ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 41

vyavasāyātmikā buddhir
ekeha kuru-nandana
bahu-śākhā hy anantāś ca
buddhayo ’vyavasāyinām
วฺยวสายาตฺมิกา พุทฺธิรฺ
เอเกห กุรุ-นนฺทน
พหุ-ศาขา หฺยฺ อนนฺตาศฺ จ
พุทฺธโย ’วฺยวสายินามฺ
วฺยวสาย-อาตฺมิกา — แน่วแน่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก, พุทฺธิห์ — ปัญญา, เอกา — คนเดียวเท่านั้น, อิห — ในโลกนี้, กุรุ-นนฺทน — โอ้ โอรสที่รักแห่งราชวงค์กุรุ, พหุ-ศาขาห์ — มีสาขามากมาย, หิ — แน่นอน, อนนฺตาห์ — ไม่จำกัด, — เช่นกัน, พุทฺธยห์ — ปัญญา, อวฺยวสายินามฺ — ของผู้ที่ไม่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก

คำแปล

โอ้ ผู้เป็นที่รักแห่งราชวงศ์ กุรุ บุคคลผู้ที่เดินอยู่บนหนทางสายนี้มีเป้าหมายที่แน่วแน่และมีจุดมุ่งหมายเป็นหนึ่ง ปัญญาของผู้ที่ไม่แน่วแน่มั่นคงจะแตกสาขามาก

คำอธิบาย

ความศรัทธาอันมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะทำให้เราเจริญไปถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต เรียกว่าปัญญาแห่ง วฺยวสายาตฺมิกา ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต (มธฺย 22.62) กล่าวไว้ว่า

‘ศฺรทฺธา’-ศพฺเท – วิศฺวาส กเห สุทฺฤฒ นิศฺจย
กฺฤษฺเณ ภกฺติ ไกเล สรฺว-กรฺม กฺฤต หย
ความศรัทธา หมายถึงความเชื่ออย่างมั่นคงในสิ่งที่ประเสริฐ เมื่อปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราไม่จำเป็นต้องปฏิบัติในความสัมพันธ์กับโลกวัตถุอันเนื่องมาจากพันธกรณีตามประเพณีครอบครัว มนุษยชาติ หรือประเทศชาติ กิจกรรมเพื่อผลประโยชน์เป็นการกระทำตามผลกรรมของเราในอดีตไม่ว่าดีหรือชั่ว เมื่อเราได้ตื่นขึ้นมาในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราก็ไม่จำเป็นต้องพยายามเพื่อให้ได้ผลดีในกิจกรรมของเรา หากสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกแล้วกิจกรรมทั้งหมดจะอยู่ในระดับที่สมบูรณ์ไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะคู่ เช่น ความดีหรือความชั่ว ความสมบูรณ์สูงสุดของกฺฤษฺณจิตสำนึกคือการสลัดแนวคิดชีวิตทางวัตถุ ระดับนี้จะบรรลุถึงโดยปริยายเมื่อเราเจริญขึ้นในกฺฤษฺณจิตสำนึก

จุดมุ่งหมายอันแน่วแน่ของบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีพื้นฐานอยู่ที่ความรู้ วาสุเทวห์ สรฺวมฺ อิติ มหาตฺมา สุ-ทุรฺลภห์ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกคือดวงวิญญาณดีที่หาได้ยากและเป็นผู้รู้อย่างสมบูรณ์ว่าองค์วาสุเทว หรือองค์กฺฤษฺณทรงเป็นรากฐานแห่งแหล่งกำเนิดของปรากฏการณ์ทั้งมวล ด้วยการรดน้ำที่รากของต้นไม้เท่ากับเราได้แจกจ่ายน้ำไปที่ใบและกิ่งก้านสาขาโดยปริยาย ฉะนั้นด้วยการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่ากับเป็นการรับใช้อย่างสูงสุดแด่ทุกๆคน เช่น รับใช้ตัวเราเองครอบครัว สังคม ประเทศชาติ มนุษยชาติ หากองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงพอพระทัยในการปฏิบัติของเราทุกๆคนก็จะพึงพอใจ

อย่างไรก็ดีการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกทำได้ดีที่สุดภายใต้คำแนะนำที่ถูกต้องของพระอาจารย์ทิพย์ซึ่งเป็นผู้แทนที่เชื่อถือได้ขององค์กฺฤษฺณ ท่านรู้ธรรมชาติของศิษย์และสามารถนำศิษย์ให้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้ ดังนั้นการจะเป็นผู้มีความชำนาญในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราต้องปฏิบัติตามผู้แทนขององค์กฺฤษฺณอย่างแน่วแน่ และเราควรน้อมรับคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้เสมือนเป็นภารกิจแห่งชีวิตของเรา ศฺรีล วิศฺวนาถ จกฺรวรฺตี ฐากุร สอนเราในบทมนต์ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับพระอาจารย์ทิพย์ดังนี้

ยสฺย ปฺรสาทาทฺ ภควตฺ-ปฺรสาโท
ยสฺยาปฺรสาทานฺ น คติห์ กุโต ’ปิ
ธฺยายนฺ สฺตุวํสฺ ตสฺย ยศสฺ ตฺริ-สนฺธฺยํ
วนฺเท คุโรห์ ศฺรี-จรณารวินฺทมฺ
“การทำให้พระอาจารย์ทิพย์พึงพอใจองค์ภควานฺก็จะทรงพึงพอพระทัย หากพระอาจารย์ทิพย์ไม่พึงพอใจเราจะไม่มีโอกาสได้รับการส่งเสริมมาสู่ระดับแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกได้ ฉะนั้นข้าพเจ้าควรทำสมาธิและสวดมนต์ภาวนาเพื่อพระเมตตาจากพระอาจารย์ทิพย์วันละสามครั้งและแสดงความเคารพอย่างสูงแด่ท่าน”

อย่างไรก็ดี กรรมวิธีทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความรู้อันสมบูรณ์ว่าดวงวิญญาณอยู่เหนือแนวความคิดทางร่างกาย นี่ไม่ใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้นแต่เป็นการปฏิบัติจริงเพื่อไม่เปิดโอกาสให้บุคคลได้สนองประสาทสัมผัส ซึ่งปรากฏออกมาในกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ ผู้ไม่มีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคงจะถูกหันเหไปในกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุต่างๆนานา