ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบแปด
บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ
โศลก 3
tyājyaṁ doṣa-vad ity eke
karma prāhur manīṣiṇaḥ
yajña-dāna-tapaḥ-karma
na tyājyam iti cāpare
karma prāhur manīṣiṇaḥ
yajña-dāna-tapaḥ-karma
na tyājyam iti cāpare
ตฺยาชฺยํ โทษ-วทฺ อิตฺยฺ เอเก
กรฺม ปฺราหุรฺ มนีษิณห์
ยชฺญ-ทาน-ตปห์-กรฺม
น ตฺยาชฺยมฺ อิติ จาปเร
กรฺม ปฺราหุรฺ มนีษิณห์
ยชฺญ-ทาน-ตปห์-กรฺม
น ตฺยาชฺยมฺ อิติ จาปเร
ตฺยาชฺยมฺ — ต้องยกเลิก, โทษ-วตฺ — ว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย, อิติ — ดังนั้น, เอเก — กลุ่มหนึ่ง, กรฺม — งาน, ปฺราหุห์ — พวกเขากล่าวว่า, มนีษิณห์ — นักคิดผู้ยิ่งใหญ่, ยชฺญ — ของการบูชา, ทาน — การให้ทาน, ตปห์ — และการบำเพ็ญเพียร, กรฺม — งาน, น — ไม่เคย, ตฺยาชฺยมฺ — ยกเลิก, อิติ — ดังนั้น, จ — และ, อปเร — ผู้อื่น
คำแปล
ผู้รู้บางท่านประกาศว่ากิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุทั้งหมดควรยกเลิกเพราะเป็นสิ่งที่ผิด
คำอธิบาย
มีกิจกรรมมากมายในวรรณกรรมพระเวทซึ่งเป็นเรื่องราวต้องถกเถียงกัน ตัวอย่างเช่น ได้กล่าวไว้ว่าสัตว์ถูกฆ่าได้ในพิธีบูชา แต่บางคนยืนยันว่าการฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจที่สุด ถึงแม้ว่าการฆ่าสัตว์ในพิธีบูชาได้แนะนำไว้ในวรรณกรรมพระเวท แต่ไม่พิจารณาว่าสัตว์ถูกฆ่าเพราะพิธีบูชาจะให้ชีวิตใหม่แก่สัตว์ บางครั้งสัตว์ได้รับชีวิตในร่างสัตว์ตัวใหม่หลังจากถูกฆ่าในพิธีบูชา และบางครั้งได้รับการส่งเสริมให้ไปมีร่างชีวิตมนุษย์ทันที แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นักปราชญ์ บ้างกล่าวว่าการฆ่าสัตว์ควรหลีกเลี่ยงเสมอ และบ้างก็กล่าวว่าเป็นสิ่งดีหากทำไปเพื่อพิธีบูชา ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกิจกรรมพิธีบูชาทั้งหมดนี้ บัดนี้องค์ภควานฺเองจะทรงทำให้กระจ่างขึ้น