ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สาม
กรฺม-โยค
โศลก 17
yas tv ātma-ratir eva syād
ātma-tṛptaś ca mānavaḥ
ātmany eva ca santuṣṭas
tasya kāryaṁ na vidyate
ātma-tṛptaś ca mānavaḥ
ātmany eva ca santuṣṭas
tasya kāryaṁ na vidyate
ยสฺ ตฺวฺ อาตฺม-รติรฺ เอว สฺยาทฺ
อาตฺม-ตฺฤปฺตศฺ จ มานวห์
อาตฺมนฺยฺ เอว จ สนฺตุษฺฏสฺ
ตสฺย การฺยํ น วิทฺยเต
อาตฺม-ตฺฤปฺตศฺ จ มานวห์
อาตฺมนฺยฺ เอว จ สนฺตุษฺฏสฺ
ตสฺย การฺยํ น วิทฺยเต
ยห์ — ผู้ซึ่ง, ตุ — แต่, อาตฺม-รติห์ — มีความสุขอยู่ในตัว, เอว — แน่นอน, สฺยาตฺ — ยังคง, อาตฺม-ตฺฤปฺตห์ — ส่องแสงในตัว, จ — และ, มานวห์ — มนุษย์, อาตฺมนิ — ในตัวเขา, เอว — เท่านั้น, จ — และ, สนฺตุษฺฏห์ — เพียงพออย่างบริบูรณ์, ตสฺย — เขา, การฺยมฺ — หน้าที่, น — ไม่, วิทฺยเต — เป็นอยู่
คำแปล
สำหรับผู้ที่มีความสุขอยู่ในตัวเอง
คำอธิบาย
ผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์และมีความพึงพอใจอย่างบริบูรณ์ในการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่มีหน้าที่การงานอื่นใดที่ต้องทำ เพราะว่าอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกความไม่บริสุทธิ์ทั้งหมดภายในตัวเขาได้ถูกชะล้างให้สะอาดโดยฉับพลัน เทียบเท่ากับผลของการปฏิบัติ ยชฺญ หลายๆพันครั้ง จากการทำให้จิตสำนึกบริสุทธิ์เช่นนี้จะมีความมั่นใจอย่างแน่วแน่เกี่ยวกับสถานภาพนิรันดรในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ หน้าที่ของเขาจึงมีความสว่างไสวในตัวเองอันเนื่องมาจากพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ ดังนั้นเขาจะไม่มีพันธกรณีใดๆเกี่ยวกับคำสั่งสอนในคัมภีร์พระเวท บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้จะไม่สนใจกิจกรรมทางวัตถุและจะไม่ใฝ่หาความสุขทางวัตถุ เช่น สุรา นารี และสิ่งที่ทำให้ลุ่มหลงต่างๆ