ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบแปด

บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ

โศลก 8

duḥkham ity eva yat karma
kāya-kleśa-bhayāt tyajet
sa kṛtvā rājasaṁ tyāgaṁ
naiva tyāga-phalaṁ labhet
ทุห์ขมฺ อิตฺยฺ เอว ยตฺ กรฺม
กาย-เกฺลศ-ภยาตฺ ตฺยเชตฺ
ส กฺฤตฺวา ราชสํ ตฺยาคํ
ไนว ตฺยาค-ผลํ ลเภตฺ
ทุห์ขมฺ — ไม่มีความสุข, อิติ — ดังนั้น, เอว — แน่นอน, ยตฺ — ซึ่ง, กรฺม — งาน, กาย — สำหรับร่างกาย, เกฺลศ — ปัญหา, ภยาตฺ — เนื่องจากความกลัว, ตฺยเชตฺ — ยกเลิก, สห์ — เขา, กฺฤตฺวา — หลังจากกระทำ, ราชสมฺ — ในระดับตัณหา, ตฺยาคมฺ — ความเสียสละ, — ไม่, เอว — แน่นอน, ตฺยาค — แห่งการเสียสละ, ผลมฺ — ผล, ลเภตฺ — อีกครั้ง

คำแปล

ผู้ใดยกเลิกหน้าที่ที่กำหนดไว้ว่าเป็นปัญหา หรือเนื่องจากกลัวความไม่สะดวกทางร่างกาย กล่าวว่าผู้นั้นเสียสละในระดับตัณหา การเสียสละเช่นนี้จะไม่ทำให้เขาพัฒนาขึ้น

คำอธิบาย

ผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ควรยกเลิกการหาเงินเนื่องจากกลัวว่าตนเองปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ การทำงานและใช้เงินในกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือการตื่นนอนแต่เช้าและเจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึกทิพย์ไม่ควรยกเลิกเนื่องมาจากความกลัว หรือเนื่องจากพิจารณาว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นปัญหาการเสียสละเช่นนี้อยู่ในระดับตัณหา ผลแห่งงานในระดับตัณหาจะเป็นความเศร้าเสมอหากบุคคลสละงานด้วยความรู้สึกเช่นนั้นจะไม่ได้รับผลแห่งการเสียสละ