ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 37

śrī-bhagavān uvāca
kāma eṣa krodha eṣa
rajo-guṇa-samudbhavaḥ
mahāśano mahā-pāpmā
viddhy enam iha vairiṇam
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
กาม เอษ โกฺรธ เอษ
รโช-คุณ-สมุทฺภวห์
มหาศโน มหา-ปาปฺมา
วิทฺธฺยฺ เอนมฺ อิห ไวริณมฺ
ศฺริ-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพแห่งพระเจ้าตรัส, กามห์ — ราคะ, เอษห์ — นี้, โกฺรธห์ — ความโกรธ, เอษห์ — นี้, รชห์-คุณ — ระดับของตัณหา, สมุทฺภวห์ — เกิดจาก, มหา-อศนห์ — เผาผลาญทั้งหมด, มหา-ปาปฺมา — ความบาปอันยิ่งใหญ่, วิทฺธิ — รู้, เอนมฺ — นี้, อิห — ในโลกวัตถุ, ไวริณมฺ — ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า โอ้ อรฺชุน ราคะเท่านั้นที่เกิดจากการมาสัมผัสกับระดับตัณหาทางวัตถุ และต่อมากลายเป็นความโกรธ ซึ่งเป็นศัตรูบาปที่จะเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้

คำอธิบาย

เมื่อสิ่งมีชีวิตมาสัมผัสกับการสร้างทางวัตถุ ความรักนิรันดรที่มีต่อองค์กฺฤษฺณกลายเป็นราคะอันเนื่องมาจากการที่มาคบหาสมาคมกับระดับของตัณหา หรืออีกนัยหนึ่งความรู้สึกรักองค์ภควานฺได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นราคะ เฉกเช่นนมเมื่อมาสัมผัสกับมะขามเปรี้ยวจะกลายเป็นนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต หลังจากราคะไม่สมดังใจปราถนาจะกลายมาเป็นความโกรธ จากนั้นความโกรธจะเปลี่ยนมาเป็นความหลง และความหลงทำให้การเป็นอยู่ทางวัตถุดำเนินต่อไป ฉะนั้นราคะจึงเป็นศัตรูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต ราคะเท่านั้นที่ล่อใจให้สิ่งมีชีวิตผู้บริสุทธิ์ยังคงวนเวียนอยู่ในโลกวัตถุ ความโกรธคือ ปรากฏการณ์ของระดับอวิชชา ระดับเหล่านี้ปรากฏตัวเองออกมาในรูปของความโกรธ และอาการอื่นๆในลักษณะเดียวกันนี้ ฉะนั้นหากว่าระดับตัณหาแทนที่จะตกต่ำไปอยู่ในระดับอวิชชา แต่ควรจะพัฒนาให้สูงขึ้นมาสู่ระดับความดีด้วยการใช้ชีวิต และปฏิบัติตนตามวิถีทิพย์ที่กำหนดไว้ เราจะสามารถอยู่รอดปลอดภัยจากการตกลงต่ำอันเนื่องมาจากความโกรธ

องค์ภควานฺทรงแบ่งภาคมากมายเพื่อความสุขเกษมสำราญทิพย์อันหาที่สุดมิได้ของพระองค์สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูของความสุขเกษมสำราญทิพย์นี้มีส่วนของเสรีภาพเช่นกัน แต่เมื่อเสรีภาพถูกใช้ไปในทางที่ผิด เมื่อนิสัยชอบรับใช้กลายมาเป็นนิสัยชอบหาความสุขทางประสาทสัมผัสเราจึงมาอยู่ภายใต้อำนาจของราคะ การสร้างวัตถุนี้องค์ภควานฺทรงเป็นผู้สร้างเพื่อเปิดโอกาสให้พันธวิญญาณสนองนิสัยแห่งราคะนี้ และเมื่อกิจกรรมแห่งราคะอันแสนจะยาวนานนี้ทำให้จนปัญญาโดยสิ้นเชิง แล้วสิ่งมีชีวิตจึงเริ่มถามถึงสถานภาพอันแท้จริงของตนเอง

คำถามเช่นนี้คือจุดเริ่มต้นของ เวทานฺต-สูตฺร ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า อถาโต พฺรหฺม-ชิชฺญาสา เราควรถามถึงองค์ภควานฺ และคำว่าองค์ภควานฺได้ให้คำนิยามไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ว่า ชนฺมาทฺยฺ อสฺย ยโต ’นฺวยาทฺ อิตรตศฺ หรือ “แหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างคือ พฺรหฺมนฺ สูงสุด” ฉะนั้นจุดเริ่มต้นของราคะก็อยู่ในองค์ภควานฺเช่นเดียวกัน หากราคะเปลี่ยนมาเป็นความรักต่อองค์ภควานฺ หรือเปลี่ยนมาเป็นกฺฤษฺณจิตสำนึก อีกนัยหนึ่งคือปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อองค์กฺฤษฺณ เช่นนี้ทั้งราคะและความโกรธจะสามารถเปลี่ยนไปเป็นทิพย์ได้ หนุมานฺ ผู้รับใช้ที่ยิ่งใหญ่ของพระรามได้แสดงความโกรธด้วยการเผาเมืองทองของ ราวณ (ทศกัณฑ์) การกระทำเช่นนี้ทำให้ หนุมานฺ กลายมาเป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระราม ใน ภควัท-คีตา ก็เช่นเดียวกันองค์ภควานฺทรงแนะนำให้ อรฺชุน ใช้ความโกรธกับศัตรูเพื่อให้พระองค์ทรงพอพระทัย ฉะนั้นทั้งราคะและความโกรธเมื่อนำมาใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะกลายมาเป็นเพื่อนแทนที่จะเป็นศัตรู