ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สาม
กรฺม-โยค
โศลก 31
ye me matam idaṁ nityam
anutiṣṭhanti mānavāḥ
śraddhāvanto ’nasūyanto
mucyante te ’pi karmabhiḥ
anutiṣṭhanti mānavāḥ
śraddhāvanto ’nasūyanto
mucyante te ’pi karmabhiḥ
เย เม มตมฺ อิทํ นิตฺยมฺ
อนุติษฺฐนฺติ มานวาห์
ศฺรทฺธาวนฺโต ’นสูยนฺโต
มุจฺยนฺเต เต ’ปิ กรฺมภิห์
อนุติษฺฐนฺติ มานวาห์
ศฺรทฺธาวนฺโต ’นสูยนฺโต
มุจฺยนฺเต เต ’ปิ กรฺมภิห์
เย — ผู้ซึ่ง, เม — ของข้า, มตมฺ — คำสั่งสอน, อิทมฺ — เหล่านั้น, นิตฺยมฺ — เสมือนดังหน้าที่นิรันดร, อนุติษฺฐนฺติ — ปฎิบัติสม่ำเสมอ, มานวาห์ — มนุษย์, ศฺรทฺธา-วนฺตห์ — ด้วยความศรัทธาและอุทิศตนเสียสละ, อนสูยนฺตห์ — ไม่มีความอิจฉาริษยา, มุจฺยนฺเต — เป็นอิสระ, เต — ทั้งหมด, อปิ — แม้แต่, กรฺมภิห์ — จากพันธนาการแห่งกฎของการปฎิบัติเพื่อหวังผล
คำแปล
ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของข้า
คำอธิบาย
คำสั่งของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณเป็นแก่นสารสาระสำคัญที่สุดของปรัชญาพระเวททั้งหมด ฉะนั้นจึงเป็นสัจธรรมอมตะโดยไม่มีข้อแม้ เฉกเช่นคัมภีร์พระเวทที่เป็นอมตะ สัจธรรมแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้ก็เป็นอมตะเช่นเดียวกัน เราควรมีความศรัทธาอย่างแน่วแน่ในคำสั่งนี้โดยไม่อิจฉาริษยาองค์ภควานฺ มีนักปราชญ์มากมายเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับ ภควัท-คีตา หากแต่ไม่มีความศรัทธาในองค์กฺฤษฺณนักปราชญ์เหล่านี้จะไม่มีวันได้รับอิสรภาพจากพันธนาการแห่งการกระทำเพื่อผลทางวัตถุ หากสามัญชนทั่วไปมีความศรัทธาอย่างมั่นคงในคำสั่งอมตะขององค์ภควานฺแม้จะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งเหล่านี้ก็สามารถได้รับอิสรภาพจากพันธนาการของกฎแห่งกรรม (กรฺม) ได้ ในเบื้องต้นของกฺฤษฺณจิตสำนึกเราอาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการที่เราไม่ขัดใจต่อหลักธรรมนี้และทำงานด้วยความจริงใจโดยไม่พิจารณาถึงเรื่องพ่ายแพ้และสิ้นหวัง แน่นอนว่าเราจะได้รับการส่งเสริมไปจนถึงระดับที่บริสุทธิ์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก