ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 67
indriyāṇāṁ hi caratāṁ
yan mano ’nuvidhīyate
tad asya harati prajñāṁ
vāyur nāvam ivāmbhasi
yan mano ’nuvidhīyate
tad asya harati prajñāṁ
vāyur nāvam ivāmbhasi
อินฺทฺริยาณำ หิ จรตำ
ยนฺ มโน ’นุวิธียเต
ตทฺ อสฺย หรติ ปฺรชฺญำ
วายุรฺ นาวมฺ อิวามฺภสิ
ยนฺ มโน ’นุวิธียเต
ตทฺ อสฺย หรติ ปฺรชฺญำ
วายุรฺ นาวมฺ อิวามฺภสิ
อินฺทฺริยาณามฺ — ของประสาทสัมผัส, หิ — แน่นอน, จรตามฺ — ขณะที่ท่องไป, ยตฺ — กับสิ่งที่, มนห์ — จิตใจ, อนุวิธียเต — ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ, ตตฺ — นั้น, อสฺย — ของเขา, หรติ — นำไป, ปฺรชฺญามฺ — ปัญญา, วายุห์ — ลม, นาวมฺ — เรือ, อิว — เหมือน, อมฺภสิ — บนน้ำ
คำแปล
เสมือนดั่งเรือในกระแสน้ำที่ถูกลมพายุพัดพาไป
คำอธิบาย
หากประสาทสัมผัสทั้งหมดมิได้ปฏิบัติรับใช้องค์ภควานฺ แม้ประสาทสัมผัสเพียงส่วนเดียวที่ปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสก็สามารถหันเหสาวกจากวิถีทางเพื่อความเจริญในวิถีทิพย์ได้ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในชีวิตของ มหาราช อมฺพรีษ ประสาทสัมผัสทั้งหมดจะต้องใช้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้น เพราะนี่คือเทคนิคที่ถูกต้องในการควบคุมจิตใจ