ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 18

naiva tasya kṛtenārtho
nākṛteneha kaścana
na cāsya sarva-bhūteṣu
kaścid artha-vyapāśrayaḥ
ไนว ตสฺย กฺฤเตนารฺโถ
นากฺฤเตเนห กศฺจน
น จาสฺย สรฺว-ภูเตษุ
กศฺจิทฺ อรฺถ-วฺยปาศฺรยห์
— ไม่เคย, เอว — แน่นอน, ตสฺย — ของเขา, กฺฤเตน — ด้วยการปฏิบัติหน้าที่, อรฺถห์ — จุดมุ่งหมาย, — ไม่, อกฺฤเตน — โดยไม่ปฎิบัติหน้าที่, อิห — ในโลกนี้, กศฺจน — อะไรก็แล้วแต่, — ไม่เคย, — และ, อสฺย — ของเขา, สรฺว-ภูเตษุ — ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, กศฺจิตฺ — ใดๆ, อรฺถ — จุดมุ่งหมาย, วฺยปาศฺรยห์ — เป็นที่พึ่ง

คำแปล

บุคคลผู้รู้แจ้งตนเองจะไม่มีจุดมุ่งหมายอื่นใดที่จะต้องบรรลุในการปฏิบัติหน้าที่ของตนที่กำหนดไว้ เขาไม่มีเหตุผลอันใดที่จะไม่ปฏิบัติงานนี้ และก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตใดๆ

คำอธิบาย

บุคคลผู้รู้แจ้งแห่งตนจะไม่มีพันธกรณีใดๆในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้นอกจากกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึก กฺฤษฺณจิตสำนึกมิใช่ว่าไม่มีกิจกรรม ดังจะอธิบายในโศลกต่อๆไป บุคคลที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่จำเป็นต้องไปพึ่งผู้ใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือเทวดา สิ่งใดที่สามารถทำได้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นถือว่าเพียงพอในการปฏิบัติภาระกิจหน้าที่ของเขาแล้ว