงการสนองประสาทสัมผัสอยู่เสมอ การทำให้ธรรมชาติของตนเองบริสุทธิ์คือ มีกฺฤษฺณจิตสำนึก ความพึงพอใจของจิตบรรลุได้ด้วยเพียงแต่นำจิตใจออกห่างจากความคิดเพื่อรื่นรมย์ทางประสาทสัมผัส หากเราคิดถึงแต่ความรื่นรมย์ทางประสาทสัมผัสมากเท่าไรจิตใจก็จะไม่มีความพึงพอใจมากเท่านั้น ในยุคปัจจุบันเราใช้จิตใจไปในหลายๆทางเพื่อสนองประสาทสัมผัสโดยไม่จำเป็น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จิตใจจะมีความพึงพอใจ วิธีที่ดีที่สุดคือ หันเหจิตใจมาที่คัมภีร์พระเวทซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าพึงพอใจ ใน ปุราณ และ มหาภารต เราจะได้รับประโยชน์จากความรู้นี้และกลายมาเป็นผู้บริสุทธิ์ จิตใจของเราควรหลีกเลี่ยงความไม่ซื่อตรง และควรคิดถึงประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ความนิ่งเงียบหมายความว่า เราคิดถึงความรู้แจ้งแห่งตนเสมอ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกถือปฏิบัติความนิ่งเงียบอย่างสมบูรณ์ด้วยเหตุผลนี้ การควบคุมจิตใจหมายถึง ไม่ให้จิตใจยึดติดอยู่กับความรื่นเริงทางประสาทสัมผัส เราควรเป็นคนตรงไปตรงมาในการสัมพันธ์กับผู้อื่นและทำให้ชีวิตความเป็นอยู่บริสุทธิ์ คุณสมบัติทั้งหลายเหล่านี้รวมกันเป็นองค์ประกอบแห่งความสมถะทางจิตใจ