ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบแปด
บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ
โศลก 36
sukhaṁ tv idānīṁ tri-vidhaṁ
śṛṇu me bharatarṣabha
abhyāsād ramate yatra
duḥkhāntaṁ ca nigacchati
śṛṇu me bharatarṣabha
abhyāsād ramate yatra
duḥkhāntaṁ ca nigacchati
สุขํ ตฺวฺ อิทานีํ ตฺริ-วิธํ
ศฺฤณุ เม ภรตรฺษภ
อภฺยาสาทฺ รมเต ยตฺร
ทุห์ขานฺตํ จ นิคจฺฉติ
ศฺฤณุ เม ภรตรฺษภ
อภฺยาสาทฺ รมเต ยตฺร
ทุห์ขานฺตํ จ นิคจฺฉติ
สุขมฺ — ความสุข, ตุ — แต่, อิทานีมฺ — บัดนี้, ตฺริ-วิธมฺ — ของสามประเภท, ศฺฤณุ — สดับฟัง, เม — จากข้า, ภรต-ฤษภ — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่ ภารต, อภฺยาสาตฺ — จากการฝึกฝน, รมเต — เขารื่นเริง, ยตฺร — ที่, ทุห์ข — ของความทุกข์, อนฺตมฺ — จบ, จ — เช่นกัน, นิคจฺฉติ — ได้รับ
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
พันธวิญญาณพยายามรื่นเริงกับความสุขทางวัตถุครั้งแล้วครั้งเล่า ดังนั้นเขาจึงได้แต่เคี้ยวกากเดน แต่บางครั้งในระหว่างความรื่นเริงเช่นนี้เขาได้รับการปลดเปลื้องจากพันธนาการทางวัตถุด้วยการมาคบหาสมาคมกับดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ อีกนัยหนึ่งพันธวิญญาณหมกมุ่นอยู่กับการสนองประสาทสัมผัสเสมอ แต่เมื่อได้มาคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร และเข้าใจว่าความรื่นเริงทางวัตถุเป็นเพียงการกระทำที่ซ้ำซากอยู่ในสิ่งเดียวกัน และได้ตื่นขึ้นในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่แท้จริง บางครั้งเขาได้รับการปลดเปลื้องจากสิ่งที่สมมติว่าเป็นความสุขซ้ำซากเช่นนี้