ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบแปด
บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ
โศลก 2
śrī-bhagavān uvāca
kāmyānāṁ karmaṇāṁ nyāsaṁ
sannyāsaṁ kavayo viduḥ
sarva-karma-phala-tyāgaṁ
prāhus tyāgaṁ vicakṣaṇāḥ
kāmyānāṁ karmaṇāṁ nyāsaṁ
sannyāsaṁ kavayo viduḥ
sarva-karma-phala-tyāgaṁ
prāhus tyāgaṁ vicakṣaṇāḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
กามฺยานำ กรฺมณำ นฺยาสํ
สนฺนฺยาสํ กวโย วิทุห์
สรฺว-กรฺม-ผล-ตฺยาคํ
ปฺราหุสฺ ตฺยาคํ วิจกฺษณาห์
กามฺยานำ กรฺมณำ นฺยาสํ
สนฺนฺยาสํ กวโย วิทุห์
สรฺว-กรฺม-ผล-ตฺยาคํ
ปฺราหุสฺ ตฺยาคํ วิจกฺษณาห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงตรัส, กามฺยานามฺ — ด้วยความปรารถนา, กรฺมณามฺ — ของกิจกรรม, นฺยาสมฺ — การเสียสละ, สนฺนฺยาสมฺ — ชีวิตสละโลก, กวยห์ — ผู้รู้, วิทุห์ — รู้, สรฺว — ทั้งหมด, กรฺม — กิจกรรม, ผล — ผล, ตฺยาคมฺ — การเสียสละ, ปฺราหุห์ — เรียก, ตฺยาคมฺ — การเสียสละ, วิจกฺษณาห์ — ประสบการณ์
คำแปล
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงตรัสว่า
คำอธิบาย
การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ต้องยกเลิก นี่คือคำสั่งสอนของ ภควัท-คีตา แต่กิจกรรมที่นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าแห่งความรู้ทิพย์ไม่ควรยกเลิกสิ่งเหล่านี้จะทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในโศลกต่อๆไป ในวรรณกรรมพระเวทมีวิธีกรรมมากมายในการปฏิบัติพิธีบูชาเพื่อจุดมุ่งหมายบางประการ มีพิธีบูชาบางอย่างทำไปเพื่อให้ได้บุตรที่ดี หรือเพื่อพัฒนาให้ไปยังดาวเคราะห์ที่สูงกว่าแต่พิธีบูชาที่ถูกกระตุ้นด้วยความปรารถนาควรหยุด อย่างไรก็ดีพิธีบูชาเพื่อความบริสุทธิ์แห่งจิตใจของตนเอง หรือเพื่อความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทิพย์ไม่ควรยกเลิก