ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบแปด
บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ
โศลก 62
tam eva śaraṇaṁ gaccha
sarva-bhāvena bhārata
tat-prasādāt parāṁ śāntiṁ
sthānaṁ prāpsyasi śāśvatam
sarva-bhāvena bhārata
tat-prasādāt parāṁ śāntiṁ
sthānaṁ prāpsyasi śāśvatam
ตมฺ เอว ศรณํ คจฺฉ
สรฺว-ภาเวน ภารต
ตตฺ-ปฺรสาทาตฺ ปรำ ศานฺตึ
สฺถานํ ปฺราปฺสฺยสิ ศาศฺวตมฺ
สรฺว-ภาเวน ภารต
ตตฺ-ปฺรสาทาตฺ ปรำ ศานฺตึ
สฺถานํ ปฺราปฺสฺยสิ ศาศฺวตมฺ
ตมฺ — แด่พระองค์, เอว — แน่นอน, ศรณมฺ คจฺฉ — ศิโรราบ, สรฺว-ภาเวน — ในทุกๆด้าน, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต, ตตฺ-ปฺรสาทาตฺ — ด้วยพระกรุณาของพระองค์, ปรามฺ — ทิพย์, ศานฺติมฺ — ความสงบ, สฺถานมฺ — พระตำหนัก, ปฺราปฺสฺยสิ — เธอจะได้รับ, ศาศฺวตมฺ — อมตะ
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
ดังนั้นสิ่งมีชีวิตควรศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงสถิตภายในหัวใจของทุกๆคน และนั่นจะปลดเปลื้องตัวเขาให้ออกจากความทุกข์แห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุทั้งปวง จากการศิโรราบนี้ไม่เพียงแต่จะได้รับการปลดเปลื้องจากความทุกข์ทั้งหลายในชาตินี้ แต่ในบั้นปลายเขาจะบรรลุถึงองค์ภควานฺ ในวรรณกรรมพระเวท (ฤคฺ เวท 1.22.20) ได้อธิบายถึงโลกทิพย์ว่า ตทฺ วิษฺโณห์ ปรมํ ปทมฺ เนื่องจากการสร้างทั้งหมดเป็นอาณาจักรของพระองค์ทุกสิ่งทางวัตถุอันที่จริงเป็นทิพย์ แต่ ปรมํ ปทมฺ หมายถึง เฉพาะพระตำหนักนิรันดรซึ่งเรียกว่า ท้องฟ้าทิพย์ หรือ ไวกุณฺฐ
บทที่สิบห้าของ ภควัท-คีตา กล่าวไว้ว่า สรฺวสฺย จาหํ หฺฤทิ สนฺนิวิษฺฏห์ องค์ภควานฺทรงสถิตภายในหัวใจของทุกๆคน ดังนั้นการแนะนำที่ว่าควรศิโรราบต่ออภิวิญญาณผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจหมายความว่า ควรศิโรราบต่อองค์ภควานฺกฺฤษฺณ อรฺชุน ทรงยอมรับว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคคลสูงสุด ในบทที่สิบทรงได้รับการยอมรับว่าเป็น ปรํ พฺรหฺม ปรํ ธาม อรฺชุน ยอมรับองค์กฺฤษฺณว่าทรงเป็นองค์ภควานฺ และทรงเป็นพระตำหนักสูงสุดของมวลชีวิต ไม่เฉพาะแต่ประสบการณ์ส่วนตัวของ อรฺชุน เท่านั้น แต่จากหลักฐานของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่เชื่อถือได้ เช่น นารท , อสิต, เทวล และ วฺยาส