ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 68
tasmād yasya mahā-bāho
nigṛhītāni sarvaśaḥ
indriyāṇīndriyārthebhyas
tasya prajñā pratiṣṭhitā
nigṛhītāni sarvaśaḥ
indriyāṇīndriyārthebhyas
tasya prajñā pratiṣṭhitā
ตสฺมาทฺ ยสฺย มหา-พาโห
นิคฺฤหีตานิ สรฺวศห์
อินฺทฺริยาณีนฺทฺริยารฺเถภฺยสฺ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
นิคฺฤหีตานิ สรฺวศห์
อินฺทฺริยาณีนฺทฺริยารฺเถภฺยสฺ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, ยสฺย — ผู้ซึ่ง, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยอดเยี่ยม, นิคฺฤหีตานิ — เหนี่ยวรั้งลงมา, สรฺวศห์ — รอบๆทั้งหมด, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, อินฺทฺริย-อรฺเถภฺยห์ — จากอายตนะภายนอก, ตสฺย — ของเขา, ปฺรชฺญา — ปัญญา, ปฺรติษฺฐิตา — ตั้งมั่น
คำแปล
ฉะนั้น
คำอธิบาย
เราสามารถปรามพลังแห่งความต้องการสนองประสาทสัมผัสด้วยวิธีการในกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือการใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดเพื่อรับใช้องค์ภควานฺด้วยความรักเท่านั้น เปรียบเสมือนศัตรูถูกกักบริเวณไว้ด้วยอำนาจที่สูงกว่า ประสาทสัมผัสสามารถถูกปรามไว้ได้เช่นเดียวกันไม่ใช่จากความพยายามใดๆของมนุษย์ แต่จากการให้ประสาทสัมผัสทั้งหมดปฏิบัติรับใช้องค์ภควานฺเท่านั้น ผู้ที่เข้าใจว่าจากการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นจึงจะสามารถสถิตอยู่ในปัญญาอย่างแท้จริง และเราสมควรฝึกฝนศิลปะนี้ภายใต้การแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ จึงจะได้ชื่อว่า สาธก หรือผู้ที่เหมาะสมเพื่อความหลุดพ้น